ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) 4 ระดับ กลุ่มเสี่ยงต้องระวังสูง

พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) 4 ระดับ กลุ่มเสี่ยงต้องระวังสูง Thumb HealthServ.net
พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) 4 ระดับ กลุ่มเสี่ยงต้องระวังสูง ThumbMobile HealthServ.net

ดัชนีความร้อน (Heat Index) หมายถึงอุณหภูมิที่ร่างกายรู้สึกได้ ณ ขณะนั้น (Feel like) ขึ้นกับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ เหมาะสำหรับบ่งชี้ความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนมากกว่าการใช้ค่าอุณหภูมิสูงสุด

ค่าดัชนีความร้อน 


ค่าดัชนีความร้อน กำหนดไว้ 4 ระดับ ดังนี้ 
  1. ระดับเฝ้าระวัง   ค่าดัชนีความร้อน อยู่ที่ 27.0 - 32.9 องศาเซลเซียส  
    กลุ่มเสี่ยง แนะนำให้ลดกิจกรรมกลางแจ้ง ช่วง 11.00 - 15.00 น.  ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ 
  2. ระดับเตือนภัย  ค่าดัชนีความร้อน อยู่ที่ 33.0 - 41.9 องศาเซลเซียส  
    กลุ่มเสี่ยง   ให้หมั่นสังเกตอาการตอนเอง   แนะนำให้ลดกิจกรรมกลางแจ้ง ช่วง 11.00 - 15.00 น.  ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ 
  3. ระดับอันตราย    ค่าดัชนีความร้อน อยู่ที่ 42.0 - 51.9 องศาเซลเซียส  
    ต้องหมั่นสังเกตอาการตนเองเสมอ    กลุ่มเสี่ยง ควรมีเบอร์โทร ติดต่อ รพ.ที่ใกล้ที่สุดไว้ 
  4. ระดับอันตรายมาก    ค่าดัชนีความร้อน สูงกว่า 52 องศาเซลเซียส  
    ให้งดกิจกรรมกลางแจ้งโดยเด็ดขาด  

พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) 4 ระดับ กลุ่มเสี่ยงต้องระวังสูง HealthServ
 

ผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน


ผลกระทบที่เกิดจากการรับสัมผัสอุณหภูมิของอากาศที่สูงขึ้นเกินกว่าระดับที่ร่างกายรับได้ อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ผื่น บวมแดง ตะคริว และโรคลมร้อน (Heat stroke)

 

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง


ได้แก่
  • เด็กเล็ก (0-5 ปี)
  • ผู้สูงอายุ (ตั๋งแต่ 65 ปีขึ้นไป)
  • หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยหรือ ผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง
  • นักท่องเที่ยว
พบเหตุ เฉินแจ้ง  1669
พยากรณ์ค่าดัชนีความร้อน (Heat Index) 4 ระดับ กลุ่มเสี่ยงต้องระวังสูง HealthServ
 

คำแนะนำ กรณี อันตรายมาก


ประชาชนทั่วไป

1. ติดตามพยากรณ์อากาศ
2. ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ไม่ต้องรอให้กระหาย
3. หลีกเสี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ซา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
4. งดการทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด
5. ควรอยู่ในสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ หากไม่มีเครื่องปรับอากาศ แนะนำใช้พัดลมเปิดแบบส่าย เพื่อระบายอากาศที่ร้อน
6. สวมเสื้อผ้าสีอ่อน หลวม มีน้ำหนักเบา และระบายอากาศได้ดี
7. สังเกตอาการผิดปกติของตนเอง และดูแลกลุ่มเสี่ยง หากมีอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์
8. หากมีเหตุฉุกเฉินให้รีบติดต่อสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือโทร 1669



กลุ่มเสี่ยง
1. ติดตามพยากรณ์อากาศ
2. ดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ ไม่ต้องรอให้กระหาย (สำหรับเด็ก 0-6 เดือน ดื่มน้ำนมแม่อย่างเดียวก็เพียงพอ)
3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ซา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
4. งดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด
5. ควรอยู่ในสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ หากไม่มีเครื่องปรับอากาศ แนะนำใช้พัด เปิดแบบส่าย เพื่อระบายอากาศที่ร้อน
6. สวมเสื้อผ้าสีอ่อน หลวม มีน้ำหนักเบา และระบายอากาศได้ดี
7. ผู้มีโรคประจำตัว ควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม ระมัดระวังการกินยาบางชนิดที่อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ได้ง่ายขึ้น
8. สังเกตอาการผิดปติของตนเอง หากมีอาการผิดปกติให้รีบแจ้งผู้ดูแลและรีบไปพบแพทย์
9. ห้ามปล่อยให้ทารกและเด็กเล็กอยู่ในรถที่จอดตากแดดตามลำพังโดยเด็ดขาด
10.หากมีเหตุฉุกเฉินให้รีบติดต่อสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือติดต่อสายด่วน 1669


 

4 กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง ที่ต้องเฝ้าระวังในช่วงอากาศร้อน

4 กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปราะบาง ที่ต้องเฝ้าระวังในช่วงอากาศร้อน ได้แก่  เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภาวะอ้วน และผู้ที่มีโรคประจำตัว  แนะนำให้งดการทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด และ  หมั่น ติดตามพยากรณ์อากาศ หากมีเหตุฉุกเฉินให้รีบติดต่อสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือติดต่อสายด่วน 1669

จัดบ้านอย่างไรให้เหมาะกับผู้สูงอายุ ในช่วงหน้าร้อน

จัดบ้านอย่างไรให้เหมาะกับผู้สูงอายุ
  •  ควรมีต้นไม้บังแดดเพื่อลดอุณหภูมิ
  •  มีม่านสีอ่อนป้องกันรังสียูวี
  •  เตรียมน้ำดื่ม และอุปกรณ์ช่วยเหลือให้พร้อม
  •  ควรอยู่ในสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ หากไม่มีเครื่องปรับอากาศ แนะนำใช้พัดลมเปิดแบบส่าย เพื่อระบายอากาศที่ร้อน
  •  หากมีเหตุฉุกเฉินให้รีบติดต่อสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือติดต่อสายด่วน 1669
อย่าปล่อยให้ผู้สูงอายุ อยู่ในรถที่จอดตากแดดตามลำพังโดยเด็ดขาด 

ออกกำลังกายกลางแจ้ง อย่างไร ให้ปลอดภัยจากโรคฮีทสโตรก

คำแนะนำออกกำลังกายกลางแจ้ง ให้ปลอดภัยจากโรคฮีทสโตรก
 
  • ดื่มน้ำอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก
  • ควรออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือเย็น ภายในอาคาร
  • สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
  • หากพบความผิดปกติของร่างกาย หรือพบเห็นผู้ที่มีอาการ สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ในกรณีที่ผู้ป่วยยังรู้สึกตัว เช่น พาผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ถอดเสื้อผ้าเพื่อระบายความร้อนให้กับผู้ป่วย และแจ้งหมายเลขฉุกเฉิน 1669 เพื่อให้รถพยาบาลมาช่วยเหลือได้ทันท่วงที

การดูแลผู้ที่มีโรคประจำตัวในช่วงอากาศร้อน

การดูแลผู้ที่มีโรคประจำตัวในช่วงอากาศร้อน
  • ดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
  • หากออกกลางแจ้ง สวมหมวกปีกกว้าง แว่นตากันแดด กางร่ม ทากันแดดที่มี SPF 15 ขึ้นไป
  • เตรียมยาให้พร้อม
  • สวมเสื้อผ้าสีอ่อน หลวม น้ำหนักเบา
  • ควรอยู่ในสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ
  • งดทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังมาก
  • ระวังการกินยาบางชนิดที่อาจทำให้สูญเสียน้ำและเกลือแร่ได้ง่ายขึ้น

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด