ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ครม.อนุมัติ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565

ครม.อนุมัติ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 HealthServ.net
ครม.อนุมัติ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ThumbMobile HealthServ.net

1 กุมภาพันธ์ 2565 ครม.มีมติเห็นชอบ โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (คณะกรรมการฯ) เสนอ

โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เริ่มมาตั้งแต่ปี 2559 - 2561  กระทั่ง ปี 2565  ยังพบว่า ที่ผ่านมายังมีกลุ่มตกหล่นที่ไม่สามารถเข้าถึงโครงการฯ ได้  ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นวงกว้าง ทำให้ข้อมูลผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ไม่สะท้อนข้อมูลผู้มีรายได้น้อย ณ เวลาปัจจุบัน


ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องมีการลงทะเบียนรอบใหม่ เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการระบุตัวผู้มีรายได้น้อย และมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการสังคมของภาครัฐให้แก่ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

คณะกรรมการฯ จึงมีมติในการประชุม ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เห็นชอบในหลักการของโครงการฯ ปี 2565 และร่างประกาศฯ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการ พ.ศ. 2562 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการฯ มีหน้าที่และอำนาจประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการฯ กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยมีรายละเอียดสรุปได้ในประเด็นต่างๆ ได้แก่ 
  1. สาระสำคัญของโครงการฯ ปี 2565
  2. การดำเนินการที่สำคัญของโครงการฯ ปี 2565
    2.1 การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียน - สัญชาติ อายุ บุคคลที่เข้าข่ายไม่ได้รับสิทธิ รายได้ ทรัพย์สินทางการเงิน อสังหาริมทรัพย์ บัตรเครดิต หนี้สิน
    2.2 แนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาผู้มีรายได้น้อยที่ไม่ได้รับบัตรสวัสดิการฯ และผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ที่ไม่ควรได้รับสิทธิในช่วงที่ผ่านมา
  3. หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการดำเนินงาน
 
 

1. สาระสำคัญของโครงการฯ ปี 2565



วัตถุประสงค์

เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการระบุตัวผู้มีรายได้น้อย และมีข้อมูลเป็นปัจจุบัน (Dynamic Data) ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการสังคมของภาครัฐ

กลุ่มเป้าหมาย*

ประชาชนผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ประมาณ 20 ล้านคน (ผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ เดิม และผู้เข้าข่ายได้รับสิทธิรายใหม่)
 
งบประมาณ

ประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 564.455 ล้านบาท ประกอบด้วย

(1) ค่าจ้างเหมาบริการระบบลงทะเบียนและการยืนยันตัวตน กรณีการใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรสวัสดิการฯ จำนวนทั้งสิ้น 164.274 ล้านบาท

(2) ค่าใช้จ่ายสำหรับการรับลงทะเบียนของหน่วยรับลงทะเบียน ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทยฯ กรมบัญชีกลาง (สำนักงานคลังจังหวัด) กระทรวงมหาดไทย (มท.) (ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ) สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานเมืองพัทยา รวมจำนวนทั้งสิ้น 400.181 ล้านบาท

ทั้งนี้ จะเบิกจ่ายจากงบประมาณของกองทุนฯ ที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้วจากงบประมาณรายจ่ายประจำ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น


ระยะเวลาดำเนินการ

เดือนธันวาคม 2564 – ธันวาคม 2565 ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าประชาชนจะสามารถเริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565

 
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • สามารถระบุตัวผู้มีรายได้น้อยและมีฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อย
  • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการสังคมของภาครัฐ
  • แก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
 
หมายเหตุ: *การลงทะเบียนรอบใหม่ในครั้งนี้ รวมถึงผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ เดิมต้องลงทะเบียนใหม่ด้วย 


***
 

2. การดำเนินการที่สำคัญของโครงการฯ ปี 2565


2.1 การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียน

ดังนี้


1. สัญชาติ   ไทย

2. อายุ ตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
 

3. บุคคลที่เข้าข่ายไม่ได้รับสิทธิ

3.1 ภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช

3.2 ผู้ต้องขัง ผู้ถูกกักกัน ผู้ต้องกักขัง

3.3 บุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์

3.4 บุคคลดังต่อไปนี้
     3.4.1 ข้าราชการ
     3.4.2 พนักงานราชการ
     3.4.3 พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐที่ได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยงานของรัฐ [หน่วยงานของรัฐตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561] โดยตรง เว้นแต่บุคคลดังกล่าวได้รับค่าตอบแทนไม่เกิน 100,000 บาท/ปี (รอบปีปฏิทิน)
     3.4.4 ผู้รับบำเหน็จรายเดือน
     3.4.5 ผู้รับบำนาญปกติ หรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ

3.5 ข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535

3.6 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา

 

4. รายได้

4.1 รายได้ของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

4.2 รายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง (การคำนวณรายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนคำนวณได้จากการรวมรายได้ของผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน หารด้วยจำนวนบุคคลทั้งหมดในครอบครัว)
 

5. ทรัพย์สินทางการเงิน

ได้แก่ เงินฝาก สลากพันธบัตร และตราสารหนี้ภาครัฐ
5.1 ทรัพย์สินทางการเงินของผู้ลงทะเบียนมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาท/คน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

5.2 ทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาท/คน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (การคำนวณทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียน คำนวณได้จากการรวมมูลค่าทรัพย์สินทางการเงินของผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน หารด้วยจำนวนบุคคลทั้งหมดในครอบครัว)


 
 

6. อสังหาริมทรัพย์

6.1 อสังหาริมทรัพย์ของผู้ลงทะเบียน

6.1.1 ไม่มีกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
              (1) ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน)
                   (1.1) กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว
                          (1.1.1) บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถว ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา
                          (1.1.2) ห้องชุดต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร
                   (1.2) กรณีเป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่
              (2) ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย
                    (2.1) ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่
                    (2.2) ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่

6.1.2 ไม่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรือมีหนังสือดังกล่าว แต่เมื่อรวมกับข้อ 6.1.1 [ยกเว้น ข้อ (1.1.2)] จะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่ หรือ 10 ไร่ แล้วแต่กรณี ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนที่มีรายชื่อเป็นเกษตรกร* ตามฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐหรือได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ถือว่าผู้ลงทะเบียนใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร



6.2 อสังหาริมทรัพย์ของผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน
 
     6.2.1 ไม่มีกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
             (1) ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน)
                 (1.1) กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว
                        (1.1.1) กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของที่ดินที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถวแยกจากกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิในที่ดินของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรส แต่ละคนต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา
                                  กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของที่ดินที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถวร่วมกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิในที่ดินของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรส รวมกันต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา
                        (1.1.2) กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของห้องชุดแยกจากกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิในห้องชุดของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสแต่ละคนต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร
                                  กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของห้องชุดร่วมกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิในห้องชุดของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสรวมกันต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร
                       (1.2) กรณีเป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 20 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่
         (2) ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย
              (2.1) ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่
              (2.2) ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 20 ไร่
 
    6.2.2 ไม่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรือมีหนังสือดังกล่าว แต่เมื่อรวมกับข้อ 6.2.1 (ยกเว้นข้อ 1.1.2) จะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่ หรือ 20 ไร่ แล้วแต่กรณี ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง

    ทั้งนี้ หากมีผู้ลงทะเบียนหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียนอย่างน้อย 1 คน มีรายชื่อเป็นเกษตรกร* ตามฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐหรือได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ถือว่าผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียนใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร
 

7. บัตรเครดิต

ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีบัตรเครดิต ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง


8. หนี้สิน
ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีวงเงินกู้ หรือมีวงเงินกู้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ไม่เกินหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

8.1 วงเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัยรวมไม่เกิน 1.5 ล้านบาท

8.2 วงเงินกู้สำหรับยานพาหนะรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท


หมายเหตุ:

1) *เกษตรกร หมายถึง การเป็นเกษตรกรตามฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐของผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2) สมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน หมายถึง คู่สมรสและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย อายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ของผู้ลงทะเบียนตามข้อมูลของกรมการปกครอง สำหรับบุตรที่มีอายุเกิน 18 ปี ขึ้นไป จะถือเป็นครอบครัวใหม่ โดยจะไม่ได้รวมอยู่ในการพิจารณาของเกณฑ์ครอบครัว

3) การลงทะเบียนตามโครงการฯ เป็นรูปแบบสมัครใจ (Voluntary Basis) ผู้ลงทะเบียนจะต้องรับรองความถูกต้องของข้อมูลและรับรองลายมือชื่อของสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียนในแบบฟอร์มการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ซึ่งผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียนจะต้องยินยอมให้เปิดเผยและตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

4) หากมีการตรวจสอบในช่วงใดพบว่าผู้มีบัตรสวัสดิการฯ เป็นบุคคลที่ไม่เข้าข่ายได้รับสิทธิ  ตามคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนที่กำหนดไว้ ผู้มีบัตรสวัสดิการฯ จะถูกระงับสิทธิถึงแม้จะเคยผ่านการตรวจสอบในช่วงลงทะเบียนแล้วก็ตาม ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ และระยะเวลาในการตรวจสอบคุณสมบัติ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด เพื่อประโยชน์ในการปรับฐานข้อมูลผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน

5) ข้อมูลอื่นที่ใช้ประกอบการลงทะเบียน เช่น สถานภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา การเดินทางออกนอกราชอาณาจักร กรรมสิทธิในรถ เป็นต้น
 


 

2.2 แนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาผู้มีรายได้น้อยที่ไม่ได้รับบัตรสวัสดิการฯ และผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ที่ไม่ควรได้รับสิทธิในช่วงที่ผ่านมา



ดังนี้
                                      (1) การแก้ไขปัญหาผู้มีรายได้น้อยที่ไม่ได้บัตรสวัสดิการฯ (Exclusion Error) โดยจะเปิดรับลงทะเบียนตามโครงการฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
                                      (2) การแก้ไขปัญหาผู้มีบัตรฯ ที่ไม่ควรได้รับสิทธิ (Inclusion Error) จะมีการดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงทะเบียน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ที่ได้รับจากผู้ดูแลผู้มีบัตรสวัสดิการฯ (Account Officer: AO) และเสนอคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบดำเนินการระงับสิทธิผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ต่อไป
                             2.3 ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการฯ ปี 2565 จะใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรสวัสดิการฯ (บัตรสวัสดิการฯ ที่ได้เริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 มีอายุการใช้งาน 5 ปี จะหมดอายุในเดือนกันยายน 2565) ซึ่งจะส่งผล ดังนี้
                                      (1) ประหยัดต้นทุนในการผลิตบัตรสวัสดิการฯ ประมาณ 1,258 ล้านบาท (ประมาณการจากบัตรที่คาดว่าจะผลิตจำนวน 17 ล้านใบ ต้นทุนการผลิตใบละ 74 บาท)
                                      (2) ประหยัดเวลาในการผลิตและแจกบัตรสวัสดิการฯ รวมทั้งลดต้นทุนในการขนส่งบัตรสวัสดิการฯ
                                      (3) ลดปัญหาเรื่องการสวมสิทธิบัตรประจำตัวประชาชนหรือการนำบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลอื่นไปใช้สิทธิแทน
                                      (4) ช่วยลดการทุจริต เช่น กรณีร้านค้าเก็บบัตรสวัสดิการฯ ไว้เอง เป็นต้น
                             2.4 การมอบหมายคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด (คบจ.) เป็นผู้ช่วยประสานงานการดำเนินโครงการฯ ปี 2565 โดยคณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบให้ กค. มอบหมาย คบจ. เป็นผู้ช่วยประสานงานการดำเนินโครงการฯ ปี 2565 ในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจในโครงการฯ ปี 2565 และสามารถประสานงานสำหรับโครงการฯ ในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ


***

 

3. ร่างประกาศฯ โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ


โดยให้คณะอนุกรรมการโยบายการจัดประชารัฐสวัสดิการ (คณะอนุกรรมการฯ) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้

 3.1 จัดทำรายงานการประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ (รายงานการประเมินผลฯ) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยในการจัดทำรายงานการประเมินผลฯ ต้องแสดงรายละเอียดของการจัดประชารัฐสวัสดิการอย่างน้อยในเรื่องตังต่อไปนี้ เช่น (1) จำนวนผู้มีสิทธิและมูลค่าที่ผู้มีสิทธิจะได้รับการจัดประชารัฐสวัสดิการ (2) จำนวนผู้ได้รับประชารัฐสวัสดิการและต้นทุนหรือมูลค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ (3) ผลประโยชน์ของการจัดประชารัฐสวัสดิการ เช่น มูลค่าของการบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้มีรายได้น้อย การสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาหรือการประกอบอาชีพ เป็นต้น

3.2 จัดทำรายงานการสำรวจความพึงพอใจในการจัดประชารัฐสวัสดิการจากผู้มีบัตรสวัสดิการฯ และผู้ได้รับบริการทางสังคมตามวิธีการทางสถิติ (รายงานการสำรวจฯ) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 3.3 เสนอรายงานการประเมินผลฯ และรายงานการสำรวจฯ ต่อคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อคณะกรรมการฯ เห็นชอบแล้วให้รับรองรายงานและรายงานผลการประเมินดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป


สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  1 กุมภาพันธ์ 2565
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด