ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

11 ที่หมาย สะกดสายมู ณ บึงกาฬ ดินแดนแห่งมนขลังริมฝั่งโขง

11 ที่หมาย สะกดสายมู ณ บึงกาฬ ดินแดนแห่งมนขลังริมฝั่งโขง Thumb HealthServ.net
11 ที่หมาย สะกดสายมู ณ บึงกาฬ ดินแดนแห่งมนขลังริมฝั่งโขง ThumbMobile HealthServ.net

บึงกาฬกำลังได้รับความสนใจจากทั่วทุกสารทิศ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องไปรู้จักบึงกาฬกันให้ลึกซึ้งกว่านี้ โดยเฉพาะ 11 จุดสปอตไลท์ที่สายมูเพ่งพิกัดปักหยุดต้องไปหยุดให้ได้

11 ที่หมาย สะกดสายมู ณ บึงกาฬ ดินแดนแห่งมนขลังริมฝั่งโขง HealthServ
11 ที่หมายสะกดสายมู ณ บึงโขงหลง บึงกาฬ
 
  1. วังรัตนพานคร
  2. ดอนสวรรค์
  3. เกาะดอนแก้ว ดอนโพธิ์
  4. ศาล 100 ปี ปู่อือลือ พระตำหนักปู่อือลือ
  5. บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
  6. หาดคำสมบูรณ์
  7. ถ้ำนาคี
  8. ถ้ำนาคา
  9. ถ้ำนาคินทร์
  10. เจดีย์กองข้าวศรีบุญเนาว์
  11. วัดห้วยหินแหบ
 
ทั้งหมดนี้อยู่ที่ อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ 

ภาพจากเว็บไซต์สำนักอุทยานแห่งชาติ
11 ที่หมาย สะกดสายมู ณ บึงกาฬ ดินแดนแห่งมนขลังริมฝั่งโขง HealthServ

งานบวงสรวงเจ้าปู่อือลือ 2566

งานบวงสรวงเจ้าปู่อือลือ ณ ตำหนักศาลเจ้าปู่อือลือนาคราช อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ เป็นงานประเพณีบุญเดือนสาม (3ค่ำ เดือน 3) ที่ถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยในปีนี้จัดขึ้นระหว่าง 22 – 24 มกราคม 2566 โดยในปีนี้ นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ มีแนวคิดจะเร่งผลักดันและยกระดับให้เป็นงานระดับจังหวัดและระดับประเทศ หวังให้เป็นเผยแพร่และความงดงามของวัฒนธรรมของดินแดนลุ่มน้ำโขง บึงกาฬ อันมีอัตลักษณ์โดดเด่นมายาวนานออกสู่การรับรู้สู่สายตาชาวโลก

หาดคำสมบูรณ์ หรือบางแสนอีสาน

หาดคำสมบูรณ์ หรือบางแสนอีสานอยู่ในจังหวัดน้องใหม่จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดที่ 77 ของไทยเป็นที่น่าจับตามองในแง่ของสถานที่ท่องเที่ยวทั้งเชิงศาสนาและวัฒนธรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อยู่ในพื้นที่ตำบลบึงโขงหลงอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านคำสมบูรณ์ ตำบลบึงโขงหลง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าประทับใจมีร้านค้ามากมายอาหารอร่อย เช่น ปลาเผากุ้งเผา แปะซะปลา แจ่วฮ้อน ยำรสเด็ด กุ้งเต้น ฯลฯ มีซุ้มไพรหญ้าให้นั่งริมน้ำหาดทรายขาว บรรยากาศดี สดชื่นเย็นสบาย เมื่อนั่งที่ซุ้มมองดูน้ำใสสะอาดจะเห็นฝั่งหมู่บ้านในเขตตัวอำเภอบึงโขงหลงและเห็นภูลังกาตั้งตระหง่านน่าเกรงขาม เขียวชอุ่มไปด้วยต้นไม้และหินผาสวยงามนักท่องเที่ยว จุดเด่นของหาดคำสมบูรณ์ คือ การมีธรรมชาติป่าไม้โอบล้อมแหล่งน้ำขนาดใหญ่ อุดมไปด้วยความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีภูเขาขนาดกลางอยู่ด้านหน้านอกจากนั้น ยังมีบริการเหมือนทะเลทั่วไป คือ สามารถเช่าอุปกรณ์ทางน้ำลงเล่นน้ำได้ตลอดทั้งวันไม่ว่าจะเป็นห่วงยางเรือกล้วยและอีกมากมาย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่มาเที่ยวที่นี้ ถ้าหากเป็นเด็กก็จะลงเล่นน้ำ แต่ถ้าหากเป็นกลุ่มวัยรุ่นคนทำงานก็จะนิยมมานอนอาบแดดหรือไม่ก็ทานอาหาร เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่า และเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำลำดับที่ 2 ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ (Ramsar Site อันดับที่1098 ) ตั้งอยู่ในพื้นที่ของสองอำเภอคือเซกาและบึงโขงหลง

ศาล 100 ปี ปู่อือลือ พระตำหนักปู่อือลือ วัดโศกโพธิ์ LINK

ศาล 100 ปี ปู่อือลือ พระตำหนักปู่อือลือ วัดโศกโพธิ์ 11 ที่หมาย สะกดสายมู ณ บึงกาฬ ดินแดนแห่งมนขลังริมฝั่งโขง
ศาล 100 ปี ปู่อือลือ พระตำหนักปู่อือลือ วัดโศกโพธิ์ 11 ที่หมาย สะกดสายมู ณ บึงกาฬ ดินแดนแห่งมนขลังริมฝั่งโขง
ตามตำนานปู่อือลือที่ข้องเกี่ยวกับบึงโขงหลงนั้น เชื่อว่า เกิดจากการล่มเมืองของพญานาค ซึ่งเกิดจากความรักที่ไม่สมหวังระหว่างพญานาคกับมนุษย์ ทำให้เมืองที่เจริญรุ่งเรืองล่มสลาย บริเวณแห่งนี้เดิมเป็นที่ตั้งเมือง ชื่อ รัตพานคร มี พระอือลือราชา เป็นผู้ครองนคร มเหสีชื่อ นางแก้วกัลยา มีพระธิดาชื่อ พระนางเขียวคำ ต่อมาได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าสามพันตา มีพระโอรสชื่อ เจ้าชายฟ้ารุ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด มีความรอบรู้ และมีรูปงามด้วย ขณะประสูติมีท้องฟ้าสว่างไสว

ต่อมาได้อภิเษกสมรสกับ นาครินทรานี ซึ่งเป็นพระธิดาของพญานาคราชแห่งเมืองบาดาล ที่แปลงกายเป็นมนุษย์ การอภิเษกสมรสจัดกันอย่างมโหฬาร ทั้งเมืองบาดาล และเมืองมนุษย์ (รัตพานคร) ทำอยู่ 7 วัน 7 คืน เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างพญานาคราช กับ พระเจ้าอือลือราชา ในโอกาสนี้ด้วย

ทั้งสองอยู่กินกันมาเป็นเวลา 3 ปี ก็ไม่สามารถจะมีผู้สืบสายสกุลได้ (เพราะธาตุมนุษย์กับนาค) จึงทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจกับทั้งสอง ต่อมาเจ้าหญิงนาครินทรานี ล้มป่วยลง ทำให้ร่างกายของนางที่เป็นมนุษย์กลายเป็นนาคตามเดิม โดยข่าวนี้ได้แพร่สะพัดออกไปทั่วกรุงรัตพานคร และถึงแม้นางจะร่ายมนตร์กลับเป็นมนุษย์ ประชาชนและพระเจ้าอือลือก็ไม่พอใจ จึงได้ขับไล่นางนาครินทรานีกลับสู่เมืองบาดาลดังเดิม โดยได้แจ้งให้พญานาคราชมารับตัวกลับ ก่อนกลับพญานาคราช ได้ขอเครื่องกกุธภัณฑ์ของตระกูลคืน แต่พระเจ้าอือลือราชาไม่สามารถคืนให้ได้ เนื่องจากนำไปแปรสภาพเป็นอย่างอื่น ทำให้พญานาคราชกริ้วมาก และประกาศว่าจะทำลายเมืองรัตพานคร และจะเหลือเอาไว้เพียง 3 วัดเท่านั้น

หลังจากพญานาคกลับไป ในตอนกลางคืน พญานาคราชได้ยกไพร่พลมาถล่มเมืองรัตพานคร และประชาชนก็ไม่มีใครรอดพ้นจากฤทธิ์นาคได้ พอนางนาครินทรานีทราบข่าว ก็ขึ้นมาตามหาเจ้าชายฟ้ารุ่ง จนถึงแม่น้ำสงครามก็ไม่พบ จึงกลับเมืองบาดาล เมืองรัตพานครได้ถล่มเป็น "บึงหลงของ" ต่อมานานเข้าคำพูดก็กลายเป็นโขงหลง และวัดที่เหลือ 3 วัด ก็คือ วัดดอนแก้ว (วัดแก้วฟ้า) วัดดอนโพธิ์ (วัดโพธิสัตว์) และ วัดดอนสวรรค์ (วัดแดนสวรรค์) ทางที่นางนาครินทรานีตามหาเจ้าชายฟ้ารุ่ง คือ ห้วยน้ำเมา (เมารัก)

ส่วนพระอือลือราชา ไม่ได้สิ้นพระชนม์ไปกับเหตุการณ์นี้ด้วย แต่ถูกพระยานาคราชจับตัวไว้ พร้อมกับสาปให้พระอือลือราชากลายร่างเป็นนาค เฝ้าอยู่ในบึงโขงหลงชั่วนิรันดร์ จนกว่าจะมีเมืองเกิดใหม่ในดินแดนแห่งนี้ จึงจะล้างคำสาปของพระยานาคราชได้

เจดีย์กองข้าวศรีบุญเนาว์

เจดีย์กองข้าวศรีบุญเนาว์ หรือพระธาตุภูลังกา ตั้งอยู่ที่ ตำบลนางัว  อำเภอบ้านแพง  นครพนม [แผนที่] เป็น เจดีย์สีทองที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่อัญเชิญมาจากประเทศเนปาล เมื่อปี ๒๕๔๓ ตั้งอยู่บนลานหินที่มีลักษณะคล้ายกองข้าวนำมากองไว้ ซึ่งเป็นจุดสูงสุดของภูลังกาสูงประมาณ ๕๖๓ เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูลังกาประมาณ ๔ กิโลเมตร ลักษณะทั่วไปเป็นลานหินกว้างสลับด้วยพรรณไม้นานาชนิด มีอากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี เป็นจุดชมวิวดูพระอาทิตย์ขึ้นจากแม่น้ำโขง สปป.ลาวในตอนเช้าที่สวยงามมาก

ถ้ำนาคา

“ถ้ำนาคา” ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ และอยู่ใกล้กับวัดถ้ำชัยมงคล การขึ้นไปเที่ยวถ้ำต้องเดินขึ้นบันไดสูงชันที่ทางอุทยานฯ จัดสร้างขึ้นไปกว่า 1,400 ขั้น ใช้เวลาเดินราว 1-1.30 ชั่วโมง

เหตุที่ถ้ำแห่งนี้ได้ชื่อว่า “ถ้ำนาคา” หรือ “ถ้ำพญานาค” เนื่องจากมีของหินและผนังถ้ำดูคล้ายพญานาค ที่มีรูปทรงคล้ายพญานาคหรืองูขนาดใหญ่นอนขดตัว โดยมีส่วนสำคัญ ๆ ทั้งส่วนหัว ลำตัว และเกล็ดพญานาค (ตามจินตนาการและความเชื่อของชาวบ้าน) ความเชื่อเรื่องพญานาคที่ถ้ำนาคา

ด้วยเหตุนี้จึงมีตำนานเรื่องเล่าเชื่อมโยงกับความเชื่อของถ้ำแห่งนี้ว่า ถ้ำนาคาคือพญานาคหรืองูยักษ์ที่ถูกสาปให้กลายเป็นหิน โดย “อือลือราชา”หรือ “ปู่อือลือ” เทพบนสรวงสวรรค์ ที่ถูกสาปให้เป็นพญานาคปกครองเมืองบาดาล (เชื่อกันว่าคือบึงโขงหลง จ.บึงกาฬ) ที่มีทั้งพญานาคและมนุษย์อาศัยอยู่ร่วมกัน ได้สาปบริวารพญานาคของตนให้กลายเป็นหินที่ถ้ำแห่งนี้เนื่องจากทำผิดจารีต เพราะไปมีสัมพันธ์สวาทกับมนุษย์ ซึ่งก็คือถ้ำนาคา หรือ ถ้ำพญานาค ที่ อช.ภูลังกา แห่งนี้

ลวดลายหินเกล็ดพญานาคแห่งถ้ำนาคา กำเนิดถ้ำนาคา-ตัวพญานาค หลังถ้ำนาคาถูกเปิดตัวเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่มาแรง


ล่าสุดทางกรมทรัพยากรธรณี ก็ได้ทำการสำรวจถ้ำเพิ่มเติม เพื่อนำชุดความรู้ใหม่ ๆ มานำเสนอ ควบคู่ไปกับการพัฒนาถ้ำแห่งนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ในทางธรณีวิทยา นาย “ชัยพร ศิริพรไพบูลย์” หรือ “อาจารย์ชัยพร” ผู้เชี่ยวชาญด้านถ้ำและนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ที่เป็นผู้นำทีมการสำรวจถ้ำนาคาอย่างเจาะลึกและเข้มข้น ในช่วงปลายเดือนมิ.ย. 63 ที่ผ่านมา ได้เผยข้อมูล และชุดความรู้ใหม่ ๆ ของถ้ำนาคา ผ่านเฟซบุ๊กบัญชีรายชื่อส่วนตัว Chaiporn Siripornpibul โดยมีประเด็นหลัก ๆ ดังนี้

หินทรายแห่งภูลังกา...ถ้ำนาคาเป็นส่วนหนึ่งของภูเขาหินทรายชื่อ “ภูลังกา” ที่อยู่ในหมวดหินยุคครีเทเซียสตอนปลาย (ประมาณ 70 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงท้าย ๆ ของโลกยุคไดโนเสาร์)

หินทรายบริเวณนี้นอกจากจะมีความหนาค่อนข้างมาก และเนื้อหินมีความเป็นเนื้อเดียวกัน (homogeneous) แล้ว ยังมีความพรุนสูง ซึ่งมีผลสำคัญต่อการเกิดลวดลายคล้ายเกล็ดพญานาค รอยเว้าผนังถ้ำ กำเนิดแห่งถ้ำนาคา ช


ส่วนตัวถ้ำนาคาหรือส่วนที่เป็นลำตัวพญานาคนั้น เกิดจากการยกตัวของแผ่นดิน (Tectonic uplift) ในภาคอีสาน ทำให้เกิด “รอยเว้าผนังถ้ำ (cave notch)” ที่มีลักษณะโค้งนูนออกมา และคั่นสลับด้วยผนังหินที่โค้งเว้าเข้าไป

จากนั้นเกิดการกัดเซาะที่เป็นวัฏจักร (Cyclic Erosion) ในยุคโลกเย็นหรือ “ยุคน้ำแข็ง” กับยุคโลกร้อนในอดีตที่เกิดสลับกันเป็นวงรอบประมาณทุก ๆ 1 แสนปี โดยมีน้ำเป็นตัวการหลักในการกัดเซาะหินลงไปตามกลุ่มรอยแตกของหินในแนวตั้งที่มีสองแนวตัดกันจนเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยม หินลวดลายคล้ายเกล็ดพญานาคแห่งถ้ำนาคา

ปรากฏการณ์เหล่านี้กินเวลายาวนานมาก จนทำให้เกิดเป็นถ้ำนาคาในปัจจุบัน ที่มีลักษณะเป็นช่องแคบตัดกันเหมือนถ้ำเขาวงกตขนาดเล็กที่ไม่มีหลังคาถ้ำ ทำให้ผนังแห่งนี้มีความโค้งและเว้าสลับกันดูคล้ายลำตัวพญานาคหรืองูยักษ์ ตามจินตนาการของชาวบ้านในแถบนั้น *หัว-เกล็ดพญานาค

ขณะที่ในส่วนของหินที่มีลักษณะทางธรณีวิทยาคล้าย “เกล็ดพญานาค” อ.ชัยพร ได้ให้ข้อมูลว่า เกิดจากการขยายตัวและหดตัวของผิวหน้าของหิน ซึ่งกระบวนการนี้มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “ซันแครก” ( Sun Cracks)

เกล็ดพญานาคจากปรากฏการณ์ซันแครก จะเกิดขึ้นเป็นวัฏจักรเช่นกัน แต่เป็นวัฏจักรที่สลับปรับเปลี่ยนระหว่างความร้อนจากแสงแดดในช่วงกลางวันกับความเย็นในช่วงกลางคืน แต่กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาที่ยาวนานมากคาดว่าจะใช้เวลานับแสนปีหรือนานกว่านั้น

นอกจากนี้ล่าสุดได้มีการตั้งชื่อก้อนหินขนาดใหญ่ที่มีบางมุมมองแล้วดูคล้ายหัวงูขนาดใหญ่ อันเป็นที่มาของชื่อ “หินหัวพญานาค”นั้น เป็นส่วนของหินที่แตก (ขนาดใหญ่) และหล่นมาจากหน้าผา โดยบริเวณส่วนหัวมีลวดลายเป็นรอยแตกของผิวหน้าของหินแบบซันแครกที่ดูคล้ายผิวหนังของงูยักษ์ไม่น้อยเลย


หลังถ้ำนาคาโด่งดังเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ก็ได้มีนักท่องเที่ยวหลายคนเดินทางไปบันทึกภาพของสถานที่แห่งนี้ หลังการเปิดแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศเมื่อ 1 ก.ค. 63 มุมป่าโบราณ โดยหนึ่งในนั้นก็คือเพจ “Buengkan day” ที่มี “ศรัทธา ลาภวัฒนเจริญ” เป็นแอดมินและช่างภาพ ซึ่งได้นำเสนอภาพมุมอันซีนถ้ำนาคาอันสวยงามแปลกตา แฝงลี้ลับน่าพิศวง จนได้รับการแชร์กันในโลกโซเชียลอย่างกว้างขวาง สำหรับภาพอันซีนถ้ำนาคานั้นก็อย่างเช่น ภาพสายน้ำไหลผ่านหินหัวพญานาค ลำตัว-เกล็ดพญานาคที่มีรากไม้เกาะเกี่ยว ลวดลายเกล็ดพญานาค (ซันแครก) ที่มีตะไคร้ขึ้นเขียวครึ้ม หรือมุมต้นไม้โบราณที่หลายคนจินตนาการไปถึงป่าโบราณใน “เพชรพระอุมา” สุดยอดนิยายผจญภัยของเมืองไทย อันซีนถ้ำนาคา และนี่ก็คือมนต์เสน่ห์ของ “ถ้ำนาคา” อช.ภูลังกา จ.บึงกาฬ

วัดห้วยหินแห

วัดห้วยหินแหบ ตั้งอยู่ที่ อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ เป็นวัดสำนักสงฆ์แห่งหนึ่งที่มีความเชื่อเรื่องตำนานนาคี โดยถูกกล่าวขานเป็นที่รู้จักกันว่า "พญานาคเล่นน้ำ" โดยเป็นลักษณะของก้อนหินขนาดใหญ่ วางเรียงกัน แต่ในช่องว่างของหินก้อนใหญ่ 2 ก้อนนั้น มีหินก้อนยาวๆลักษณะคล้ายงู ทอดตัวอยู่และมีน้ำอยู่รอบๆ ตามความเชื่อศรัทธาของผู้คนในการไปเยือนดินแดนพญานาคอันศักดิ์สิทธิ์ สามารถมากราบไหว้ ขอพร ทำบุญ

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด