นิยามของยุค Super-Aged Society คือประเทศที่มีสัดส่วนประชากรอายุมากกว่า 65 ปี มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งหลายประเทศในเอเซีย กำลังจะประสบภาวะนี้ในอนาคต
นิยามคำว่า “ผู้สูงอายุ” (Older person) ขององค์การสหประชาชาติ หมายถึง ประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งก็ตรงกับนิยามผู้สูงอายุของประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546
องค์การสหประชาชาติ แบ่งการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เป็น 3 ระดับ ได้แก่
1. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) หมายถึง มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 หรือมีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ
2. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึง มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 หรือมีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ
3. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึง มีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ
ซึ่งภาวะสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่นี้ กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย และอีกหลายประเทศในเอเซียในอนาคต
ความจริงประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2548 แล้ว ตอนนั้นเรามีผู้สูงอายุ 10.4% และปีหน้า 2564 จะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์” ตามหลักเกณฑ์ที่ว่า คือมี “คนแก่” อายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และคาดการณ์ว่าในปี 2574 เราจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด”
ลักษณะของสังคมผู้สูงอายุ
จากข้อมูลของ
United Nations World Population Ageing กล่าวว่า ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิง ที่ไม่สามารถใช้แรงงานตนเองเพื่อสร้างรายได้เลี้ยงตัว ซึ่งก็คือเด็กและผู้สูงอายุ มีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงานไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ
- สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) จะเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน อัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 7 ขึ้นไป
- สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) จะเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน และมีอัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 20 ขึ้นไป หรือมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่จริงในพื้นที่ต่อประชากรทุกช่วงอายุในพื้นที่เดียวกัน อัตราเท่ากับหรือมากกว่าร้อยละ 14 ขึ้นไป
จึงเป็นเหตุผลที่คนไทยอย่างเราจะต้องตระหนักและรับรู้เกี่ยวกับสภาพการณ์นี้ เนื่องจากสังคมไทยกำลังจะเข้าสังคมผู้สูงอายุในปี 2568 หรืออีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้าแล้ว ตามสถิติต่างๆ จะเป็นไปได้ที่เราคนไทยจะต้องเตรียมการรับมือในสถานการณ์ดังต่อไปนี้อย่างเร่งด่วน
- อายุของคนไทยจะยืนยาวขึ้น : ปัจจุบันมีการเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 75 ปี แต่ในปี 2568 อายุของคนไทยโดยประมาณจะอยู่ที่ 85 ปี ยิ่งอายุยาวนานขึ้น ทำให้ยิ่งต้องเตรียมเงินเยอะขึ้น
- ค่าครองชีพทำให้ของแพงขึ้น : ด้วยเงินเฟ้อในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 4% ปัจจุบันข้าวจานละ 40 บาท อีก 20 ปีข้างหน้าเป็นไปได้ว่าอาจจะถึงจานละ 90 บาท ทุกอย่างแพงขึ้น 2 เท่า เงินเฟ้อทำให้ของแพงขึ้น ทำให้ค่าเงินในอนาคตลดลงด้วย
- ค่ารักษาพยาบาลมีแต่แพงขึ้น : ปีละ 5-8% ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะเบียดเบียนเงินเก็บสำหรับผู้สูงวัยมากที่สุด ผู้สูงอายุเฉลี่ยมีค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลต่อการเข้าโรงพยาบาลหนึ่งครึ่ง อยู่ที่ 3 หมื่นกว่าบาท และจะสูงกว่าคนไม่สูงอายุอยู่ประมาณหมื่นกว่าบาท
- โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลง : ยิ่งครอบครัวยุคใหม่มีลูกคนเดียวมากขึ้น จำนวนประชากรวัยทำงานก็มีน้อยลง การพัฒนาประเทศก็จะช้าลง ทำให้เศรษฐกิจก็จะโตช้าลงด้วย
- เงินเก็บหลักเกษียณไม่เพียงพออีกต่อไป : ปัญหานี้อาจจะน่ากลัวที่สุด ลองคิดแบบง่ายๆ ถ้าเราอายุ 40 ปี ต้องการเงินใช้หลังเกษียณปีละ 240,000 บาท แต่มูลค่าเงินในปัจจุบัน ต้องการเกษียณอายุ 60 ปี หรือ อีก 20 ปี จากเงิน 240,000 บาทที่จะต้องมี จะกลายเป็นเงิน 530,000 บาทเนื่องจากเงินเฟ้อ 4% ต้องการมีเงินใช้ไปจนสิ้นอายุไข 80 ปี หรือ อีก 20 ปี ทำให้อาจจะต้องมีเงินขั้นต่ำ 10 ล้านบาท
- สัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว : ตอนนี้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นอันดับ 3 ของโลก อันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ ใน ASEAN และอีกไม่ถึง15 ปีข้างหน้า ไทยจะแซงสิงคโปร์
- เกิดโรคสุดฮิตในผู้สูงอายุ : จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2554 ได้ระบุว่า ทุกๆ 4 นาที จะมีคนไทยที่เสียชีวิตจากมะเร็ง อยู่ 1 คน , ทุกๆ 6 นาที จะมีคนไทยที่เสียชีวิตจากโรคหัวใจ อยู่ 1 คน และทุกๆ 6 นาที จะมีคนไทยที่เสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดในสมองแตก อยู่ 1 คน และคนที่มีอายุมากกว่า 90 ปี จะมีโอกาสการเกิดอัลไซเมอร์ถึง 30% โดยโอกาสการเกิดอัลไซเมอร์ของผู้หญิงจะมีมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า
อีกแค่ 5 ปี ไทยเข้าสู่ Super-Aged Society
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ไว้ว่า ประเทศไทย จะเข้าสู่ยุค Super-Aged Society ในปี 2029 (พ.ศ. 2572) ก่อนหลายประเทศในเอเชีย ตามลำดับ ดังนี้
- ไทย ปี 2029 (พ.ศ. 2572)
- จีน ปี 2033 (พ.ศ. 2576)
- เวียดนาม ปี 2050 (พ.ศ. 2593)
- อินเดีย ปี 2062 (พ.ศ. 2605)
- อินโดนีเซีย ปี 2074 (พ.ศ. 2617)
- ฟิลิปปินส์ ปี 2086 (พ.ศ. 2629)
สัดส่วนประชากรรวมและวัยทำงานลดลง
สัดส่วนประชากรวัยทำงาน ปี 2024 - 2034 พบว่าประเทศไทย มีสัดส่วนประชากรวัยทำงานน้อย และมีแนวโน้มลดลงมากขึ้น จากปี 2024 มีคนวัยทำงาน 61% จะลดลงเหลือเพียงแค่ 56% ในปี 2034 (2572) ลดลงถึง 5% ถือว่าลดลงเร็วกว่าประเทศอื่นๆ อาทิ จีน ที่ลดลง 4% (จาก 63% ปี 2024 เหลือ 59% ปี 2034) ส่วนเวียดนามและอินโดนีเซีย ลดลงเพียง 1% ขณะที่อินเดีย คงที่ และฟิลิปปินส์ จะมีวัยทำงานเพิ่มขึ้นกว่าปัจจุบัน 1%
นอกจากนี้ จำนวนประชากรโดยรวมของไทย ก็มีแนวโน้มลดลง ในปี 2034 จะมีประชากร 71.8 ล้านคน เทียบกับ 71.9 ล้านคนในปี 2024 นี้ (ลดลง 0.1%) เช่นเดียวจีน ที่จะลดลงราว 1.5% จาก 1,425.2 ล้านคนปี 2024 เหลือเพียง 1,403.3 ล้านคนในปี 2034 ขณะที่ประเทศอื่นๆ มีประชากรเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินเดีย เพิ่ม 8.1%. อินโดนีเซีย เพิ่ม 7% ฟิลิปปินส์ เพิ่ม 14.2% เวียดนามเพิ่ม 4.8%