ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

เส้นเลือดขอดบริเวณขา ปัจจุบันมีการรักษาหลายวิธี

เส้นเลือดขอดบริเวณขา ปัจจุบันมีการรักษาหลายวิธี Thumb HealthServ.net
เส้นเลือดขอดบริเวณขา ปัจจุบันมีการรักษาหลายวิธี ThumbMobile HealthServ.net

เป็นภาวะที่พบบ่อยในเพศหญิง โดยเฉพาะในช่วงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จะพบได้มากกว่าร้อยละ 50 ในเพศหญิง ปัจจุบันมีการรักษาหลายวิธี ตามสภาวะอาการโดยคำแนะนำของแพทย์

ภาวะเส้นเลือดขอดบริเวณขา


     เป็นภาวะที่พบบ่อยในเพศหญิง โดยเฉพาะในช่วงอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จะพบได้มากกว่าร้อยละ 50 ในเพศหญิง จะพบภาวการณ์ขยายตัวของหลอดเลือดแดง (Telangiectasis) ได้มากกว่าเพศชายถึง 4 เท่า แต่ขณะเดียวกันขนาดของเส้นเลือดขอดของหลอดเลือดดำ(Varicose vein) ในเพศชายจะมีขนาดใหญ่กว่าที่พบได้ในเพศหญิงถึง 2 เท่า เส้นเลือดขอดเกิดจากความผิดปกติของวาวล์ดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการไหลย้อนกลับของเลือดทำให้มีการคั่งของเลือดภายในเส้นเลือดและเกิดการโป่งตึงของหลอดเลือดบริเวณนั้นขึ้นมา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการไหลกลับของหลอดเลือดนั้น คือ ภาวการณ์ตั้งครรภ์ การมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และรวมถึงการมีประวัติญาติพี่น้องที่มีอาการดังกล่าวด้วย นอกจากจะทำให้เกิดอาการปวดบวมบริเวณขาแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง การติดเชื้อ การอุดตันของหลอดเลือดและการเกิดเลือดออกเฉียบพลันบริเวณดังกล่าวด้วย
 
 

การรักษา


ปัจจุบันทางโรงพยาบาลมีการรักษาหลายวิธี เช่น
 
1. การฉีดสารเพื่อทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดบริเวณนั้น ๆ  เช่น  Sodium tetradecyl sulfate และPolidocanol โดยสารดังกล่าวจะทำให้เส้นเลือดบริเวณที่ฉีดเกิดการแข็งตัวและเกิดพังผืดจนทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดในที่สุด วิธีนี้เป็นวิธีการรักษามาตรฐานและมีประสิทธิภาพสูง แต่ก็อาจเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดได้ เช่น การเกิดรอยดำจากการฉีดยา แผลอักเสบ การอักเสบของหลอดเลือดบริเวณที่ได้รับการฉีดยา การเกิดการอุดตันของหลอดเลือดดำภารในปอด เนื่องมาจากการฉีดยาในปริมาณมากเกินไปหรือฉีดในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดแดงซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดปลายเท้าได้
 
2. การใช้เลเซอร์ Nd:YAG ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีทำให้เส้นเลือดขอดลดลงถึงร้อยละ 75 หลังจากการรักษา 1 ครั้ง มีประสิทธิภาพที่ดีต่อทั้งหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดง โดยใช้เป็นการรักษาหลักหรือรักษาเสริมจากการที่ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยามาแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้นก็ได้
 
3. การผ่าตัดเส้นเลือดขอด เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งมีประสิทธิภาพดีในผู้ป่วยที่มีลักษณะของเส้นเลือดขอดที่ใหญ่หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากเส้นเลือดขอดมาก
 
 
 
ทั้งนี้นอกจากการรักษาดังกล่าวแล้ว การป้องกันการเกิดภาวะเส้นเลือดขอดนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องยืนทำงานติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ผู้ที่มีน้ำหนักเกินและหญิงตั้งครรภ์ วิธีการป้องกกันที่ได้ผลดี เช่น การยกขาบริเวณที่เป็นและการสวมถุงน่อง (Compression stockings) เพื่อให้เลือดได้ไหลเวียนกลับสู่หลอดเลือดดำได้สะดวกขึ้น และลดการไหลย้อนกลับของเลือดลงสู่ส่วนที่ต่ำกว่ารวมถึงการรับประทานยาต้านการอักเสบ เข่น Ibuprofen และ aspirin ในกรณีเกิดการอักเสบของหลอดเลือด
 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด