ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

หนุนชายไทยอายุ 45-75 ปี ตรวจคัดกรอง มะเร็งต่อมลูกหมาก

หนุนชายไทยอายุ 45-75 ปี ตรวจคัดกรอง มะเร็งต่อมลูกหมาก Thumb HealthServ.net
หนุนชายไทยอายุ 45-75 ปี ตรวจคัดกรอง มะเร็งต่อมลูกหมาก ThumbMobile HealthServ.net

กรมการแพทย์ เผยว่า “ต่อมลูกหมาก” เป็นอวัยวะสำคัญของเพศชาย เมื่ออายุมากขึ้นต่อมลูกหมากจะโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามช่วงอายุ หากตรวจพบได้เร็ว รักษาได้ทัน โอกาสหายสูง เน้นกลุ่มชายไทยอายุ 45-75 ปี ตรวจคัดกรอง มะเร็งต่อมลูกหมาก

กรมการแพทย์ เผยว่า “ต่อมลูกหมาก” เป็นอวัยวะสำคัญของเพศชาย เมื่ออายุมากขึ้นต่อมลูกหมากจะโตขึ้นเรื่อย ๆ ตามช่วงอายุ
 
หากเซลล์ในต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติหรือลุกลามไปสู่อวัยวะอื่น ภาวะดังกล่าวอาจกลายเป็น “มะเร็งต่อมลูกหมาก” และมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น จัดเป็นมะเร็งลำดับที่ 4 ของมะเร็งในเพศชาย


 
จากสถิติสถาบันมะเร็งแห่งชาติ (Cancer in Thailand Vol.X 2016-2018) พบอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก:
• ผู้ป่วยรายใหม่ วันละ 10 คน หรือ 3,755 คน/ปี
• เสียชีวิตวันละ 5 คน หรือ 1,830 คน/ปี 
• พบมากในผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป
• มีประวัติ บิดา พี่ชายหรือน้องชายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
 
 
หนุนชายไทยอายุ 45-75 ปี ตรวจคัดกรอง มะเร็งต่อมลูกหมาก HealthServ

 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค


เช่น 
• รับประทานแคลเซียมในปริมาณสูงมากกว่า 2 กรัม/วัน 
• ทานไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ที่ปิ้งย่างไหม้เกรียม 
• มีภาวะน้ำหนักเกิน 
• สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ 
• ใช้ฮอร์โมนเพศแอนโดรเจน (Androgen)
 
 

การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากในปัจจุบัน: 
 

• ตรวจในเพศชายที่อายุระหว่าง 45-75 ปี 
• คลำต่อมลูกหมากทางทวารหนักร่วมกับตรวจระดับสารบ่งชี้ในเลือด  หากพบค่าสูงมากกว่า 4 นาโนกรัม/มิลลิลิตร หรือคลำพบก้อน บ่งชี้ถึงภาวะเสี่ยงเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก 
• เจาะเก็บชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากทางทวารหนักแบบสุ่ม เพื่อเจาะเก็บชิ้นเนื้อ 10-12 ชิ้น นำไปตรวจหาเชลล์มะเร็ง 
• วินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยใช้วิธี “เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบริเวณต่อมลูกหมาก" 
   และใช้ภาพเอ็กซเรย์เป็นแผนภาพนำทางในการเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก ซึ่งช่วยลดจำนวนชิ้นเนื้อที่ต้องเจาะเก็บ และลดการเจาะในรายที่มีความเสี่ยงต่ำ 
• เจาะหาสารบ่งชี้ในเลือด (serum PSA) ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีอาการทำให้ตรวจพบเจอผู้ป่วยในระยะเริ่มต้นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาโรคให้หายขาดได้


 

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก: 
 

• ขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค โดยจะพิจารณาร่วมกับอายุและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย 
• ใช้ยาลดฮอร์โมนเพศชาย การฉายแสง ฝังแร่ การให้ยาเคมีบำบัด การผ่าตัดตัดอัณฑะรวมถึงการให้ภูมิคุ้มกันบำบัด  
.
วิธีการผ่าตัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก มีอยู่ 2 วิธี: 
• ผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกทั้งหมดผ่านกล้อง  
• ผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วย  


 
ติดต่อสอบถาม/ ตามข่าวสารความรู้เรื่องโรคมะเร็งจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติเพิ่มเติมได้ที่:
• สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โทร. 02 202 6800, 02 202 6888
• ส่งเสริมความรอบรู้สู้ภัยมะเร็ง คลิก http://allaboutcancer.nci.go.th/ 
• ต่อต้านข่าวปลอมโรคมะเร็ง คลิก https://thaicancernews.nci.go.th/_v2/ 
• Line : NCI รู้สู้มะเร็ง

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด