ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สารสกัดจากเห็ดวิเศษ psilocybin ใช้เป็นยารักษาโรคซึมเศร้ารุนแรง

สารสกัดจากเห็ดวิเศษ psilocybin ใช้เป็นยารักษาโรคซึมเศร้ารุนแรง HealthServ.net
สารสกัดจากเห็ดวิเศษ psilocybin ใช้เป็นยารักษาโรคซึมเศร้ารุนแรง ThumbMobile HealthServ.net

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เล่าถึงรายงานในวารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน (JAMA) หลายฉบับ ถึงความก้าวหน้าในการทดลองทางคลินิกในการใช้ psilocybin ที่สกัดจากเห็ดวิเศษ เห็ดเมา ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรงได้ รวมกระทั่งถึงในปัจจุบัน อย สหรัฐ รับรองเป็นยาในการรักษาโรค Anorexia nervosa และ ภาวะ post traumatic stress syndrome


สารสกัดจากเห็ดวิเศษ psilocybin ใช้เป็นยารักษาโรคซึมเศร้ารุนแรง
 
หลังจากมีรายงานหลายฉบับในการใช้ psilocybin ที่สกัดจากเห็ดวิเศษ เห็ดเมา และมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรงได้รวมกระทั่งถึงในปัจจุบัน อย สหรัฐ รับรองเป็นยาในการรักษาโรค Anorexia nervosa และ ภาวะ post traumatic stress syndrome
 
รายงานในวารสารสมาคมแพทย์อเมริกัน (JAMA) วันที่ 31 สิงหาคม 2023 เป็นการศึกษาในมนุษย์ระยะที่สองระหว่างเดือนธันวาคม 2019 และมิถุนายน 2022 ในสถาบัน 11 แห่งของสหรัฐโดยมียาจริงคือ psilocybin เทียบกับยาหลอกคือ Niacin ในผู้ป่วยที่มีอาการหดหู่ซึมเศร้า major depressive disorder เป็นผู้ใหญ่อายุ 21 ถึง 65 ปีโดยที่ไม่มีประวัติของโรคจิตหรือ mania และไม่ถึงกับมีความคิดที่จะฆ่าตัวตายที่จะลงมือปฏิบัติ
 
การศึกษาใช้ psilocybin สังเคราะห์ขนาด 25 มิลลิกรัมผู้ป่วย 51 รายที่ได้รับยา เทียบกับอีก 53 รายที่ได้รับยาหลอก
 
พบว่ามีอาการดีขึ้นจากการได้รับยาครั้งเดียว อย่างมีนัยยะสำคัญ จากเริ่มต้นจนกระทั่งถึงวันที่ 43 ที่ทำการประเมิน และผลยังทอดยาวต่อเนื่องไปได้อีก แต่ไม่ใช่เป็นการหายขาด หรือ remission 
 
ขณะที่อาการดีขึ้นนั้น การทำงานกิจวัตรประจำวันดีขึ้นด้วย
 
ทั้งนี้แม้มีผลข้างเคียงแต่ก็ไม่ถึงขนาดที่ต้องการได้รับการรักษาอย่างฉุกเฉินใดๆได้แก่ มีอาการปวดหัว มีอาการทางรับรู้ทางสายตา และอาเจียน ที่หายเองได้ทั้งหมด
 

เห็ดขี้ควาย (psilocybe mushroom)


             เห็ดวิเศษ หรือเห็ดเมา ที่ถูกระบุถึงข้างต้น  กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เรียกว่าเป็น เห็ดขี้ควาย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Psilocybe cubensis Sing  วงศ์ Strophariaceae  สารเคมีที่สำคัญในเห็ดขี้ควาย มี 2 ชนิด คือ psilocybine และ psilocine  ซี่งเมื่อ  psilocybine  เข้าร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็น  psilocine  ทั้ง psilocybine และ psilocine ไม่มีประโยชน์ทางการแพทย์
 
             ชื่อสามัญ/ชื่อเรียกทั่วไป เห็ดขี้ควาย  / Psilocybe mushroom  / บางแห่งเรียกเห็ดโอสถลวงจิต ในบรรดานักเที่ยวอาจเรียกเห็ดขี้ควายว่า “Magic Mushroom” / Buffalo dung Mushroom ลักษณะ หมวกเป็นรูปกระทะคว่ำแล้วแบนลง เส้นผ่านศูนย์กลาง 6.5-8.8 เซนติเมตร ผิวสีฟางข้าวอมเหลือง กลางหมวกมีสีน้ำตาลอมเหลือง มีเกล็ดเล็กๆ กระจายออกไปยังขอบหมวก ขอบมีริ้วสั้นๆ โดยรอบ ครีบสีน้ำตาลดำ ส่วนกลางกว้างกว่า ปลายทั้งสองข้าง ไม่ยึดติดกับก้าน  ก้าน ยาว 4.5-8 เซนติเมตรความสูงของลำต้นประมาณ 5.5-8 ซม. โคนใหญ่กว่าเล็กน้อย สปอร์ รูปรี  สีน้ำตาลดำ ผนังหนา ผิวเรียบ ด้านบนมีปลายตัดเป็นรูเล็กๆ  พบได้บริเวณ   เห็ดขี้ควาย มีขึ้นอยู่ทั่วไปในแทบทุกภาคของประเทศไทย เห็ดชนิดนี้ชอบขึ้นเป็นดอกเดี่ยวกลุ่มละ 4-5 ดอก บนพื้นดินที่มีมูลสัตว์พวกมูลวัว มูลควายแห้ง
 
 
             การเสพ มีผู้นำไปเสพทั้งรูปแบบสดและแห้ง บางครั้งนำมาปรุงเป็นเมนูอาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น ไข่เจียวเห็ด และเห็ดปั่นผสมเหล้า หรือคอกเทลสำหรับใช้เสพ ในกลุ่มนักท่องเที่ยวบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี  อย่างไรก็ตามคนทั่วไปมักทราบ และรู้ว่าเห็ดนี้ เป็นเห็ดพิษ รับประทานแล้วจะมึนเมา จึงไม่มีการนำมารับประทาน
 
 
             อาการผู้เสพ : เมื่อบริโภคเข้าไปจะทำให้มีอาการเมา เคลิบเคลิ้มและบ้าคลั่งในที่สุด เนื่องจากสาร psilocybine และ psilocine  มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ประสาทหลอน เห็นภาพแสงสีต่างๆ ลวงตา เช่น เห็นแมงมุมหรือสัตว์ประหลาดลงไปในท้อง รู้สึกมีเข็มมาทิ่มแทงตามตัว ได้ยินเสียงฟ้าร้อง ฟ้าผ่า สับสน ไม่สามารถลำดับทิศทางได้ มีความคิดและอารมณ์เปลี่ยนแปลง มีอาการคล้ายผู้ที่เสพ LSD คนที่ใช้มานานๆ จะเพลินต่อความรู้สึกต่างๆ ร่างกายจะเกิดการต้านยา ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเรื่อยๆ
 

การควบคุมตามกฎหมาย

1.เห็ดขี้ควาย   ซึ่งหมายถึงพืชที่ให้สาร psilocybine หรือ psilocine และรวมถึงส่วนต่างๆ ของพืชดังกล่าว เป็นต้นว่า ดอกเห็ด ก้านเห็ด สปอร์ของเห็ดดังกล่าว จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
 
2.สาร psilocybine และ psilocine ปัจจุบันถูกควบคุมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
 
 
บรรณานุกรม
เห็ดขี้ควายสิ่งเสพติดต้องห้าม :ยงยุทธ์  สายฟ้า  วิรัช  ชูบำรุง กองโรคพืชและจุลชีววิทยา กรมวิชาการเกษตร
พืชเห็ดขี้ควาย : วรางค์ บุญช่วย  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
เว็บไซต์  www.emcdda.europa.eu
สารสกัดจากเห็ดวิเศษ psilocybin ใช้เป็นยารักษาโรคซึมเศร้ารุนแรง HealthServ
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด