ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

[ฉบับอ่านง่าย] สรุปสาระสำคัญ - หลักสูตรรายวิชากัญชากัญชงศึกษา ม.ปลาย (ทช 33098)

[ฉบับอ่านง่าย] สรุปสาระสำคัญ - หลักสูตรรายวิชากัญชากัญชงศึกษา ม.ปลาย (ทช 33098) Thumb HealthServ.net
[ฉบับอ่านง่าย] สรุปสาระสำคัญ - หลักสูตรรายวิชากัญชากัญชงศึกษา ม.ปลาย (ทช 33098) ThumbMobile HealthServ.net

[ฉบับอ่านง่าย] สรุปสาระสำคัญ : ฉบับอ่านออนไลน์แปลงจาก pdf จากโครงสร้างหลักสูตรรายวิชา ทช 33098 กัญชาและกัญชงศึกษา เพื่อใช้เป็นยาอย่างชาญฉลาด ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

[ฉบับอ่านง่าย] สรุปสาระสำคัญ - หลักสูตรรายวิชากัญชากัญชงศึกษา ม.ปลาย (ทช 33098) HealthServ


 

สรุปสาระสำคัญ

+++++
 

1. หัวเรื่องที่ 1 เหตุใดต้องเรียนรู้กัญชาและกัญชง

 
1. 1.1 มุมมองกฎหมายการใช้กัญชาและกัญชงในประเทศไทยและต่างประเทศ

 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้กัญชาและกัญชงในประเทศไทยและต่างประเทศเพื่อเปิดโอกาสให้สามารถนำกัญชา ไปทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และสามารถนำไปใช้ในการรักษาโรคภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ได้ ในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอุรุกวัย แคนาดา เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย อิสราเอล และมาเลเซีย แต่ในบางประเทศ เช่น ประเทศแคนาดา หรือในบางรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศทางยุโรป เป็นต้น มีการอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อการนันทนาการได้อีกด้วย
 
1. 1.2 มุมมองการใช้กัญชาและกัญชงของประชาชนทั่วไป
 
      1.2.1 มิติการระบาดของกัญชาและกัญชง
 ในประเทศไทยมีการแพร่กระจายของการนำน้ำมันกัญชา มาใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ ตามความเชื่อของประชาชน ซึ่งการใช้น้ำมันกัญชาในปัจจุบันโดยส่วนมากเป็นการแอบซื้อมาใช้โดยไม่ทราบแหล่งที่มา และไม่ทราบว่าใช้กัญชาในการผลิตมากน้อยเพียงใด ไม่มีการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย หลังจากที่ประชาชนนำไปใช้ ทำให้ได้รับผลข้างเคียงจากการใช้น้ำมันกัญชา และในต่างประเทศทั่วโลก มุ่งหน้าสู่การทำให้กัญชาเป็นสิ่งถูกกฎหมาย ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ในหลายประเทศพยายามจะก้าวตามให้ทัน ซึ่งจะเห็นได้หลายแห่งในภูมิภาคลาตินอเมริกา รัฐบาลอยากให้ชาวไร่ สามารถเข้าถึงการปลูกกัญชาเพื่อการแพทย์มากขึ้น เพราะได้ผลกำไรดีและเป็นตลาดที่กำลังเจริญเติบโต
 
      1.2.2 ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและกัญชงในวิถีชีวิต
 
 ความเชื่อในประเทศไทยและต่างประเทศ มีลักษณะคล้ายคลึงกันในการนำกัญชามาใช้ในการปรุงอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติ ในขณะที่ประเทศไทยมีความเชื่อว่ากัญชาเป็นส่วนผสมของยาพื้นบ้านใช้ประโยชน์ทางยาได้ ส่วนในต่างประเทศจะใช้น้ำมันกัญชาเพื่อรักษาโรคและบรรเทาอาการป่วย ผู้ที่คิดจะนำนำมันกัญชาไปใช้จึงควรตระหนักถึงโทษอันตรายที่อาจจะเกิดขึ นกับตนเอง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้
 
      1.2.3 การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
 
 จากผลการสำรวจเรื่อง “คนไทยคิดเห็นอย่างไร กับการนำกัญชามาใช้เป็นยารักษาโรค” พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการผลักดันให้มีการนำกัญชามาใช้เป็นยารักษาโรคในประเทศไทย เรื่อง “กัญชาประโยชน์หรือโทษ” พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วย เพราะกัญชามีประโยชน์หลายอย่าง สามารถใช้ในการรักษาโรคได้ ถ้านำมาใช้ทางการแพทย์คาดว่าจะเกิดประโยชน์อย่างมาก และเรื่อง “การอนุญาตให้ใช้กัญชาและกระท่อมในทางการแพทย์” พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากกัญชาและกระท่อมทางการแพทย์ในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

 
1.1.3 สภาพการณ์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกัญชาผ่านสื่อออนไลน์
 
 ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและกัญชงผ่านสื่อออนไลน์ มีทั้งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต (Internet) เฟซบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (Line) และยูทูบ (YouTube) ข้อมูลเหล่านี้ ทำให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย แต่ยังขาดการคิดวิเคราะห์ว่าข้อมูลใดมีความน่าเชื่อถือ จึงควรมีความรู้ในการคิดวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลที่สืบค้นได้ผ่านสื่อออนไลน์ และตระหนักถึงความสำคัญของการคิดวิเคราะห์แยกแยะข้อมูลที่ถูกต้อง
 

1.1.4 สภาพการณ์การใช้กัญชาและกัญชงในต่างประเทศ
 
 การใช้กัญชาและกัญชงในต่างประเทศ ใช้เสรีได้เพื่อนันทนาการ มีอยู่ในประเทศอุรุกวัย แคนาดา สหรัฐอเมริกาเป็นบางรัฐ สเปนใช้ในพื้นที่ส่วนตัว เนเธอร์แลนด์ใช้ในร้านกาแฟ ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ มากกว่า 30 ประเทศ ให้ใช้กัญชาในทางการแพทย์รวมถึงประเทศไทยด้วยส่วนการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับกัญชาและกัญชง มีในต่างประเทศมานานแล้ว สำหรับประเทศไทยไม่มีการศึกษาวิจัยเนื่องจากกัญชาและกัญชงเป็นยาเสพติด จึงไม่มีผลการวิจัยมารองรับ

 
1.1.5. สภาพการณ์การใช้กัญชาและกัญชงในประเทศไทย

 กระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้ใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์แผนปัจจุบันในการรักษาโรคภาวะคลื่นไส้อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด โรคลมชักที่รักษายากและที่ดื้อต่อยารักษา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง ภาวะปวดประสาทที่รักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล และให้ควบคุมอาการของโรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ โรควิตกกังวล โรคปลอกประสาทอักเสบและผู้วยมะเร็งระยะสุดท้าย ส่วนการแพทย์ทางเลือกได้คัดเลือก และรับรองตำรับยาที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ ให้ผู้ป่วยใช้ได้โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ที่ได้รับอนุญาต

 
1.1.6. มุมมองการใช้กัญชาและกัญชงของบุคลากรทางการแพทย์
 
 บุคลากรทางการแพทย์ มีความคิดเห็นว่าหากจะใช้กัญชาและกัญชงในทางการแพทย์ต้องแจ้งให้ชัดเจน ว่าใช้ได้กับโรคใดได้ผล มีความปลอดภัยทางวิชาการ คุณภาพของสารสกัดจากกัญชาและกัญชง ต้องระบุวิธีการสกัด มีสารปนเปื้อนหรือไม่ การเข้าถึงอย่างเป็นระบบทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงมีการศึกษาเรื่องความปลอดภัยการใช้ในคน และในมิติต่าง ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าใช้แล้วไม่เกิดการเสพติด หรือมีการนำไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งการผลิตยานั้นไม่ต้องการเพียงยาที่รักษาโรคเท่านั้น แต่ยังต้องการยาที่มีความปลอดภัย มีมาตรฐาน และมีคุณภาพ แม้กัญชาและกัญชงจะมีสรรพคุณเป็นยาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยในบางโรค แต่ถ้าใช้กัญชาอย่างไม่ถูกต้อง และไม่มีการควบคุมก็จะเป็นอันตรายทั้งต่อผู้ใช้และสังคม

 
1.1.7 มุมมองการใช้กัญชาและกัญชงของผู้ป่วย
 
 ผู้ป่วยมีความคิดเห็นว่าการใช้กัญชาและกัญชงต้องคำนึงถึงความจำเป็นและความต้องการของผู้ป่วย โดยเฉพาะความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ยา ในการจัดการอาการ เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ของโรค ถึงแม้ว่าจะเกิดอาการข้างเคียงที่เป็นผลลบบ้าง แต่อาการข้างเคียงดังกล่าวขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ยาที่มีกัญชาและกัญชง และความแตกต่างของแต่ละบุคคล


1.1.8 สภาพการณ์และขั้นตอนการให้บริการคลินิกกัญชาในประเทศไทย
 
 ประเทศไทยเริ่มให้บริการคลินิกกัญชาครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เปิดที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2562 ได้เปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลศูนย์ จำนวน 14 แห่ง ตลอดจนภายในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการเปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทยเพิ่มเติมในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 12 แห่ง รวมทั้งเปิดคลินิกวิจัยน้ำมันกัญชาตำรับหมอเดชา จำนวน 22 แห่งอีกด้วย นอกจากนี้วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 กระทรวงสาธารณสุขเปิดคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน 110 แห่ง และคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย 24 แห่ง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงยากัญชาอย่างปลอดภัยของผู้ป่วย



+++++

 

2. หัวเรื่องที่ 2 กัญชาและกัญชง พืชยาที่ควรรู้


 
2.1 ประวัติความเป็นมาของพืชกัญชาและพืชกัญชง
 
 ประวัติพืชกัญชาในต่างประเทศมีการนำมาใช้ตั้งแต่ 10,000 ปี มาแล้ว นำมาใช้ในการสูดดมควัน ใช้เส้นใยทำเสื้อผ้า ทำใบเรือและเชือกในการสร้างเรือ ใช้เป็นส่วนผสมในอาหาร ใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับศาสนา และการใช้เสพเพื่อนันทนาการ รวมทั้งการจดสิทธิบัตรรักษาโรคทางระบบประสาท ส่วนประเทศไทยใช้เป็นตำรับยาในการรักษาโรค

 
2.2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพืชกัญชาและพืชกัญชง
 
     2.2.1 พฤกษศาสตร์ของพืชกัญชาและพืชกัญชง
 
     พืชกัญชา มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cannabis sativaL. เป็นพืชในวงศ์ Cannabaceae มีชื่อสามัญหลากหลายตามแต่ละท้องถิ่น เป็นไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 1 - 5 เมตร ใบเดี่ยว มี 3 -9 แฉกรูปฝ่ามือ เรียงสลับ ดอกแยกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน (dioecious species)และมีแบบต้นกะเทย คือ เพศผู้ และเพศเมียในต้นเดียวกัน (monoecious species) ออกดอก เป็นช่อตามง่ามใบและปลายยอด ช่อดอกเพศเมีย เรียกว่า “กะหลี่กัญชา” ผลแห้ง เมล็ดล่อน เล็ก เรียบ สีน้ำตาล

 
     2.2.2 ชนิด (species) ของพืชกัญชาและพืชกัญชง
 
 กัญชาและกัญชง นักพฤกษศาสตร์จัดว่าเป็นพืชในสปีชีส์ (species) เดียวกัน คือ Cannabis sativa L. ซึ่งจัดอยู่ในสกุล (genus) Cannabis และเป็นพืชในวงศ์ (family) Cannabaceae แต่ในส่วนขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แบ่งย่อยเป็น 2 ซับสปีชีส์ (subspecies) ได้แก่ Cannabis sativa L. subsp. sativa (กัญชง, Hemp) ซึ่งมักจะมีปริมาณ THC น้อยกว่าร้อยละ0.3 ในใบและช่อดอกแห้ง (แต่ในบางครั้งอาจจะสูงถึงร้อยละ 1)และ Cannabis sativa L. subsp. indica (กัญชา, Cannabis) ซึ่งมักจะพบปริมาณ THC มากกว่าร้อยละ 1 ในใบและช่อดอกแห้ง การจำแนกพืชกัญชาและกัญชง โดยสังเกตจากลักษณะทางสัณฐานวิทยาทำได้ยาก เนื่องจากสาร THC ในกัญชาเปลี่ยนแปลงได้ง่ายจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม นักวิชาการเกษตรด้านการปรับปรุงสายพันธุ์มักจะจำแนกพืชกัญชา และกัญชงออกเป็น 3 สายพันธุ์ ได้แก่ ซาติว่า (Cannabis sativa L.) อินดิก้า (Cannabis indica Lam.) และรูเดอลาลิส (Cannabis ruderalis Janishch.)ซึ่งจำแนกตามลักษณะทางกายภาพของพืช เช่น ลักษณะใบ ความสูง ถิ่นกำเนิดที่พบ เป็นต้น

 
     2.2.3 องค์ประกอบทางเคมี และสารสำคัญที่พบในพืชกัญชาและพืชกัญชง
 
     องค์ประกอบทางเคมีที่พบในพืชกัญชาและกัญชงมีมากกว่า 500 ชนิด และ มีอยู่หลายกลุ่มแต่สารที่มีความสำคัญทางยาคือสารในกลุ่มแคนนาบินอยด์ (cannabinoids/Phytocannabinoids) พบมากบริเวณยางในไทรโครมของดอกเพศเมียที่ยังไม่ได้รับการผสมพันธุ์(resin glandular trichomes)



    2) สารสำคัญที่พบในพืชกัญชาและพืชกัญชง
 
     (1) สารแคนนาบิเจอรอล (Cannabigerol, CBG) เป็นอนุพันธ์ของสาร CBGA เมื่อสาร CBGA ถูกความร้อนจะเปลี่ยนสภาพเป็นสาร CBG ดังนั้น สาร CBG จึงสามารถตรวจพบได้ในพืชกัญชาและกัญชง สาร CBGA เป็นสารต้นกำเนิดของสารทั้งหมดที่พบในพืชกัญชาและกัญชง เมื่อพืชโตขึ้น สาร CBGA นี้ จะถูกเปลี่ยนเป็น THCA CBDA และสาร อื่น ๆ เมื่อสารถูกความร้อน หรือ ออกซิไดซ์ สาร CBGA THCA และสาร CBDA จะเปลี่ยนสภาพเป็นสาร CBG สาร THC และสาร CBD

 
     (2) สารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) เป็นสารที่มีฤทธิ์ทำให้มึนเมาออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง (psychoactive effect) ปริมาณของ THC ในแต่ละส่วนของพืชมีปริมาณไม่เท่ากัน จะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้ผู้เสพตื่นเต้น ช่างพูด หัวเราะอารมณ์ดีต ่อมาจะกดประสาทมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อนๆ เซื่องซึมง่วงนอน และหลอนประสาท โดยขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับ

 
     (3) สารแคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) สารนี้ไม่มีผลต่อจิตและประสาท (non-psychoactive) และช่วยลดผลข้างเคียงจาก THC ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติมีขั้วต่ำ ละลายได้ดีในน้ำมัน ดังนั้นการสกัดสารสำคัญจากกัญชา จึงมักนิยมใช้ตัวทำละลายที่มีขั้วต่ำ หรือน้ำมันในการสกัด เพราะจะสามารถละลายเอาสารแคนนาบินอยด์ออกมาได้ดี

 
     (4) สารออกฤทธิ์ที่ร่วมกับแคนนาบินอยด์ เช่น สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์และเทอร์ปีน เป็นสารที่ช่วยเสริมการออกฤทธิ์ทางยาแก่สารกลุ่มแคนนาบินอยด์


 
2.3 พืชกัญชาและพืชกัญชงคืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
 
     พืชกัญชาและกัญชงมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันคือ Canabis sativa L. มีถิ่นกำเนิดมาจากพืชเดิมชนิดเดียวกัน ลักษณะภายนอก หรือสัณฐานวิทยาของพืชทั้งสองชนิดจึงมีความแตกต่างกันนอย การแยกโดยสัณฐานวิทยาทำได้ค่อนข้างยาก ปัจจุบันพืชกัญชาและกัญชงแยกจากกัน โดยตัดสินจากปริมาณสาร THC ซึ่งข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดกัญชงให้มีปริมาณ THC ไม่เกินร้อยละ 0.3 ในใบและช่อดอกแห้ง ส่วนกฎหมายของประเทศไทยกำหนดให้กัญชงให้มีปริมาณ THC ไม่เกินร้อยละ 1.0 ในใบและช่อดอกแห้ง




2.4 การใช้พืชกัญชาและพืชกัญชงในชีวิตประจำวันของคนในโลก
 
     2.4.1 ผลิตภัณฑ์พืชกัญชาและกัญชงไม่แปรรูป เช่น ดอกกัญชาแห้ง (Cannabis dries flower) ในประเทศที่อนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ผู้ป่วยจะสามารถนำใบสั่งซื้อจากแพทย์ไปซื้อกัญชาแห้งมาเพื่อใช้สูบหรือใช้เพื่อการรักษาได้
 
     2.4.2 ผลิตภัณฑ์พืชกัญชาและกัญชงแปรรูป คือ ผลิตภัณฑ์จากพืชกัญชาและกัญชง ที่แปรรูปเป็นสารสกัดเข้มข้น (Concentrates) ซึ่งมีหลายรูปแบบ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปผลิตภัณฑ์สารสกัดกัญชาจะให้สารแคนนาบินอยด์ที่เข้มข้นกว่าในรูปพืชแห้ง แต่ทั้งสองรูปแบบสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งทางการแพทย์และเพื่อการนันทนาการได้ตามกฎหมายของแต่ละประเทศที่มีการอนุญาตให้ใช้
 
     2.4.3 การบริโภคและอุปโภค
     มีการใช้พืชกัญชาหรือกัญชงเป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมอาหาร บางประเทศ มีการอนุญาตให้ใช้กัญชาในอาหารซึ่งจะต้องระบุปริมาณสาร THC และ CBD ให้ชัดเจน โดยปกติต้องไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อหน่วยบริโภค แต่ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมความงามและสุขภาพ รวมไปถึงอุตสาหกรรมสิ่งทอ และมีการใช้ประโยชน์อย่างมากมายของกัญชง เช่น การผลิตเครื่องสำอาง น้ำมันจากเมล็ด ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง การทำเครื่องแต่งกาย เสื้อกันกระสุน เป็นต้น
 
     2.4.4 การนันทนาการ
     กัญชาเป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ทำให้เกิดความผ่อนคลายและความรู้สึกเป็นสุข ในบางประเทศอนุญาตให้ใช้พืชกัญชาเพื่อการนันทนาการได้เช่น ประเทศอุรุกวัย ประเทศแคนาดา และในบางรัฐของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น เนื่องจากผู้ใช้กัญชารู้สึกเกิดการผ่อนคลาย และเป็นสุขขณะที่ใช้ แต่เนื่องจากกัญชายังมีสารที่ทำให้ติดได้ จึงไม่ควรใช้กัญชาต่อเนื่องและใช้ในปริมาณสูง
 
[ฉบับอ่านง่าย] สรุปสาระสำคัญ - หลักสูตรรายวิชากัญชากัญชงศึกษา ม.ปลาย (ทช 33098) HealthServ

+++++

3. หัวเรื่องที่ 3 รู้จักโทษและประโยชน์ของกัญชาและกัญชง


3.1 โทษของกัญชาและกัญชง


3.1.1 ผลกระทบต่อร่างกายและผลข้างเคียง ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสารเสพติดจากสาขาต่าง ๆ และรายงานทางวิชาการ พบว่า กัญชามีผลกระทบต่อร่างกายเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ผลต่ออาการติดยา นอกจากกระทบต่อการใช้ชีวิตตามปกติแล้ว กัญชายังมีโทษต่อทุกส่วนของร่างกาย ผู้เสพกัญชา ร่างกายจะเสื่อมโทรม ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และทำลายสมอง ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด ทำร้ายทารกในครรภ์มีผลกระทบต่อทางเดินหายใจ หัวใจ และหลอดเลือด กัญชาจะเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจเร็ว เมื่อใช้กัญชาในปริมาณมาก และยาวนานต่อเนื่องไม่สามารถควบคุมอาการติดยาได้

 
3.1.2 ผลกระทบต่อจิตใจ ฤทธิ์ของกัญชาและกัญชงทำให้ผู้เสพมีความผิดปกติทางความรู้สึก ความคิด อาการ หรือพฤติกรรมต่าง ๆ จิตฟั่นเฟือน มีอาการประสาทหลอน ความคิดสับสน นำไปสู่โรคจิตเวช หรือภาวะซึมเศร้าได้
 
3.1.3 ผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน และสังคม การเสพกัญชาและกัญชงทำให้มีผลกระทบต่อครอบครัวทำลายความสุขในบ้าน เป็นที่รังเกียจของชุมชน ทำลายชื่อเสียงวงศ์ตระกูล อาจเพิ่มความรุนแรงถึงขั้นเกิดปัญหาอาชญากรรมต่าง ๆ ในชุมชน และสังคมตามมาได้

 3.1.4 ผลกระทบต่อประเทศชาติเมื่อประชากรเสพติดกัญชามาก ส่งผลทำลายเศรษฐกิจ สูญเสียงบประมาณในการดูแลรักษาผู้ที่เสพติดกัญชา ทำลายความมั่นคงของประเทศ ต้องสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในการพัฒนาประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศก็จะเป็นไปอย่างเชื่องช้า เกิดข้อขัดแย้งทางการเมือง หรือความไม่สงบระหว่างประเทศ ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง และเกียรติภูมิในสายตาของชาวต่างชาติได้



3.2 ประโยชน์ของกัญชาและกัญชงทางการแพทย์สารสกัดจากกัญชาที่นำมาใช้
 
ประโยชน์ทางการแพทย์ มีสารกลุ่ม แคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) ที่มีสารออกฤทธิ์สำคัญ 2 ชนิด คือ แคนนาบิไดออล (Cannabidiol, CBD) มีคุณสมบัติลดอาการเจ็บปวด อักเสบ ชักเกร็ง คลื่นไส้ และสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol, THC) มีคุณสมบัติต่อจิตประสาททำให้ผ่อนคลาย ลดอาการตึงเครียด สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม

(1) สารสกัดกัญชาที่มีข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนชัดเจน

(2) สารสกัดกัญชาช่วยในการควบคุมอาการ ควรมีข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนเพิ่มเติม และ

(3) สารสกัดกัญชาที่ยังขาดข้อมูลจากการวิจัยสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอ

ดังนั้น การนำสารสกัดกัญชามาใช้ในทางการแพทย์จำเป็นต้องคำนึงถึงประสิทธิผล ความปลอดภัยเป็นสำคัญ และในทางการแพทย์แผนไทย มีการอนุญาตให้ใช้ตำรับยาที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบที่ได้มีการคัดเลือก และรับรองโดยกระทรวงสาธารณสุข 16 ตำรับ การใช้ยาจากกัญชาต้องอยู่ภายใต้การควบคุม ดูแลของแพทย์ และแพทย์แผนไทย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด



+++++



 


4. หัวเรื่องที่ 4 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและกัญชง



4.1 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
 
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ให้ความหมายคำว่า “ยาเสพติดให้โทษ” หมายถึง สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพ ทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย นอกจากนี้ยังแบ่งยาเสพติดให้โทษออกเป็น 5 ประเภท โดยกัญชาถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามมาตรา 7 โดยกำหนดไว้ว่าห้ามปลูก ห้ามเสพ ห้ามจำหน่ายและมีไว้ครอบครอง


4.2 พระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559

พระราชบัญญัติวัตถุเพื่อออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 มีเหตุผลในการประกาศใช้เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งมีสภาพปัญหาเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สมควรปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับวัตถุออกฤทธิ์ หน้าที่ของผู้รับอนุญาตหน้าที่ของเภสัชกร การโฆษณาและอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับด้านตรวจสอบวัตถุออกฤทธิ์ และการให้โอกาสแก่ผู้เสพ หรือเสพและมีไว้ในครอบครอง หรือเสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย หรือเสพและขายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ ได้สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษาในสถานพยาบาล ตลอดจนปรับปรุงบทกำหนดโทษ และอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทั้งนี้กัญชามีสารวัตถุออกฤทธิ์ชื่อว่า “เตตราไฮโดรแคนนาบินอล” (tetrahydrocannabinol, THC) และถูกบัญญัติไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องระบุชื่อวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1
 
 
4.3 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 เป็นฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เปิดโอกาสให้สามารถนำกัญชาและพืชกระท่อมไปทำการศึกษาวิจัย เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสามารถนำไปใช้ในการรักษาภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ผู้ได้รับอนุญาตได้ เพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการให้ทำได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านยาของประเทศ และป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดทางด้านยา นอกจากนี้ ส่งผลให้อนาคตผู้ป่วยในประเทศ ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพได้อย่างมาก และส่งผลทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เปิดทางให้ใช้ในอุตสาหกรรมยา สมุนไพรอาหารและเครื่องสำอาง เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ พร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการภายในประเทศ ใช้ระโยชน์จากกัญชง นอกเหนือจากเส้นใย หวังเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ นำรายได้เข้าประเทศ

พระราชบัญญัติฉบับนี้ กัญชา ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ห้ามมิให้ผู้ใดเสพ เว้นแต่เสพเพื่อรักษาโรคตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือเป็นการเสพเพื่อศึกษาวิจัย และยังสามารถใช้ประโยชน์ได้ ตามวัตถุประสงค์ในกรณีจำเป็น คือ ประโยชน์ของทางราชการ ประโยชน์ทางการแพทย์ประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย ประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและพัฒนาและประโยชน์ในการเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์ หรืออุตสาหกรรม อีกทั้งในมาตรา 26/5 ยังกำหนดผู้มีสิทธิ์ที่จะขอออกใบอนุญาตให้ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครอง ผู้ขออนุญาตต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ ผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศ และผู้ขออนุญาตอื่นตามที่รัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งในวาระเริ่มแรกภายในระยะเวลา 5 ปีการขอรับใบอนุญาตสำหรับวัตถุประสงค์ผลิต นำเข้า ส่งออกเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือการรักษาผู้ป่วย ให้อนุญาตได้ คือ ให้อนุญาตได้เฉพาะกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นหน่วยงานของรัฐ หรือเป็นผู้ขออนุญาตตามมาตรา 26/5 ซึ่งดำเนินการร่วมกับผู้ขออนุญาตที่เป็นหน่วยงานของรัฐ

 
4.4 ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและกัญชง
 
ประกาศ และระเบียบของกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและกัญชงทำให้เกิดความชัดเจนตามกฎหมายสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ การแพทย์แผนไทยทุกด้าน ทั้งนี้เพื่อใช้ประโยชน์จากสารสำคัญในกัญชา และกัญชง มีจำนวน 5 ฉบับ ดังนี้

(1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้

(2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทยที่จะสามารถปรุง หรือสั่งจ่ายตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ได้

(3) ประกาศกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เรื่องกำหนดแบบตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรับรองหมอพื้นบ้าน พ.ศ. 2562

(4) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2561 มีสาระสำคัญโดยกำหนดให้กัญชา (cannabis) เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ลำดับที่ 1 ซึ่งมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. และ Cannabis indica Lam. ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึง ทุกส่วนของพืชกัญชา เช่น ใบ ดอก ยอด ผล ลำต้น และ วัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชา เช่น ยาง น้ำมัน ยกเว้นเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง เส้นใยแห้ง และ

(5) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษประเภท 5 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มีสาระสำคัญคือ กำหนดยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติม ลำดับ 1 กัญชา (cannabis) ซึ่งเป็นพืชในสกุล Cannabis ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึง ทุกส่วนของพืชกัญชา เช่น ใบ ดอก ยอด ผล ลำต้น และวัตถุหรือสารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพืชกัญชา เช่น ยาง น้ำมัน และ ลำดับที่ 5 คือ กัญชง (hemp) ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L. subsp. sativa อันเป็นชนิดย่อยของพืชกัญชา (Cannabis sativa L.) ทั้งนี้ให้หมายความรวมถึง ทุกส่วนของพืชกัญชง เช่น ใบ ดอก ยอด ผล ลำต้น ที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) และลักษณะเป็นไปตำมที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
 

4.5 ประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ
 
ประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและกัญชงที่สำคัญมีจำนวน 6 ฉบับ ได้แก่

(1) ประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เรื่อง การแสดงความจำนงและการตรวจสอบผู้แสดงความจำนงเป็นผู้รับอนุญาตตั้งแต่วันที่ผู้รับอนุญาตตาย
 
(2) เรื่อง กำหนดแบบการจัดทำบัญชีรับจ่ายและรายงานเกี่ยวกับการผลิต การนำเข้า การส่งออก การจำหน่าย การมีไว้ในครอบครอง ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา
 
(3) เรื่อง กำหนดฉลากและเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 หรือคำเตือนหรือข้อควรระวังการใช้ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่ผลิต นำเข้า หรือส่งออกสำหรับยาแผนปัจจุบันซึ่งมีกัญชาปรุงผสมอยู่

(4) เรื่อง กำหนดเมล็ดพันธุ์เฮมพ์เป็นเมล็ดพันธุ์รับรองตามกฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 เฉพาะเฮมพ์ พ.ศ. 2559

(5) เรื่อง กำหนดลักษณะกัญชง (Hemp) ประกาศเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562 โดยกำหนดลักษณะกัญชง เพื่อเป็นประโยชน์ในการควบคุมการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง ที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ในใบและช่อดอกไม่เกินร้อยละ 0.5 ต่อน้ำหนักแห้ง และเมล็ดพันธุ์รับรองมีลักษณะเป็นเมล็ดพันธุ์กัญชงที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ในใบและช่อดอกไม่เกินร้อยละ 0.3 ต่อน้ำหนักแห้ง และ

(6) เรื่องกำหนดลักษณะกัญชง (Hemp) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้มีการยกเลิกประกาศฉบับเดิม ซึ่งสาระสำคัญของประกาศฉบับนี้คือ กำหนดลักษณะกัญชง (Hemp) มีลักษณะเป็นพืชซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cannabis sativaL. subsp. sativaอันเป็นชนิดย่อยของพืชกัญชา (Cannabis sativaL.) ที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ในใบและช่อดอก ไม่เกินร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้งโดยตรวจวิเคราะห์ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และ เมล็ดพันธุ์รับรองมีลักษณะเป็นเมล็ดพันธุ์กัญชง (Hemp) ที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (tetrahydrocannabinol, THC) ในใบ และช่อดอกไม่เกินร้อยละ 1.0 ต่อน้ำหนักแห้ง ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด โดยการตรวจวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด และเป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืช โดยประกาศฉบับนี้จะไม่มีผลบังคับใช้กับกรณีกัญชงที่ปลูกอยู่ก่อนประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ รวมถึงเมล็ดพันธุ์ที่รับรองแล้วก่อนประกาศมีผลบังคับใช้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสายพันธุ์กัญชง โดยเฉพาะพันธุ์พื้นเมือง เปิดกว้างให้เกิดการใช้ประโยชน์กัญชงอย่างคุ้มค่า


 
4.6 พระราชบัญญัติสิทธิบัตรกับกัญชาและกัญชง

ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 ให้ความหมาย “สิทธิบัตร” หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ขั้นตอนการยื่นคำขอจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและกัญชง มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะพิจารณาว่าขัดต่อพระราชบัญญัติสิทธิบัตรในมาตรา 9 (1) ซึ่งกำหนดว่าสัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืชไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติหรือ หากขัดกับมาตราดังกล่าวจะไม่สามารถยื่นจดสิทธิบัตรได้ เช่น สารสกัดจากกัญชาไม่สามารถจดได้.ขั นตอนที่ 2 หากการยื่นคำขอไม่ขัดกับมาตรา 9 (1) เช่น ตำรับยาจากกัญชาสำหรับใช้รักษาโรคต่าง ๆ กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นผู้ตรวจสอบว่าสามารถจดได้หรือไม่ โดยพิจารณาตามหลักการ คือ ต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ มีขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตอุตสาหกรรม หัตถกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรมได้และขั นตอนที่ 3 เมื่อผ่านการพิจารณาในขั้นตอนที่ 2 จะประกาศโฆษณาให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถคัดค้านหรือให้ข้อเสนอแนะได้ เมื่อประกาศโฆษณาแล้วผู้ขอต้องยื่นขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ เจ้าหน้าที่จะนำข้อคัดค้านหรือข้อเสนอแนะมาประกอบการพิจารณาร่วมกับการตรวจสอบการประดิษฐ์อีกครั้ง ก่อนจะพิจารณาว่าสามารถจดสิทธิบัตรได้หรือไม่ ปัจจุบันนี้มีผู้ขอจดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับกัญชากับกรมทรัพย์สินทางปัญญา มีจำนวน 3 บริษัท โดยมีจำนวน 10 คำขอ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ และการขอจดสิทธิบัตร
 

4.7 ข้อปฏิบัติที่ต้องทำตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและกัญชง
 
ข้อปฏิบัติที่สำคัญตามกฎหมายกัญชาและกัญชง มีข้อที่ควรปฏิบัติดังนี้

4.7.1 โพสต์ภาพ หรือข้อความ เพื่อโฆษณายาเสพติด มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
 

4.7.2 ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ข่มขืนใจให้ผู้อื่นเสพ มีโทษดังนี้
  • 4.7.2.1 จำคุก 1 - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 - 1,000,000 บาท
  • 4.7.2.2 ถ้าทำโดยมีอาวุธหรือร่วมกัน 2 คนขึ้นไป จำคุก 2 - 15 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 - 1,500,000 บาท
  • 4.7.2.3 ถ้ากระทำต่อหญิงหรือผู้ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือเพื่อจูงใจให้ผู้อื่นทำผิดอาญา หรือเพื่อประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่นในการทำผิดอาญา จำคุก 3 ปี ถึงตลอดชีวิต และปรับ 300,000 - 5,000,000 บาท
     
4.7.3 ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
4.7.4 ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ข่มขืนใจให้ผู้อื่นผลิต นำเข้า ส่งออก
จำหน่าย ครอบครองเพื่อจำหน่าย มีโทษเป็นสองเท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิด
นั้น ๆ

 
     ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็นจำนวนมาก ซึ่งกระทรวงยุติธรรม ได้กำหนดแนวทางการช่วยเหลือผู้เสพยาเสพติดแนวใหม่ ภายใต้กรอบความคิด “ผู้เสพ คือผู้ป่วย” ที่จะต้องได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง โดยแพทย์และพยาบาลในสถานพยาบาลของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ และหลังจากที่ผู้เสพได้รับการบำบัดรักษาแล้ว ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข โดยรัฐบาลจะให้การติดตามช่วยเหลือส่งเสริมการประกอบอาชีพ เพื่อให้ผู้เสพได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ “เปลี่ยนเพื่อครอบครัว เพื่ออนาคตที่ดีกว่า”



4.8 โทษของการฝ่าฝืนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและกัญชง

 
บทลงโทษของการฝ่าฝืนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกัญชาและกัญชง มี 5 กลุ่มดังนี้

4.8.1 กลุ่มผู้เสพ (นอกเหนือเพื่อรักษาตามคำสั่งแพทย์) มีบทลงโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4.8.2 กลุ่มครอบครอง หรือจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต (ไม่ถึง 10 กิโลกรัม) มีบทลงโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

4.8.3 กลุ่มจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต (ปริมาณ 10 กิโลกรัมขึ้นไป) มีบทลงโทษ จำคุกตั้งแต่ 1 - 15 ปี และปรับ 100,000 - 1,500,000 บาท
 
4.8.4 กลุ่มผู้ฝ่าฝืนผลิต นำเข้า หรือส่งออก มีบทลงโทษ จำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 บาท

4.8.5 กลุ่มกรณีเพื่อจำหน่าย มีบทลงโทษ จำคุกไม่เกิน 1 - 15 ปี และปรับ 100,000 - 1,500,000 บาท
 


ในส่วนผู้ขออนุญาตตามมาตรา 26/5 มีสิทธิที่จะขอใบอนุญาตให้ผลิต นำเข้า ส่งออกจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งผู้ขออนุญาตตามข้อ 2,3,4 และ 7 มีบุคคลอยู่ 2 กลุ่ม ดังนี้
 
กลุ่มที่ 1 กรณีบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย มีถิ่นที่อยู่ในไทย
 
กลุ่มที่ 2 กรณีนิติบุคคล จดทะเบียนตามกฎหมายไทย 2 ใน 3 กรรมการ หุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น มีสัญชาติไทย มีสำนักงานในไทย
 


นอกจากนี้การนำกัญชามาโฆษณาชวนเชื่อ บิดเบือนฉลากอาหาร - ฉลากยา มีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หากเข้าข่ายเป็นอาหารที่มีการแสดงฉลากเพื่อลวง หรือพยายามลวงให้เข้าใจผิดเรื่องคุณภาพ ปริมาณ ประโยชน์สถานที่ผลิต จัดเป็นอาหารปลอมต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 - 100,000 บาท



ต่อมาได้มีการนิรโทษกรรม โดยประกาศกระทรวงสาธารณสุข 3 ฉบับ ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ดังนี้ ฉบับที่ 1 เรื่อง การกำหนดให้ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชาตกเป็นของกระทรวงสาธารณสุข หรือให้ทำลายกัญชาที่ได้รับมอบ จากบุคคล ซึ่งไม่ต้องรับโทษ ตามมาตรา 22 แห่ง พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 โดยรายละเอียดผู้ที่ได้รับการนิรโทษกรรม หรือการครอบครองก่อนหน้านี้ไม่ผิด และให้มาแจ้งภายใน 90 วัน ฉบับที่ 2 เรื่องการครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา สำหรับผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้เพื่อรักษาโรคเฉพาะตัว ก่อนพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ใช้บังคับให้ไม่ต้องรับโทษ ซึ่งในกรณีนี้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้กัญชารักษาตัว และมีครอบครองก่อนกฎหมายใช้บังคับ และฉบับที่ 3 เรื่อง การแจ้งการมีไว้ในครอบครองกัญชา สำหรับผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 26/5 และบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้ป่วยตามมาตรา 22 (2) ก่อนพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 ใช้บังคับให้ไม่ต้องรับโทษ กล่าวคือ บุคคลที่ไม่ใช่กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 โดยในฉบับนี้ ให้หน่วยงานหรือบุคคลผู้ครอบครองกัญชาก่อนกฎหมายมีผลใช้บังคับเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์การรักษาผู้ป่วย การใช้รักษาโรคเฉพาะตัวหรือการศึกษาวิจัย




4.9 กฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับกัญชาและกัญชง
 
กกก ประเทศไทยในมิติด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ ได้เข้าเป็นรัฐภาคี จำนวน 4 ฉบับด้วยกัน คือ ฉบับที่ 1 อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 และพิธีแก้ไขอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961, ค.ศ. 1972 ฉบับที่ 2 อนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ.1971 ฉบับที่ 3 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการลักลอบค้ายาเสพติดและวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ค.ศ. 1988 และฉบับที่ 4 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000

 
ตามอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 ได้บัญญัติกัญชา สารสกัดจากกัญชา จัดให้อยู่ในตารางการควบคุมในบัญชีเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 และยางกัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 โดยห้ามปลูก ผลิต ส่งออก นำเข้า ค้าขาย ครอบครองหรือใช้ประโยชน์ เว้นแต่เพื่อใช้ทางการแพทย์หรือการศึกษาวิจัยเท่านั้น ภาคีประเทศต้องกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันมิให้มีการนำใบของพืชกัญชาไปในทางที่ผิด หรือทำการค้าที่ผิดกฎหมาย


นอกจากนี้อนุสัญญาของสหประชาชาติ(United Nation, UN) เป็นข้อตกลงสากลสูงสุดในเรื่องการควบคุมยาเสพติดอย่างเช่น กัญชา อนุสัญญาดังกล่าวกำหนดความรับผิดชอบร่วมกันในระดับสากล สำหรับการควบคุมการผลิต การค้า และการใช้ยาควบคุม โดยทั่วไปแล้วแต่ละประเทศจะกำหนดกฎหมายว่าด้วยยาซึ่งสัมพันธ์กับการออกกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับยารักษาโรค

 
สำหรับกัญชาทางการแพทย์อำนาจและมาตรการควบคุมของประเทศอื่น ๆ มีเป้าหมาย 3 ประการ ดังนี้ ประการที่ 1 ควบคุมการเข้าถึงและการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่ชอบด้วยกฎหมาย ประการที่ 2 เปิดโอกาสให้สามารถเข้าถึงกัญชาที่มาจากวิธีการทางเภสัชกรรมเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์บางกรณีในปริมาณที่เพียงพอ ประการที่ 3 อนุญาตให้สามารถมีการเพาะปลูก และผลิตกัญชาเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยประเทศที่ลงนามในอนุสัญญามีภาระหน้าที่ในการควบคุมการส่งออก นำเข้าและการขายส่งกัญชา และยาเตรียมจากกัญชาอย่างระมัดระวัง 


ข้อกำหนดดังกล่าวที่มีผลผูกมัด ให้ประเทศที่ลงนามอนุสัญญานี้ต้องควบคุมการส่งออก นำเข้า และขายส่งกัญชาและยาที่ผลิตจากกัญชาอย่างระมัดระวัง แต่สำหรับประเทศไทยเรายังไม่มีความพร้อมเรื่องระบบการควบคุม ถึงเราจะมีความพร้อมด้านการปลูกกัญชา แต่องค์การสหประชาชาติ มีข้อกำหนดเรื่ององค์กรกลางในการกำกับดูแลการใช้กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยมีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นองค์กรกลางที่รับผิดชอบอยู่ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่กฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว คือประเทศไทยมีการเปิดเสรีให้ใช้กัญชาทางการแพทย์เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ไม่มีกัญชาในปริมาณที่เพียงพอ

 
สำหรับรักษาผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคต้องไปหากัญชามาจากแหล่งที่ไม่อาจเปิดเผยได้ หรือตลาดมืดทำให้เกิดความสับสนแยกไม่ออกระหว่างพวกธุรกิจที่ถูกและผิดกฎหมายพวกที่เสพเพื่อนันทนาการสนุกสนาน หรือผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการรักษา ซึ่งสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) จะดำเนินการปราบปรามก็ทำได้ไม่ค่อยถนัดนัก เพราะเป็นเรื่องของจริยธรรม มนุษยธรรม และยากที่จะแยกแยะออกได้ว่าบุคคลใดเป็นผู้เสพ บุคคลใดเป็นผู้ครอบครอง และบุคคลใดเป็นผู้จำหน่ายได้ มีระบบกำกับควบคุมส่งออก ขายส่ง กัญชาและยาที่ผลิตจากกัญชา เป็นยาที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งที่รัฐต้องดำเนินการให้ชัดเจน เข้มงวด กวดขัน และทั่วถึงให้มีประสิทธิภาพโดยทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการใช้กัญชาในทางการแพทย์ได้จริง และต้องแยกแยะผู้ป่วยกับผู้ที่แอบแฝงเป็นผู้ป่วยให้ได้ เมื่อถึงจุดนั้นการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดก็จะสามารถทำได้อย่างประสบผลสำเร็จ

 
 
 
 
+++++

 
 

5. หัวเรื่องที่ 5 กัญชาและกัญชงกับการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก


5.1 ประวัติความเป็นมาการใช้กัญชาและกัญชงในต่างประเทศ

ในต่างประเทศพบหลักฐานบันทึกไว้ว่า มีการใช้กัญชาเป็นยารักษา หรือควบคุมอาการของโรคต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ได้แก่ โปรตุเกส สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศจีน อินเดียและอิหร่าน มาอย่างช้านาน ในบางประเทศมีหลักฐานว่าเคยมีการใช้กัญชามานานกว่า 4,700 ปี


5.2. ประวัติความเป็นมาการใช้กัญชาในการแพทย์ทางเลือกของไทย

ในประเทศไทยมีหลักฐานการใช้กัญชาในการรักษา หรือควบคุมอาการของโรคต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการรวบรวมไว้เป็นตำรายาหลายเล่ม และสูตรยาหลายขนาน เช่น ตำราพระโอสถพระนารายณ์ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ พระคัมภีร์ปฐมจินดา พระคัมภีร์มหาโชตรัต พระคัมภีร์ชวดารและพระคัมภีร์กษัย เป็นต้น มีการระบุตำรับยาที่ใช้กัญชา หรือมีกัญชาเป็นส่วนประกอบที่ใช้ในการรักษา นับแต่ในอดีตสืบเนื่องกันมา
 

5.3 ตำรับยาที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบที่ได้มีการคัดเลือก และรับรองโดยกระทรวง
 
สาธารณสุข ในปัจจุบัน พ.ศ. 2562 ประกาศใช้ทั้งหมด 16 ตำรับ ได้แก่

(1) ยาอัคคินีวคณะ
(2) ยาศุขไสยาศน์
(3) ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย
(4) ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ
(5) ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง
(6) ยาไฟอาวุธ
(7) ยาแก้นอนไม่หลับหรือยาแก้ไข้ผอมเหลือง
(8) ยาแก้สัณฑฆาต กล่อนแห้ง
(9) ยาอัมฤตย์โอสถ
(10) ยาอไภยสาลี
(11) ยาแก้ลมแก้เส้น
(12) ยาแก้โรคจิต
(13) ยาไพสาลี
(14) ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง
(15) ยาทำลายพระสุเมรุและ
(16) ยาทัพยาธิคุณ


5.4 ภูมิภูเบศรรวบรวมและเผยแพร่ภูมิปัญญาไทย
 
ภูมิภูเบศร ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรครบวงจร ภายใต้แนวคิดการพึ่งพาตนเองเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพร ประกอบด้วย

(1) เรือนหมอพลอย
(2) สวนสมุนไพรภูมิภูเบศร
(3) อภัยภูเบศรโมเดล


5.5 ภูมิปัญญานายเดชา ศิริภัทร หมอพื้นบ้าน
 
นายเดชา ศิริภัทร หมอพื้นบ้าน ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ เป็นผู้ที่ได้นำกัญชามารักษาโรคตามตำรับยาพื้นบ้านไทยจากกระแสความนิยมที่มาจากตะวันตก ได้เริ่มทดลองใช้กัญชารักษาตัวเอง โดยนำความรู้พื้นฐานในการสกัดที่เผยแพร่โดย ริค ซิมป์สัน (Rick Simpson) ชาวอเมริกันที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งแล้วสกัดกัญชารักษาโรคมะเร็งที่ตัวเองเป็นมาผสมผสานกับความรู้พื้นบ้าน เป็นน้ำมันเดชา (Decha Oil) นำมาใช้กับตนเองในการช่วยให้นอนหลับได้ลึกขึ้น หลงลืมง่าย และต้อเนื้อในตาในช่วง 4 - 5 ปี ที่ผ่านมา จึงขยายผลเผยแพร่ ทำยาแจกให้ผู้ป่วยโรคต่าง ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากกว่า 4,000 ราย ปัจจุบัน น้ำมันเดชาได้รับการรับรองให้เป็นตำรับยาพื้นบ้าน ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหมอพื้นบ้านผู้เป็นเจ้าของตำรับยาสามารถจ่ายให้กับผู้ป่วยของตนเองได้ และกระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างทำการวิจัยเพื่อวิจัยพิสูจน์ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสูตรการรักษาดังกล่าว



+++++


 

6. หัวเรื่องที่ 6 กัญชาและกัญชงกับการแพทย์แผนปัจจุบัน



6.1 ประวัติการใช้กัญชาและกัญชงทางการแพทย์แผนปัจจุบัน
 
 6.1.1 ต่างประเทศ
 
ในต่างประเทศ มีการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาในทางการแพทย์หลายรูปแบบได้แก่ น้ำมันหยดใต้ลิ้น แคปซูล สเปรย์ฉีดพ่นใต้ลิ้น ยาเม็ด ยาเหน็บทวาร หรือรูปแบบแผ่นแปะบนผิวหนัง มีการศึกษาวิจัย และใช้กัญชาเป็นยารักษาโรค เช่น ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และแคนาดา เป็นต้น นอกจากนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจดสิทธิบัตร และพบฤทธิ์ของกัญชาที่อาจมีผลดีต่อโรคทางระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน โรคหลอดเลือดสมอง และโรคที่เกิดจากเซลล์ถูกทำลายโดยอนุมูลอิสระ (Oxidative) เป็นต้น แต่ยังต้องการการศึกษาวิจัยในมนุษย์เพิ่มเติมอีกในอนาคต
 
 
 6.1.2 ประเทศไทย
 
ประวัติการใช้กัญชาในการแพทย์แผนปัจจุบันในประเทศไทย ไม่ปรากฏข้อมูลหลักฐาน สืบเนื่องจากกัญชา ได้ถูกบรรจุให้เป็นยาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 จึงทำให้ขาดการศึกษาวิจัย มาพัฒนาเพื่อใช้เป็นยาในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ส่งผลให้ไม่มีประวัติการใช้กัญชาในประเทศไทย ที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ในปัจจุบันได้มีการแก้ไขกฎหมายเพิ่มเติม ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 กำหนดให้ใช้เพื่อประโยชน์ทางราชการ ประโยชน์ทางการแพทย์ประโยชน์การรักษาผู้ป่วย และประโยชน์ในการศึกษาวิจัย ในปัจจุบันจึงอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย


 
6.2 กัญชาและกัญชงที่ช่วยบรรเทาโรคแผนปัจจุบัน
 
6.2.1 กัญชาและกัญชงกับโรคพาร์กินสัน
 
สาร CBD เป็นสารสกัดที่ได้จากกัญชงและกัญชา ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ช่วยให้ผู้ป่วย ลดความวิตกกังวล บรรเทาอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ มีฤทธิ์ระงับปวด และมีกลไกที่เชื่อว่าอาจทำให้ลดอาการสั่นจากโรคพาร์กินสัน ทำให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น ปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่ชัดเจน คาดว่าสาร CBD มีส่วนช่วยชะลออาการของ โรคพาร์กินสัน จากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ และปกป้องเซลล์สมอง ซึ่งต้องการงานวิจัยเพิ่มเติมในอนาคตถึงสัดส่วนสารสำคัญที่ใช้ในโรคพาร์กินสัน
 
 
 6.2.2 กัญชาและกัญชงกับโรคมะเร็ง
 
ในต่างประเทศ มีผลการศึกษาวิจัยสารในกัญชา สาร THC และสาร CBD ที่สามารถเชื่อถือได้ ในการรักษาโรคมะเร็งปอด และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ในประเทศไทย มีการศึกษาการใช้กัญชาต่อต้านมะเร็งพบว่า กัญชาสามารถออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งในการเพาะเลี้ยงเซลล์ในห้องทดลอง แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงผลของกัญชาต่อโรคมะเร็งในมนุษย์

 
 6.2.3 กัญชาและกัญชงกับการลดอาการปวด
 
มีการศึกษาการนำกัญชามาใช้ลดอาการปวด ส่วนใหญ่พบว่า สามารถบรรเทาอาการปวดแบบเรื้อรัง (Chronic pain) ที่เป็นการปวดทางระบบประสาท (Neuropathic pain) สามารถบรรเทาอาการปวดลงได้ส่วนการบรรเทาอาการปวดเฉียบพลัน เช่น หลังผ่าตัด ยังไม่ได้ให้ผลที่ดีสำหรับอาการปวดเรื้อรังในผู้ป่วยมะเร็ง ยังไม่มีข้อสรุปทางคลินิกที่ชัดเจน สารสกัดกัญชาอาจมีประโยชน์ในการรักษาอาการปวด แต่ยังขาดข้อมูลจากงานวิจัยสนับสนุนที่ชัดเจนเพียงพอในด้านความปลอดภัย และประสิทธิผล ซึ่งยังต้องศึกษาวิจัยต่อไปเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุด

 
 6.2.4 กัญชาและกัญชงกับโรคลมชัก
 
 สำหรับกัญชาที่องค์การอาหารและยา ( Food and Drug Administration) ของประเทศสหรัฐอเมริกา อนุมัติยาจากสารสกัดกัญชา ตัวแรก (ไม่ใช่สารสังเคราะห์) ชื่อการค้า Epidiolex® ประกอบด้วยตัวยา CBD 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในรูปแบบสารละลายให้ทางปาก (Oral solution) โดยมีข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคลมชักชนิดรุนแรง 2 ชนิด คือ Lennox - Gastaut syndrome และ Dravet syndrome ในผู้ป่วยอายุ 2 ปีขึ้นไปในประเทศไทย กรมการแพทย์ ประกาศถึงประโยชน์ของสารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ ในการนำตัวยา CBD มาใช้กับโรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษาเท่านั้น

 
 6.2.5 กัญชาและกัญชงกับโรคผิวหนัง
 
นายแพทย์เวสารัช เวสสโกวิท ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนำน้ำมันกัญชามาใช้ในโรคสะเก็ดเงิน และกรรมพันธุ์ผิวหนังชนิดหนังหนาแต่กำเนิด สำหรับในต่างประเทศ นายริค ซิมป์สัน (Rick Simpson) มีการค้นพบการรักษาโรคมะเร็งผิวหนังด้วยกัญชา โดยผลิตน้ำมันกัญชา เรียกว่า ริค ซิมป์สัน ออยล์ (Rick Simpson Oil, RSO) แล้วนำมาเผยแพร่แก่ประชาชนชาวสหรัฐอเมริกา และประเทศอังกฤษ ทางอินเทอร์เน็ต


 
 6.2.6 กัญชาและกัญชงกับโรคต้อหิน
 
 การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการรักษาโรคต้อหินด้วยกัญชา พบว่าการใช้กัญชาทำให้ความดันในลูกตาลดลงได้ มีฤทธิ์อยู่ได้เพียง 3 ชั่วโมง และขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้กัญชาด้วย ซึ่งอาจเพิ่มการเกิดผลข้างเคียงจากการได้รับขนาดยากัญชามากเกินไป ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำลงและหัวใจเต้นเร็วขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่ามีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องในการควบคุมความดันลูกตา ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาการออกฤทธิ์ ความแรงของยากัญชา ทำให้ในทางการแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่ยอมรับการนำกัญชามาใช้รักษาโรคต้อหิน เนื่องจากยาแผนปัจจุบันสามารถคุมความดันในลูกตาได้อย่างมีประสิทธิภาพคงที่ และสม่ำเสมอมากกว่า




6.3 การใช้น้ำมันกัญชาและกัญชงกับการแพทย์แผนปัจจุบัน

 
 น้ำมันกัญชา คือ สารสกัดกัญชา (Cannabis extract) ที่เจือจางอยู่ในน้ำมันตัวพา (Carrier oils ห รือ Diluent) ส่ วนมำกนิยมใช้น้ำมันมะกอก และน้ำมันมะพ ร้ำวสกัดเย็นโดยหากผ่านการผลิตที่ได้มาตรฐานจะมีการควบคุมคุณภาพของปริมาณสารสำคัญ ปริมาณความเข้มข้นของตัวยา THC และ CBD รูปแบบของน้ำมันกัญชามีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีน้ำตาล ลักษณะข้นหนืด น้ำมันกัญชาที่มีการผลิตอย่างได้มาตรฐาน ในประเทศไทยจากองค์การเภสัชกรรม และโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปัจจุบันมีอยู่ 3 สูตร สูตรที่ 1 น้ำมันสูตร THC สูง สูตรที่ 2 น้ำมันสูตร THC : CBD ในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน สูตรที่ 3 น้ำมันสูตร CBD สูง วิธีการสกัดน้ำมันกัญชา ด้วยตนเองเป็นวิธีการที่ไม่ปลอดภัย และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ควรใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันกัญชาที่มีมาตรฐาน ได้รับจากคลินิกกัญชา ที่มีแพทย์อนุญาตให้ใช้น้ำมันกัญชาในการรักษาโรคจึงจะมีความปลอดภัย ขนาดการใช้น้ำมันกัญชาจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และเภสัชกร โดยมีหลักการ คือ เริ่มใช้น้ำมันกัญชาที่ขนาดต่ำ ๆ โดยแนะนำให้เริ่มที่ 0.05 - 0.1 ซีซี หรือเท่ากับ 1 - 2 หยด และปรับเพิ่มขนาดมากขึ้นตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น น้ำมันกัญชาอาจจะทำให้มีภาวะง่วงซึม จึงแนะนำให้ใช้เวลาก่อนนอน และหลีกเลี่ยงการทำงานใกล้เครื่องจักร หรือขับรถ



6.4 ผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชงทางการแพทย์
 
 ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ สำหรับคนมีรูปแบบน้ำมันหยดใต้ลิ้น แคปซูล สเปรย์ฉีดพ่นใต้ลิ้น ยาเม็ด ยาเหน็บทวาร หรือรูปแบบแผ่นแปะบนผิวหนัง ผลิตภัณฑ์กัญชาจะมีสูตรแตกต่างกันตามสัดส่วน และปริมาณสารสำคัญ THC และ CBD ผลิตภัณฑ์กัญชาที่ได้รับการขึ้นทะเบียน (Registered drug) ขณะนี้มีอยู่ 3 รูปแบบ คือ ผลิตภัณฑ์THC สังเคราะห์ ผลิตภัณฑ์สารสกัดแคนนาบินอยด์จากธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์สารสกัด CBD นอกจากนี้ในต่างประเทศยังมีผลิตภัณฑ์รักษาอาการเจ็บป่วยในสัตว์



6.5 การใชผลิตภัณฑกัญชาและกัญชงให้ได้ประโยชน์ทางการแพทย์ในปัจจุบัน

แนะนำโดยกรมการแพทย์ เพื่อใช้ในการดูแลรักษา และควบคุมอาการของผู้ป่วย เนื่องจากมีหลักฐานทางวิชาการที่มีคุณภาพสนับสนุนชัดเจน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

(1) ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด (Chemotherapy induced nausea and vomiting) โดยแพทย์สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อรักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัดที่รักษาด้วยวิธีต่าง ๆ แล้วไม่ได้ผล

(2) โรคลมชักที่รักษายากและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา (Intractable epilepsy) ผู้สั่งใช้ควรเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท และได้รับการอบรมการใช้สารสกัดจากกัญชาเพื่อการรักษาผู้ป่วย

(3) ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity) ในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple sclerosis) แพทย์สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาเพื่อบรรเทาอาการปวดและเกร็งในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล และ

(4) ภาวะปวดจากระบบประสาท (Neuropathic pain) แพทย์สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาในกรณี
ที่รักษาภาวะปวดจากระบบประสาทที่ดื้อต่อการรักษาด้วยยามาตรฐาน
 


6.6 การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชงทางการแพทย์น่าจะได้ประโยชน์ ในการควบคุมอาการ

ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานแล้ว ไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ หากจะนำผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชง มาใช้กับผู้ป่วยเฉพาะราย ปฏิญญาเฮลซิงกิ ของแพทยสมาคมโลก (ปี ค.ศ. 2013) ระบุว่ามีความเป็นไปได้หากไม่มีวิธีการรักษาอื่น ๆ หรือมีวิธีการรักษา แต่ไม่เกิดประสิทธิผล ภายหลังจากได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ และได้รับความยินยอมจากผู้ป่วย หรือญาติโดยชอบธรรมแล้ว แพทย์อาจเลือกวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชงมาช่วยชีวิตผู้ป่วย ฟื้นฟูสุขภาพหรือลดความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย




+++++



 

7. หัวเรื่องที่ 7 ใช้กัญชาและกัญชงเป็นยาอย่างรู้คุณค่าและชาญฉลาด


7.1 ความเชื่อและความจริงเกี่ยวกับกัญชาและกัญชงทางการแพทย์
 
7.1.1 ความเชื่อเกี่ยวกับกัญชาและกัญชงในทางการแพทย์ได้แก่ ตำราสมุนไพรโบราณ กัญชาและกัญชงรักษาโรคมะเร็งได้ และกัญชาและกัญชงเป็นยารักษาชีวิตได้ ซึ่งความเชื่อบางอย่าง ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยรองรับ แต่ความเชื่อบางอย่างยังอยู่ในการศึกษาวิจัย จึงไม่ควรปฏิบัติตามจนกว่าจะมีผลการวิจัยความเชื่อที่ได้ศึกษา ในหัวข้อดังกล่าว
 
 7.1.2 ความจริงเกี่ยวกับกัญชาและกัญชงทางการแพทย์ จากการวิจัยเกี่ยวกับการใช้กัญชาและกัญชงช่วยในการรักษาอาการ และโรคดังนี้ (1) อาการปวดเรื้อรังจากเส้นประสาท (2) อาการคลื่นไส้อาเจียน และเพิ่มความอยากอาหาร (3) โรคปลอกประสาทเสื่อม และ (4) โรคลมชัก


7.2 การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชงทางการแพทย์ในอนาคตให้ได้ประโยชน์

เช่น โรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม โรคเบาหวาน และโรคไตเรื้อรัง เป็นต้น จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยถึงความปลอดภัย และประสิทธิผลอย่างละเอียด ซึ่งปัจจุบัน (พ.ศ. 2562) ยังมีข้อมูลหลักฐานทางวิชาการไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจึงควรได้รับการรักษาตามวิธีมาตรฐานทางการแพทย์ในปัจจุบันหากเลือกใช้ เฉพาะผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชงในการรักษาแล้ว อาจทำให้ผู้ป่วยเสียโอกาสในการรักษาได้

 
7.3 ข้อแนะนำก่อนตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชงทางการแพทย์

มี 8 ข้อ ได้แก่

(1) ความสัมพันธ์ ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย เป็นพื้นฐานในการยอมรับการรักษาพยาบาล รวมถึงการ
ประเมิน ผู้ป่วยว่าเหมาะสมที่จะใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชงหรือไม่
(2) การประเมินผู้ป่วย ข้อมูลประวัติที่เกี่ยวข้องกับอาการของผู้ป่วย
(3) การแจ้งให้ทราบ และตัดสินใจร่วมกัน
(4) ข้อตกลงการรักษาร่วมกัน
(5) เงื่อนไขที่เหมาะสม ในการตัดสินใจของแพทย์ในการสั่งใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชง
(6) การติดตามอย่างต่อเนื่องและปรับแผนการรักษา
(7) การให้คำปรึกษา และการส่งต่อ
(8) การบันทึกเวชระเบียน จะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชง


7.4 การวางแผนการรักษาด้วยผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชง แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา
 
และกัญชงในการทดลองรักษาระยะสั้น เพื่อประเมินประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วย แผนการรักษาควรมีความชัดเจน ใน 6 ประเด็น ได้แก่
(1) วางเป้าหมายการเริ่มรักษา และการหยุดใช้ แพทย์ควรหารือร่วมกับผู้ป่วยให้ชัดเจน
(2) การบริหารจัดการโดยแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป
(3) มีกระบวนการจัดการความเสี่ยง
(4) กำกับติดตาม ทบทวนทุกสัปดาห์ โดยแพทย์ หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญ
(5) ให้ผู้ป่วยลงนามยินยอม
(6) ให้คำแนะนำผู้ป่วยเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชงทางการแพทย์


7.5 การเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชงกับผู้ป่วยในทางการแพทย์ ต้องคำนึงถึงข้อ
 
ปฏิบัติ 2 ประการ ได้แก่
(1) การซักประวัติอาการป่วยในปัจจุบัน ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต ประวัติเจ็บป่วยทางจิต และโรคทางจิตเวช และอาการทางจิตจากการได้รับยารักษาโรคพาร์กินสัน ยารักษาโรคสมองเสื่อม และพฤติกรรมเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดสารเสพติด
(2) การกำหนดขนาดยา และการบริหารยา ไม่มีขนาดยาเริ่มต้นที่แน่นอนในผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชงแต่ละชนิด ขนาดยาที่เหมาะสมขึ้น กับลักษณะของผู้ป่วยแต่ละคน โดยเริ่มต้นขนาดต่ำ และปรับเพิ่มขนาดช้า ๆ จนได้ขนาดยาที่เหมาะสม ส่งผลต่อการรักษาสูงสุด และเกิดผลข้างเคียงต่ำสุด ขนาดยาในระดับต่ำมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อย


7.6 ข้อห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสาร THC และ CBD เป็นส่วนประกอบ

มี 4 ข้อ ได้แก่
(1) ผู้ที่มีประวัติแพ้ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสารสกัดกัญชาและกัญชง
(2) ผู้ที่มีอาการรุนแรง หรือมีปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
(3) ผู้ที่เป็นโรคจิต หรืออาการของโรคอารมณ์แปรปรวน หรือโรควิตกกังวลมาก่อน
(4) สตรีมีครรภ์ สตรีที่ให้นมบุตร รวมทั้งสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ไม่ได้คุมกำเนิด หรือสตรีวางแผนที่จะตั้งครรภ์


7.7 ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชง
 
7.7.1 ข้อควรระวังทางการแพทย์ ไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชงในผู้ป่วยที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี เพราะมีผลข้างเคียงต่อสมองที่กำลังพัฒนา และไม่ควรใช้กับผู้ป่วยโรคตับ ผู้ติดสารเสพติด รวมถึงนิโคติน ผู้ดื่มสุราอย่างหนัก ผู้ใช้ยาในกลุ่มโอปิออยด์ (opioids) ยากล่อมประสาท เด็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการมากเพียงพอ

7.7.2 ขนาดของกัญชาและกัญชงที่ใช้ในทางการแพทย์ ในการรักษาโรค ยังไม่สามารถกำหนดขนาดการใช้ที่แน่นอนได้โดยต้องปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคล และมีหลักสำคัญคือ เริ่มทีละน้อยแล้วค่อย ๆ เพิ่มขนาด ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรค หรือมีอาการต่างกัน จะใช้ขนาดยาต่างกัน โดยหากใช้ขนาดยากัญชาและกัญชงที่ไม่ถูกต้องจะเกิดการดื้อยา
 
7.7.3 ห้ามใช้น้ำมันกัญชาและกัญชงทาบุหรี่ เพราะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อระบบทางเดินหายใจ และไม่ควรใช้กับบุหรี่ไฟฟ้า อาจทำให้ปอดอักเสบเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

7.7.4 สารตกค้างจากการสกัดน้ำมันกัญชาและกัญชง ในการเลือกผลิตภัณฑ์กัญชาและกัญชงต้องศึกษาว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใช้สารสกัดชนิดใด มีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด การสกัดโดยตัวทำละลายแนฟทา หรือปิโตรเลียมอีเทอร์มีความปลอดภัยน้อยกว่าการสกัดด้วยเอทานอล หรือการต้มในน้ำมันมะกอก เนื่องจากพบการตกค้างของตัวทำละลายที่มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้และวิธีการสกัดใหม่ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ การสกัดโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหลวและเอทานอล สกัดเย็น เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง สามารถสกัดได้ปริมาณมาก และได้สารแคนนาบินอยด์เข้มข้น

7.7.5 ความปลอดภัยของน้ำมันกัญชาและกัญชง ต้องคำนึงถึงแหล่งที่มาผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานการผลิตที่ดี ต้องผ่านการตรวจควบคุมคุณภาพ และสั่งจ่ายภายใต้แพทย์เภสัชกร และแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมการใช้กัญชาและกัญชง เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์มาแล้ว

7.7.6 สายพันธุ์กัญชาและกัญชงเหมาะกับบางโรค จากการสังเกตการณ์เก็บข้อมูลจากงานวิจัย สารเคมีที่แตกต่างกันในกัญชาและกัญชงแต่ละสายพันธุ์ และผลการรักษาในผู้ป่วยแต่ละโรคในต่างประเทศ พบว่ากัญชาและกัญชงแต่ละสายพันธุ์มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับแต่ละโรคไม่เท่ากัน แต่ยังเป็นงานวิจัยขั้นต้น ต้องมีการศึกษาในเชิงลึกต่อไป
 
7.7.7 หลักธรรมนำชีวิตพ้นพิษภัยจากกัญชาและกัญชง การใช้พุทธธรรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ทางด้านจิตใจให้มีความเข้มแข็ง โดยใช้ภูมิคุ้มกันทางครอบครัวที่เป็นความรักความอบอุ่นความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภูมิคุ้มกันจากสังคมสิ่งแวดล้อม ภูมิคุ้มกันจากกัลยาณมิตร รวมถึงการเสริมสร้างการเรียนรู้ที่เกิดจากตนเองเป็นผู้กำหนด เยาวชนของชาติส่วนใหญ่ที่หลงเข้าไปเสพยา หรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด รวมทั้งกัญชาและกัญชง อาจเนื่องจากขาดความรักความอบอุ่น ขาดความรู้ความเข้าใจต่อสังคม เข้าใจว่าตนเองไม่มีคุณค่า และขาดความรู้ทางธรรมะพื้นฐาน

หากเราต้องการแก้ปัญหาเรื่องยาเสพติดของเยาวชน เราจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาต่างๆ ของเยาวชน รวมทั้งตัวเราควรได้เรียนรู้ปรับทัศนคติมุมมองด้วยการใช้ปัญญา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาของตนเอง ใน
ด้านครอบครัว สังคม และมิตร ให้ประสานสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ เสมือนเฟืองสามตัวขับเคลื่อนกลไกให้ทำงานในเวลาเดียวกัน ดังนั้นการป้องกันมิให้เยาวชน รวมทั้งตัวเราได้มีโอกาสเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เป็นการป้องกันในลักษณะการสร้างความพร้อมในการใช้ชีวิตเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้ใหญ่ หรือเป็นผู้ดูแลตนเองได้ โดยใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือที่จะนำพาตนเองให้อยู่ในสังคมเป็นพลเมือง ที่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เราใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างภาคภูมิใจ เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ มีความเข้มแข็งที่เกิดจากกระบวนการใช้ปัญญาเป็นหลักที่ยึดเหนี่ยว ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยมีพลเมืองที่มีคุณภาพนำพาประเทศให้มีความสุขสงบ เจริญรุ่งเรืองสืบไป
 


7.8 ข้อห้ามในการใช้กัญชาและกัญชงกับบุคคลต่อไปนี้

ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาทผิดปกติ ผู้ป่วยโรคหัวใจขั้นรุนแรงที่มีอาการความดันโลหิตต่ำลง หรือหัวใจเต้นเร็ว สตรีตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ผู้ป่วยโรคตับ โดยถ้าจำเป็นต้องใช้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 
 
7.9 การถอนพิษเบื้องต้นจากการเมากัญชาและกัญชง

ที่มีอาการมึนศีรษะ โคลงเคลงแน่นหน้าอกจากการใช้กัญชาและกัญชงเกินขนาด มีอยู่ 3 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 ให้ดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง หรือน้ำตาลทราย วิธีที่ 2 ดื่มสมุนไพรรางจืด และวิธีที่ 3 รับประทานกล้วยน้ำว้าสุก วันละ 3 เวลา เวลาเช้ากลางวัน และเย็น



+++++




 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง


 
1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเหตุใดต้องเรียนรู้กัญชาและกัญชง กัญชาและกัญชงพืชยาที่ควรรู้โทษและประโยชน์ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กัญชากับการแพทย์ทางเลือกกัญชาและกัญชงกับการแพทย์แผนปัจจุบัน และใช้กัญชาและกัญชงเป็นยาอย่างรู้คุณค่าและชาญฉลาด


2. เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการแสวงหาความรู้ และทักษะการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาการใช้กัญชาและกัญชงเป็นยาไปแนะนำบุคคลในครอบครัว หรือเพื่อนหรือชุมชนได้
 
3. เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงเหตุใดต้องเรียนรู้กัญชาและกัญชง โทษและประโยชน์กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการนำกัญชาและกัญชงไปใช้เป็นยาในการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างรู้คุณค่าและชาญฉลาด



+++++
 

ขอบข่ายเนื้อหา

หลักสูตรรายวิชา ทช33098 กัญชาและกัญชงศึกษา เพื่อใช้เป็นยาอย่างชาญฉลาด จำนวน 120 ชั่วโมง มีขอบข่ายเนื้อหาต่อไปนี้
 
หัวเรื่องที่ 1 เหตุใดต้องเรียนรู้กัญชาและกัญชง จำนวน 10 ชั่วโมง
หัวเรื่องที่ 2 กัญชาและกัญชง พืชยาที่ควรรู้ จำนวน 15 ชั่วโมง
หัวเรื่องที่ 3 รู้จักโทษและประโยชน์ของกัญชาและกัญชง จำนวน 15 ชั่วโมง
หัวเรื่องที่ 4 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชาและกัญชง จำนวน 15 ชั่วโมง
หัวเรื่องที่ 5 กัญชากับการแพทย์ทางเลือก จำนวน 25 ชั่วโมง
หัวเรื่องที่ 6 กัญชาและกัญชงกับการแพทย์ปัจจุบัน จำนวน 20 ชั่วโมง
หัวเรื่องที่ 7 ใช้กัญชาและกัญชงเป็นยา อย่างรู้คุณค่าและชาญฉลาด จำนวน 20 ชั่วโมง

 

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการเรียนรู้ ONIE MODEL โดยครูผู้สอนมีวิธีการจัดประสบการณ์ ดังนี้
 
1. บรรยายสรุป
2. กำหนดประเด็นศึกษาค้นคว้าร่วมกัน
3. ศึกษาค้นคว้าจากสื่อที่หลากหลาย
4. บันทึกผลการศึกษาค้นคว้าที่ได้ลงในเอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง (กรต.) และนำมาพบกลุ่ม
5. พบกลุ่ม
6. อภิปราย
7. คิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลที่ได้กับเพื่อนผู้เรียนและครูผู้สอน
8. คิดสรุปการเรียนรู้ที่ได้ใหม่ร่วมกัน บันทึกลงในเอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง (กรต.)
9. นำข้อสรุปที่ได้ใหม่มาฝึกปฏิบัติด้วยการทำแบบฝึกหัด และกิจกรรมตามมอบหมาย
10. จัดทำรายงานการศึกษาการนำกัญชาและกัญชงไปใช้ทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และการแพทย์แผนปัจจุบันตามที่สนใจ
11. นำเสนอผลการศึกษาต่อเพื่อนผู้เรียนและครูผู้สอน
12. บันทึกผลการเรียนรู้ที่ได้จากการปฏิบัติลงในเอกสารการเรียนรู้ด้วยตนเอง (กรต.)

 
หมายเหตุ ในแต่ละหัวเรื่องครูผู้สอนสามารถเลือกใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ข้างต้นให้เหมาะสมกับเนื้อหาและตัวชี้วัดหรือเลือกใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิธีอื่น ๆ ก็ได้แต่ให้ยึดตามตัวชี้วัดเป็นสำคัญ



 

สื่อและแหล่งเรียนรู้
 

หลักสูตรรายวิชา ทช33098 กัญชาและกัญชงศึกษา เพื่อใช้เป็นยาอย่างชาญฉลาด มีสื่อและแหล่งเรียนรู้ ประกอบด้วย (1) สื่อเอกสาร ได้แก่ ใบความรู้ ใบงาน สื่อหนังสือเรียนและสื่อหนังสือที่เกี่ยวข้อง (2) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง และ (3) สื่อแหล่งเรียนรู้ในชุมชนได้แก่ ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” ห้องสมุดประชาชนอำเภอ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดห้องสมุดใกล้บ้าน รายละเอียดของสื่อและแหล่งเรียนรู้สามารถศึกษาได้จากหัวข้อสื่อและแหล่งเรียนรู้ในรายละเอียดของแต่ละหัวเรื่องลำดับถัดไปจากโครงสร้างหลักสูตรนี้

 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด