ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

กรมแพทย์ MOU 4 ฝ่าย พัฒนาดนตรีบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ

กรมแพทย์ MOU 4 ฝ่าย พัฒนาดนตรีบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ HealthServ.net
กรมแพทย์ MOU 4 ฝ่าย พัฒนาดนตรีบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ ThumbMobile HealthServ.net

กรมการแพทย์ลงนามบันทึกความร่วมมือทางวิชาการ 4 ฝ่าย ระยะเวลา 5 ปี (2567-2572) เพื่อการพัฒนาด้านดนตรีบำบัดสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์ความรู้ ด้านบุคลากร ด้านนวัตกรรม และด้านความร่วมมือต่างๆ

กรมแพทย์ MOU 4 ฝ่าย พัฒนาดนตรีบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ HealthServ
1 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อาคารนวัตกรรมเทคโนโลยีสุขภาพผู้สูงวัย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการพัฒนาด้านดนตรีบำบัดสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์  ระหว่าง กรมการแพทย์ กับ 4 หน่วยงาน ได้แก่  วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล  สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ และโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี 

            ตัวแทนจากทั้ง 4 หน่วยงาน  ดังนี้
           1. วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย อาจารย์ ดร.ณรงค์ ปรางค์เจริญ
            2. สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ โดย แพทย์หญิงบุษกร โลหารชุน ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ
            3. สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ โดย แพทย์หญิงภัทรา  อังสุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
            4. โรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี โดย นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี




              “ดนตรีบำบัด” เป็นการใช้กิจกรรมดนตรีเชิงการแพทย์ที่ได้รับการออกแบบบนพื้นฐานของงานวิจัยเพื่อส่งเสริมเป้าหมายตามความต้องการของบุคคล โดยผู้รับบริการไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางดนตรีมาก่อน นักดนตรีบำบัดจะทำหน้าที่สร้างสรรค์กิจกรรมดนตรีและเลือกใช้องค์ประกอบของดนตรีให้เหมาะสมกับเป้าหมายการบำบัดและตรงกับความชอบของผู้รับบริการแต่ละบุคคล



กรมแพทย์ MOU 4 ฝ่าย พัฒนาดนตรีบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ HealthServ

ร่วมพัฒนาส่งเสริมดนตรีบำบัด 4 ด้าน


               แพทย์หญิงอัมพร  เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า บันทึกข้อตกลด้านดนตรีบำบัด ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ในการร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนา ด้านดนตรีบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ใน 4 ประการ  นั่นคือ
                1) ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาองค์ความรู้ ด้านการแพทย์และพัฒนาต่อยอดเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมและเผยแพร่องค์ความรู้

                2) ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาบุคลากร  ทางการแพทย์ รวมถึงนิสิต นักศึกษาและบุคลากรอื่นใดในสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านดนตรีบำบัดสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ของหน่วยงานทั้ง 4 ฝ่าย

                3) ร่วมกันศึกษาวิจัย พัฒนานวัตกรรม  ด้านบริการสุขภาพในการสร้างองค์ความรู้ด้านดนตรีบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลาย และ

                4) ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุนให้ความร่วมมือ ด้านวิชาการ และการสร้างเครือข่ายจากภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง




ขอบเขตของความร่วมมือใน 5 ปี





               แพทย์หญิงบุษกร  โลหารชุน ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอบเขตของความร่วมมือ

               1) ตกลงให้ความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาด้านดนตรีบำบัดสำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนให้คำปรึกษาด้านวิชาการ และ/หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องกับการดำเนินงาน

               2) การดำเนินการตามความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามที่ผู้มีอำนาจของทุกฝ่ายได้เจรจาและตกลงเห็นชอบร่วมกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยให้อยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ ค่าใช้จ่ายและงบประมาณ : ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการดำเนินการ รวมถึงในแต่ละโครงการหรือกิจกรรมอื่นใดที่ดำเนินงานภายใต้บันทึกความเข้าใจทั้งสี่ฝ่ายจะตกลงร่วมกัน ภายใต้กฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย


              ระยะเวลาของความร่วมมือ จำนวน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 และสิ้นสุดลงในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2572 
กรมแพทย์ MOU 4 ฝ่าย พัฒนาดนตรีบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ HealthServ

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล ผู้นำด้านดนตรีบำบัด



                วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิด “ศูนย์ดนตรีบำบัด” ให้เป็นคลินิกให้บริการประชาชนเป็นแห่งแรกที่ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลภายใต้การบริหารงานโดย คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และจะยกระดับสู่การเป็น “Music Therapy Hub” แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ได้ภายใน 5 ปีข้างหน้า 


                  “ดนตรีบำบัด” เป็น “การให้การบำบัด” (Therapy) ไม่ใช่ “การรักษา” (Treatment) ในทางคลินิก “นักดนตรีบำบัด” (Music Therapist) จะต้องทำงานร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการใช้ดนตรีช่วยกล่อมเกลาจิตใจ และเพื่อตอบสนองตามความต้องการของผู้เข้ารับการบำบัดแต่ละบุคคลให้พร้อมออกไปดำเนินชีวิต รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดี  

 
กรมแพทย์ MOU 4 ฝ่าย พัฒนาดนตรีบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ HealthServ
กรมแพทย์ MOU 4 ฝ่าย พัฒนาดนตรีบำบัด เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ HealthServ

หลักสูตรเปิดสอนดนตรีบำบัด

นายณรงค์ ปรางค์เจริญ คณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ม.มหิดล กล่าวถึงการเรียนดนตรีบำบัดว่า ตอนนี้ส่วนมากในประเทศไทยจะเปิดสอนในระดับปริญญาโท แต่วิทยาลัยฯ กำลังเตรียมเปิดหลักสูตรดนตรีบำบัดระดับปริญญาตรี ซึ่งจะมีความเข้มข้นกว่า เพราะต้องเรียนจิตวิทยา เรียนหลายเรื่องทางด้านการแพทย์ด้วย ในอนาคตคิดว่าจะพัฒนาถึงปริญญาเอก และหวังว่าสุดท้ายคือ จะมีใบประกอบโรคศิลป์ ซึ่งตอนนี้เราก็บังคับอาจารย์ให้ไปได้รับการรับรองจากต่างประเทศ (Board Certified) กันหมด ก็มีอาจารย์บางคนจบปริญญาเอกแล้ว ก็บอกว่าให้ไปใหม่กลับไปเอา Board Certified กลับมาให้เราให้ได้
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด