ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ผู้เชี่ยวชาญเผยสาเหตุ ต้นตอกลิ่นไหม้ ฝุ่นควันปกคลุม กทม.

ไทยพีบีเอส รายงานต้นตอกลิ่นไหม้ ฝุ่นควันปกคลุม กทม. - นนทบุรี ค่ำคืนที่ผ่านมา (20/3/67) ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่ามีหมอกควันปกคลุม ประชาชนจำนวนมากได้กลิ่นไหม้ ด้านที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. ชี้แจงสาเหตุมาจากทิศทางลม สภาพอากาศ และความชื้น

 ไทยพีบีเอส รายงานในช่วงค่ำคืน วันที่ 20/3/67 พบว่าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกควันปกคลุม และมีกลิ่นเหม็นไหม้รุนแรง ที่ผิดปกติ ซึ่งสาเหตุดังกล่าว นายพรพรหม วิกิตเศรษฐ์ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  ชี้แจงว่ามี 3 สาเหตุ

1) ทิศทางลมของวันที่ 20 มีนาคม มีความแตกต่างจากวันอื่นๆ พบว่าช่วงนี้มีลมพัดจากอ่าวไทย ส่วนจุดเผาในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมาก็พบที่บริเวณปริมณฑลหลายจุด 
 
2) สภาพอากาศแปรปรวน มีพายุฤดูร้อน ประกอบกับมีความกดอากาศสูงผ่านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ความสูงของชั้นบรรยากาศผสมลดต่ำลง ฝุ่นละอองจึงเกิดการสะสมตัวเพิ่มมากขึ้น
 
3) ความชื้นในบรรยากาศทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 ทุติยภูมิเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะชนิดที่เกิดจากพวกสารประกอบไนโตรเจนและแอมโมเนีย จะเกิดปฏิกิริยาได้ดีในสภาวะที่มีความชื้นสูง

กลิ่นเหม็นจากกรดซัลฟูริค

 
     อาจารย์สนธิ คชวัฒน์ อธิบายว่า ที่ผ่านมากทม.และนนทบุรีมีฝุ่นเยอะ จากการจราจรหนาแน่น  ควันเสียจากรถ  ประกอบกับมีอากาศร้อนจัดหลายวัน  พอมีฝนตกหนัก ทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นก๊าซที่มีกลิ่นรุนแรงจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง  ไปรวมกับน้ำฝน ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมี  กลายเป็นกรดซัลฟูริค  มีกลิ่นกำมะถัน  ทำให้มีกลิ่นเหม็นไหม้ กระจายไปทั่ว 
 
    แต่ว่ากลิ่นดังกล่าว ไม่มีผลต่อร่างกาย เพราะเกิดการเจือจางไปแล้ว แต่ที่ยังมีกลิ่นอยู่เนื่องจากว่า หลังฝนตกหนักแล้ว ลมไม่ค่อยแรง ลมนิ่ง ทำให้อากาศไม่ถูกพัดไปไหน ทำให้กลิ่นยังคงอยู่  ซึ่งถ้ามีลมแรงกว่านี้ ก็จะช่วยให้กลิ่นหายไปได้ 
 

 

สภาพอากาศอันตรายหลายจังหวัด


 
        กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สนเทศองค์การมหาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้การติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 แบบรายชั่วโมงเมื่อเวลา 23:00 น. ของคืนที่ผ่านมาก็พบว่า 47 เขตในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มาตรฐานระดับสีแดงมีผลกระทบต่อสุขภาพและระบบทางเดินหายใจ
 
     โดยสูงสุดสามอันดับแรกอยู่ที่เขตดอนเมือง วัดได้ 143.5 ไมโครกรัมต่อหลักสี่ 43 ไมโครกรัมและบางซื่อ 39 ไมโครกรัม  
 
     ภาพรวมทั้งประเทศพบ 7 จังหวัดภาคกลาง PM2.5 เกินค่ามาตรฐานระดับสีแดงเช่นกัน โดยอันดับหนึ่งก็คือนนทบุรี 
  • ชมคลิปข่าว ThaiPBS

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด