ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

Sandwich Generation กับการดูแลคนหลายรุ่น

Sandwich Generation กับการดูแลคนหลายรุ่น  Thumb HealthServ.net
Sandwich Generation กับการดูแลคนหลายรุ่น  ThumbMobile HealthServ.net

สถานการณ์สังคมสูงวัยและวัยแรงงานที่ลดลงส่งผลให้ “แซนด์วิช เจเนอเรชั่น” หรือคนที่ต้องดูแลสมาชิกในครัวเรือนรุ่นอื่นๆ มีภาระและเผชิญปัญหาหลายด้าน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตนเองและสังคม จึงควรมีแนวทางในการสนับสนุนและลดภาระที่เกิดขึ้นกับครัวเรือน Sandwich

 “แซนด์วิช เจเนอเรชั่น (Sandwich Generation)” โดยทั่วไปมักใช้เรียกคนที่อยู่ตรงกลางที่ต้องรับผิดชอบ ดูแลทั้งพ่อแม่สูงอายุและลูกของตนเอง ทั้งทางการเงิน ร่างกาย และทรัพยากรด้านอื่น ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก ประชากรสูงวัยทั่วโลกเพิ่มขึ้น ขณะที่วัยแรงงานมีจ านวนลดลงหรือเท่าเดิม ท าให้ประชากรของหลายประเทศ ตกเป็นคนกลุ่ม Sandwich Generation โดยจากผลการศึกษากลุ่ม Sandwich Generation ในสหรัฐอเมริกา ของมหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan)39 พบว่า มีประชากรเกือบ 1 ใน 4 ของประเทศที่ต้องดูแล ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และเด็กที่มีอายุต่ ากว่า 18 ปีในเวลาเดียวกัน ส่งผลให้ประชากรกลุ่มนี้มีแนวโน้ม มีปัญหาทางการเงินเพิ่มเป็นสองเท่าของประชากรทั่วไป รวมถึงมีแนวโน้มเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตมากกว่า คนที่ดูแลแค่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเท่านั้น ส าหรับประเทศไทย การศึกษาถึงคนกลุ่มนี้ในปัจจุบันยังมี ไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นการส ารวจในระดับพื้นที่และไม่ครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดข้อมูล ที่เฉพาะเจาะจง แต่จากบริบทสังคมไทยที่ให้ความส าคัญกับครอบครัวในฐานะสถาบันหลักที่ท าหน้าดูแลคุ้มครอง สมาชิกในครัวเรือนหรือมีค่านิยมการพึ่งพาอาศัยกัน และมีการดูแลระหว่างรุ่นที่หลากหลาย ท าให้ไทยอาจมี กลุ่ม Sandwich Generation เป็นจ านวนมาก
เมื่อพิจารณาตามนิยามของครัวเรือน ซึ่งมี 3 ลักษณะใหญ่ คือ 1) ครัวเรือนอยู่คนเดียว 2) ครัวเรือนเดี่ยว หรือครัวเรือนที่ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 2 รุ่น และ 3) ครัวเรือนขยาย หรือที่มีสมาชิก 3 รุ่นขึ้นไป อาจกล่าวได้ว่า ครัวเรือน Sandwich มีความใกล้เคียงกับครัวเรือนขยาย หรือมีการอยู่อาศัยในครัวเรือนเดียวกันตั้งแต่ 3 รุ่นขึ้นไป ซึ่งจากข้อมูลการส ารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ของส านักงานสถิติแห่งชาติ พบลักษณะที่น่าสนใจของครัวเรือนดังกล่าว ดังนี้

1. ครัวเรือนไทยที่มีลักษณะเป็น Sandwich

         ครัวเรือนไทยที่มีลักษณะเป็น Sandwich มีจำนวนทั้งสิ้น 3.4 ล้านครัวเรือน ในปี 2566 หรือคิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 14.0 ของครัวเรือนทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนลักษณะนี้มีสัดส่วนลดลง โดยในปี 2560 มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 18.2 ของครัวเรือนทั้งประเทศ และเมื่อพิจารณาลักษณะของครัวเรือน พบว่า ครัวเรือน Sandwich ส่วนใหญ่เป็นครัวเรือน 3 รุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 97.1 ขณะที่ครัวเรือน 4 รุ่น มีสัดส่วนร้อยละ 2.9 อีกทั้ง ส่วนใหญ่เป็นความสัมพันธ์ที่หัวหน้าครัวเรือนอาศัยอยู่กับลูกและหลาน โดยมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 75.4 ของครัวเรือน Sandwich ทั้งหมด รองลงมาเป็น ครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนต้องดูแลพ่อแม่และลูกของตนเอง หรือมีสัดส่วนร้อยละ 20.1 ทั้งนี้ ครัวเรือนที่หัวหน้าครัวเรือนอาศัยอยู่กับลูกและหลาน กว่าร้อยละ 63.3 มีหัวหน้า ครัวเรือนเป็นผู้สูงอายุ 

2. ครัวเรือน Sandwich แม้สมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นวัยแรงงาน แต่มีอัตราการพึ่งพิงสูง

         ครัวเรือน Sandwich แม้สมาชิกส่วนใหญ่จะเป็นวัยแรงงาน แต่มีอัตราการพึ่งพิงสูง โดยในปี 2566 วัยแรงงานมีสัดส่วนร้อยละ 53.8 ขณะที่วัยสูงอายุมีสัดส่วนร้อยละ 21.8 และเด็กมีสัดส่วนร้อยละ 24.3 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาโครงสร้างตามช่วงวัยของครัวเรือน Sandwich พบว่า วัยสูงอายุมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ขณะที่วัยแรงงาน มีสัดส่วนลดลง ส่งผลให้อัตราการพึ่งพิงของครัวเรือน Sandwich มีสัดส่วนสูง คือ วัยแรงงาน 100 คน ต้องดูแลเด็กและผู้สูงอายุรวม 86 คน ขณะที่ครัวเรือน ประเภทอื่น (ครัวเรือนคนเดียวและครัวเรือนเดี่ยว) วัยแรงงาน 100 คน ต้องดูแลเด็กและผู้สูงอายุรวมเพียง 59 คนเท่านั้น ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาหัวหน้า ครัวเรือนของครัวเรือน Sandwich ยังพบว่า ส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงอายุ โดยร้อยละ 48.6 เป็นผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เหลือเป็นวัยแรงงาน แบ่งเป็นอายุ 45 - 59 ปี ที่ร้อยละ 37.3 และอายุ 35 - 44 ปี ที่ร้อยละ 10.2 โดยคนที่เป็น Sandwich Generation มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 58.6 ปี นอกจากนี้ ครัวเรือน Sandwich บางส่วนอาจต้องสูญเสียกำลังแรงงานเพื่อดูแลวัยอื่น โดยสมาชิกในครัวเรือน Sandwich ที่เป็นเด็กหรือผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ในชีวิตประจำวันโดยปราศจากคนช่วยเหลือ และไม่สามารถเดินทางไปนอกพื้นที่อื่นด้วยตัวเอง มีสัดส่วนถึงร้อยละ 15.2 และ 24.5 ของจำนวนเด็กหรือผู้สูงอายุ ทั้งหมดในครัวเรือน Sandwich ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าภาพรวมของประเทศที่อยู่ที่ร้อยละ 9.9 และ 17.2 ของกลุ่มเด็ก หรือผู้สูงอายุทั้งประเทศ ตามลำดับ

3. สมาชิกในครัวเรือน Sandwich ส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ

         สมาชิกในครัวเรือน Sandwich ส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ โดยร้อยละ 47.2 ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมและเป็นแรงงานทั่วไป (คนทำความสะอาด รับจ้างทั่วไป) ขณะที่หัวหน้าครัวเรือนร้อยละ 31.9 ท างานส่วนตัว รองลงมาเป็น พนักงานเอกชน และผู้ช่วยธุรกิจในครัวเรือน ที่ร้อยละ 15.9 และ 11.7 ตามลำดับ ทำให้ส่วนใหญ่กว่า ร้อยละ 80 ขาดหลักประกันรายได้ที่มั่นคงในยามเกษียณ ขณะเดียวกัน ครัวเรือน Sandwich ยังเป็นกลุ่ม ที่มีทรัพย์สินทางการเงินเพื่อการออมน้อย โดยร้อยละ 41.8 ของครัวเรือน Sandwich มีเงินออมมูลค่าน้อยกว่า 20,000 บาทต่อครัวเรือน ทำให้เมื่อสูงวัยจะต้องพึ่งพาสวัสดิการจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพียงอย่างเดียว ซึ่งอาจ ไม่เพียงพอต่อการด ารงชีวิตที่มีคุณภาพ 

4. ครัวเรือน Sandwich มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้สูงกว่าคนกลุ่มอื่น

         ครัวเรือน Sandwich มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้สูงกว่าคนกลุ่มอื่น โดยครัวเรือน Sandwich มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 31,452 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน ขณะที่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 39,414 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน หรือมีค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.1 ของรายได้ ซึ่งสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับครัวเรือนลักษณะอื่น และค่าเฉลี่ยของประเทศ ทั้งนี้ การที่แรงงานในครัวเรือน Sandwich มีรายได้ไม่สูงนัก ส่วนหนึ่งเกิดจากส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำ โดยร้อยละ 57.7 ของสมาชิกในครัวเรือน Sandwich จบการศึกษาในระดับ ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า และมีเพียงร้อยละ 12.7 ที่จบการศึกษาระดับอนุปริญญาขึ้นไป
         จากสถานการณ์ข้างต้น แม้ว่าแนวโน้มครัวเรือน Sandwich จะลดลง แต่คนที่เป็น Sandwich Generation ยังมีภาระที่ต้องแบกรับ ดังนี้

         1. ความเปราะบางทางการเงิน สะท้อนได้จากรายได้สุทธิต่อเดือน (รายได้หักค่าใช้จ่าย) ปี 2566 ที่พบว่า ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.1 ของครัวเรือน Sandwich มีรายได้สุทธิคงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากอัตราการพึ่งพิงที่ค่อนข้างสูง รวมทั้งแรงงานในครัวเรือนที่มีทักษะต่ำ เป็นแรงงานนอกระบบ อีกทั้งยังต้องดูแลวัยสูงอายุที่มีอายุยืนยาวขึ้น ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นอีกด้วย จากข้อจำกัดดังกล่าวทำให้ครัวเรือน Sandwich ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.8 มีภาระหนี้สิน โดยภาระหนี้สินต่อรายได้ต่อเดือนของครัวเรือนมีสัดส่วนร้อยละ 16.6 สูงกว่าภาพรวมครัวเรือนทั้งประเทศที่อยู่ที่ร้อยละ 13.8 ชี้ให้เห็นถึงความไม่มั่นคงทางการเงิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถทางการเงินในระยะยาว รวมถึงการสะสมทรัพยากรและความมั่งคั่ง อาจไม่สามารถทำได้อย่างที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ไม่มีภาระการดูแล

         2. ผลกระทบต่อสุขภาพ กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล (2567)40 ระบุว่า กลุ่มคน Sandwich Generation นอกจากจะมีปัญหาความเครียดและสุขภาพจิตแล้ว ยังต้องเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง อาทิ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วนลงพุง โรคตับแข็ง และโรค NCDs ต่าง ๆ ด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบการเป็นโรค NCDs จากข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2566 พบว่า คน Sandwich มีสัดส่วนการเป็นหรือเคยเป็นโรค NCDs (อาทิ โรคเบาหวาน ไทรอยด์ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไขมันในเส้นเลือด/ คอเลสเตอรอลสูง และโรคมะเร็ง) ถึงร้อยละ 33.9 สูงกว่าค่าเฉลี่ยของหัวหน้าครัวเรือนทั้งประเทศที่อยู่ที่ร้อยละ 23.0


         ขณะที่การศึกษาของต่างประเทศ ซึ่งศึกษาผลกระทบต่อพฤติกรรมทางสุขภาพ การประเมินสุขภาพของตนเอง และความพึงพอใจในชีวิตของผู้หญิงชาวรัสเซียที่ดูแลครัวเรือน Sandwich พบว่า ร้อยละ 7.0 มีโอกาสพบแพทย์ตามนัดน้อยลง รวมถึงมีโอกาสที่จะเป็นภาวะอ้วน ร้อยละ 6.2 ซึ่งสาเหตุเกิดจากการขาดเวลาในการดูแลตนเอง อาทิ ออกกำลังกาย ทำอาหาร เข้าพบแพทย์ตามนัด

         นอกจากนี้ ยังมีปัญหาสุขภาพจิต จากการที่ คน Sandwich Generation ต้องมีภาระการดูแลสมาชิกคนอื่น โดยข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ สหราชอาณาจักร ซึ่งเก็บข้อมูลระหว่างปี 2016 – 2017 พบว่า 1 ใน 4 ของคน Sandwich Generation ประสบปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และการมีความรู้สึกพอใจกับชีวิตน้อยลงมากกว่าคนทั่วไป (ร้อยละ 22.0) อีกทั้ง ปัญหาสุขภาพจิตจะรุนแรงขึ้นตามระยะเวลาที่ต้องดูแลสมาชิกคนอื่น

         ซึ่งกรณีของไทย จากข้อมูลการสำรวจอนามัย และสวัสดิการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2566 พบปัญหาในลักษณะนี้เช่นกัน โดยวัยแรงงานในครัวเรือน Sandwich มีภาวะเครียด/นอนไม่หลับ ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับวัยแรงงานทั้งประเทศที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.6

         ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้คน Sandwich Generation มีปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งเกิดจากการต้องจัดสรรเวลาในการทำงาน และดูแลสมาชิกในครัวเรือนไปพร้อมกัน โดยการศึกษาในสหรัฐอเมริกา คน Sandwich Generation โดยเฉลี่ยจะใช้เวลาในการดูแลเด็กและผู้สูงอายุประมาณ 28 และ 22 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามลำดับ สำหรับกรณีของไทย หากใช้เวลาในการดูแลเด็กและผู้สูงอายุเท่ากัน เมื่อรวมกับชั่วโมงการทำงานของคน Sandwich Generation ที่ใช้เวลาประมาณ 42.7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ดังนั้น คน Sandwich Generation จะต้องใช้เวลาเฉลี่ยกว่า 13 ชั่วโมงต่อวัน ในการทำงาน รวมถึงดูแลเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้คนกลุ่มนี้เกิดความเครียด และเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง และ NCDs ได้ 


         จะเห็นได้ว่าปัญหาและภาระที่คน Sandwich Generation ต้องเผชิญค่อนข้างหนักเมื่อเทียบกับ คนกลุ่มอื่น นอกจากจะส่งผลต่อตนเองแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อสังคมภาพรวมได้ จึงต้องมีแนวทางในการลดภาระ ที่จะเกิดขึ้นกับครัวเรือน Sandwich ดังนี้

         1. การส่งเสริมทักษะทางการเงิน (Financial Literacy) ตั้งแต่ก่อนวัยเกษียณ ทั้งการมีทักษะความรู้ และการบริหารจัดการทางการเงิน รวมถึงการป้องกันความเสี่ยง อาทิ การออมเงินเพื่อยามเกษียณ ที่ควรเริ่มเก็บออม ตั้งแต่เนิ่น ๆ และในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ ซึ่งอาจจูงใจให้เข้าร่วมกองทุนการออมแห่งชาติ ส่วนแรงงานในระบบ ควรมีรูปแบบการออมเพิ่มเติมนอกเหนือจากภาคบังคับ เพื่อลดปัญหาทางการเงินจากรุ่นสู่รุ่น รวมทั้งต้องส่งเสริมทักษะ การบริหารจัดการเมื่อมีหนี้สิน เพื่อให้สามารถปลดหนี้ได้เร็วหรือไม่ติดกับดักหนี้ และ การซื้อประกันสุขภาพและประกันชีวิต ส าหรับวางแผนเตรียมการดูแลคนในครอบครัวต่อไป และป้องกันเหตุฉุกเฉิน ไม่ว่าจากโรคภัยหรือจากอุบัติเหตุ ซึ่งการด าเนินการข้างต้น จะช่วยลดความกดดัน/ความตึงเครียดภายในครัวเรือน และน าไปสู่การมีความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว

         2. การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีงานท า โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องการท างาน โดยมีกลไกส าคัญ คือ การส่งเสริมการฝึกอบรมทักษะแรงงานผู้สูงอายุพร้อมกับการจับคู่งานเชิงรุก เพื่อให้ตรงกับความต้องการของนายจ้าง รวมถึงการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนหรือสินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพ43 ด้าน นายจ้าง ภาครัฐอาจให้สิทธิประโยชน์ เพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นให้นายจ้างเข้าร่วมมาตรการจูงใจทางภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ44 ให้มีเพิ่มขึ้น

         3. การใช้บริการผู้ช่วยดูแล (Care Assistant) และเทคโนโลยีในการดูแลสมาชิกในครัวเรือน ส าหรับ ครัวเรือนที่ไม่มีปัญหาทางการเงิน อาจเลือกใช้บริการจ้างผู้ช่วยดูแล ทั้งผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม และผู้ดูแลทั่วไป มาช่วยดูแลบางหน้าที่ เช่น ดูแลเรื่องอาหารและยา ช่วยพาไปหาหมอตามเวลานัด พาไปท ากิจกรรม เป็นต้น รวมถึง การใช้เทคโนโลยี อาทิ หุ่นยนต์อัตโนมัติ อุปกรณ์ Smart Home ต่าง ๆ ที่ช่วยดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน หรือกล้องอัจฉริยะ Wi-Fi (Smart Camera) และเครื่องเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว (Motion Sensor) ที่เชื่อมต่อกับโทรศัพท์ เพื่อช่วยอ านวยความสะดวก แบ่งเบาความกังวล และลดภาระการดูแล โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ อีกทั้ง ยังช่วยสร้างสมดุลระหว่างชีวิตครอบครัวและการท างานให้กับแรงงาน

         4. การสนับสนุนศูนย์ดูแลเด็กและผู้สูงอายุ โดยเน้นที่การปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กและศูนย์บริการ ผู้สูงอายุของภาครัฐหรือการสนับสนุนภาคธุรกิจส าหรับการด าเนินกิจการ เพื่อลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ โดยอาจให้ สิทธิประโยชน์ทางด้านกฎหมาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดขยายตัวของธุรกิจรับดูแลเด็กและผู้สูงอายุในพื้นที่เดียวกันมากขึ้น โดยการดูแลในลักษณะการรับฝากดูแลผู้สูงอายุและเด็กชั่วคราวในช่วงระหว่างเวลาท างานของวัยแรงงาน กลุ่ม Sandwich Generation 
ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด