โรงพยาบาลชลบุรี (อังกฤษ: Chonburi Hospital) เป็นโรงพยาบาลศูนย์สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2462 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามความประสงค์ของอำมาตย์เอก พระยาสัจจาภิรมย์ อุดมราชภักดี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี และนายแพทย์ ขุนอินทวราคม สาธารณสุขจังหวัดชลบุรีในขณะนั้น[2][3] เป็นโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแห่งแรก และแห่งเดียวที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพขั้นก้าวหน้า (Advanced Healthcare Accreditation; AHA) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)[4][5] นอกจากนี้ยังได้รับรองจากแพทยสภาให้เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัด และศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สำนักงานบริหารโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์แห่งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรงพยาบาลชลบุรี เป็นโรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐานการรับรองคุณภาพสถาบันฝึกอบรม Postgraduate Medical Education จากสหพันธ์แพทยศาสตรศึกษาโลก, มาตรฐาน Joint Commission International (JCI) จากคณะกรรมการร่วมรับรองมาตรฐานสถานพยาบาล, และมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพขั้นก้าวหน้า (Advanced Healthcare Accreditation; AHA) จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)[4][5] ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขแห่งเดียวใน 7 โรงพยาบาลที่ได้รับมาตรฐาน AHA คือ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ, คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล, โรงพยาบาลกรุงเทพ, และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การดำเนินการขอการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพขั้นก้าวหน้า (AHA) ได้เริ่มในสมัย นพ. ชุติเดช ตาบองครักษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลชลบุรี จากการที่มีโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงในพื้นที่ภาคตะวันออก เช่น โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ, โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเวที ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา -
wikipedia
ประวัติความเป็นมาขององค์กร
จังหวัดชลบุรี เริ่มมีโรงพยาบาลมาตั้งแต่ พุทธศักราช 2462 อำมาตย์เอกพระยาสัจจาภิรมย์ (สรวง ศรีเพ็ญ)ข้าหลวงจังหวัดชลบุรีสมัยนั้น ร่วมด้วยนายแพทย์ขุนอินทวราคม สาธารณสุขจังหวัด เห็นว่าชลบุรี ควรจะมีโรงพยาบาลเพื่อให้บริการประชาชน จึงได้เริ่มจัดการก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้น ณ ที่ดินชายทะเล ห่างจากที่ตั้งศาลากลาง ปัจจุบันประมาณ 800 เมตร ค่าก่อสร้างและดำเนินงานโรงพยาบาล ใช้เงินบริจาคของพ่อค้า ประชาชนและจากการจัดกิจกรรม เพื่อหารายได้เข้าโรงพยาบาลทั้งสิ้นในระยะเริ่มต้นโรงพยาบาลเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว และใช้ชื่อโรงพยาบาลว่า ” โรงพยาบาลจังหวัดชลบุรี” สังกัดสุขาภิบาล มีนายแพทย์ขุนอินวราคม เป็นผู้ดำเนินงาน และได้ดำเนินงานระหว่างพุทธศักราช 2462-2471 จึงปลี่ยนเป็นนายแพทย์สง่า วิชพันธ์
พุทธศักราช 2478 ได้มีการเปลี่ยนแปลงปกครองท้องถิ่นโดยการจัดให้มีเทศบาลโรงพยาบาลชลบุรี จึง ได้ย้ายมาสังกัด เทศบาลเมืองชลบุรี โดยมีนายแพทย์สง่า วิชพันธ์ เป็นนายแพทย์ผู้ปกครอง ระยะนี้โรงพยาบาลมีเรือนพักคนไข้ 2 หลัง ห้องคนไข้พิเศษ 3 ห้องห้องผ่าตัด 1 หลังด้วยเหตุที่โรงพยาบาล ตั้งอยู่ในที่น้ำท่วมถึงอาคารต่าง ๆ ซึ่งเป็นไม้จึงทรุดโทรมเร็วขณะเดียวกันงานบริการผู้ป่วยก็ขยายตัวมากขึ้นการซ่อมแซมอาคารหรือขยายอาคารทำได้ลำบากมากจึงจำเป็นต้องย้ายโรงพยาบาลไปอยู่ที่เหมาะสมกว่า
พุทธศักราช 2483 นายแพทย์สง่า วิชพันธ์, หลวงบำรุงราชนิยม (สูญ สิงคาลวณิช) นายกเทศมนตรีและพระยาบุรีรักษ์เวชการ อธิบดีกรมสาธารณสุข จึงได้ร่วมกันพิจารณาจัดย้ายโรงพยาบาลจากที่ตั้งเดิม ซึ่งน้ำท่วมถึงมาอยู่บนบก เมื่อได้ปรึกษากับกองออกแบบผังเมืองแล้ว ได้เลือก และจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลในปัจจุบันก่อสร้างเป็นโรงพยาบาลใหม่ขึ้น ระยะเริ่มต้นมีที่ดิน 21 ไร่ ต่อมาหลวงบำรุงราชนิยมได้บริจาคเงินส่วนตัวซื้อที่ดินเพิ่มขึ้นอีกรวมเป็นเนื้อที่ 30 ไร่ ทำให้โรงพยาบาลได้ติดกับถนนสุขุมวิท ระยะเริ่มแรกนี้มีการก่อสร้างตึกอำนวยการชั้นเดียว 1 หลังและตึกคนไข้ ชื่อ “ข้าวไทย” 1 หลัง รับคนไข้ 25 คน
พุทธศักราช 2491 เมื่อมีพระราชบัญญัติโอนกิจการโรงพยาบาลของเทศบาลให้แก่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลชลบุรี จึงได้ย้ายมาสังกัดกรมการแพทย์ และได้เริ่มเปิดดำเนินกิจการ เมื่อ วันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2491 ซึ่งได้ถือว่าเป็นวันเกิดของโรงพยาบาลชลบุรี เป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบันโรงพยาบาลชลบุรีมีที่ดิน 54 ไร่ ในปี 2558 จำนวนเตียง 850 เตียง จำนวนบุคลากรทั้งหมดมากกว่า 2500 คน ประกอบด้วย แพทย์ 184 คน ทันตแพทย์ 14 คน เภสัชกรรม 51 คน พยาบาล 819 คน และบุคลากรอื่นๆมากกว่า 1,000 คนให้บริการผู้ป่วยนอกมากกว่า 3,500 รายต่อวัน อัตราการครองเตียงผู้ป่วยในมากกว่า 90% มีจุดประสงค์ในการให้บริการผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล ตลอดจนการผลิตบุคลากรสาธารณสุข การฝึกอบรม ให้ศึกษาแก่นักศึกษา แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต่างๆในฐานะโรงพยาบาลศูนย์ที่เป็นโรงเรียนแพทย์ ตามแนวนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ตามแนวนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข