ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

Vachira Phuket Hospital

Logo

โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ประจำจังหวัดภูเก็ต ขนาด 600 เตียง เป็นเตียงสามัญ 371 เตียง ให้บริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิและเฉพาะทางขั้นสูง ครอบคลุมถึงระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ

ที่อยู่/ติดต่อ
353 ถนนเยาวราช ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000

✅ รับบัตรทอง
✅ รับประกันสังคม [คลินิกเครือข่าย]

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต สาขา 2 หยี่เต้ง Link ↗

โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต สาขา 2 หยี่เต้ง โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต สาขา 2 หยี่เต้ง โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต สาขา 2 หยี่เต้งล โทร 076-216200-2

เลื่อนนัดพบแพทย์และขอรับยาเดิม Link ↗

เลื่อนนัดพบแพทย์และขอรับยาเดิม โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
เลื่อนนัดพบแพทย์และขอรับยาเดิม โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
 แนวทางรับยาเดิมของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต "ลดความเสี่ยง เลี่ยงโควิด-19" 
1.รับยาใกล้บ้าน ร้านยาใกล้ใจ
2.VC-Delivery ส่งยาทางไปรษณีย์
3.Vachra Drive Thru รับยาโดยไม่ต้องลงจากรถ
* ศึกษารายละเอียดจากสื่อด้านล่าง หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ 
ศูนย์ประสานงานโควิด-19 รพ.วชิระภูเก็ต โทร.076-361234 ต่อ 6565-6 (เฉพาะวันและเวลราชการ) หรือ โทร.076-361234 ต่อ แผนกตรวจผู้ป่วยนอก (จันทร์-ศุกร์ เวลา 14.30 - 16.00น.)
ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกชั้น 1 กลุ่มงานเภสัชกรรม โทร. 076-361234 ต่อ 1183-4 (เฉพาะวันและเวลาราชการ)

แนวทางรับยาเดิมของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ลดความเสี่ยง เลี่ยงโควิด-19 Link ↗

 แนวทางรับยาเดิมของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ลดความเสี่ยง เลี่ยงโควิด-19 โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
 แนวทางรับยาเดิมของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ลดความเสี่ยง เลี่ยงโควิด-19 โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
 แนวทางรับยาเดิมของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต "ลดความเสี่ยง เลี่ยงโควิด-19" 
1.รับยาใกล้บ้าน ร้านยาใกล้ใจ
2.VC-Delivery ส่งยาทางไปรษณีย์
3.Vachra Drive Thru รับยาโดยไม่ต้องลงจากรถ
* ศึกษารายละเอียดจากสื่อด้านล่าง หรือสอบถามเพิ่มเติมที่ 
ศูนย์ประสานงานโควิด-19 รพ.วชิระภูเก็ต โทร.076-361234 ต่อ 6565-6 (เฉพาะวันและเวลราชการ) หรือ โทร.076-361234 ต่อ แผนกตรวจผู้ป่วยนอก (จันทร์-ศุกร์ เวลา 14.30 - 16.00น.)
ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกชั้น 1 กลุ่มงานเภสัชกรรม โทร. 076-361234 ต่อ 1183-4 (เฉพาะวันและเวลาราชการ)

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

[ทั้งหมด]
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เป็นโรงพยาบาลศูนย์ ประจำจังหวัดภูเก็ต ขนาด 600 เตียง เป็นเตียงสามัญ 371 เตียง มีพื้นที่ทั้งหมด 47 ไร่ ให้บริการทางการแพทย์ระดับตติยภูมิและเฉพาะทางขั้นสูง ครอบคลุมถึงระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ และมีเข็มมุ่ง ที่จะพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วย สร้างความปลอดภัย เพื่อให้ได้มาซึ่งความพึงพอใจ ของผู้มารับบริการ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และให้การรักษาผู้ป่วยแบบผสมผสาน โดยนำเอาการแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม การแพทย์แผนไทย สมุนไพรไทย สปา อาโรม่า เทราปี่ จิตบำบัดผู้ป่วยระยะสุดท้าย ธรรมะ สำหรับผู้ป่วย-ญาติ ตลอดจนการนำเอาหลัก Humanize Health Care/ Healing Environment มาใช้ร่วมกับการแพทย์สมัยใหม่ อย่างเหมาะสม

 
หมายเลขโทรศัพท์ภายใน โรงพยาบาลศูนย์วชิระภูเก็ต

บริการของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

ตารางแพทย์ผู้ป่วยนอก (เฉพาะทาง)

ห้องตรวจวชิระคลินิก (ในเวลา)

ห้องตรวจวชิระคลินิก (นอกเวลา)

ห้องตรวจอายุรกรรม

ห้องตรวจกุมารเวชกรรม

ห้องตรวจสูติ-นรีเวชกรรม

คลีนิคพิเศษเฉพาะทางนอกเวลาราชการ (CHC)

วันเวลาให้บริการคลินิก

ห้องพักผู้ป่วยพิเศษ

ระเบียบการเยี่ยมผู้ป่วย

Hyperbaric Medicine

การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง

การตรวจออทิสติก

บริการตรวจรักษาพิเศษ

Mahogany Mdeical Spa

คลินิกเบาหวาน 360

หน่วยแพทย์เรือ สธ. อันดามัน

ศูนย์บริการร่วมจังหวัดภูเก็ต

คลินิกเครือข่ายประกันสังคม

โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต สาขา 2 หยี่เต้ง
โทร 076-216200 - 2
 
 ประวัติโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
เดิมจังหวัดภูเก็ตมีโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2449 โดยพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี๊ ณ ระนอง) คหบดีและพ่อค้าชาวภูเก็ตร่วมกันบริจาคเงินสร้างโรงพยาบาลขึ้น มีชื่อว่า “โรงพยาบาลสุขาภิบาล” สังกัดเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต มีเนื้อที่ 1 ไร่เศษ ตั้งอยู่ถนนโกมารภัจจ์ มีนายแพทย์แม๊ค ชาวอังกฤษ เป็นผู้ดูแล ต่อมามีพระเวชชกิจพิศาล (เจิม ดิลกแพทย์) เป็นผู้อำนวยการคนแรก โรงพยาบาลแห่งนี้ มีห้องตรวจโรค ห้องผ่าตัด ห้องล้างแผลและห้องยา เรือนคนไข้พิเศษ 1 หลัง มีจำนวน 6 เตียง เรือนแถวใช้เป็นเรือนผู้ป่วยหนัก และมีเรือนคนไข้สามัญ 3 หลัง
 
เมื่อ พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้ ในโอกาสนี้พระองค์ได้เสด็จฯ จังหวัดภูเก็ต เพื่อทรงเยี่ยมราษฎรและทอดพระเนตรสภาพบ้านเมือง มีพระราชดำริว่าจังหวัดภูเก็ต ยังไม่มีโรงพยาบาลโอ่อ่าทันสมัย สะอาด เป็นระเบียบ สวยงาม อีกทั้งโรงพยาบาลสุขาภิบาลก็มีเนื้อที่คับแคบและมักจะถูกน้ำท่วมอยู่เสมอ พระยาสุรินทราชา และพระยาทวีปธรรมประศาสตร์บรมนาถภักดี ปรึกษาหารือ เพื่อหาทำเลที่ตั้งของโรงพยาบาลเพื่อสนองพระราชดำริ และกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่ามีสถานที่ 3 แห่ง เพื่อมีพระราชวินิจฉัย
 
ถนนวิชิตสงคราม ตามเส้นทางจากตัวเมืองไปตำบลฉลอง
ตำบลบางงั่วหรือท่าจีน เขตอำเภอเมือง
บริเวณเขารัง ถนนเยาวราช ห่างจากโรงพยาบาลสุขาภิบาลประมาณ 300 เมตร
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลือกสถานที่สร้างโรงพยาบาลบริเวณเขารัง เพราะมีทำเลที่ตั้งที่เหมาะมีอากาศดี มีน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ใกล้เส้นทางคมนาคม เพราะอยู่ใกล้ถนนเยาวราช
 
พระยาสุรินทราชา สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต เห็นว่าควรปลูกสร้างอาคารที่จำเป็น 4 หลังก่อน และคำนวณราคาค่าก่อสร้างกราบบังคมทูล เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัย
 
อาคารที่ทำการโรงพยาบาล รวมทั้งอุปกรณ์ตรวจรักษาผู้ป่วย ราคาค่าก่อสร้างประมาณ 10,000 บาท
อาคารที่พักผู้ป่วย สามารถพักได้จำนวน 30 เตียง ราคาก่อสร้างประมาณ 10,000 บาท
อาคารที่พักแพทย์ ราคาค่าก่อสร้างประมาณ 5,000 บาท
โรงครัวและค่าตบแต่งเบ็ดเตล็ด 5,000 บาท
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทราบราคาค่าก่อสร้างอาคารและการตกแต่งแล้ว ก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับจากจังหวัดภูเก็ต จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 30,000 บาท เพื่อดำเนินการจัดสร้างโรงพยาบาล ต่อมาพระยาสุรินทราชาทูลเกล้าฯ ถวายแปลน อาคารต่างๆ ทอดพระเนตร เมื่อมีพระราชวินิจฉัย เกี่ยวกับรูปแบบของอาคารต่างๆ และประโยชน์ใช้สอยภายในอาคารจึงได้มีการดำเนินการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาล จากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และมีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล ดังนี้
 
ที่พักนายแพทย์ สร้างโดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ (6,000 บาท)
ที่ทำการของแพทย์ สร้างโดยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ (13,416 บาท)
ที่พักแพทย์ผู้ช่วย สร้างโดยกระทรวงมหาดไทย
ที่พักผู้ป่วย พระบริรักษ์โลหะวิสัย (คอยู่จ๋าย ณ ระนอง) (สร้างถวาย 4,156.40 บาท)
ที่พักผู้ป่วย หลวงบุญพัฒน์พานิช (ลิ่มเซ่งติ๋ว บุญห่อ) (สร้างถวาย 6,000 บาท)
ที่พักผู้ป่วยสามัญ ขุนวิเศษนุกูลกิจ กรมการพิเศษ จังหวัดภูเก็ตสร้างถวาย
อาคารบ้านพักแพทย์ เป็นตึกชั้นเดียว มีมุขด้านหน้า 1 มุข ตัวอาคารกว้าง 11 เมตร ยาว 15 เมตร มีรั้วพร้อม สิ้นเงิน
ค่าก่อสร้าง 6,000 บาท ใช้เงินจากพระราชทรัพย์ที่พระราชทาน อาคารที่ทำการแพทย์เป็นตึก 2 ชั้น กว้าง 12 เมตร ยาว
20 เมตร ชั้นล่างมี 4 ห้อง ชั้นบนมี 4 ห้อง มีมุขกลาง
 
ด้านหน้าและมีเฉลียงด้านหน้าและด้านหลัง อาคารที่ทำการแพทย์นี้ใช้ตึกเก่า ซึ่งเดิมเป็นที่ตั้งของศึกษาธิการมณฑลภูเก็ตเป็นตึกชั้นเดียวตอนหนึ่งและอีกตอนหนึ่งทำเป็น 2 ชั้น จึงได้แก้ไขก่อสร้างเปลี่ยนแปลงใหม่ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงแก้ไขอาคารและต่อเติมเป็นเงินจำนวน 13,416.55 บาท และได้จ่ายเงินค่าอาคารเดิมนี้แก่มณฑลภูเก็ต เพื่อปลูกสร้างอาคารใหม่แก่ศึกษาธิการมณฑลภูเก็ต เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท ทั้งสองรายการนี้ใช้เงินพระราชทรัพย์ที่พระราชทาน
 
รวมเป็นเงินพระราชทรัพย์ที่ใช้ในการจัดสร้างและปรับปรุงแก้ไข อีกทั้งชดเชยค่าอาคารเป็นเงินจำนวน 24,416.55 บาท คงเหลือเงินพระราชทรัพย์ 5,583.45 บาท และมีเงินที่ได้จากการจำหน่ายสิ่งของเหลือใช้จากการดำเนินการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาล เป็นจำนวนเงิน 910.50 บาทถ้วน เงินเรี่ยไรจากข้าราชการ พ่อค้า ราษฎร์จังหวัดต่างๆ ในมณฑลภูเก็ต จำนวน 9,969.80 บาท พระบริรักษ์โลหะวิสัย อุทิศถวายโดยเสด็จเป็นพระราชกุศล 2,004 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 18,467.75 บาท เงินจำนวนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายในการสร้างอาคารที่พักผู้ป่วย เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างอาคารนี้เป็นจำนวนเงิน 12,250 บาท คงเหลือ 6,217.75 บาท เงินจำนวนนี้จะไว้ใช้ประโยชน์ในกิจการของโรงพยาบาลต่อไป
 
อาคารที่พักผู้ป่วยหลังที่หนึ่ง หลวงบุญพัฒน์พานิช (ลิ่มเซ่งติ๋ว บุญห่อ) กรมการพิเศษจังหวัดภูเก็ต บริจาคเงินโดยเสด็จพระราชกุศล อาคารดังกล่าวเป็นตึกชั้นเดียวมี 3 ห้อง กว้าง 21 ฟุต ยาว 46 ฟุต มีมุขด้านหน้า เครื่องบนใช้ไม้กระยาเลยพื้นปูไม้ตะบูนและหินอ่อน หลังคามุงกระเบื้อง สิ้นเงินค่าก่อสร้าง 4,500 บาท และค่าอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆสำหรับที่พักผู้ป่วย จำนวน 1,500 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000 บาท [อยู่ระหว่างรอบูรณะใหม่]
 
อาคารที่พักผู้ป่วยหลังที่สอง พระบริรักษ์โลหะวิสัย (คอยู่จ่าย ณ ระนอง) กรมการพิเศษจังหวัดภูเก็ต บริจาคเงิน โดยเสด็จพระราชกุศล สร้างอาคารเป็นตึกชั้นเดียว กว้าง 6.60 เมตร ยาว 13 เมตร หลังคามุงกระเบื้อง เครื่องบนและพื้นเป็นกระยาเลย ค่าก่อสร้าง 3,840 บาท ค่าอุปกรณ์การแพทย์ 316.40 บาท รวมเป็นเงิน 4,156.40 บาท อาคารที่พักผู้ป่วยสามัญ สร้างโดยขุนวิเศษนุกูลกิจ กรมการพิเศษ จังหวัดภูเก็ต พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อโรงพยาบาล ตึกที่ทำการแพทย์และที่พักแพทย์ ตามที่พระยาสุรินทราชา ขอพระราชทานนาม คือ
 
นามโรงพยาบาล วชิระพยาบาล
นามตึกที่ทำการของแพทย์ ศรีพัชรินทรานุสสร
นามที่พักนายแพทย์ ภูเก็ตแพทยาคาร
เมื่อการสร้างอาคารต่างๆ และการตกแต่งภายในแล้วเสร็จ ได้เปิดดำเนินการรักษาผู้ป่วย มีแพทย์ที่จบประกาศนียบัตรเข้าประจำการ จำนวน 4 นาย เป็นหัวหน้าแพทย์ 1 แพทย์ผู้ช่วย 3 นาย มีการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ตำบลขึ้นเพื่อเผยแพร่วิชาแพทยศาสตร์ให้กว้างขวางออกไป โดยเปิดรับคัดเลือกผู้สนใจที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีขึ้นไป มีอุปนิสัยดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่นมีความสนใจในการแพทย์ เข้ามาเรียนมีกำหนดเวลาเรียน 2 ปี เรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เมื่อจบแล้วได้รับการแต่งตั้งเป็นแพทย์ตำบลและเป็นตำรวจภูธรกองหนุน ช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยและป้องกันโรคภัยต่างๆ ภายในตำบล ต่อมามีแพทย์เข้ามาช่วยเหลือกิจการของโรงพยาบาล ซึ่งเป็นแพทย์จากกระทรวงมหาดไทย 2 นาย คือ สารวัตรแพทย์ประจำมณฑลภูเก็ต 1 นาย และแพทย์ประจำจังหวัดภูเก็ต 1 นาย ทำให้กิจการของแพทย์ของโรงพยาบาลมีความเจริญยิ่งขึ้น สามารถตรวจรักษาผู้ป่วย ได้มากขึ้นและมีประสิทธิภาพสูง ประชาชนมีสุขภาพพลานามัยดียิ่งขึ้น
 
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2463 ซึ่งตรงกับอภิลักขิตสมัยวันเฉลิมพระชนมพรรษาในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะกรรมการจัดสร้างโรงพยาบาล ผู้อำนวยการ คณะแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่จัดให้มีการเจริญพุทธมนต์แล้วถวายอาหารบิณฑบาตรแด่พระภิกษุสงฆ์ เชิญข้าราชการในจังหวัดภูเก็ต พ่อค้า คฤหบดี และชาวต่างประเทศ มาร่วมงานเปิดโรงพยาบาล และถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ทรงพระราชทานกำเนิดโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกิจการโรงพยาบาลสุขาภิบาลเข้ากับโรงพยาบาลวชิระพยาบาล ต่อมาภายหลังจึงมีการเรียกชื่อโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า “โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต” เพื่อไม่ให้ชื่อซ้ำกับ “วชิรพยาบาล” ที่กรุงเทพมหานคร
 
กิจการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ได้เจริญรุ่งเรืองเรื่อยมาตราบจนถึงปัจจุบัน เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดภูเก็ต สมกับพระราชปณิธานในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงห่วงใยสุขภาพพลานามัยของพสกนิกรให้ปราศจากโรคาพยาธิ
 
 
กิจกรรม ๑๐๐ ปี วชิระภูเก็ต
 
ภาพโรงพยาบาลในอดีต

คลินิกเครือข่ายประกันสังคม โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

โรงพยาบาลฉลอง
 99 ม.8 ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต
โทร.0 7638 4342-3 
โทร.0 7631 1033-4
 
โรงพยาบาลถลาง 
358 ม.1 ถ.เทพกระษัตรีต.เทพกระษัตรีอ.ถลาง จ.ภูเก็ต
 โทร.0 7631 1033-4
 
โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต สาขาหยี่เต้ง 
101/4 ถ.บางกอก ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต
โทร.0 7621 6200-2
 
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลรัษฎา 
17/58 ต.รัษฎา อ.เมือง จ.ภูเก็ต โทร.0 7652 5779-87
 
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครภูเก็ต1 
166 ถ.ถลาง ต.ตลาดใหญ่อ.เมือง จ.ภูเก็ต
โทร.0 7621 6929-30
 
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลตำบลวิชิต 
103/3 ม.1 ถ.พัฒนาท้องถิ่น ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต
โทร.0 7652 5100
 
ศูนย์สุขภาพชุมชนนริศร ถ.นริศร ต.ตลาดใหญ่อ.เมือง จ.ภูเก็ต โทร.0 7621 1330
 
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในจังหวัด