ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

Chaophraya Yommaraj Hospital

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
950 ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี 72000

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

 

Facebook โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

 
 ประวัติโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช
โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่ที่ 950 ถนนพระพันวษา ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี รหัสไปรษณีย์ 72000 เนื้อที่ของ โรงพยาบาล แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
  • อาคารที่พักคนไข้ และอาคารสนับสนุนบริการมีเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 96 ตารางวา
  • อาคารบ้านพักสำหรับเจ้าหน้าที่ แยกออกไปตั้งอยู่บนถนนหมื่นหาญ มีเนื้อที่ 13 ไร่ 3 ตารางวา ห่างจากบริเวณอาคาร โรงพยาบาลออกไป ประมาณ 1 กิโลเมตร
 
ประวัติเดิมของโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
 
พ.ศ. 2469
เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ได้สละเงินส่วนตัว 40,000 บาท (ในสมัยนั้น) สร้างตึกเจ้าพระยายมราชเป็นอาคารคอนกรีตสองชั้นหลังเดียว มีสภาพเป็นสุขศาลาของเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี เปิดบริการตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2469 ตัวตึกหันหน้าเข้าสู่แม่น้ำท่าจีน (สุพรรณ) หรือทางทิศตะวันตก เพราะสมัยนั้นประชาชนใช้แม่น้ำเป็นเส้นทางคมนาคม จังหวัดสุพรรณบุรีมีถนนสายเดียวคือ ถนนพระพันวษา เริ่มจากหน้าศาลากลางจังหวัดผ่านตลาดผ่านเทศบาล และเลยไป ผ่านหลังตึกเจ้าพระยายมราช ไปจรดแม่น้ำท่าจีน บริเวณนั้นเรียกว่า ถนนตก นับว่าอยู่ในทำเลที่เหมาะสม ผู้ป่วยมารับบริการได้สะดวกทั้ง ทางน้ำ และทางบก ทั้งยังอยู่ในย่านชุมชน
 
พ.ศ.2478
ได้มีแพทย์ปริญญาคนแรกประจำ คือ นายแพทย์เคียน พานิช
พ.ศ. 2485
โรงพยาบาลได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี ขึ้นกับกระทรวงสาธารณสุข และมีการขยายบริการมากขึ้น มีตึกผู้ป่วยเพิ่มขึ้นคือ ตึกสูติกรรม อายุรกรรม ศัลยกรรม
 
พ.ศ. 2500
ระยะต่อมา แม่น้ำตื้นเขิน การคมนาคมทางน้ำจึงลดลง การใช้ถนนมากขึ้น เนื่องจากโครงการสร้างถนนมาลัยแมน เป็นเส้นทางสายแรกของจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดนครปฐม ในปี พ.ศ.2500 คณะลูกหลานของเจ้าพระยายมราช ได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์เจ้าพระยายมราช โดยกรมศิลปากรออกแบบสร้างอนุสาวรีย์ประดิษฐานไว้ที่โรงพยาบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2500 อนุสาวรีย์นี้หันหน้าออกทางถนนพระพันวษา ประกอบกับผู้รับบริการเดินทางโดยทางบกมากกว่าด้านหน้า โรงพยาบาลจึงหันหน้ามาทางถนนพระพันวษาโดยปริยาย การดำเนินงานของโรงพยาบาลเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ
 
พ.ศ. 2534
เนื่องจากบริเวณเนื้อที่ของโรงพยาบาลมีจำกัด เพราะติดกับแม่น้ำท่าจีน และถนนของเทศบาลไม่สามารถขยายออกไปได้อีก จึงได้งบประมาณ สร้างตึกผ่าตัด – อุบัติเหตุและฉุกเฉิน เป็นเงิน 144.34 ล้านบาท
 
พ.ศ. 2537
ตึกผ่าตัด – อุบัติเหตุและฉุกเฉินแล้วเสร็จ เป็นตึก 7 ชั้น มีหอผู้ป่วย 4 หอ ห้องผ่าตัด 9 ห้อง
 
พ.ศ. 2542
หอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม อายุรกรรม อาคารผู้ป่วยพิเศษ 5 ชั้น 60 ห้องแล้วเสร็จ และในขณะนั้นโรงพยาบาลได้ก่อสร้างอาคารรวม 11 ชั้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก ฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา โดยก่อสร้างพร้อมกับอาคารเฉลิมพระบารมี 7 ชั้นอีก 1 หลัง
 
พ.ศ. 2544
อาคารรวม 11 ชั้น และอาคารเฉลิมพระบารมี 7 ชั้นแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 4 กรกฏาคม 2544 โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช สุพรรณบุรี ได้รับการยกฐานะเป็น โรงพยาบาลศูนย์ขนาด 503 เตียง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
 
พ.ศ. 2545
ได้มีการพัฒนาขยายเตียงเพื่อเตรียมรับผู้ป่วย จำนวน 623 เตียง