ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

คลินิกหมอจำรัสเวชกรรม นครราชสีมา

Korat Health Center

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
158/6-7 ถนน จักรี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา นครราชสีมา 30000

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ คลินิกหมอจำรัสเวชกรรม นครราชสีมา

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
 บริการของเรา
รับปรึกษาภาวะมีบุตรยาก เพื่อหาสาเหตุและให้คำปรึกษา
 
1.ตรวจสุขภาพร่างกายขั้นพื้นฐานของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงโดยทำการเจาะเลือด(ตรวจหากามโรค โรคทางพันธุกรรม ธาลัสซีเมีย)เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีบุตรทั้งสามีและภรรยา ฝ่ายชายตรวจน้ำอสุจิ และฝ่ายหญิงตรวจประเมินมดลูก มะเร็งปากมดลูก
2.การตรวจความผิดปกติของท่อน้ำไข่ด้วยการฉีดสีเอ็กซเรย์
3.การตรวจฮอร์โมน เนื่องจากอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับสภาวะความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน ดังนั้นการตรวจวิเคราะห์ฮอร์โมนต่างๆ เช่น FSH, LH, Estradiol, Progesterone, Testosterone, Prolactin, ACTH, Cortisol เป็นต้น ย่อมเป็นสิ่งจำเป็น
การรักษาภาวะมีบุตรยาก
 
1.การผสมเทียมโดยการฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก (Intraterine insemination-IUI) การฉีดเชื้ออสุจิที่มีคุณภาพในปริมาณเข้มข้น ที่ผ่านการคัดกรองในห้องปฏิบัติการแล้วเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรง โดยใช้ท่อพลาสติกขนาดเล็ก วิธีการนี้จะช่วยเพิ่มอัตราการปฏิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ
2.เด็กหลอดแก้วด้วยวิธีอิ๊กซี่ (Intracytroplasmic Sperm Injection; ICSI) การปฎิสนธินอกร่างกายโดยการฉีดอสุจิ 1 ตัว เข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง
3.Laser assisted zonapellucida ตัดเปลือกตัวอ่อนก่อนการย้ายฝาก ตัวอ่อนระยะ Blastocyst จะมีเปลือกใสๆหุ่มอยู่เรียกว่า zonapellucidaซึ่งตัวอ่อนก่อนจะฝั่งตัวจะต้องฟักออกมาจากเปลือกเพื่อเกาะกับผนังโพรงมดลูกและฝังตัวลงไป แต่บางครั้งพบว่าเกิดการล้มเหลวของการฟักและฝังตัวของตัวอ่อนซึ่งอาจเนื่อง มาจากตัวอ่อนมีเปลือกที่หนาเหนียวหรือแข็ง แม้กระทั้งคุณภาพของตัวอ่อนเอง ทั้งนี้อาจเป็นผลอันเนื่องมาจากอายุของคนไข้ด้วย จึงได้มีการศึกษาและพบว่าการตัดเปลือกบางส่วนเพื่อช่วยในการฟักของตัวอ่อนทำให้อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นอย่างชัดเจน
4.การย้ายตัวอ่อนสดหรือตัวอ่อนแช่แข็ง
การตรวจวิเคราะห์อสุจิด้วยคอมพิวเตอร์
การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำเชื้อด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะสามารถเพิ่มความแม่นยำ ในการวิเคราะห์ผล ย่อมเป็นสิ่งที่ดีในการวางแผนสำหรับคู่ชีวิตที่อาจจะมีโอกาสมีบุตรยากในอนาคตได้
การเก็บอสุจิโดยตรงจากอัณฑะ
 
TESE (Testicular Epididymal Sperm Extraction) คือ การผ่าตัดเอาเนื้ออัณฑะออกมาเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วแยกตัวอสุจิที่อยู่ในเนื้ออัณฑะเพื่อนำไปใช้ในการทำอิ๊กซี่
TESA (Testicular Sperm Aspiration) คือ การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในลูกอัณฑะ แล้วดูดตัวอสุจิออกมาเพื่อนำไปใช้ในการทำอิ๊กซี่
LASER VAGINAL TIGHTENING (LVT)
เลเซอร์จะช่วยกระชับช่องคลอดลึกถึงระดับเซลล์ เพราะการเสื่อมสภาพของผนังช่องคลอด มีสาเหตุหลักมาจากการเสื่อมสลายของเส้นใยคอลลาเจน โดยปกติผนังช่องคลอดมีเส้นใยคอลลาเจนที่ทำหน้าที่เหมือนโครงสปริงยึดตรึงให้ช่องคลอดกระชับและยืดหยุ่นดี เมื่อเรามีอายุมากขึ้น หรือเมื่อมีการขยายตัวของช่องคลอดจากการคลอดโดยธรรมชาติจะทำให้มีการเสื่อมหรือฉีกขาดของเส้นใยคอลลาเจน จนทำให้เกิดภาวะช่องคลอดช่องคลอดไม่กระชับในที่สุด ดังนั้นเลเซอร์จะช่วยกระตุ้นเซลล์คอลลาเจนให้เกิดการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์ที่เสื่อมไป ทำให้รู้สึกกระชับโดยไม่ต้องผ่าตัด
ลดไขมันหน้าท้องหลังคลอด
ท้องลาย ด้วยเทคโนโลยีHI-FU HIFU หรือ High-Intensity Focused Ultrasound เป็นพลังงาน อัลตร้าซาวด์ชนิดเข้มข้น ที่สามารถส่งพลังงานเจาะจงเป้าหมาย ลงไปในระดับลึกของชั้นผิว สู่ชั้นไขมันสะสม นับเป็นครั้งแรก ที่พลังงานสามารถลงไปกำจัดไขมันระดับลึกได้โดยไม่ต้องผ่าตัดก่อนหน้านี้ เมื่อพูดถึงการกำจัดไขมันด้วยวิธีไม่ผ่าตัด
การตรวจความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อนก่อนระยะการฝักตัว (PGS AND PGD)
 
การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัว (Pre-Implantation Screening:PGS) เป็นการตรวจสอบความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อนที่พ่อแม่ปกติ แต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางพันธุกรรมได้ เช่น เคยแท้งบ่อยๆ ฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไป หรือมีโอกาสเสี่ยงจากพันธุกรรมทางสายเลือด ทั้งนี้การตรวจโครโมโซมยังสามารถตรวจโครโมโซมเพศของตัวอ่อนได้ด้วย จึงทำให้เราสามารถรู้เพศของตัวอ่อนก่อนย้ายเข้าสู้โพรงมดลูกได้ตั้งแต่แรก
การตัวความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน (Pre-Implantation Diagnosis:PGD) เป็นการตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เฉพาะเจาะจงกับโรคก่อนย้ายฝากตัวอ่อนเข้าโพรงมดลูก เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่พ่อแม่มีโรคทางพันธุกรรม อาทิเช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคซีสติกไฟโบรซีส เป็นต้น ส่วนใหญ่จะทำในกรณีที่คู่สามีภรรยาได้ตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมทางสายเลือดแล้ว
การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์
การตรวจความผิดปกติของทารกสามารถตรวจได้โดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ โดยตรวจได้ตั้งแต่ 11 สัปดาห์ขึ้นไปด้วยวิธีการวิเคราะห์ผลเลือดของพ่อและแม่ ให้ผลแม่นยำ 99 เปอร์เซ็นต์ ลดการเสี่ยงการแท้งจากการเจาะน้ำคร่ำ
ตรวจเลือด
ตรวจฮอร์โมนการตั้งครรภ์ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจเบาหวาน น้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ตรวจเกาส์ ตรวจการทำงานของไต ตรวจการทำงานของตับ และอื่นๆอีกมากมาย
X-RAY
 
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
สามารถตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจพร้อมกัน 12 ลีดและบันทึกพร้อมกันได้ 12 ช่องสัญญาณและสามารถวิเคราะห์ผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยเด็กจนถึงผู้ใหญ่โดยวิเคราะห์แบบ Clinical Interpretation พร้อมทั้งมีเหตุผลประกอบและสรุปได้ว่า Normal ECG หรือ Abnormal ECG