ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน

Panyananthaphikkhu Chonprathan Medical Center

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
222 หมู่ 1 ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน

content image1
 ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นโรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 222 หมู่ 1 ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

เกี่ยวกับศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุฯ (โรงพยาบาลชลประทาน)
 
         ปัจจุบัน ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน เป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิระดับสูง ขนาด 300 เตียง สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 222 หมู่ 1 ถนนติวานนท์ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี   โรงพยาบาลชลประทาน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งชื่อดังกล่าวได้แจ้งต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กรกฏาคม พ.ศ. 2550 และกราบเรียนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ และขออนุญาตใช้นามของท่านเป็นชื่อโรงพยาบาลไว้แล้ว เมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม พ.ศ. 2550 และโรงพยาบาลชลประทานได้มาสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้จัดตั้งกองทุนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ เพื่อสืบทอดความตั้งใจของท่าน เพื่อนำกองทุนดังกล่าวมาพัฒนาโรงพยาบาลชลประทาน ให้เป็นโรงพยาบาลที่ดีที่สุดโรงพยาบาลหนึ่ง
 
วิสัยทัศน์ (Vision)
         ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งปัญญา ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ (A University Hospital of Wisdom Aspiring for Excellence)

Facebook ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน

บริการทางการแพทย์
 
  1. แผนกตรวจโรคทั่วไป
    แผนกตรวจโรคทั่วไป รับตรวจโรคต่างๆทางอายุรกรรม รวมทั้งการรักษาทั้งภาวะโรคเลือด โรคติดเชื้อ โรคไต โรคหัวใจ
  2. แผนกอายุรกรรม
    แผนกอายุรกรรม รับตรวจโรคต่างๆทางอายุรกรรม รวมทั้งการรักษาทั้งภาวะโรคเลือด โรคติดเชื้อ โรคไต โรคหัวใจ
  3. แผนกศัลยกรรม
    แผนกศัลยกรรม ให้บริการด้านการศัลยกรรมเพื่อรักษาโดยเฉพาะ ศัลยกรรมทั่วไป และศัลยกรรมต่าง
  4. แผนกจักษุ
    ให้การดูแลรักษา ส่งเสริม ป้องกันแก่ผู้ป่วยโรคทางตา มีระดับความสามารถ ในการตรวจรักษา โรคทางตา เช่น แผนกโสต ศอ นาสิก ให้บริการตรวจวินิจฉัยรักษาสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคทางหู คอ จมูก ระดับทุติยภูมิ
  5. แผนกศัลยกรรมกระดูก
    ให้บริการตรวจวินิจฉัย การรักษา ป้องกันความพิการและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยออร์โอปิดิกส์ (โรค หรือ การบาดเจ็บ ของกระดูก
  6. แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
    ตรวจ รักษา และฟื้นฟูผู้ป่วยและผู้พิการทางกายและการเคลื่อนไหว ทั้งผู้ป่วยที่นอนในโรงพยาบาลและผู้ป่วยนอก
  7. แผนกกุมารเวชกรรม
    ให้บริการตรวจ รักษา ป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้ป่วยเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 15 ปี โดยกุมารแพทย์ที่เชี่ยวชาญ
  8. แผนกสูติ-นรีเวชวิทยา
    ให้บริการดูแลคุณภาพสตรีทุกวัยอย่างครบวงจร ตั้งแต่การตรวจสุขภาพ ไปจนถึงการวินิจฉัย ป้องกันและรักษาโรคสตรี
  9. แผนกทันตกรรม
    ให้บริการป้องกันและรักษาทางทันตกรรมอย่างครบวงจร โดยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทันตบุคลากร
  10. แผนกไตเทียม
    ให้บริการด้านการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่ต้องรับการรักษาโดยการ
  11. ศูนย์ปัญญารักษ์สุขภาพ
    ให้บริการการตรวจสุขภาพประจำปี Annual Check Up และการตรวจคัดกรอง Screening Program ต่างๆ
  12. คลินิกประสานใจ
    ให้บริการผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง (Palliative Care) ครอบคลุมทั้งผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาล และผู้ป่วย
 

ประวัติโรงพยาบาลชลประทาน

ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน ถือกำเนิดมาจากกรมชลประทานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดบริการด้านการแพทย์การสาธารณสุขเอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2457 โดยจัดตั้งเป็นสถานพยาบาลชั่วคราว ดูแลรักษาผู้ป่วยในที่ทำการก่อสร้างเขื่อนพระราม 6 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนกระทั่งปี พ.ศ.2487 จึงได้จัดหน่วยแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสำนักงานเลขานุการกรม ในปี พ.ศ.2489 ได้ขยายหน่วยงานแพทย์เป็นแผนกแพทย์ และในปี พ.ศ.2493 ได้จัดตั้งกองแพทย์ โดยสร้างอาคารสถานพยาบาลขึ้นในบริเวณกรมชลประทานสามเสน กรุงเทพมหานคร และที่ทำการก่อสร้างกรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น รับผู้ป่วยได้ 20 เตียงและขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง เมื่อปี พ.ศ.2498 รับผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างและครอบครัวทั้งจากส่วนกลางและจากท้องถิ่น ของกรมชลประทาน รวมทั้งผู้รับบริการจากจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และส่วนรอบนอกด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร ด้วยเหตุนี้เองจึงมีผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น มาขอรับบริการเป็นเหตุที่ต้องขยายโรงพยาบาลและปรับปรุงให้มีขีดความสามารถในการรักษาโรคเฉพาะทางได้โดยไ่ม่ต้องส่งต่อ ดังนั้น ในปี พ.ศ.2510 จึงมีโครงการขยายโรงพยาบาลตามขั้นตอน และปรับสภาพเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 320 เตียง

 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2539 โรงพยาบาลชลประทานได้จัดแบ่งรูปงานใหม่เพื่อเตรียมความพร้อมให้สอดคล้องกับโครงสร้างใหม่ของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ.2541 โดยปรับรูปแบบการดำเนินการเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 300 เตียง มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกสาขาวิชาทางการแพทย์ที่จำเป็น ให้บริการแก่เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน ครอบครัวและประชาชนทั่วไป รวมทั้งให้บริการงานผู้ป่วยนอกสามเสน กรมชลประทาน กรุงเทพมหานคร ตามพระราชกฤษฏีกา โอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ให้โอนย้ายไปสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2545
 
วัตถุประสงค์สำคัญของการจัดตั้งกองแพทย์ขึ้นในขณะนั้นเพื่อ
  • ตรวจสุขภาพผู้สมัครเข้าทำงานเพื่อให้ได้ผู้มีสุขภาพดีพอที่จะทำงานตามที่กำหนดได้
  • ส่งเสริมสุขภาพของข้าราชการและลูกจ้างของกรมชลประทานให้ดีอยู่เสมอ
  • ส่งเสริมสภาพแวดล้อม เช่น ที่ทำงาน ที่พักอาศัย สิ่งอุปโภคบริโภคให้ถูกสุขลักษณะ
  • ให้ความรู้ด้านสุขศึกษา เพื่อให้รู้ถึงการรักษาสุขภาพ การป้องกันโรคและป้องกันอุบัติเหตุ
  • ให้การรักษาพยาบาลแก่ข้าราชการและลูกจ้าง รวมถึงทุกคนในครอบครัว เมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้น
การดำเนินงานของกองแพทย์สมัยเริ่มจัดตั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เน้นถึงการป้องกันและรักษา สุขภาพโดยการให้บริการแก่ข้าราชการ ลูกจ้างและครอบครัวของผู้ปฏิบัติงานชลประทานเป็นหลัก ในอดีต งานของกรมชลประทานส่วนใหญ่เป็นงานที่ดำเนินอยู่ตามท้องถิ่น ห่างไกลและทุรกันดารซึ่งมักจะมีโรคภัยไข้เจ็บชุกชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการชลประทานขนาดใหญ่ ที่กรมชลประทานต้องใช้งบประมาณค่าก่อสร้างเป็นจำนวนมาก การที่จะปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีตามเป้าหมาย จะต้องประกอบด้วย กำลังเจ้าหน้าที่ที่มีคุณภาพและมีจำนวนเพียงพอ ความช่วยเหลือในด้านการแพทย์จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการสูญเสียกำลังงาน และช่วยคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความสามารถไว้เป็นกำลังสำคัญในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี การปฏิบัติงานของกองแพทย์ในระยะเริ่มต้นจึงเน้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของข้าราชการและลูกจ้าง ตลอดจนครอบครัวอย่างใกล้ชิดประกอบกับในสมัยก่อน การพัฒนาด้านสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขยังไม่แพร่หลายครอบคลุมพื้นที่ท้องถิ่นทุรกันดาร กรมชลประทานจึงจำเป็นต้องจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นในหน่วยงานโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ เพื่อดูแลสุขภาพ ให้การรักษาพยาบาล การป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัยในการทำงานแก่เจ้าหน้าที่ผู้-ปฏิบัติงานทุกคนให้มีสุขภาพพลานามัยดีพร้อมที่จะทำงานต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่กำหนด

โรงพยาบาลของกรมชลประทานที่ได้จัดตั้งขึ้นตามหน่วยงานก่อสร้างต่าง ๆ ในอดีตและที่ส่วนกลางประกอบด้วย
  1. โรงพยาบาลเขื่อนเจ้าพระยา ที่เขื่อนเจ้าพระยา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท จัดตั้งเมื่อพ.ศ. 2495 และให้บริการจนถึง พ.ศ. 2510
  2. โรงพยาบาลเขื่อนภูมิพล ที่เขื่อนภูมิพล อำเภอสามเงา จังหวัดตาก จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2500 และให้บริการจนถึง พ.ศ. 2507
  3. โรงพยาบาลเขื่อนแก่งกระจาน ที่เขื่อนแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2504 และให้บริการจนถึง พ.ศ. 2509
  4. โรงพยาบาลเขื่อนลำพระเพลิง ที่เขื่อนลำพระเพลิง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2506 และให้บริการจนถึง พ.ศ. 2513
  5.  โรงพยาบาลเขื่อนลำปาว ที่เขื่อนลำปาว อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดตั้งเมื่อพ.ศ. 2506 และให้บริการจนถึง พ.ศ. 2517
  6. โรงพยาบาลเขื่อนสิริกิติ์ ที่เขื่อนสิริกิติ์ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดตั้งเมื่อพ.ศ. 2514 และให้บริการจนถึง พ.ศ. 2520
  7. โรงพยาบาลเขื่อนวชิราลงกรณ์ ที่เขื่อนวชิราลงกรณ์ อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2509 และให้บริการจนถึง พ.ศ. 2528
  8. โรงพยาบาลชลประทาน ในกรมชลประทาน อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นโรงพยาบาลในเครือของกรมชลประทาน ในระยะต้นเป็นโรงพยาบาลขนาด 20 เตียง และพัฒนาเป็นโรงพยาบาลขนาด 305 เตียง ในปัจจุบัน
  9. สถานพยาบาลกองแพทย์ในกรมชลประทาน ถนนสามแสน กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของกองแพทย์ ทำหน้าที่ให้การตรวจรักษาผู้ป่วยนอก นอกจากนี้ยังทำหน้าที่จัดหายา เวชภัณฑ์และเครื่องมือ-แพทย์ ให้แก่สถานพยาบาลและหน่วยงานต่าง ๆ ของกรมชลประทาน