ข้อมูลน่ารู้ เมื่อมาใช้บริการโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
Q: เมื่อมาถึงโรงพยาบาลแล้วต้องทำอย่างไร?
พบพยาบาลที่จุดคัดกรองบริเวณทางเข้าตึกก่อนทุกครั้งเพื่อทำการคัดกรองและแนะนำจุดที่ต้องไปต่อ
*เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานจึงส่งผลให้ผู้ป่วยทั้งใหม่และเก่าจำเป็นต้องเซนต์ยอมรับการใช้ข้อมูลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(PDPA) ก่อนในครั้งแรกที่เข้ามาใช้บริการภายหลังจากวันที่ 11 ก.พ. 2565
Q: การเข้ารับบริการต้องเตรียมเอกสารใดบ้าง?
1. กรณีผู้ป่วยไม่มีนัดและไม่ได้ถูกส่งตัวมา สามารถใช้เพียงบัตรประชาชนและบัตรโรงพยาบาลในการเข้ารับบริการ
2. กรณีผู้ป่วยมีนัดให้นำใบนัดมาพร้อมกับบัตรประชาชนและบัตรโรงพยาบาล
3. กรณีผู้ป่วยถูกส่งตัวมารักษาและใช้สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า จำเป็นต้องมีเอกสารส่งตัว(ตัวจริง) 1 ฉบับ สำเนา 1 ฉบับ พร้อมกับบัตรประชาชน
4. กรณีผู้ป่วยใช้สิทธิดังนี้
ประกันสังคมทุพพลภาพ
กองทุนทดแทน
บัตรประกันสุขภาพต่างพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
บัตรประกันสุขภาพสิทธิย่อยผู้พิการ
จำเป็นต้องมีสำเนาบัตรประชาชน 1 ฉบับ พร้อมบัตรประชาชนตัวจริง
Q: สิทธิที่สามารถใช้ในโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ได้?
ทางโรงพยาบาลรองรับการใช้สิทธิทุกรูปแบบ
Q: เคสฉุกเฉินมีสิทธิที่อื่นเข้าใช้บริการได้ไหม?
ตามนโยบาย สปสช. เฉพาะเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่โดยไม่ต้องสำรองจ่ายจนพ้นวิกฤตและสามารถคลื่อนย้ายได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
6 อาการที่เข้าข่าย ภาวะฉุกเฉินวิกฤต
1. หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ
2. หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรงหายใจติดขัดมีเสียงดัง
3. ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น
4. เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง
5. แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีกพูดไม่ชัดแบบปัจจุบันทันด่วนหรือชักต่อเนื่องไม่หยุด
6. อาการอื่นที่มีผลต่อการหายใจ ระบบการไหลเวียนโลหิต และระบบสมองที่เป็นอันตรายต่อชีวิต หากพบอาการที่เข้าข่าย
ขั้นตอนการใช้สิทธิ
1. ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
2. โรงพยาบาลประเมินอาการและคัดแยกระดับความฉุกเฉิน
3. ศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
4. กรณีเข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต จะได้รับความคุ้มครองตามสิทธิทันทีแต่ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
5. กรณีไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตให้รีบประสานโรงพยาบาลตามสิทธิหากประสงค์รักษาต่อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
ประวัติโรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
เมื่อปีพุทธศักราช 2500 ได้ก่อตั้งสถานีอนามัย ชั้น 1 อำเภอหนองจอก บริเวณถนนเชื่อมสัมพันธ์ ตรงข้ามสำนักงานเขตหนองจอก สถานีอนามัยขึ้นตรงกับอนามัยจังหวัดพระนคร สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้บริการเทียบเท่าโรงพยาบาล 10 เตียงให้การรักษาโรคทั่วไป ทำคลอดและรับผู้ป่วยถูกเฉิน 24 ชั่วโมง
วันที่ 1 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2502 ได้โอนสังกัดมาเป็นสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์บริการสาธารณะสุข "44 หนองจอก
เมื่อมีผู้มาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น อาคารเคิมเก่าและคับแดบไม่เพียงพอที่จะให้บริการ จึงได้ย้ายสถานที่มาก่อสร้างอาคารขึ้นใหม่ บริเวณติคถนนเลียบวารี โดยจัดสร้างเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาค 30 เตียง พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลชุมชนหนองจอก และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2527
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2532 โรงพยาบาลชุมชนหนองจอกได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลหนองจอก" ตามมติคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร
เมื่อปริมาณผู้มาใช้บริการของโรงพยาบาลมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้ขยายขีคความสามารถในการให้บริการของโรงพยาบาล เป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เคียง โดยก่อสร้างเป็นอาคาร 5 ชั้น และเปิดให้บริการเมื่อ เดือนเมษายน 2549 และยังคงใช้ชื่อ "โรงพยาบาลหนองจอก"
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 โรงพยาบาลหนองจอกได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระราชทานชื่อของโรงพยาบาลเป็น โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์แปลว่า การรักษาอันสว่างไสว ในความรัก ความกรุณา