ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพ รวมโปรแกรมสุขภาพ บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิดบริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event Health Economy ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

Nopparat Rajathanee Hospital

Logo Thumb preview

โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี เป็นองค์กรสุขภาพแห่งชาติด้านอาชีวเวชศาสตร์และศูนย์การแพทย์ที่มีมาตรฐานระดับสากล มุ่งเน้นให้บริการด้านคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ วินิจฉัย รักษาโรคจากการทำงานและโรคจากสิ่งแวดล้อม ในระดับประเทศและอาเซียนและให้บริการศูนย์พิษวิทยา ตรวจสารเคมีให้แก่ประชาชน

ที่อยู่/ติดต่อ
679 รามอินทรา กม.13 แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กทม. 10230

✅ รับบัตรทอง
✅ รับประกันสังคม [คลินิกเครือข่าย]

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

โปรแกรมบริการสุขภาพ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

ส่วนหนึ่งของข้อมูลโปรแกรมบริการจาก โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี (มีข้อสงสัย ติดต่อผู้ให้บริการโดยตรง)

โปรแกรมทั้งหมด

สถานพยาบาลต้องการเพิ่มข้อมูลบริการสุขภาพ ส่งข้อมูลมาที่ healthserv.net@gmail.com

ข้อมูลบริการของที่นี่


ประวัติโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี


        นับแต่ก่อตั้งกรมการแพทย์ ในปี 2485 จนถึงปี 2510 กรมการแพทย์ มีหน้าที่รับผิดชอบโรงพยาบาลของรัฐทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ทั้งโรงพยาบาลบำบัดโรคทั่วไปและโรงพยาบาลเฉพาะโรค รวมโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ทั้งสิ้นถึง 102 แห่ง เป็นโรงพยาบาลในส่วนกลาง11 แห่ง สถาบัน 2 แห่ง และโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค 89 แห่ง
 
ปี 2510
ประชากรในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลมีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก และโรงพยาบาลในส่วนกลางก็รับผู้ป่วยจนเต็มล้น ซึ่งหนังสือพิมพ์หลายฉบับก็ได้หยิบยกมาเป็นประเด็นปัญหาสังคมในขณะนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงได้มอบหมายให้กรมการแพทย์ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องโรงพยาบาลรับไปศึกษาปัญหาดังกล่าว กรมการแพทย์ (นายแพทย์ประเทือง สิงคาลวณิช อธิบดีกรมการแพทย์ในขณะนั้น) จึงได้มอบหมายให้นายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว (อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในขณะนั้นทำงานอยู่ที่กองโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค) ทำการศึกษาวิจัยถึงแนวคิดเรื่องโรงพยาบาลชานพระนคร โดยมีนายแพทย์ รังสรรค์ มหาสันทนะ (ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลส่วนภูมิภาคในขณะนั้น) เป็นที่ปรึกษาในการศึกษานี้ ผลการศึกษาสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว กรมการแพทย์จึงได้ตั้งคณะกรรมการโดยมีอธิบดีเป็นประธานพิจารณาผลการศึกษาวิจัย และเห็นสอดคล้องกับผลการศึกษาวิจัย จึงได้ทำโครงการเสนอไปยังกระทรวงสาธารณสุข (ในขณะนั้น ผู้ที่ดำรงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คือ พระบำราศนราดูร) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากทั้งกระทรวง และ จากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด้วยเหตุที่มีการขยายตัวของเมืองอย่างมากทางทิศตะวันออก มีประชากรในพื้นที่ถึง 2 ล้านคน และมีโรงงานจำนวนมากถึง 1,000 แห่ง จึงเริ่มดำเนินการ “โครงการโรงพยาบาลชานพระนคร” ทางด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ (เขตบางกะปิ)
 
ปี 2515
สภาบริหารคณะปฏิวัติมีมติให้กรมการแพทย์ดำเนินการจ้างเอกชนดำเนินการออกแบบแปลนและก่อสร้าง นายแพทย์เชิด โทนะวณิก อธิบดีกรมการแพทย์ได้แต่งตั้งนายแพทย์สมศักดิ์ สืบแสง เป็นผู้ดำเนินการโครงการ
 
ปี 2516
กรมการแพทย์ ("กรมการแพทย์และอนามัย" ในขณะนั้น) ได้จัดซื้อที่ดินจำนวน ๒๘ ไร่ ๖๐ ตารางวา ด้วยงบประมาณ ๕ ล้าน ๕ แสนบาท เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2516 และได้รับบริจาคที่ดินจากผู้ขายที่ดินเดิมให้อีก 31 ไร่ 39 ตารางวา รวมเป็นพื้นที่ดินทั้งหมด 59 ไร่ 99 ตารางวา
 
ปี 2517
กรมการแพทย์ ได้รับการกำหนดบทบาทให้เป็นกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข ในด้านการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพ การก่อสร้างโรงพยาบาลดังกล่าวจึงถูกระงับชั่วคราว
 
ปี 2520
กรมการแพทย์ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลชานพระนคร (ด้านตะวันออกของกรุงเทพฯ) ขนาด 650 เตียง โดยได้รับงบประมาณผูกพัน 2500 – 2522 วงเงิน 33 ล้านบาท (โดยประมาณ) เพื่อก่อสร้างอาคารอำนวยการ ถมดิน และ ทำรั้วรอบโรงพยาบาล ต่อมาระหว่าง พ.ศ. 2523 – 2525 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรรัฐบาลเพื่อจัดสร้างอาคารอื่นๆ ที่เหลือ วงเงินรวมทั้งสิ้น 317 ล้านบาท (โดยประมาณ)
 
วันที่ 2 มกราคม 2525 โรงพยาบาลเริ่มให้บริการผู้ป่วยนอก
 
วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานนามโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า “โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี” ตามหนังสือของสำนักราชเลขาธิการ ที่ รล. 0002/3081
 
วันที่ 1 ตุลาคม 2525 โรงพยาบาลได้เริ่มเปิดบริการผู้ป่วยใน

คลินิกเครือข่ายประกันสังคม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี

คลินิกเวชกรรมบุญส่งการแพทย์ 
399/5 ม.18 ซ.วนาทิพย์ถ.สีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรีกรุงเทพฯ 
โทร.0 2918 8152
 
คลินิกเวชกรรมแพทย์อภิชัย 
535 ถ.พระยาสุเรนทร์แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ
 โทร.0 2540 2899
 
คลินิกเวชกรรมรินทร์ทองการแพทย์ 110 ถ.รามคำแหง แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรีกรุงเทพฯ
โทร.0 2916 5187
 
คลินิกเวชกรรมบ้านสัมพันธ์ 
21/1 ชั้น 1 ซ.รามอินทรา 46/1 แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ
 โทร.0 2944 0701
 
คลินิกเวชกรรมหมอวงวัฒน์
55/14 ชั้น 1 ม.9 แขวงลำผักชีเขตหนองจอก กรุงเทพฯ
โทร.0 2186 0071
 
คลินิกเวชกรรมเสนา ๘๘ 
51/19-20 ถ.คลองลำเจียก แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 
โทร.0 2946 0030-1
 
คลินิกเวชกรรมหมอสมชาย
 6 ซ.รามอินทรา 39 แขวงอนุสาวรีย์เขตบางเขน
กรุงเทพฯ โทร.0 2973 0904
 
ชุมชนคลินิกเวชกรรม
 256/2-3 ม.1 ซ.หอพักทิพวารีถ.อ่อนนุช แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 
โทร.0 2327 3168
 
นวรักษ์คลินิกเวชกรรม
 101 ถ.นวมินทร์แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 
โทร.0 2509 0775
 
แพทย์ไชยวัฒน์คลินิกเวชกรรม
12/4 ม.3 แขวงกระทุ่มราย เขตหนองจอก กรุงเทพฯ  โทร.0 2988 3949
 
รวมแพทย์บางชันสหคลินิก 
675/2 ซ.รามอินทรา ๑๐๙ ถ.พระยาสุเรนทร์ แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพฯ 
โทร.0 2955 4478
 
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร 
2 ซ.ลาดกระบัง 15 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ
 โทร.0 2326 9995
 
ดาเนียลคลินิกเวชกรรม 
490 ม.18 แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพฯ
โทร.0 2540 2866