ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

Suratthani Hospital

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
56 หมู่ 2 ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทรศัพท์ 077-952900
โทรสาร 077-952942

✅ รับบัตรทอง
✅ รับประกันสังคม [คลินิกเครือข่าย]

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

[ทั้งหมด]
ติดต่อขอบริจาค
เพื่อใช้การสนับสนุนกิจกรรมภายในโรงพยาบาลและจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์                
บริจาคด้วยตัวเองได้ที่โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี อาคารอำนวยการ ชั้น 2
ห้องมูลนิธิโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ในเวลาราชการ 
 
ติดต่อการบริจาค ห้องพิเศษ ในกรณีจ่ายเป็น เช็ค แคชเชียร์เช็คหรือดาฟห์
บริจาคได้ในนาม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
เลขที่บัญชี 807-1-27539-5      ธนาคารกรุงไทย
 

 ประวัติโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

การก่อสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดนี้ได้เริ่มดำริขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ในสมัยที่หลวงสฤษฎิสาราลักษณ์ เป็นข้าหลวงประจำจังหวัด ขุนทิพยวรเสพเป็นสาธารณสุขจังหวัด และขุนพิศาลสัมมารักษ์เป็นนายอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ได้ดำริจัดสร้างโรงพยาบาลขึ้น ณ ที่ตั้งโรงพยาบาลปัจจุบันนี้ โดยที่ดินว่างเปล่าอันเป็นวัดร้างอยู่เดิม จังหวัดจึงได้เจรจากับ เจ้าของที่ดินบริเวณข้างเคียง ปรากฎว่านางแดง อภิชาตกุล มีใจศรัทธาในการสร้างสถานกุศลสาธารณประโยชน์ ยอมยกที่ดิน ให้ทางราชการสร้างโรงพยาบาล 2 แปลง โดยไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใด คือ แปลงที่ 1 เนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 85 ตารางวา 2 ตารางศอก คิดราคาในขณะนั้น ไร่ละ 120 บาท เป็นเงิน 685.54 บาท  แปลงที่ 2 เนื้อที่ 4 ไร่ คิดราคาไร่ละ 100 บาท เป็นเงิน 400 บาท  รวมเป็นเงิน  1,085.54  บาท  ทั้งนี้เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่นายจิต อภิชาตกุล สามีผู้วายชนม์ นอกจากนี้ได้ซื้อที่ดินจากเอกชนอีก 5 ราย คือ
 
  1. ที่ดินนายแจ้ง  6 ไร่ 2 งาน 84 ตารางวา ไร่ละ 25 บาท เป็นเงิน 167.75 บาท
  2. ที่ดินนายน่วม 3 ไร่ 1 งาน 57 ตารางวา ไร่ละ 70 บาท เป็นเงิน 237.50 บาท
  3. ที่ดินนางนวม 1 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา 1 ตารางศอก ไร่ละ 70 บาท เป็นเงิน 116 บาท แต่เจ้าของขอเพิ่มอีก 16 บาท เพื่อให้สมกับที่ต้องเสียดอกเบี้ยตามหนังสือ สัญญาซื้อขายที่อำเภอ จึงรวมเป็นเงิน 132 บาท
  4. ที่ดินนายสังข์ 1 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา 1 ตารางศอก ไร่ละ 70 บาท เป็นเงิน 116.50 บาท
  5. ที่ดินนายขำ 3 ไร่ 8 ตารางวา 2 ตารางศอก ไร่ละ 70 บาท เป็นเงิน 211.50 บาท
 
รวมค่าที่ดินที่ต้องซื้อจากเอกชน เป็นเงิน 865.25 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ ขุนเศรษฐภักดี ได้มีใจศรัทธาบริจาคให้ ทั้งสิ้น ได้เสนอเรื่องรวมไปยังกรมสาธารณสุข และทำหนังสือซื้อขายกัน ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี เสร็จเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2484 ครั้นรุ่งขึ้นวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่จังหวัดนี้ ตำรวจ ข้าราชการ ลูกเสือ นักเรียน และประชาชนชาวสุราษฎร์ธานี ได้ทำการต่อสู้ต้านทาน จนกระทั่งศาลากลางจังหวัด และที่ว่าการอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีถูกไฟไหม้ หลักฐานต่าง ๆ ในเรื่องนี้ถูกไฟไหม้หมด ต่อจากนั้นก็อยู่ในสถานการณ์สงคราม การสร้างโรงพยาบาลจังหวัดก็ต้อง หยุดชะงักเรื่อยมา
 
ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2489 ในสมัยที่นายแม้น อรจันทร์ เป็นข้าหลวงประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ขุนอุปรักษ์คณานนท์ เป็นสาธารณสุขจังหวัด และนายชิต รัศมิทัต เป็นนายอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีได้ยกเรื่องนี้ขึ้นมาดำเนินการต่อไป และขอเงินงบประมาณการก่อสร้างไปยังกรมการสาธารณสุข และจัดตั้งองค์การกุศลสาธารณสุขขึ้นหาเงินมาสมทบ รวมกับเงินบำรุงท้องที่ส่วนของจังหวัดซึ่งมีอยู่แล้วเป็นจำนวน 20,196.01 บาท ครั้นนายแม้น อรจันทร์ ย้ายไปและขุนรัฐวุฒิวิจารณ์ ย้ายมาเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดแทนก็ได้รับการดำเนินการต่อไป แต่เห็นว่าสถานที่ที่ดำริจะสร้างเดิม (ที่ตั้งโรงพยาบาลปัจจุบัน) ไม่เหมาะ ควรจะสร้างขึ้น ณ ที่ตั้งสุขศาลา หน้าสำนักงานเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี (สนามเทนนิสจังหวัดในปัจจุบัน) เนื่อง จากที่เดิมไม่เหมาะเพราะ
 
  1. ไกลที่ชุมชน คนเจ็บป่วยเล็กน้อยมีความอิดหนาระอาใจที่จะไปโรงพยาบาล
  2. เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลต้องเดือดร้อนในเรื่องความเป็นอยู่ เช่น การจ่ายตลาด และเด็กไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน
  3. ต้องใช้จ่ายค่าปราบที่ ตกแต่งสถานที่อีกมาก
  4. ต้องสิ้นเปลืองค่าขนส่ง
  5. เครื่องสาธารณูปโภค เช่น น้ำและไฟฟ้าไม่สะดวก
แต่กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่าที่นั้นคับแคบเกินไป ไม่สะดวกแก่การขยายให้ครบรูปในภายหน้าจังหวัดก็ได้เสนอ ให้จัดสร้างขึ้นที่บริเวณสนามบินเก่า ต.มะขามเตี้ย แต่กระทรวงสาธารณสุขก็ ไม่เห็นด้วยและยืนยันให้สร้างในที่ดำริไว้เดิม คือ ที่ซึ่งโรงพยาบาลตั้งอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้โดยเห็นว่า ที่ดินแปลงนี้ได้มีผู้มีจิตศรัทธาสละเงินซื้อและอุทิศให้เพื่อสร้างโรงพยาบาลเป็นเวลานานปีมาแล้ว หากจะเลิกล้มเสียก็เป็นการเสียน้ำใจของผู้บริจาคนั้น ระยะทางจากที่ดินแปลงนี้ถึงที่ชุมชน (ตลาด) มีระยะทางประมาณเพียงไม่ถึง 3 กม. ถ้าจะคิดระยะห่างจากสุขศาลาเทศบาลในขณะนั้นก็มีระยะเพียง 1 กม. เท่านั้นระยะใกล้เคียงกันกับระยะไปสนามบินเก่า เชื่อแน่ว่าคงไม่ขัดข้องในการติดตั้งและส่งกระแสไฟฟ้าไปให้ถึงโรงพยาบาลได กรมทางกำลังบูรณะถนนสายบ้านดอน-ท่าข้าม (ถนนสุราษฎร์ - พุนพิน ในปัจจุบัน) และคาดว่าคงจะทำเสร็จเร็วๆ เมื่อทำถนนนั้นเสร็จแล้ว ก็จะมีรถยนต์และรถอื่นๆ ตลอดจนรถประจำทางผ่านไปมาอยู่เสมอ ไม่เป็นแหล่งที่เปลี่ยวเช่นสนามบินเก่าซึ่งเป็นทางตัน ถ้าไม่มีธุระจริงแล้ว ประชาชนก็ไม่ใช้สัญจร ที่ดินแห่งนี้ติดถนนใหญ่สายสำคัญ และติดคลอง สะดวกแก่ผู้ป่วยซึ่งจะมาโดยรถไฟ    รถยนต์ และเรือจากตำบลและอำเภออื่นๆ ทั้งจังหวัดผิดกันกับที่สนามบินเก่าซึ่งจะไปมาติดต่อได้โดยทางรถยนต์เท่านั้น น้ำอุปโภคและบริโภคสำหรับใช้ในโรงพยาบาลจัดหาได้ง่ายกว่าที่สนามบินเก่าซึ่งปรากฎว่า ในบริเวณตอนนั้นขุดหาน้ำได้ยากและไม่จืดสนิท เนื้อที่ที่จะขยายต่อไปที่บริเวณสร้างโรงพยาบาลขณะนั้นทำได้ง่ายกว่าที่สนามบินเก่า ซึ่งจะขยายออกได้ แต่ทางข้างหน้า ส่วนทางด้านหลังติดที่สงวนของสถานีวิทยุ บริเวณสนามบินเก่า มีอาคารอยู่แล้วซึ่งเป็นของกรมราชทัณฑ์ ขอใช้เป็นโรงพยาบาลต้องสิ้นเปลืองค่าดัดแปลงเป็นจำนวนเงินมิใช่น้อย และกรมราชทัณฑ์คงไม่ให้เปล่า อย่างน้อยก็ต้องสร้างชดเชยให้ เป็นการเสียสองต่อ และได้ผังบริเวณทั่วไปของโรงพยาบาล ตลอดจนอาคารไม่เหมาะสม ด้วยจำต้องดัดแปลงเข้าหาสิ่งที่มีอยู่แล้ว
 
ครั้นเมื่อปี 2491 กรมการแพทย์ ได้โอนเงินงบประมาณสมทบทุนสร้าง เป็นเงิน 120,000.- บาท เมื่อสมทบกับเงินบำรุงท้องถิ่นซึ่งมีอยู่แล้วเพียง 20,196.01 บาท จังหวัดได้เรียกประมูลเพื่อทำการก่อสร้างตึกอำนวยการ แต่มีผู้เข้ายื่นประมูลราคาสูงกว่าเงินที่มีอยู่ จะเรี่ยไรก็ขัดกับระเบียบของราชการ ซึ่งขณะนั้นห้ามทำการเรี่ยไรอย่างเด็ดขาด จึงได้ดำริที่จะขออนุญาตทำไม้เอง ส่วนเงินจะใช้เป็นค่าแรงและค่าวัสดุอย่างอื่น ได้ติดต่อขอไปทางป่าไม้แล้ว แต่ก็ไม่เป็นผลสำเร็จ การสร้างจึงต้องระงับ รอเงินงบประมาณซึ่งขอเพิ่มเติมเรื่อยมา
เมื่อนายเลื่อน ไขแสง ดำรงตำแหน่ง ข้าหลวงประจำจังหวัด และนายแพทย์ชัยศิริ เขตตานุรักษ์ เป็นสาธารณ สุขจังหวัด นายล้วน สุระกุล เป็นนายอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ก็ได้นำเรื่องนี้มาพิจารณาอีก เพื่อดำเนินการต่อไป โดยจัดตั้งองค์การกุศลสาธารณสุขขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง และวางโครงการหาเงิน ดังนี้
 
1. ขออนุญาตทำการเรี่ยไรทั่วราชอาณาจักร
2. ขออนุญาตออกสลาก แต่ถูกระงับ
3. จัดงานชุมนุมเพื่อหารายได้สมทบทุน
4. จัดทำหนังสือจำหน่ายหาเงินสมทบทุน
 
และในขณะนั้นการสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ได้ดำเนินการก่อสร้างอยู่แล้ว แต่การก่อสร้างนี้ยังประสบอุปสรรคในเรื่องกำลังเงินที่จะเป็นทุนสำหรับก่อสร้างให้เต็มตามโครงการได้ ฉะนั้น คณะกรรมการองค์การกุศลสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จัดหาทุนเพิ่มเติมโดยจัดพิมพ์หนังสือขึ้นจำหน่ายตามหลักการข้อ 4 โดยให้ชื่อว่า "สุราษฎร์อนุสรณ์ 2494 " และนำรายได้จากการจำหน่ายหนังสือเข้าสมทบทุนสร้างโรงพยาบาล
 
การก่อสร้างได้ดำเนินการอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. 2495 ในเนื้อที่ 24 ไร่เศษ เริ่มเปิดให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ในวันที่ 13 เมษายน 2496 ด้วยจำนวนเตียง 25 เตียง และจำนวนเตียงได้เพิ่มขึ้นตามลำดับดังนี้
 
เนื่องจากปริมาณผู้ป่วยและปริมาณงานของโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้น จำนวนพยาบาลที่มีอยู่ ไม่เพียงพอที่จะบริการผู้ป่วยได้ทั่วถึง ทางโรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องอบรมพนักงานผู้ช่วยขึ้น เพื่อช่วยเหลือปฏิบัติงานของพยาบาล ต่อมาทางกรมการแพทย์ได้มีนโยบายที่จะสร้างโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล เพื่อผลิตผู้ช่วยพยาบาลออกมาปฏิบัติงานตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เพิ่มขึ้น และได้พิจารณาเห็นว่า
 
โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีเป็นโรงพยาบาลใหญ่ มีจำนวนผู้ป่วยเพียงพอที่จะให้เป็นสถานที่ฝึกสอน ภาคปฏิบัติของนักเรียนได้ จึงได้วางโครงการตั้งโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาลขึ้น และได้ของบประมาณเพื่อก่อสร้าง ซึ่งได้อนุมัติให้ก่อสร้าง เมื่อปี พ . ศ . 2512สถานที่ตั้งโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล อยู่บริเวณด้านหลังของโรงพยาบาล มีเนื้อที่ 24 ไร่เศษ เป็นที่ดินที่ได้รับบริจาคจากประชาชน โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาลได้รับอนุมัติให้เปิดทำการสอน เมื่อ วันที่ 18 พฤษภาคม 2513 มีจำนวนนักเรียน 50 คน หลักสูตร 1 ปี 6 เดือน โดยมีผู้อำนวยการ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล
 
ปัจจุบัน
ปัจจุบันโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี มีฐานะเป็นโรงพยาบาลศูนย์ ได้ยกฐานะเป็น 800 เตียง ใน ปี พ . ศ . 2535 มีความสามารถในการรักษาเกือบเท่าเทียมกับโรงพยาบาลในกรุงเทพ มีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในทุกสาขา มีเครื่องมือตรวจรักษาที่ค่อนข้างทันสมัย มีอาคารพักรักษาที่สะอาดและสะดวกสบาย

คลินิกเครือข่ายประกันสังคม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

 โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์
อ.กาญจนดิษฐ์จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7724 4518
 
โรงพยาบาลเกาะพะงัน
อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7737 7034
 
โรงพยาบาลคีรีรัฐนิคม
อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7726 5178
 
โรงพยาบาลเคียนซา
อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7738 7189
 
โรงพยาบาลชัยบุรี
อ.ชัยบุรีจ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7736 7075
 
โรงพยาบาลไชยา
อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7743 1190
 
โรงพยาบาลดอกสัก
อ.ดอกสัก จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7731 4001
 
โรงพยาบาลท่าฉาง
อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7738 9124
 
โรงพยาบาลท่าชนะ
อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7738 1167
 
โรงพยาบาลท่าโรงช้าง
อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7735 7164
 
โรงพยาบาลบ้านตาขุน
อ.บ้านตาขุน จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7726 1046
 
โรงพยาบาลบ้านนาเดิม
อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7735 9384
 
โรงพยาบาลบ้านนาสาร
อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7734 1058
 
โรงพยาบาลพนม
อ.พนม จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7739 9084
 
โรงพยาบาลพระแสง
อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7736 9053
 
โรงพยาบาลพุนพิน
อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7731 1129
 
โรงพยาบาลวิภาวดี
อ.วิภาวดีจ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7729 2144
 
โรงพยาบาลกองบิน 7
อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7726 8023
 
โรงพยาบาลสวนสราญรมย์
อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7791 6543
 
โรงพยาบาลเกาะเต่า
อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7745 6490
 
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ
อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7736 2013
 
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในจังหวัด
 
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี (ศูนย์ตาปี)
อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7727 2773
 
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี2 (ศูนยส์วนหลวง ร.9)
อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7720 4348
 
ศูนย์บริการสาธารณสุขที่ 4 (บึงขุนทะเล)
อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7748 9425
 
ศูนยบ์ ริการสาธารณสุขเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี (ฝั่งบางใบไม้) อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7728 8040
 
ศูนย์สุขภาพชุมชนโพธาวาส
อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7720 3689
 
ศูนย์สุขภาพชุมชนโพธหิ์ วาย
อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7728 8386
 
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองตลาดดอนนก
อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7727 2707
 
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองศรีวิชัย
อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7731 0160 
 
ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืององค์การบริหารส่วนสุราษฎร์ธานี อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7795 3123
 
คลินิกหมอสมดั่ง ใจ คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
 150/14 ม.4 ต.ท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
 
คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมประสาทศัลยศาสตร์ นายแพทย์สุชาติอภิชาญยงวุฒิ
146/19 ม.1 ถ.วัดโพธิ์บางใหญ่ต.มะขามเตี้ย จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7728 9788
 
คลินิกเวชกรรมนายแพทย์ฉันทิศร์ เด็ดรักษ์ทิพย์ (หมอบูม) 
186 ม.3 ต.คลองไทร อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี
 โทร.08 0531 6959
 
บรรยงจักษุคลินิก คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรมจักษุวิทยา
 264/10 ถ.ชนเกษม ต.ตลาด อ.เมืองสุราษฎร์ธานี
 จ.สุราษฎร์ธานีโทร.0 7728 6050
 
หมออภิเดชคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรม สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา
125/17-18 ม.4 ต.กะแตะ อ.กาญจนดิษฐ์จ.สุราษฎร์ธานี
 โทร.0 7731 3692