ข้อมูลการบริการของศูนย์ฯ 66 เจ้าแม่กวนอิม
มีแพทย์ตรวจรักษากี่ท่าน
2 ท่าน รับผู้ป่วยได้ 60 คน
มีการจัดคิวพบแพทย์อย่างไร
1. คิวนัดจะได้พบแพทย์ก่อนจนถึงเวลา 9.00 น. หลังจากนั้นผู้ป่วยนัดที่มาหลังเวลา 9.00 น. จะเป็นคิวพบแพทย์ปกติ
2. มีบริการช่องทางด่วน Fast Track สำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ จะจัดคิวด่วนให้
3. มีบริการช่องทางสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น อุบัติเหตุ มีอาการหายใจลำบาก มีไข้สูง ฯลฯ ให้คิวแดงฉุกเฉิน
มารับบริการต้องทำอย่างไร เตรียมเอกสารอะไรบ้าง
กรณีผู้ป่วยใหม่
- กรอกแบบฟอร์มผู้ป่วยพร้อมกับแนบบัตรประชาชนและบัตรคิวผู้ป่วย
- รอเรียกซักประวัติอาการและเซ็นยินยอมการรักษา
กรณีผู้ป่วยเก่า
- นำบัตรผู้ป่วยมายื่นและรับบัตรคิว
- รอเรียกซักประวัติอาการ
กรณีผู้ป่วยเก่า
- ยื่นบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัวผู้ป่วยที่จุดประชาสัมพันธ์
การมาขอใบรับรองแพทย์ต้องทำอย่างไร
1. ยื่นบัตรผู้ป่วยแล้วรับบัตรคิว / กรณีไม่เคยมาใช้บริการให้ทำประวัติผู้ป่วยใหม่แล้วรับบัตรคิว
2. ชั่งน้ำหนัก/วัดความดันโลหิต/ตรวจสารเสพติด(รายที่จำเป็นต้องตรวจ)
3. เข้าพบแพทย์
4. ชำระเงิน (100)
5. รับใบรับรองแพทย์
การมาขอประวัติการรักษา
1. ยื่นบัตรผู้ป่วยพร้อมแนบบัตรประชาชนแล้วรับบัตรคิว
2. กรอกแบบฟอร์มคำร้องขอข้อมูลข่าวสาร
3. เข้าพบแพทย์
4. ชำระเงิน (50)
5. รับประวัติการรักษา
เย็บแผล ต้องตัดไหมวันไหน
โดยหลักการควรตัดออกทันทีเมื่อแผลติด เพราะถ้าตัดไหมยิ่งช้าจะยิ่งเป็นแผลเป็นมาก แต่ถ้าตัดเร็วไปแผลก็อาจแยกและไม่ติด ดังนั้นจึงควรตัดไหมเร็วที่สุดที่แผลติดแล้วนั่นเอง ซึ่งสามารถแบ่งตามอวัยวะได้ดังนี้คือ แผลบริเวณศีรษะและหน้า ควรตัดเมื่อครบ 5-7 วัน, แผลบริเวณลำตัวที่ผิวหนังไม่ตึงมาก ควรตัดเมื่อครบ 7 วัน, แผลบริเวณแขนขาหรือที่ผิวหนังตึงมาก ควรตัดเมื่อครบ 7-10 วัน หรืออาจถึง 10-14 วันในบริเวณข้อเข่า ข้อศอกที่มีการเคลื่อนไหวมาก หรือบริเวณฝ่าเท้าซึ่งแผลจะหายช้ากว่าบริเวณอื่นๆ
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าหลังสัมผัสโรค ฉีดแบบไหน
การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า มีดังนี้
กรณีฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
- หากไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อน แล้วมาถูกสัตว์กัด จะต้องฉีดทั้งหมด 5 เข็มที่กล้ามเนื้อต้นแขน โดยฉีดในวันที่ 0 (วันที่เริ่มฉีด) วันที่ 3, 7, 14 และวันที่ 28 แต่หากแผลที่ถูกสัตว์กัดอยู่ใกล้อวัยวะที่มีเส้นประสาทไปเลี้ยงมาก เช่น ใบหน้า หรือมีแผลฉกรรจ์มาก จะต้องฉีดเซรุ่ม หรือวัคซีนอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เพิ่มด้วย เนื่องจากวัคซีนต้องใช้เวลาในการที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง แต่โรคพิษสุนัขบ้าเป็นแล้วตายจึงรอไม่ได้ จึงจำเป็นต้องได้รับวัคซีนร่วมกับเซรุ่มทันที โดยฉีดรอบแผลทุกแผลร่วมกับการฉีดวัคซีน.ในวันที่0
- หากเคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อนแล้วครบตามจำนวน แล้วมาถูกสุนัขกัดอีก ก็ไม่ต้องเริ่มฉีดใหม่ เพียงแค่ฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มอีก 1 เข็มในวันที่โดนกัด (กรณีวันที่ฉีดเข็มสุดท้ายผ่านมาไม่เกิน 6 เดือน) หรือ 2 เข็ม (กรณีวันที่ฉีดเข็มสุดท้ายผ่านมาเกิน 6 เดือนแล้ว) ในวันที่ 0 และ 3 โดยไม่ต้องฉีดเซรุ่ม
กรณีฉีดเข้าชั้นผิวหนัง
- หากไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันมาก่อนแล้วมาถูกสัตว์กัด จะต้องฉีดวัคซีนเข้าผิวหนัง 4 ครั้ง ครั้งละ 2 จุด คือต้นแขนทั้ง 2 ข้าง ฉีดในวันที่ 0 (วันที่เริ่มฉีด), 3, 7 และวันที่ 28
- หากเคยฉีดวัคซีนป้องกันมาแล้วครบตามจำนวน แล้วมาถูกกัดอีก ก็เพียงแค่ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มเช่นกัน โดยฉีด 1 เข็ม 1 จุด หากช่วงที่ถูกกัดห่างจากการฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายมาน้อยกว่า 6 เดือน แต่หากฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายมานานกว่า 6 เดือน ก็ต้องฉีดกระตุ้นอีก 2 เข็ม ครั้งละ 1 จุด ในวันที่ 0 และวันที่ 3 และไม่ต้องฉีดเซรุ่มด้วย