สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้
วัน คลินิค
- จันทร์ คลินิกสุขภาพจิตโรงเรียน/คลินิคส่งเสริมพัฒนาการ
- อังคาร คลินิกส่งเสริมพัฒนาการ/คลินิคจิตเวชเด็กและวัยรุ่นทั่วไป
- พุธ คลินิกสมาธิสมาธิสั้น/คลินิคส่งเสริมพัฒนาการ
- พฤหัสบดี คลินิกส่งเสริมพัฒนาการ/คลินิคอารมณ์และพฤติกรรม
- ศุกร์ คลินิคส่งเสริมพัฒนาการ
ผู้มารับบริการใหม่
มานัดหมายด้วยตนเองพร้อมผู้ป่วยโดยนำสำเนาสูติบัตร สำเนาทะเบียนบ้าน และใบส่งตัวจากโรงพยาบาลต้นสังกัดของบัตรประกันสุขภาพ
ผู้ป่วยเก่าหรือผู้ป่วยที่รับยาเดิม
ให้มาติดตามการรักษาตามวันเวลาที่นัดหมายเท่านั้น หากท่านต้องการเลื่อนนัด หรือมาก่อนนัดหมาย ให้ติดต่อ 077-312-179 ในเวลาราชการ
แพทย์ผู้ออกตรวจ
- พ.ญ. วีราณี เจริญวงศ์ศักดิ์
- น.พ. วีระ ชูรุจิพร
- น.พ. ณฐกร ฤทธิ์บุญญากร
- น.พ. ภาวัต อรุณเพ็ชร
- พ.ญ. หทัยชนนี บุญเจริญ
* กรณีมีการเปลี่ยนวันนัดหมายทางสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้จะโทรศัพท์แจ้งให้ผู้ปกครองทราบล่วงหน้า ผู้ป่วยที่ต้องรับการกระตุ้นพัฒนาการ มีทีมสหวิชาชีพที่ให้บริการตามวันเวลาที่นัดหมาย ประกอบด้วย นักกิจกรรมบำบัด พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการศึกษาพิเศษ
คลินิกพิเศษ
- กระตุ้นพัฒนาการ
- กิจกรรมบำบัด
- การศึกษาพิเศษ
- สุขภาพจิตโรงเรียน
คำแนะนำสำหรับพ่อ แม่ และผู้ปกครอง
- โรคสมาธิสั้นเกิดจากความบกพร่องของสมองส่วนหน้า (prefrontal cortex) และเด็กอาจมีอาการเรื้อรังจนถึงวัยผู้ใหญ่
- พ่อแม่ ควรจัดสิ่งแวดล้อมในครอบครัวให้มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนและกำหนดกิจวัตรประจำวันต่างๆ ให้สม่ำเสมอ
- พ่อแม่ ควรจัดสถานที่และสภาพแวดล้อมให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องใช้สมาธิได้อย่างสงบ โดยไม่มีสิ่งเร้ามาคอยรบกวนเกินไป
- พ่อแม่ อาจช่วยแบ่งกิจกรรมให้ทำทีละน้อย ช่วยวางแผนการทำกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นระบบ และอาจต้องคอยช่วยกำกับแลให้ทำกิจกรรมนั้นต่อเนื่องจนเสร็จ
- พ่อแม่ควรออกคำสั่งในขณะที่เด็กตั้งใจฟัง ใช้คำสั่งที่สั้น ชัดเจน และเข้าใจง่าย โดยใช้น้ำเสียงและท่าทีนุ่นนวล แต่มีความหนักแน่นจริงจัง และหลีกเลี่ยงการพูดบ่น ตำหนิ หรือการใช้อารมณ์กับเด็ก
- พ่อแม่ ควรสนับสนุนให้เด็กทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่น ทำงานบ้าน หรือออกกำลังกาย เป็นต้น และควรชมเชยเมื่อเด็กทำกิจกรรมเหล่านี้
- พ่อแม่ สามารถใช้หลักพฤติกรรมบำบัดในการปรับพฤติกรรมของเด็ก โดยการกำหนดพฤติกรรมที่พึงประสงค์กับเด็กไว้ก่อนอย่างชัดเจน
คำแนะนำสำหรับครู
- ครูควรกำหนดตารางกิจกรรม และกฎระเบียบของห้องเรียนอย่างชัดเจน และติดตามให้ปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอ
- ครูควรจัดให้เด็กนั่งเรียนในตำแหน่งที่มีสิ่งเร้ารบกวนน้อย คือ แถวหน้าหรือใกล้ชิดครู เพื่อให้ครูสามารถกำกับดูแลให้เด็กมีสมาธิในการเรียนได้ง่าย
- ครูควรมอบหมายงานโดยแบ่งให้ทำครั้งละน้อย ๆ เมื่อทำเสร็จแล้วจึงค่อยให้งานเพิ่ม และชมเชยเด็กทันทีที่ตั้งใจทำงานหรือทำงานเสร็จทันเวลา
- เมื่อเด็กเริ่มหมดสมาธิ ครูควรเตือนให้เด็กกลับมาสนใจการเรียนอย่างไม่ทำให้เด็กอับอาย หรือให้ช่วยทำงานบางอย่าง เช่น เก็บหรือแจกสมุดการบ้านให้เพื่อน ๆ ลบกระดาน เป็นต้น
- ครูควรค้นหาข้อดีหรือความสามารถพิเศษของเด็ก สนับสนุนให้เด็กได้แสดงความสามารถนั้น หลีกเลี่ยงการตำหนิ ดุว่า หรือลงโทษรุนแรง และอาจต้องช่วยสอนเสริมตัวต่อตัว เพราะเด็กจะมีสมาธิดีกว่าการเรียนเป็นกลุ่มใหญ่
- ครูควรสื่อสารกับพ่อแม่เกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กอย่างสม่ำเสมอและมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลรักษาเด็ก
- ครูสามารถใช้หลักพฤติกรรมบำบัดในการปรับพฤติกรรมของเด็กตามที่กล่าวในหัวข้อการให้คำแนะนำสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครอง