ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
110 ถนนอินทวโรรส ซอย 2 ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50200

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

Facebook โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิชั้นนำของประเทศไทย ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ตั้งอยู่บน ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200 รองรับผู้ป่วยจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ เป็นโรงพยาบาลที่มีขนาดเตียง 1,400 เตียง มีพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ มีบุคลากรทั้งหมด 5,015 คน ให้การบริการหลัก 4 ประเภท ได้แก่
  1. การบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (OPD)
  2. การบริการ รักษาพยาบาลผู้ป่วยใน (IPD)
  3. การบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุแลฉุกเฉิน (ER)
  4. ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ เช่น ศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง, ศูนย์โรคหัวใจ , ศูนย์อุบัติเหตุระดับ 1, ศูนย์รักษาและวิจัยโรคมะเร็งภาคเหนือ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ใช้กระบวนการดูแลผู้ป่วยแบบสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Care Process) ในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยทุกคน
 
 
โดยใช้แผนการรักษาเป็นสื่อกลางในการบรรลุผลการรักษาที่เป็นเลิศ และความพึงพอใจของผู้ป่วย นอกจากนี้มีการจัดตั้งทีมดูแลรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Care Team : MCT) ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ ตลอดจนนักกายภาพบำบัด นักโภชนาการ นัก สังคมสงเคราะห์ และเภสัชกร นอกจากนี้ยังเป็นสถาบันการศึกษาทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะทางของบุคลากรสายวิชาชีพ มีอาจารย์แพทย์ พยาบาลเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และมีเครื่องมือ เทคโนโลยีที่ทันสมัย
 
ประวัติโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
     โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ แต่เดิมเทศบาลนครเชียงใหม่มี “โรงพยาบาลเชียงใหม่”เพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่ที่ถนนวิชยานนท์ใกล้กับสี่แยกวัดอุปคุต มีเตียงผู้ป่วยได้เพียง 11 เตียง สถานที่คับแคบไม่เหมาะกับการขยายงาน ในปีพุทธศักราช 2482 ทางรัฐบาลจึงได้พิจารณาหาที่ดินที่เหมาะสมเพื่อจัดสร้างโรงพยาบาลเพื่อจะขยายงานด้านตรวจรักษาประชาชนผู้เจ็บป่วย ในที่สุดได้ตกลงซื้อที่ดินบริเวณนอกประตูสวนดอกมีเนื้อที่ 30 ไร่ 80 ตารางวา ในราคา 5,200 บาท และได้ขอแบบอาคารไปยังกรมสาธารณสุขเพื่อสร้างอาคารโรงพยาบาล และทำการก่อสร้างแล้วเสร็จในปีเดียวกัน ตัวอาคารเป็นตึก 2 ชั้น ยาว 40 เมตร กว้าง 12 เมตร สิ้นค่าก่อสร้าง 38,225 บาท โดยใช้เงินงบประมาณของเทศบาลนครเชียงใหม่ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2483 ได้รับเงินงบประมาณของเทศบาลจำนวน 22,050 บาท และเงินสมทบจากกรมสาธารณสุขอีก 2,000 บาท เพื่อก่อสร้างตึกผู้ป่วย 2 ชั้น ทางด้านขวาของตึกโรงพยาบาลหลังแรก(ตึกอำนวยการ)มีเตียงรับผู้ป่วย 50 เตียง นอกจากนั้นยังได้ใช้เงินงบประมาณของเทศบาล 3,800 บาท สร้างโรงครัว และ 1,650 บาท สร้างโรงซักฟอกและโรงพักศพ ในขณะเดียวกันกรมสาธารณสุขได้จัดสร้างถังน้ำให้กับโรงพยาบาลในราคา 837.96 บาท
 
    
 
     ต่อมา นายแพทย์ยง ชุติมา ได้อุทิศที่ดินติดกับโรงพยาบาล จำนวน 4 ไร่เศษ ทำให้บริเวณของโรงพยาบาลมีเนื้อที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าดูสวยงามขึ้น เมื่อก่อสร้างเสร็จสิ้นพอที่จะเปิดบริการผู้ป่วยได้ เทศบาลมีปัญหาในการจัดหาแพทย์มาปฏิบัติงาน จึงได้โอนโรงพยาบาลแห่งนี้ให้ไปสังกัดในกรมสาธารณสุขเมื่อปีพุทธศักราช 2484 และมอบเครื่องมือแพทย์ของโรงพยาบาลเก่าให้นำไปใช้ในโรงพยาบาลที่เปิดใหม่เกือบทั้งหมด พร้อมกับมีการตกลงให้ใช้ชื่อโรงพยาบาลว่า “โรงพยาบาลนครเชียงใหม่” และเปิดบริการผู้ป่วยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2484 เมื่อปีพ.ศ. 2485 กรมสาธารณสุขได้โอนโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ให้ไปสังกัดกรมการแพทย์เพื่อดำเนินการต่อไปปัญหาในด้านบริการผู้ป่วยที่ตามมาก็คือพระภิกษุสามเณรอาพาธ ที่มารับบริการที่มารับการรักษาพยาบาลปะปนอยู่กับประชาชนทั่วไปนั้นเป็นการไม่สะดวก จึงได้ก่อสร้างตึกสงฆ์หลังแรกเมื่อปีพ.ศ. 2493 เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องรวมสำหรับผู้ป่วย 12 เตียง ชั้นบนเป็นห้องแยกมี 6 ห้อง ใช้เงินค่าก่อสร้าง 65,000 บาท เมื่อรวมค่าเตียงและครุภัณฑ์อื่นๆด้วยแล้วคิดเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 304,305.56 บาท การก่อสร้างและจัดซื้อครุภัณฑ์ทั้งหมดนี้ได้จากเงินบริจาคของพ่อค้า คหบดี ในจังหวัดเชียงใหม่ และในโอกาสเดียวกันกรมการแพทย์ก็ได้โอนเงินช่วยเหลือของประธานาธิบดีทรูแมนแห่งสหรัฐอเมริกามาให้เพื่อก่อสร้างตึกเอกซเรย์ ห้องปฏิบัติการ และตึกผ่าตัด ในปี พ.ศ. 2495 นายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (ขุนสมานเวชชกิจ),ผู้แทนกรมอนามัย,ผู้แทนองค์การอนามัยโลก และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่(นายอุดม บุญประสพ) ได้ร่วมมือกันสร้างตึกสูติกรรม 2 ชั้น ยาว 45 เมตร กว้าง 8 เมตร รับผู้ป่วยได้ 52 เตียง โดยใช้ค่าก่อสร้าง 461,330.80 บาท งบประมาณจำนวนนี้ได้มาจากเงินผู้บริจาคให้โรงพยาบาล 109,560.25 บาท จากแผนกอนามัยหน่วยสงเคราะห์แม่และเด็ก 10,455.25 บาท จากอำเภอต่างๆของจังหวัดเชียงใหม่ 22,719 บาท และเงิน ก.ศ.ส. ซึ่งกรมการแพทย์ขอมาได้ 300,000 บาท การก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2496 องค์การอนามัยโลกจัดส่งอุปกรณ์ซึ่งประกอบด้วยเตียงผู้ป่วย พร้อมด้วยตู้ข้างเตียง 52 ชุด เตียงทำคลอด 1 เตียงและที่นอน 50 ผืน เพื่อใช้ในกิจการของอาคารผู้ป่วยสูติกรรมหลังนี้
 
 
 
     ในปีพ.ศ. 2500 เนื่องในการที่รัฐบาลได้ดำริจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่ 3 ขึ้นในส่วนภูมิภาคในจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มีโครงการที่จะโอนกิจการของโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ไปสังกัดคณะแพทยศาสตร์ โดยซื้อที่ดินเพิ่มเติมในบริเวณใกล้เคียงอีก 146 ไร่เศษ และกรมอนามัยก็ได้ให้ความร่วมมือโดยมอบอาคารโรงเรียนผดุงครรภ์ ซึ่งมีตึก 2 ชั้น 2 หลัง พร้อมด้วยที่ดินที่ติดกับโรงพยาบาลให้คณะแพทยศาสตร์ได้สร้างโรงเรียนผดุงครรภ์ให้ใหม่เป็นการทดแทนที่จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2503 ได้มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ และให้โอนกิจการของโรงพยาบาลนครเชียงใหม่ไปสังกัดคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ในขณะนั้นโรงพยาบาลมีเตียงสำหรับผู้ป่วยใน 120 เตียง และโรงพยาบาลนี้เป็นโรงพยาบาลทั่วไปที่เป็นของราชการเพียงโรงพยาบาลเดียวในตัวเมืองเชียงใหม่ ก่อนที่คณะแพทยศาสตร์จะได้ก่อสร้างอาคารผู้ป่วย 7 ชั้น เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษาและรับผู้ป่วยนั้น คณะแพทยศาสตร์จำเป็นต้องขยายงานโดยสร้างอาคาร 3 ชั้น อีก 3 อาคาร อาคารรับผู้ป่วยศัลยกรรม อายุรกรรม และตึกเด็ก ชั้นล่างของอาคารศัลยกรรมมีห้องผ่าตัด 4 ห้อง มีผลให้โรงพยาบาลสามารถรับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 350 เตียง ต่อมาสมาชิกตระกูลนิมมานเหมินท์ และชุติมา ได้ร่วมกันบริจาคเงินเป็นค่าก่อสร้างตึกผู้ป่วยพิเศษ นิมมานเหมินท์-ชุติมา เป็นอาคาร 2 ชั้น มีห้องรับผู้ป่วยได้ 20 ห้อง ตึกกานดาวิบูลย์สันติ เป็นอาคารอีกหลังหนึ่งที่โรงพยาบาลได้รับบริจาคเพื่อใช้เป็นตึกสำหรับรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นตึก 2 ชั้น มีที่สำหรับผู้ป่วยได้ 40 เตียง
     ในปีพ.ศ. 2507 ประชาชนในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน ได้ร่วมกับคณะสงฆ์ในภาคเหนือ ได้ร่วมกันบริจาคเงินจำนวน 670,000 บาท เพื่อก่อสร้างตึกสงฆ์เพิ่มอีก 1 หลัง เนื่องจากจำนวนพระภิกษุ สามเณรอาพาธ มารับการรักษามากขึ้นเป็นลำดับ อาคารนี้เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นที่ตรวจโรคพระภิกษุและสามาเณรที่มาขอรับการรักษา และมีเตียงรับผู้ป่วยได้ 22 เตียง ชั้นบนมีห้องเดียวทั้งหมดประมาณ 20ห้อง คณะแพทยศาสตร์ ได้ย้ายโรงพยาบาลจากอาคารเดิมมายังอาคาร 7 ชั้น ในเดือนกรกฎาคม 2512 อาคารนี้มีขนาดยาว 280 เมตร กว้าง 90 เมตร มีจำนวนเตียงพิเศษ 30 เตียง และเตียงสามัญประมาณ 470 เตียง มีห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก ซึ่งมีห้องตรวจของภาควิชาต่างๆทุกภาค มีห้องผ่าตัดและห้องคลอดครบถ้วน เมื่อได้ย้ายสถานที่ตรวจและรักษาโรคมายังอาคาร 7 ชั้น จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยเฉพาะสถานที่ตรวจโรคผู้ป่วยนอกต้องเพิ่มความแออัดมากขึ้น จำนวนห้องผ่าตัดมีเพียง 6 ห้อง และจำนวนผู้ป่วยอุบัติเหตุและผู้ป่วยฉุกเฉินมีจำนวนมากขึ้นกว่าเดิมหลายเท่า ก่อให้เกิดความแออัดโดยเฉพาะผู้ป่วยศัลยกรรมและผู้ป่วยศัลยกรรมออโทปิดิกส์ ในปีพ.ศ. 2516 คณะแพทยศาสตร์ ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารตรวจโรคผู้ป่วยและผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมทั้งอาคารผู้ป่วยพิเศษซึ่งเป็นอาคาร 6 ชั้น การก่อสร้างได้แล้วเสร็จและเปิดใช้งานได้ในปีพ.ศ. 2521 ทำให้สถานที่ตรวจโรคกว้างขวางมากขึ้น และสามารถเปิดรับผู้ป่วยพิเศษได้อีก 54 ห้อง
 
 
 
     ในปีพ.ศ. 2520 ได้รับงบประมาณก่อสร้างต่อเติมอาคารโรงพยาบาล ซึ่งจะมีห้องผ่าตัด ห้องคลอด ห้องเด็กแรกคลอด ห้องผู้ป่วยหนัก ห้องพักฟื้น ห้องทำลายเชื้อ ห้องทำน้ำยาปราศจากเชื้อ ห้องเก็บศพ ตลอดจนห้องทำงานภาควิชาวิสัญญีวิทยา รวมทั้งครุภัณฑ์อุปกรณ์การแพทย์ครบครัน ในวงเงิน 167 ล้านบาทเศษ การก่อสร้างต่อเติมตึกผ่าตัดใหม่นี้จะทำให้จำนวนห้องผ่าตัดเดิม 6 ห้อง เพิ่มเป็น 20 ห้อง ห้องคลอดเพิ่มขึ้นจนเพราะความต้องการ และห้องทำลายเชื้อ ซึ่งจะเป็นที่รวมCentral Supply ของโรงพยาบาลเป็นส่วนกลางและการทำการผลิตน้ำยาปราศจากเชื้อจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ในปีพ.ศ. 2521 คณะศิษยานุศิษย์หลวงปู่แหวนสุจิณฺโณได้มีเจตนาที่จะสร้างถาวรวัตถุเพื่อเป็นที่ระลึกต่อหลวงปู่ ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วประเทศ ในวาระที่หลวงปู่แหวนสุจิณฺโณมีอายุครบ 90 ปี จึงได้สร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่แหวนสุจิณฺโณ รุ่น ภ.ป.ร. โดยมีพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นประธานกรรมการจัดสร้างเพื่อนำเงินจากการให้บูชาเหรียญมาเป็นทุนเริ่มแรกพร้อมทั้งได้เปิดรับบริจาคจากประชาชนทั่วไป ซึ่งสอดคล้องกับโครงการขยายบริการของโรงพยาบาล ของคณะแพทยศาสตร์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะที่ 4 ซึ่งได้ให้ชื่ออาคารนี้ว่าอาคาร “สุจิณฺโณ” หลังจากนั้นก็ยังมีการก่อสร้างอาคารใหม่เพิ่มขึ้นอีกจนถึงปัจจุบัน