ข้อควรรู้เมื่อประสบภัยจากรถ
ประชาชนทุกคนที่ได้รับอุบัติเหตุจากรถจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่ว่าผู้ประสบภัยนั้นจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน ในรถหรือนอกรถ เป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร เจ้าของรถ คนเดินถนน หากได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอันเนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
การที่รัฐออกกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องจัดให้มีประกันภัย อย่างน้อยที่สุด คือ การทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับบาดเจ็บ/ เสียชีวิต เพราะเหตุประสบภัยจากรถ โดยให้ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างทันท่วงทีกรณีบาดเจ็บ หรือช่วยเป็นค่าปลงศพกรณีเสียชีวิต เป็นหลักประกันให้กับโรงพยาบาล/สถานพยาบาลว่าจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ในการรับรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยจากรถ และ เป็นสวัสดิการสงเคราะห์ที่รัฐมอบให้แก่ประชาชนผู้ได้รับความเสียหายเพราะเหตุประสบภัยจากรถ ส่งเสริมและสนับสนุนให้การประกันภัยเข้ามามีส่วนร่วมในการบรรเทาความเดือนร้อน แก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว
ข้อพึงปฏิบัติเมื่อประสบภัยจากรถ
เมื่ออุบัติเหตุรถยนต์เกิดขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุ หรือผู้พบเห็นควรปฏิบัติดังนี้
กรณีมีผู้บาดเจ็บ
- นำคนเจ็บเข้ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและสะดวกที่สุดก่อน
- แจ้งเหตุที่เกิดให้ตำรวจทราบ และขอสำเนาประจำวันตำรวจเก็บไว้
- แจ้งเหตุบริษัทประกันภัยทราบ แจ้งวัน เวลา สถานที่เกิดเหตุ
- เตรียมเอกสาร
ถ่ายสำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถคันเกิดเหตุ
ภาพถ่ายสำเนาบัตรประชาชน
หรือหลักฐานอื่นใดที่ออกโดยราชการกรณีเมื่อเรียกร้องค่าเสียหาย
- ให้ชื่อ ที่อยู่ ผู้ที่พบเห็นเหตุการณ์เพื่อช่วยเหลือในการเป็นพยานให้แก่คนเจ็บ
การยื่นขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นผ่านโรงพยาบาล
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัย ให้เตรียมเอกสารดังนี้
- สำเนากรมธรรม์ของรถ (ใบเสร็จรับเงินจาก บริษัทประกัน)
- สำเนาใบบันทึกประจำวันของตำรวจประทับตราโล่และสำเนาถูกต้องเอกสาร
- สำเนาคู่มือรถหน้าจดทะเบียนและหน้ารายการเสียภาษีหรือสำเนาสัญญาซื้อขาย(สมุดเขียว /น้ำเงิน)
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ประสบภัย
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประสบภัย
- สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ
- สำเนาบัตรทะเบียนบ้านเจ้าของรถ
อย่างละ 2 ชุด
มีสิทธิข้าราชการ อุบัติเหตุจากรถ ต้องใช้สิทธิไหนก่อน?
เมื่อผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์และเข้ามารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ตามนัยมาตรา9 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.2535 ของระบบราชการ ต้องใช้สิทธิพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ
มีสิทธิบัตรประกันสุขภาพ อุบัติเหตุจากรถ จะใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพก่อนโดยไม่ใช้พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถได้หรือไม่?
ตามระเบียบกระทรวงสาธารณะสุข ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2540 ต้องใช้สิทธิตามพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ ก่อน
การเบิกค่าเสียหายเบื้องต้น ผู้ประสบภัยมากับรถคันไหนให้เบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากรถคันนั้น แต่ถ้าผู้ประสบภัยเป็นบุคคลภายนอกให้เบิกค่าเสียหายเบื้อต้นจากรถที่เกิดเหตุ (หรือเบิกจากกองทุนเงินทดแทน)
ดังนั้นกรณีที่มีผู้ประสบภัยจากรถ ท่านสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน โดยที่ท่านจะรับการรักษาด้วยความสะดวกรวดเร็วไม่น้อยกว่ามาตรฐานของโรงพยาบาล เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยหรือญาติจะต้องแจ้งความประสงค์ในการใช้สิทธิตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และให้ญาติเตรียมเอกสารดังกล่าวข้างต้นให้กับโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลจะเป็นผู้ตั้งเบิกต่อบริษัทประกันแทนผู้ประสบภัย ตามค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงไม่เกิน 30,000 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
วงเงินความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.
ค่าเสียหายเบื้องต้น หมายถึง ค่าเสียหายต่อชีวิต-ร่างกาย ของผู้ประสบภัยอันเนื่องจากการใช้รถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่าย โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความรับผิดและให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทน
- ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท
- ค่าทุพพลภาพ / สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพตาม 1, 2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทในชั้นต้น 35,000 บาท
ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต-ร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถ ที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเมื่ออุบัติเหตุจากรถนั้นเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัย
- กรณีบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวร 300,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ
- นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป 200,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน 300,000 บาท
- ค่าชดเชยการรักษาตัว (ผู้ป่วยใน) 200 บาท / วัน ไม่เกิน 20 วัน 4,000 บาท
* ยกเว้น ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายผิดจะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
ข้อแนะนำ กรณีผู้ป่วยอุบัติเหตุเจ็บป่วยจากรถ เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลรามาธิบดี
กรณีเจ็บป่วยต้องใช้สิทธิอะไรก่อน?
เมื่อผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุด้วยรถจักรยานยนต์ หรือ รถยนต์และเข้ามารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลรามาธิบดี ตามนัยมาตรา9 แห่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.2535 ของระบบราชการ และระเบียบกระทรวงสาธารณะสุข ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ พ.ศ.2540 ท่านจะต้องใช้สิทธิตามพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ ก่อนใช้สิทธิอื่นๆเสมออาทิ สิทธิบัตรทอง , สิทธิประกันสังคม ,สิทธิข้าราชการ หลังจากใช้สิทธิพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถเบื้องต้นในวงเงิน 30,000 บาทแล้ว จึงจะสามารถใช้สิทธิเบิกอื่นๆ ดังกล่าวข้างต้นได้
++ ผู้ประสบภัยจากรถ หมายถึง ประชาชนทุกคนที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คนเดินข้ามถนน หรือแม้แต่คนที่กำลังนอนอยู่ในบ้าน หากได้รับความเสียหายจากรถจะได้รับความคุ้มครอง ตามพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ.
ทำอย่างอย่างไรโรงพยาบาลเบิกพรบ.แทน โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ?
โรงพยาบาลจะดำเนินการแทนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาได้ ในกรณีที่จัดเตรียมเอกสารครบถ้วนมอบให้ทันเวลาที่กำหนด และสิ่งที่ผู้ประสบภัยต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน คือ ...
- เตรียมหลักฐานทะเบียนรถที่เกิดเหตุมอบให้เจ้าหน้าที่หน่วยสิทธิประโยชน์
- แจ้งความกับตำรวจในสถานีตำรวจพื้นที่ที่เกิดเหตุ
สาระสำคัญในบันทึกประจำวันที่ต้องแจ้งให้ครบ .....ใคร? ....... ทำอะไร?........ที่ไหน?........อย่างไร?......เมื่อไหร่?
- กรณีทราบรถที่เกิดเหตุ ต้องระบุทะเบียนรถหรือเลขตัวถังในบันทึกประจำวันให้ถูกต้อง ครบถ้วน (หากไม่ระบุจะไม่สามารถใช้สิทธิได้)
- เตรียมเอกสารใช้สิทธิพรบ.มอบให้โรงพยาบาล กรณีเอกสารไม่พร้อมตามวันเวลากำหนด ทางโรงพยาบาลไม่สามารถตั้งเบิกค่ารักษาแทนได้ ผู้ประสบภัยภัยต้องชำระค่ารักษาเอง และติดต่อเบิกค่ารักษาคืน จากบริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนด้วยตัวเองในภายหลัง
เอกสารที่จะต้องเตรียมให้กับโรงพยาบาล มีอะไรบ้าง ?
เอกสารที่ต้องนำมามอบให้กับโรงพยาบาลกรณีที่ต้องการให้โรงพยาบาลดำเนินการแทน ดังนี้
เอกสารผู้ประสบภัย
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาใบบันทึกประจำวันของตำรวจ (ลายเซ็นรับรองจริง)
เอกสารผู้ขับขี่/เจ้าของรถ
เอกสารเกี่ยวกับรถ
- กรมธรรม์หรือใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกัน
- สำเนาคู่มือ ทะเบียนรถ
*** ถ่ายเอกสารอย่าง่ละ 1 ชุด เจ้าของเอกสารรับรองสำเนาทุกฉบับ ***
ยื่นเอกสารให้โรงพยาบาล โรงพยาบาลดำเนินการแทนได้ที่ไหน?
- ยื่นเอกสารได้ ที่หน่วยสิทธิประโยชน์ผู้รับบริการ อาคารปฏิบัติการฉุกเฉิน