ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ หญิงอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์

ทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ หญิงอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ Thumb HealthServ.net
ทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ หญิงอายุครรภ์ 12-20 สัปดาห์ ThumbMobile HealthServ.net

ข้อกฏหมายระบุว่า หญิงที่มีอายุครรภ์เกิน 12 แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ที่ประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์ ต้องได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือก จากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ก่อนจะตัดสินใจ "ยืนยัน" ที่จะยุติการตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพื่อให้หญิงท่านนั้น ได้ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน


26 กันยายน 2565 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกในการยุติการตั้งครรภ์ ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2565 มีสาระสำคัญคือ 
 

หญิงที่มีอายุครรภ์เกิน 12 แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์  ที่ประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์ ต้องได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือก จากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ก่อนจะตัดสินใจ "ยืนยัน" ที่จะยุติการตั้งครรภ์ 
 
 
ทั้งนี้เพื่อให้หญิงท่านนั้น ได้ตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน 
 


 
ประกาศฉบับนี้ กำหนดนิยาม ของผู้ที่เกี่ยวข้องไว้ดังนี้
 
“การให้คำปรึกษาทางเลือก” หมายความว่า การให้คำปรึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์ด้วยข้อมูลที่หลากหลาย ถูกต้อง และรอบด้านตามประกาศนี้
 
“ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม
 
“ผู้ประกอบวิชาชีพอื่น” หมายความว่า
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต นักจิตวิทยา หรือนักวิชาการสาธารณสุข ซึ่งปฏิบัติงานในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน
(2) ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปรึกษาทางเลือกในสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน หรือ
(3) ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการปรึกษาทางเลือกในองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชนหรือองค์กรภาคประชาสังคมที่กรมอนามัยให้การรับรอง
 
“หน่วยบริการปรึกษาทางเลือก” หมายความว่า สถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนหรือองค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน หรือองค์กรภาคประชาสังคมที่กรมอนามัยให้การรับรองที่มีบริการให้คำปรึกษาทางเลือกแก่หญิงตั้งครรภ์
 
“ข้อบังคับแพทยสภา” หมายความว่า ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา 
 
 
กรมอนามัย เป็นหน่วยงานที่จะประกาศรายชื่อ "หน่วยบริการปรึกษาทางเลือก" 
 

 
 
 

แนวปฎิบัติเรื่องการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือก
 

หากหญิงที่มีครรภ์ในช่วง 12-20 สัปดาห์ ประสงค์จะยุติการตั้งครรภ์ จะมีกระบวนการดำเนินการดังนี้ 
 
1. แจ้งความประสงค์ต่อ "หน่วยบริการปรึกษาทางเลือก"  
เพื่อดำเนินการให้หญิงท่านนั้น เข้าสู่กระบวนการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือก
 
การแจ้งความประสงค์ ทำได้ในลักษณะต่างๆ ได้แก่ แจ้งด้วยตนเอง แจ้งเป็นหนังสือ แจ้งทางโทรศัพท์ แจ้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 
 
 
2. จัดให้มีการตรวจวินิจฉัย ณ หน่วยบริการปรึกษา 
 
ในกรณีที่ผลการตรวจปรากฏว่าหญิงมีอายุครรภ์ "เกิน 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์" ให้หน่วยบริการปรึกษาทางเลือกดำเนินการเพื่อให้หญิงได้รับการปรึกษาทางเลือก ตามข้อบังคับของแพทยสภา
 
 
หลักการการให้คำปรึกษา - Option counseling
 
- รับฟังปัญหาด้วยความใส่ใจและเป็นมิตร
- ไม่ตีตราหรือตัดสินเกี่ยวกับการกระท า การให้ถ้อยค า การแสดงทัศนคติ หรือพฤติการณ์ต่าง ๆ ของหญิงนั้น
- ให้ข้อมูลทางเลือกอย่างรอบด้าน เพื่อสามารถปฏิบัติได้จริงตามศักยภาพของหญิงนั้น ๆ เอง และรับผลที่อาจจะตามมาได้
- ไม่โน้มน้าว
- รักษาความลับ
 
 
ออกเอกสารรับรองว่าได้รับคำปรึกษาแล้ว
 
เมื่อหญิงท่านนันได้เข้ารับคำปรึกษาทางเลือกแล้ว  ให้ผู้ให้คำปรึกษาทางเลือก ออกเอกสารแก่หญิงเพื่อแสดงว่า "ได้รับการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกตาม
ประกาศนี้แล้ว" (อาจทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้)
 
 
3. กระบวนการตัดสินใจ
 
3.1 ในกรณีที่ผลการตรวจปรากฏว่าหญิงมีอายุครรภ์ "ไม่เกิน 12 สัปดาห์" 
 
หากหญิง "ยืนยัน" ที่จะ "ยุติการตั้งครรภ์" ให้ดำเนินการเพื่อให้หญิงได้รับการยุติการตั้งครรภ์ตามข้อบังคับแพทยสภา
 
กรณี "ยืนยัน" จะ "ตั้งครรภ์ต่อ"  ให้ดำเนินการให้ได้รับการดูแลช่วยเหลือ สวัสดิการสังคม ที่เหมาะสมแก่การตั้งครรภ์การคลอดและเลี้ยงดูบุตรต่อไป
 
 
3.2 ในกรณีที่ผลการตรวจปรากฏว่าหญิงมีอายุครรภ์ "เกิน 20 สัปดาห์" 
ให้หน่วยบริการปรึกษาทางเลือกดำเนินการเพื่อให้หญิงได้รับการดูแลช่วยเหลือหรือได้รับการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสมแก่การตั้งครรภ์และเลี้ยงดูบุตรต่อไป 
 
แต่หากมีเหตุยุติการตั้งครรภ์อื่นตามมาตรา 305 (1) (2) หรือ (3) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้ดำเนินการตามข้อบังคับแพทยสภา


 
 
 
แนวทางในการดูแลช่วยเหลือหญิงตั้งครรภ์ซึ่งยืนยันที่จะตั้งครรภ์ต่อ
 
1. ให้ผู้ให้คำปรึกษาทางเลือกดำเนินการส่งต่อหญิง พร้อมด้วยเอกสาร แสดงผลของการให้คำปรึกษาทางเลือก ไปยังหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนและภาคประชาสังคม ที่มีหน้าที่ในการดูแลช่วยเหลือ
 
2. แนวทางการดูแลช่วยเหลือของกระทรวงสาธารณสุข
- จัดบริการดูแลสุขภาพอนามัยทั้ง ระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอด และภายหลังคลอด รวมทั้งบุตรที่คลอด
- จัดบริการวางแผนครอบครัวและคุมก าเนิดหลังคลอดที่เหมาะสมกับหญิงในทุกกลุ่มอายุโดยไม่เสียค่าบริการหรือเสียค่าบริการตามสิทธิแต่ละบุคคลพึงมี
 
3. รวมทั้งมีความช่วยเหลือจาก 6 กระทรวง ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม
 
 
 
 
=====

พระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ.2564
 
 
มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
มาตรา 305 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทำไม่มีความผิด
(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น
(2) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง
(3) หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระท าความผิดเกี่ยวกับเพศ
(4) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์
(5) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกินสิบสองสัปดาห์ แต่ไม่เกินยี่สิบสัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
 
 
 
=====
 
 
 
ข้อบังคับแพทยสภา ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
 
แพทยสภาได้ออกข้อบังคับ ว่าด้วยหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2564 เพื่อที่จะให้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
 
(1) การยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา 305 (1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา เป็นกรณีที่จำเป็นต้องกระทำเนื่องจาก
(ก) ปัญหาสุขภาพทางกายของหญิงตั้งครรภ์ หรือ
(ข) ปัญหาสุขภาพทางจิตของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะต้องได้รับการรับรองหรือเห็นชอบ จากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่มิใช่ผู้กระทำการยุติการตั้งครรภ์ อย่างน้อยหนึ่งคน
 
(2) การยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา 305 (2) แห่งประมวลกฎหมายอาญา มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
(ก) ทารกที่คลอดออกมามีความเสี่ยงอย่างมากที่จะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง เช่น มีความพิการอย่างรุนแรง เป็นโรคทางพันธุกรรมอย่างร้ายแรง หรือทุพพลภาพประการอื่นอย่างร้ายแรง
(ข) มีการให้คำปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์ (genetic counseling) แก่หญิงตั้งครรภ์
(ค) มีการบันทึกผลการตรวจ การให้ค าปรึกษาหรือค าแนะน าทางพันธุศาสตร์ และข้อบ่งชี้ไว้ในเวชระเบียน
(ง) จะต้องได้รับการรับรองหรือเห็นชอบจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่มิใช่ผู้กระทำการยุติการตั้งครรภ์อย่างน้อยหนึ่งคน
 
(3) การยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา 305 (3) แห่งประมวลกฎหมายอาญา หญิงต้องยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนตั้งครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศโดยหญิงอาจให้ข้อเท็จจริงประกอบการยืนยันดังกล่าวได้
 
(4) การยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา 305 (4) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมสามารถยุติการตั้งครรภ์ได้ตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือแนะน าส่งต่อตามระบบของสถานพยาบาลโดยไม่ชักช้า
 
(5) การยุติการตั้งครรภ์ตามมาตรา 305 (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ต้องมีเอกสารแสดงว่าได้รับการตรวจและรับค าปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด ในกรณีที่ต้องส่งต่อให้แนะนำส่งต่อตามระบบของสถานพยาบาลโดยไม่ชักช้า
 
ข้อ 5 การยุติการตั้งครรภ์ในหญิงที่อยู่ในสภาวะที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางร่างกายหรือจิตใจที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบด้วยกฎหมายหรือผู้ปกครองดูแล ในกรณีที่ไม่มีผู้ที่จะให้ความยินยอมแทนได้ตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือมีผลประโยชน์ขัดกันกับหญิง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอาจท าการยุติการตั้งครรภ์ให้หญิงได้หากเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของหญิงนั้น
 
ข้อ 6 การวินิจฉัยอายุครรภ์ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
 
ข้อ 7 การยุติการตั้งครรภ์ตามข้อบังคับนี้ให้กระท าในสถานพยาบาลของรัฐและสถานพยาบาลเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
 
ข้อ 8 ให้นายกแพทยสภาเป็นผู้รักษาการ และมีอ านาจวินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้
 

ประกาศ ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ศาสตราจารย์เกียรติคุณสมศรี เผ่าสวัสดิ์
นายกแพทยสภา 
 

+++++
 

อ้างอิง
 
 
 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด