6 กลุ่มเสี่ยงสําคัญ
- ผู้ที่ทํางานหรือทํากิจกรรมกลางแดด
- เด็กเล็กและผู้สูงอายุ เนื่องจากร่างกาย ระบายความร้อนได้ไม่ดีเท่าคนหนุ่มสาว
- ผู้ที่มีโรคประจําตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่มีนํ้าหนักตัวมาก
- ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ
- ผู้ทีดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ จะทําให้เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัวมากขึ้น ทําให้ร่างกายเสียนํ้าและเกลือแร่สูง จึงอาจเกิดอาการช็อกและเสียชีวิต
ฤดูร้อนประเทศไทย เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567
กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเข้าสู่ฤดูร้อนตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 คาดการณ์ฤดูร้อนปีนี้ ประเทศไทยจะมีอากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบน 35.0 – 38.0 องศาเซลเซียส โดยคาดการณ์อุณหภูมิสูงที่สุด 43.0 - 44.5 องศาเซลเซียส ซึ่งใกล้เคียงหรือเทียบเท่ากับสถิติของประเทศไทย (44.6 องศาเซลเซียส ที่อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 และ อ.เมือง จ.ตาก เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2566) โดยช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤษภาคม จะมีอากาศร้อนจัดต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภัยและโรคที่มีสาเหตุมาจากอากาศร้อน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงและเปราะบาง เช่น ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และเด็ก จึงขอให้ประชาชนหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน ๆ และหมั่นตรวจสอบดูแลคนในครอบครัวให้เตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมที่จะเผชิญกับสภาพอากาศฤดูร้อน ปีนี้อุณหภูมิสูงสุด 43.0 – 44.5 องศาเซลเซียส แต่ความรู้สึกของมนุษย์ หรือค่าดัชนีความร้อน หรือ Heat Index อาจสูงมากกว่า ซึ่งอยู่ในระดับอันตรายมากในบางวัน โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคม ส่วนมากบริเวณประเทศไทยตอนบน ซึ่งประกอบด้วยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ประเทศไทยจะสิ้นสุดฤดูร้อนประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2567 และเพื่อให้รู้ถึงสภาพอากาศและสามารถวางแผนการใช้ชีวิตประจำวันให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพน้อยที่สุด ประชาชนควรติดตามข่าวการพยากรณ์อากาศและการพยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนจากกรมอุตุนิยมวิทยาทางเว็บไซต์ www.tmd.go.th และเฟซบุ๊กกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างต่อเนื่อง
การดูแลผู้ป่วยติดเตียงในช่วงฤดูร้อน
การดูแล ผู้สูงอายุติดเตียงในช่วงฤดูร้อน
- จัดห้องให้สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้สะดวก กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
- เปิดเครื่องปรับอากาศในช่วงที่สภาพอากาศร้อนจัดในตอนกลางวัน หากไม่มี ให้เปิดหน้าต่าง เปิดพัดลมเพื่อช่วยระบายอากาศ ไม่ควรเปิดพัดลมจ่อใส่ผู้สูงอายุเพราะจะทำให้เป็นไข้หวัดได้ง่าย
- ระวังเรื่องแผลกดทับ พลิกตัวทุกๆ 2 ชั่วโมงและเปลี่ยนท่านอนสลับกันไป เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับและความอับชื้น
- ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดตัวผู้สูงอายุเพื่อระบายความร้อน
- ดูแลให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ โดยไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ
- เตรียมยารักษาโรคประจำตัว ให้พร้อม หากมีเหตุฉุกเฉิน ให้รับติดต่อสถานพยาบาลใกล้ที่สุด หรือ โทร. 1669
กระทรวงสาธารณสุข คาดอุณหภูมิปีนี้อาจถึง 44.5 องศาเซลเซียส
กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูร้อนตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าอุณหภูมิปีนี้จะสูงขึ้นกว่าปีก่อน อาจถึง 44.5 องศาเซลเซียส ซึ่งมีความเสี่ยงส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยดูได้จากค่าดัชนีความร้อน ซึ่งเป็นค่าที่สะท้อนความรู้สึกร้อนของร่างกาย จากการนำอุณหภูมิของอากาศมาคิดร่วมกับความชื้นสัมพัทธ์ เนื่องจากเมื่อความชื้นสัมพัทธ์สูงจะทำให้เหงื่อระเหยยาก และส่งผลให้รู้สึกร้อนกว่าอุณหภูมิจริงของอากาศ หากค่าดัชนีความร้อนเกิน 40 องศาเซลเซียส จะมีความเสี่ยงเกิดโรคลมแดด หรือโรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายร้อนจัดจนส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย และเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ กรมอนามัย เปิดข้อมูลการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตด้วยโรคจากความร้อน
กรมอนามัย เปิดเผยว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตด้วยโรคจากความร้อน (กลุ่มโรค Heat Stroke) ในช่วงปี 2562 – 2566 พบว่า มีผู้เสียชีวิตสะสม 131 คน เฉลี่ยเป็น 26.1 รายต่อปี และพบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากนี้ ในปี 2566 กรมอนามัยยังได้ติดตามเฝ้าระวังอาการและพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน โดยพบว่า อาการเสี่ยงที่พบมากที่สุด คือ ปวดศีรษะ ปัสสาวะมีสีเข้ม เวียนศีรษะ/สับสน/มึนงง มีผื่นแดงตามผิวหนัง รวมถึงยังพบพฤติกรรมเสี่ยงจากความร้อน เช่น ทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงสภาพอากาศร้อนจัด อยู่ในห้องที่ระบายอากาศได้ไม่ดีหรือไม่มีเครื่องปรับอากาศ ดื่มสุรา น้ำหวาน และน้ำอัดลม จึงขอแนะนำให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองเพื่อลดความเสี่ยงด้านสุขภาพจาก ความร้อน ได้แก่ ดื่มน้ำบ่อย ๆ โดยไม่ต้องรอให้กระหายน้ำ สวมเสื้อผ้าสีอ่อน ระบายอากาศได้ดี สวมหมวกปีกกว้าง แว่นกันแดด และทาครีมกันแดดเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่มีสภาพอากาศร้อนจัดหลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์ รวมถึงรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ และติดตามสถานการณ์ค่าดัชนีความร้อนจากกรมอุตุนิยมวิทยา หากค่าดัชนีความร้อนอยู่ในระดับอันตราย (42.0 – 51.9 องศาเซลเซียส) ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง กรมควบคุมโรค รายงานผู้เสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน
ข้อมูลกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคมของทุกปี พบรายงานผู้เสียชีวิตที่เข้าข่ายการเฝ้าระวังการเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน ระหว่างปี 2560-2566 จำนวน 24, 18, 57, 12, 7, 8 และ 37 ราย ตามลำดับ
โดยในปีที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 5 มีนาคม - 22 พฤษภาคม 2566 มีรายงานการเจ็บป่วย และเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อนรวม 47 ราย (ป่วย 10 ราย เสียชีวิต 37 ราย) พบมากสุดในเดือนเมษายน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สำหรับผู้ป่วย 10 ราย มีอายุระหว่าง 13-75 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 30) รองลงมาเป็นอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 20) จากข้อมูลยังพบว่าผู้ป่วยมีโรคประจำตัวร่วมด้วย (ร้อยละ 10) ได้แก่ ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจและหลอดเลือด และเป็นผู้ป่วยติดเตียง กิจกรรมหรือปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ การทำกิจกรรมกลางแจ้ง การดื่มสุรา ทั้งนี้ ผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยขณะอยู่กลางแจ้งถึงร้อยละ 80 ส่วนผู้เสียชีวิต 37 ราย อายุระหว่าง 17-81 ปี ประกอบอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 27) ภาคกลางมีผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศร้อนสูงที่สุด (ร้อยละ 35) นอกจากนี้ พบว่าผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัวร่วมด้วย (ร้อยละ 31) ได้แก่ ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจและหลอดเลือด มีพฤติกรรมและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ การดื่มสุรา อีกทั้งพบว่าเป็นการเสียชีวิตกลางแจ้ง (ร้อยละ 62)
การป้องกันตนเอง สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง
การป้องกันตนเอง จากความร้อน สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง
- ควรดื่มน้ำ 1 แก้ว ทุกๆ 15 - 20 นาที
- สวมชุดออกกำลังกายที่ระบายความร้อนได้ดี
- ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก ช่วงเวลา 11.00 - 15.00 น.
คำแนะนำในการดูแลตนเอง ป้องกันภัยจากโรคลมร้อน
1. สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน ระบายความร้อนได้ดี
2. ควรอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
3. ลดหรือเลี่ยงทํากิจกรรมที่ต้องออกแรง กลางแจ้งนาน ๆ
4. สวมแว่นกันแดด กางร่ม สวมหมวกปีกกว้าง
5. ควรดื่มนํ้ า 2–3 ลิตรต่อวัน เพื่อชดเชย การเสียนํ้ าในร่างกายจากเหงื่อออก
6. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
7. ผู้ที่ออกกําลังกาย ควรเลือกในช่วงเช้า/ ช่วงเย็น เนื่องจากเป็นช่วงที่ อากาศไม่ร้อนมากและเป็นเวลาที่เหมาะสม