ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรคลมร้อน หรือ ฮีทสโตรค (heat stroke) ความเสี่ยงต่อสุขภาพช่วงสงกรานต์ หน้าร้อน

โรคลมร้อน หรือ ฮีทสโตรค (heat stroke) ความเสี่ยงต่อสุขภาพช่วงสงกรานต์ หน้าร้อน Thumb HealthServ.net
โรคลมร้อน หรือ ฮีทสโตรค (heat stroke) ความเสี่ยงต่อสุขภาพช่วงสงกรานต์ หน้าร้อน ThumbMobile HealthServ.net

ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงที่มีอากาศค่อนข้างร้อนจัด ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำเป็นเวลานานๆ โรคที่ควรรู้จักอย่างหนึ่งคือ โรคลมร้อน

           โรคลมร้อน หรือ ฮีทสโตรค (heat stroke) เป็นภาวะที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงและความชื้นสูง ทำให้ระบบการระบายความร้อนลดลง เป็นเพราะมีการปรับเกณฑ์ความร้อนใหม่ โดยสมองส่วนไฮโปธาลามัส(hypothalamus) ทำให้เกิดการสร้างความร้อนในร่างกายมากกว่าการระบายความร้อน ผลที่เกิดขึ้นคือ อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40.6 องศาเซลเซียส ก่อให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ ที่สำคัญในร่างกาย โดยเฉพาะสมอง ไต และกล้ามเนื้อ 

 

           การเจ็บป่วยจากความร้อนมีทั้งอาการที่ไม่รุนแรง เช่น ไข้ ปวดหัว วิงเวียน หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน ผดผื่นจากความร้อน ตะคริว อ่อนเพลีย จนถึงที่มีอาการรุนแรง ซึ่งมักถูกนำส่งโรงพยาบาลอย่างฉุกเฉินด้วยอาการเป็นลม เอะอะโวยวาย พูดคุยไม่รู้เรื่อง หมดสติ หรือชักเกร็งกระตุกทั้งตัว ความดันโลหิตต่ำ ช็อค ระดับความเข้มข้นของเลือดและเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุลข้อสังเกตที่สำคัญของโรคลมร้อนคือจะมีไข้สูงแต่ไม่มีเหงื่อออก แตกต่างจากอาการเพลียแดดธรรมดาซึ่งจะพบว่ามีเหงื่อออกด้วย หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วจะทำให้เสียชีวิตซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 25


นอกจากนี้หากรอดชีวิตก็จะเกิดผลต่อสมองในระยะยาว เช่น การเคลื่อนไหวช้า ความจำผิดปกติ หรือ เดินโซเซ เป็นต้น ซึ่งเกิดจากความร้อนได้ทำลายสมองส่วนลึก (basal ganglion, hippocampus) และสมองน้อย (cerebellum) ตามลำดับ
 
 
           ผู้ที่มีความเสี่ยงได้แก่ เป็นคนอ้วน ท้วม ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีอาการป่วยมาก่อน เช่นเป็นไข้ เป็นหวัด ท้องเสีย อดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ มีโรคประจำตัว
 
 
           การป้องกันตนเองเพื่อไม่ให้ป่วยด้วยโรคลมร้อน ได้แก่ ควรหลีกเลี่ยงการตากแดดเป็นเวลานานๆ หากจำเป็นควรสวมหมวกหรือการร่ม ดื่มน้ำอย่างน้อย 1-2 แก้วก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัดโดยไม่ต้องรอให้หิวน้ำ หากอยู่นอกบ้านแล้วรู้สึกร้อนมากให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าเพื่อเป็นการระบายความร้อนทางหนึ่ง หมั่นสังเกตสีปัสสาวะ หากมีสีเหลืองเข้มแสดงว่าร่างกายขาดน้ำ ให้ดื่มน้ำเพิ่มขึ้นทันที หากเราหรือเพื่อนมีอาการดังกล่าวข้างต้นให้รีบเข้าในที่ร่ม ปลดเสื้อผ้าให้หลวม แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว


โดย นพ. พงศกร  ตนายะพงศ์  อายุรแพทย์ประสาทวิทยา

ความเสี่ยงการเกิดโรคลมแดด

ความเสี่ยงการเกิดโรคลมแดด 
 
เผชิญอากาศร้อนจัด 
มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง 
ใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาขับปัสสาวะ ยานอนหลับ 
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ ดื่มแอลกอฮอล์ 
ออกกำลังหนักในภาวะอากาศร้อน 
ใส่เครื่องแต่งกายที่มิดชิด ไม่ระบายความร้อน 
อาการ
 
ตัวร้อนขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ความร้อนในร่างกายสูงถึง 40 องศา แต่ไม่มีเหงื่อออก ** 
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 
คลื่นไส้ อาเจียน
แห้งแดง ปวดศีรษะ
หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำ
หายใจถี่ ชีพจรเต้นแรง
รู้สึกกระหายน้ำมาก
ชักเกร็ง หมดสติ 
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 
 
รีบผู้ป่วยนำเข้าที่ร่ม ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก 
นอนราบ ยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง 
สวมเสื้อผ้าโปร่งสบาย ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น คลายชุดชั้นใน 
พ่นตัวด้วยละอองน้ำ หรือใช้ผ้าชุบน้ำเย็นเช็ด จากปลายแขนขาเข้าไปกลางลำตัว ย้อนแนวรูขุมขน
ใช้น้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบ
พัดหรือใช้พัดลมเป่า 
หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ 
นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
การป้องกัน​
 
หลีกเลี่ยง​การอยู่ในที่ร้อนจัด 
หากเผชิญอากาศร้อนจัด และมีความเสี่ยงจะเกิดโรคลมแดด ให้ดื่มน้ำบ่อย ๆ​
เช็ดหน้าด้วยผ้าเย็น  
** หากมีอาการผิดปกติ หรือสงสัยพบผู้ป่วยสงสัยเป็นโรคลมแดด ให้รีบปฐมพยาบาลและนำส่งรพ.ทันที **  
 
 
 
โดย  น.ท.หญิง เพ็ชชรี พลมณี อาจารย์แพทย์ กองอายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. 

การป้องกันตนเอง จากความร้อน สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง

การป้องกันตนเอง จากความร้อน สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายกลางแจ้ง
- ควรดื่มน้ำ 1 แก้ว ทุกๆ 15 - 20 นาที
- สวมชุดออกกำลังกายที่ระบายความร้อนได้ดี
- ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก ช่วงเวลา 11.00 - 15.00 น. 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด