ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สถานการณ์การระบาดของโควิด19 รายสัปดาห์ (มกราคม 67)

สถานการณ์การระบาดของโควิด19 รายสัปดาห์ (มกราคม 67) Thumb HealthServ.net
สถานการณ์การระบาดของโควิด19 รายสัปดาห์ (มกราคม 67) ThumbMobile HealthServ.net

[จำนวนเสียชีวิต 11 ราย] กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 พบแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น มีอัตราป่วยหนักและเสียชีวิตสูงขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น WHO แนะกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเปราะบาง รับวัคซีนปีละ 1 ครั้ง ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงของการป่วยหนักและเสียชีวิต

กรมควบคุมโรค แจ้งสถานการณ์โควิด และเผยข้อมูลผู้เสียชีวิต พบส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 608 ที่ไม่ได้รับวัคซีน
       
 
       22 มกราคม 2567 สถานการณ์การระบาดของโควิด 19 มีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตามคาดการณ์ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 14 – 20 มกราคม 2567) พบผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 718 ราย เฉลี่ย 102 รายต่อวัน สูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่มีรายงาน 93 รายต่อวัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9) เป็นผู้ป่วยอาการรุนแรงปอดอักเสบ 209 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 149 ราย และเสียชีวิต 11 ราย (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 4 ราย)

       ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ หรือมีโรคเรื้อรัง (608) ที่ไม่ได้รับวัคซีนถึง 6 ราย (ร้อยละ 54) เป็นกลุ่ม 608 ที่ได้รับวัคซีนเพียง 2 เข็ม 5 ราย (ร้อยละ 36) สอดคล้องกับข้อมูลผู้ป่วยอาการรุนแรงที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนถึง 45 ราย คิดเป็นร้อยละ 30  

 

สถานการณ์การระบาดของโควิด19 รายสัปดาห์ (มกราคม 67) HealthServ
 

       ปัจจุบันโควิด 19 สายพันธุ์ที่กำลังระบาดในประเทศไทย ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นสายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย JN.1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์รุ่นลูกของโอมิครอน มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ลักษณะอาการของผู้ป่วยโควิด 19 ที่ติดเชื้อ JN.1 มีอาการคล้ายหวัด เช่น ไข้ ไอ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ มีน้ำมูก ซึ่งยังไม่พบว่ามีระดับความรุนแรงของโรคเพิ่มขึ้นจากสายพันธุ์โอมิครอนเดิมในปีที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนไม่ควรประมาท เน้นการป้องกันตนเองด้วยการสวมหน้ากากขณะอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนรวมกันจำนวนมาก เช่น ขนส่งสาธารณะ โรงพยาบาล และสถานดูแลผู้สูงอายุ ล้างมือบ่อยๆ หากมีอาการคล้ายเป็นหวัด ให้ตรวจ ATK และหลีกเลี่ยงใกล้ชิดกลุ่ม 608 เมื่อตรวจพบผลบวก 2 ขีด ให้สวมหน้ากากป้องกันแพร่เชื้อ และสังเกตอาการ รีบไปพบแพทย์เมื่อมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก


 
       ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) มีคำแนะนำให้ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว หรือผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ยังมีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนโควิด 19 ในระยะเวลา 6 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงของการป่วยหนักและเสียชีวิต สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเทศช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่พบว่าผู้ป่วยอาการหนัก ผู้ป่วยที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง (608) ซึ่งไม่มีประวัติได้รับวัคซีน หรือยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น เน้นย้ำผู้ป่วยกลุ่ม 608 อาการคล้ายหวัด และมีผลตรวจ ATK เป็นบวก ให้สวมหน้ากากและรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา พิจารณาจ่ายยาต้านไวรัสโดยเร็ว เพื่อลดโอกาสป่วยรุนแรง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

 

ข่าว/บทความล่าสุด
เนื้อหาอ่านล่าสุด