ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลักหก1 อ.เมือง ปทุมธานี

Logo

ที่อยู่/ติดต่อ
1/5 หมู่ 7 ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 12000
แฟกซ์ 025364463

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลักหก1 อ.เมือง ปทุมธานี

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

  • ยังไม่มีข่าวสาร ข้อมูลจากที่นี่
[ทั้งหมด]
 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลักหก 1 ตั้งอยู่เลขที่ ๑/5 หมู่ที่ ๗ ตำบลหลักหก อำเภอเมือง
 
จังหวัดปทุมธานี โทร. ๐๒-๕๓๖-๔๔๖๓ E-mail: mueangpatum๐๑๐๘๘@hotmail.com
 
เนื้อที่รับผิดชอบประมาณ ๓๐๖ ตารางวา พื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด ๔ หมู่บ้าน ได้แก่
 
  1. หมู่ที่ ๓ ห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลักหก 1 ประมาณ ๓ กิโลเมตรเดินทางมารับบริการได้โดยรถจักรยานยนต์รับจ้างหรือรถยนต์ส่วนตัว
  2. หมู่ที่ ๔ ห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลักหก 1 ประมาณ ๔ กิโลเมตรเดินทางมารับบริการได้โดยรถจักรยานยนต์รับจ้างหรือรถยนต์ส่วนตัว
  3. หมู่ที่ ๕ ห่างจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลักหก 1 ประมาณ ๒ กิโลเมตรเดินทางมารับบริการได้โดยรถจักรยานยนต์รับจ้างหรือรถยนต์ส่วนตัว
  4. หมู่ที่ ๗ เป็นที่ตั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลักหก 1 สามารถเดินเท้ามารับบริการได้        
 
แผนที่ระยะทางจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลักหก 1 ถึงสถานบริการแม่ข่ายหรือสถานบริการรับส่งต่อคือโรงพยาบาลปทุมธานี ใช้เวลาเดินทางเส้นทางสายหลักในระยะทาง ๑๔ กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๓๐ น.
 
 
 
วิสัยทัศน์ : เป็นหน่วยบริการสาธารณสุขชุมชนขั้นต้น ที่มีคุณภาพเพื่อประชาชน
 
พันธกิจ : จะเป็นหน่วยบริการสาธารณสุขชุมชนขั้นต้นที่ให้บริการด้านรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและฟื้นฟูในระดับปฐมภูมิให้ได้มาตรฐานเพื่อให้ผู้รับบริการพึงพอใจและมุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง
 
อาณาเขตติดต่อ
 
·       โซนที่  ๑  โซนทิศเหนือของตำบลหลักหก ติดกับหมู่ที่ ๑ และ ๕ ตำบลบางพูน เป็นโซนชุมชนดั้งเดิมประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ รับจ้างและค้าขาย มีบ้านติดคลองรังสิต
 
·       โซนที่  ๒  โซนทิศใต้ติดกับเขตดอนเมือง  เป็นชุมชนที่เป็นคนดั้งเดิมและมีประชากรแฝงเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่มากขึ้น  ประชาชนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้าง
 
·       โซนที่ ๓  โซนทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่ที่ ๑ และ ๓ ตำบลบ้านใหม่ เป็นโซนถนนและบ้านจัดสรร เป็นสถานที่ตั้งของหมู่บ้านเมืองเอก  มหาวิทยาลัยรังสิต และโรงเรียนในสังกัดเอกชน จำนวน  ๔ โรงเรียน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ธุรกิจส่วนตัว  รับราชการ ค้าขาย   มีแรงงานต่างด้าวและประชากรแฝงในพื้นที่จำนวนมาก
 
 
 
ลักษณะของตำบลหลักหกเป็นพื้นที่เขตเมืองมีบ้านจำนวนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะ ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ คุณภาพการดำเนินชีวิตเป็นแบบสังคมเมืองอย่างชัดเจน คือในตอนกลางวันมักมีผู้สูงอายุ หรือคนรับใช้ในบ้านที่อยู่บ้าน  สถานะทางเศรษฐกิจของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ อยู่ในระดับปานกลาง- ระดับดี   ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ  ธุรกิจส่วนตัว  และ รับจ้างในโรงงาน อุตสาหกรรม   คนจากภาคต่างๆทั่วประเทศมารับจ้างทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมและรับเหมาก่อสร้าง  ๗๑.๐ % คนต่างด้าว ๒๒ %
 
         
 
          ปัญหาที่เกิดกับประชาชนที่อยู่ในโซนที่ ๑  โซนทิศเหนือติดกับหมู่ที่ ๑ และ ๕ ตำบลบางพูน  ประชาชนประกอบอาชีพ รับจ้างและค้าขายเป็นชุมชนริมคลองรังสิต เป็นชุมชนดั้งเดิมของพื้นที่  ประชาชนที่ประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม  ส่วนใหญ่เป็นประชากรแฝงที่มาพักอาศัยอยู่ในตำบลหลักหก  ส่วนมากเป็นประชาชนในพื้นที่  ทำให้เด็กเล็กที่ยังไม่ได้ไปโรงเรียนต้องอยู่กับ  ปู่ย่าตายาย  ขาดความสนใจดูแลทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้ม  สุนัขกัด   
 
          ปัญหาที่เกิดกับประชาชนในโซนที่ ๒ โซนทิศใต้ติดกับเขตดอนเมือง  เป็นชุมชนที่เป็นคนดั้งเดิมและมีประชากรแฝงเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่มากขึ้น  ประชาชนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้างทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม
 
ปัญหาสุขภาพอาจมีผลจากการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม  การเข้ารับบริการส่วนใหญ่ใช้สิทธิในโรงพยาบาลเอกชน  ในส่วนประชากรแฝงที่มาทำงานในพื้นที่ จะเข้ารับบริการในสถานบริการของรัฐ
 
          ปัญหาที่เกิดกับประชาชนในโซนที่ ๓ หมู่บ้านจัดสรร และมีมหาวิทยาลัยเอกชน ๑ แห่ง คือมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นชุมชนเมือง มีสถานประกอบการ และร้านอาหาร เป็นจำนวนมาก มีตลาดนัด ในหมู่บ้าน  มีประชากรแฝงและแรงงานต่างด้าวทำงานรับจ้างในพื้นที่เป็นจำนวนมาก  เวลาเจ็บป่วยนายจ้างมักไม่ค่อยพามารักษาตัวเนื่องจากเป็นแรงงานที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนถูกต้องเวลาเจ็บป่วยจึงมีอาการหนักแล้วค่อยพามารักษา  ประชาชนในพื้นที่เป็นกลุ่มที่มีระดับการศึกษาที่ดี และฐานะเศรษฐกิจดี เวลาเจ็บป่วยจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน และบางส่วนก็เข้ารับการรักษาในสถานบริการของรัฐ มีการขอขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพ เพิ่มมากขึ้น
 
มีโรงเรียนมัธยมศึกษา  มัธยมขยายโอกาส มหาวิทยาลัย  ในปัจจุบันสมาร์ทโฟน  และสื่อต่างๆที่เข้าถึงได้ง่ายทำให้เด็กวัยรุ่นบางส่วนที่ยังขาดทักษะในการใช้ชีวิตที่ดี  วัยรุ่นมีค่านิยมทางเพศไม่ถูกต้อง  มีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยที่ไม่พร้อม และการใช้ชีวิตคู่ตั้งแต่ในวัยเรียน ทำให้บางส่วนเรียนไม่จบ
 
ประชาชน 98 % นับถือศาสนาพุทธ อาหารในงานบุญต่างๆ เน้น หวาน มัน เค็ม ส่งผลต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ประชาชนที่มีฐานะดีมีทางเลือกในการรับบริการสุขภาพ ไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนและคลินิกแพทย์รวมทั้งผู้ที่มีสิทธิข้าราชการและครอบครัวสามารถเลือกใช้บริการในโรงพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ทั้งในจังหวัดปทุมธานีและในกรุงเทพฯ                                       
 
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพร่วมกับ สปสช. ในโครงการกองทุนสุขภาพตำบลเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ในเรื่องต่างๆดังนี้
 
๑. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโรคไม่ติดต่อ ได้แก่ โครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มภาวะโรค metabolic โครงการสตรีชาวหลักหกร่วมใจห่างไกลโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
 
๒. การส่งเสริมสุขภาพโครงการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากกลุ่มผู้สูงอายุ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการแพทย์แผนไทย โครงการอาสาสมัครเยี่ยมบ้าน
 
๓. โรคติดต่อ โครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก