21 กันยายน 2511
ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ให้เกียรติมาวางศิลาฤกษ์ อาคารหลังแรก ณ บริเวณถนนพระรามหก ใกล้โรงพยาบาลรามาธิบดี
10 ธันวาคม 2511
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาเสด็จมาทรงกระทําพิธี เปิดอาคารหลังแรกและพระราชทานนามว่า “อาคารดํารงนิราดูร” หมายความว่า ปราศจากความ เศร้าโศกอาดูรตลอดไป และ ณ โอกาส ที่สําคัญยิ่ง ฯพณฯ คุณพระบําราศนราดูร ได้กราบบังคมทูล พระกรุณา ขอบรมราชานุญาตพระราชทานถือเอา วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันต่อต้านโรคมะเร็งแห่งชาติ
พ.ศ. 2513
นายแพทย์สมชาย สมบูรณ์เจริญ ผู้อํานวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติคนแรก ได้มีความคิดริเริ่มให้จัดตั้งโครงการบ้านพักฟื้นผู้ป่วยโรคมะเร็ง ด้วยเหตุผล ที่ว่า ประชาชนป่วยด้วยโรคมะเร็งมากขึ้น การรักษาโรคมะเร็ง
ต้องใช้เวลานานและต่อเนื่อง บางรายอาจใช้เวลานานเป็น เดือนหรือเป็นปี ซึ่งทําความลําบากให้ผู้ป่วยและครอบครัวเป็นอย่างมากในการเดินทางมารับการรักษา เพราะเตียงของ สถานพยาบาลมีจํานวนจํากัด ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีที่พัก ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จึงได้เสนอขอที่จากกรมธนารักษ์ เพื่อจัดสร้างบ้านพักฟื้นและสถาบันวิจัยพื้นฐาน10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ฯพณฯ จอมพลถนอม กิตติขจร ปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้มีการแบ่งส่วนราชการใหม่ กระทรวงสาธารณสุข ให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติมา สังกัดกรมการแพทย์
พ.ศ. 2516
กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้ จัดหาที่ดินราชพัสดุ ขนาดเนื้อที่ 100 ไร่ บริเวณคลอง 11 อําเภอธัญบุรี เพื่อสร้างบ้านพักฟื้นผู้ป่วยโรคมะเร็งและ สถาบันวิจัยพื้นฐาน ตามที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติเสนอขอ
พ.ศ. 2523
สถาบันมะเร็งแห่งชาติเสนอโครงการ จัดตั้งศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งในภูมิภาค 8 แห่ง
พ.ศ. 2529
กระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้สถาบัน มะเร็งแห่งชาติดําเนินการจัดตั้งโครงการบ้านพักฟื้นผู้ป่วยโรคมะเร็งธัญบุรี และได้เริ่มดําเนินการก่อสร้างตึกผู้ป่วยตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2530 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานรับผู้ป่วย
โรคมะเร็ง ธัญบุรี” มีฐานะเป็นฝ่ายหนึ่งของสถาบันมะเร็ง แห่งชาติ
พ.ศ. 2532 (วันที่ 25 กรกฎาคม 2532)
คณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติโครงการจัดตั้งศูนย์ป้องกันและควบคุม โรคมะเร็ง ในส่วนภูมิภาค จํานวน 6 แห่ง ทั่วประเทศไทย ได้แก่จังหวัดลพบุรี ชลบุรี อุบลราชธานี ลําปาง สุราษฎร์ธานี และอุดรธานี เพื่อขยายขอบเขตของงานการป้องกัน และควบคุมโรคมะเร็งไปสู่ภูมิภาค เพื่อให้ประชาชนได้รับ บริการตรวจวินิจฉัยและบําบัดรักษาโรคมะเร็งตั้งแต่ ระยะเริ่มแรก
ปี พ.ศ. 2536
กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการ ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานส่วนราชการต่างๆ โดยเฉพาะด้านบุคลากรสาธารณสุขสาขาต่างๆ ให้รวมอยู่ใน ความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียวกัน คือ สถาบันพัฒนา กําลังคนด้านสาธารณสุขสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข จึงได้มีการโอนหลักสูตรต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ของกรมการแพทย์และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้อยู่ใน ความรับผิดชอบของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และ สาธารณสุขสถาบันพัฒนากําลังคนด้านสาธารณสุข ดังนั้น โรงเรียนเซลล์วิทยา, โรงเรียนเวชสถิติ และโรงเรียนรังสี การแพทย์ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสถาบันมะเร็ง แห่งชาติ กรมการแพทย์ จึงได้โอนไปอยู่ในความรับผิดชอบ ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข