ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ (SNMRI)

Sirindhorn National Medical Rehabilitation Institute (SNMRI)

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
88/26 ซอยบำราศนราดูร ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทร. 0-2965-9186, 0-2965-9189, 0-2591-3569

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ (SNMRI)

“เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่มีสมรรถนะสูง
มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของคนพิการและผู้ป่วย โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน”


 บริการทางการแพทย์

  1. งานบริการผู้ป่วยนอก
    บริการของเรา
    • คลินิกตรวจรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู
    • คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Clinic)
    • คลินิกเท้า ( Foot Clinic)
    • คลินิกบาดเจ็บไขสันหลัง (Sci Clinic)
    • คลินิกเครื่องมือพิเศษ
    • งานบริการผู้ป่วยใน
  2. คลินิกกายภาพบำบัด
  3. คลินิกกายอุปกรณ์
  4. คลินิกกิจกรรมบำบัด
  5. คลินิกฝังเข็ม
  6. คลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็น
  7. คลินิกฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก
  8. คลินิกเดย์แคร์
  9. คลินิกแก้ไขการพูด
  10. งานดนตรีบำบัด
  11. ฝึกทักษะคนพิการบ้านวิถีชีวิตอิสระ
  12. ศูนย์สาธิตอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ
ข้อที่ 1 เงื่อนไขการขอรับอุปกรณ์
ข้อที่ 2 ขั้นตอนการขอรับอุปกรณ์
ข้อที่ 3 รายการอุปกรณ์
ข้อที่ 4 ข้อบ่งชี้พิจารณา หมวดกายอุปกรณ์
ข้อที่ 5 ข้อบ่งชี้พิจารณา หมวดรถนั่งคนพิการ
ข้อที่ 7 ข้อบ่งชี้พิจารณา หมวดอื่นๆ
ข้อที่ 8 การติดตามและการรายงานการให้อุปกรณ์
ข้อที่ 9 แบบประเมินเพื่อพิจารณานั่งคนพิการ (ฉบับเต็ม)
ข้อที่ 10 กรณีศึกษา
ข้อที่ 11 ตัวอย่างหนังสือขอรับอุปกรณ์

Facebook สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ (SNMRI)


ประวัติสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
 
สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ (Sirindhorn National Medical Rehabilitation Institute) เป็นศูนย์วิชาการ สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 โดยพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปัจจุบัน สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ได้พัฒนาตนเองให้ก้าวสู่การ "เป็นองค์กรแห่งความเป็นเลิศด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่มีสมรรถนะสูง มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของคนพิการและผู้ป่วย โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน"
 
การฟื้นฟูสมรรถภาพเป็นวิธีการหนึ่งที่จะนำคนพิการกลับเข้าสังคม โดยคนพิการเหล่านั้น จะต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านการแพทย์ การศึกษา อาชีพ และสังคม โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด ในขณะเดียวกันก็เป็นภาระแก่ครอบครัวและสังคมให้น้อยที่สุด สามารถอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับบุคคลอื่น
 
การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535 และแม้ว่าจะประสบปัญหาการขาดแคลนบุคลากร ภารกิจทางวิชาการ และการบริหารจัดการก็เริ่มขึ้นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
 
ต่อมาในปี 2537 ได้ย้ายมาอยู่ในอาคารปัจจุบัน ส่วนด้านการบริการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้เริ่มใน พ.ศ.2537 โดยเริ่มเปิดเป็นบริการผู้ป่วยนอก ส่วนผู้ป่วยในเปิดในปี พ.ศ. 2538 จำนวน 30 เตียง และเพิ่มเป็น 48 เตียงในปี พ.ศ. 2539 ทั้งนี้ได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการโดยมีองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯเสด็จเป็นองค์ประธานเมื่อ พ.ศ. 2543
 
ลักษณะสำคัญขององค์กร (Organization Profile)
 
1) สภาพแวดล้อมขององค์กร
 
บริการหลัก (main service) ระดับและขอบเขตบริการ :
 
1. บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วย ผู้พิการโดยประกอบด้วยงานบริการ ด้านคลินิกหลัก ได้แก่ งานบริการผู้ป่วยนอก งานบริการผู้ป่วยใน งานกายภาพบำบัด งานกิจกรรมบำบัด งานกายอุปกรณ์ งานแก้ไขการพูด งานฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก งานฝึกทักษะคนพิการและบ้านวิถีชีวิตอิสระ งานศูนย์สาธิตอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ และงานเดย์แคร์
 
2. เป็น focal point ในการผลักดันกฎหมายคนพิการและสิทธิคนพิการ เช่น การผลักดันให้เกิดการดำเนินการตามมาตรา 20(1) ตามพรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 การติดตามการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ในประเด็น ว่าด้วยการเข้าถึงบริการสุขภาพคนพิการอย่างเป็นธรรม
 
3. สนับสนุนให้เกิดการดำเนินงานฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวโดยชุมชน ในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงพยาบาลชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจัดหน่วยบริการคนพิการเคลื่อนที่ในภูมิภาคต่าง ๆ
 
2) ความสามารถเฉพาะขององค์กร (Core competency)
สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ มีความเชี่ยวชาญในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ แก่คนพิการทางกายและการเคลื่อนไหว
 
ขอบเขตสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
 
ภารกิจตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2537 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2537)
 
1. ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แก่ผู้พิการ และผู้ป่วยตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ที่รับส่งต่อจากหน่วยงานทั้งในภาครัฐ และภาคเอกชน
2. ศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาวิชาการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการแพทย์ให้แก่ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
3. ปฏิบัติงานร่วม หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
4. ถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ โดยเฉพาะในกลุ่มคนพิการแก่สถานบริการสุขภาพ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
5. ให้การเพิ่มพูนความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แก่แพทย์ และบุคลากรทางด้านสุขภาพ ในสถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน


 
อำนาจหน้าที่
 
(ตามที่สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุขให้หน่วยงานนำเสนอเพื่อประกอบการจัดทำกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมการแพทย์ นำเสนอเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2545 - ขณะนี้อยู่ในระหว่างรอประกาศใช้)
 
  1. ประสานนโยบายและแผนงาน ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แก่ผู้ป่วย และผู้พิการตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
  2. ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ประเมินและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ เทคโนโลยี รวมถึงรูปแบบการจัด บริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
  3. ส่งเสริม สนับสนุน ถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมทั้งเทคโนโลยีด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แก่สถานบริการ ต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
  4. พัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในระดับตติยภูมิ โดยมีเครือข่ายเชื่อมโยงกับระบบบริการสุขภาพทุกระดับ รวมถึงการส่งเสริม พัฒนาและกำหนดคุณภาพ มาตรฐาน
  5. ให้การเพิ่มพูนความรู้และทักษะการปฏิบัติงานบริการสุขภาพด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือ สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้รับมอบหมายทั้งในและต่างประเทศ


ลักษณะบริการ
 
จำนวนเตียงผู้ป่วยในที่เปิดให้บริการ : 48 เตียง
ระดับของการให้บริการ : โรงพยาบาลที่ให้การดูแลระดับตติยภูมิ
ลักษณะของผู้ป่วยที่ให้การดูแล : ผู้ป่วยและผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่เป็นสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดสมอง (CVA, Hemiplegia) ไขสันหลังบาดเจ็บ (Spinal injury)
เด็กสมองพิการ (Cerebral palsy) ผู้พิการแขนขาขาด (Amputation) และผู้ป่วยที่มีอาการปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อ (Musculoskeletal pain)