ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินี

Queen Sirikit National Institute of Child Health

Logo

กองทุนอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก ขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคสมทบการจัดซื้อครุภัณฑ์และพัฒนาการแพทย์ ให้กับโรงพยาบาลเด็ก ยังสามารถเป็นที่พึ่ง ของคนไข้เด็กป่วยที่ยากไร้ โรคยุ่งยากซับซ้อน ให้ได้รับโอกาสเข้าถึงการรักษาอย่างทันท่วงที

ที่อยู่/ติดต่อ
ถนน ราชวิถี แขวง ทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพ 10400

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ สถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินี

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

[ทั้งหมด]
สถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินี  (โรงพยาบาลเด็ก)
  1. คลินิกโรคภูมิแพ้ และรูห์มาติสซั่ม (โรคข้อ)
  2. คลินิกเด็กโรคหัวใจ
  3. คลินิกกายอุปกรณ์
  4. คลินิกกายภาพบำบัด
  5. คลินิกเวชศาสตร์ฟื้นฟู
  6. คลินิกวัณโรค
  7. คลินิกโรคติดเชื้อ
  8. งานการพยาบาลให้คำปรึกษาด้านสุขภาพและเอชไอวี
  9. คลินิกเด็กสุขภาพดี
  10. คลินิกทารกที่มีความเสี่ยงสูง
  11. งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
  12. คลินิกโรคปอด
  13. คลินิกอายุรกรรมทั่วไป
  14. คลินิกโรคเลือดและมะเร็งในเด็ก
  15. คลินิกพัฒนาการและกระตุ้นพัฒนาการ
  16. คลินิกต่อมไร้ท่อและเบาหวาน
  17. คลินิก หู คอ จมูก
  18. คลินิกโรคไต
  19. คลินิกกุมารศัลยกรรม
  20. คลินิกโรคระบบทางเดินอาหารและตับ
  21. คลินิกศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  22. คลินิกโรคทางโภชนาการ
  23. คลินิกพันธุกรรม
  24. คลินิกโรคระบบทางเดินหายใจ
  25. คลินิกสมองและระบบประสาท
  26. คลินิกภูมิคุ้มกัน
  27. คลินิกจักษุวิทยา
  28. คลินิกจิตเวชเด็กและวัยรุ่น
  29. คลินิกโรคผิวหนัง
  30. Call Center

 ความเป็นมา
 
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
(Queen Sirikit National Institute of Child Health)

อดีตจารึก.......
 
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีเดิมเป็นแผนกเด็กในโรงพยาบาลหญิง(โรงพยาบาลราชวิถี) ซึ่งขณะนั้นมีเตียงรับผู้ป่วยเด็กเพียง ๒๕ เตียง และในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ รัฐบาลได้อนุมัติเงินงบประมาณในการก่อสร้างอาคารแผนกเด็ก และสามารถขยายงานในการดูแลผู้ป่วยเด็กหลายสาขา รับผู้ป่วยได้ ๑๓๗ เตียง และให้ชื่อว่า“โรงพยาบาลเด็ก”ในการบังคับบัญชายังขึ้นกับโรงพยาบาลหญิง ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้มาทำพิธีเปิดอาคารของโรงพยาบาลเด็กในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๗
 
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ด้วยเหตุนี้ในวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ จึงได้ยกฐานะเป็นกองโรงพยาบาลเด็ก กรมการแพทย์ มีอำนาจเต็มในการบริหาร ในเวลานั้นมีแพทย์ประจำ ๑๘ คน พยาบาล ๗๐ คน
 
วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ ๑๑๓ ตอนที่ ๔๕ ก.เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลเด็กเป็น “สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
 
ในยุคแรก
 
โรงพยาบาลเด็กซึ่งนับว่าเป็นสถาบันแรกนอกมหาวิทยาลัยแพทยศาตร์ที่ได้จัดให้มีการฝึกอบรมวิชาโรคเด็กขึ้น ซึ่งระยะแรกได้รับความช่วยเหลือร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งจากคณาจารย์ภาควิชากุมารคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เหตุผลที่ทำให้มีการอบรมแพทย์โรคเด็ก เพราะผู้ป่วยเด็กมีจำนวนมากขึ้นและมีอัตราตายสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วด่วยเฉพาะเด็กเกิดใหม่ แพทย์เฉพาะทางมีจำนวนน้อยมาก หลังโรงพยาบาลเด็กเปิดไม่นาน พญ.อรวรรณ คุณวิศาล (ซึ่งไปศึกษาโรงพยาบาลเด็ก ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา) ได้กลับมาปฏิบัติงานทางแผนกเด็ก พ.ศ. ๒๔๙๔ และเป็นหัวหน้าแผนกเด็กคนแรก ท่านได้นำความรู้มาช่วยปรับปรุงแผนกเด็ก และดำเนินการสอนแพทย์ประจำบ้านแผนกเด็กในเวลานั้น การฝึกอบรมทางกุมารเวชศาสตร์ จึงอาจนับได้ว่าเริ่มต้นในตอนนั้น เพราะเวลาเดียวกันนั้นแพทย์ที่จบจาก โรงเรียนแพทย์ ต้องออกไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด ทางกรมการแพทย์ได้ส่งมาดูงาน ที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ ก่อน แผนกเด็กจึงเป็นที่ที่รับผู้มาดูงานเสมอ ทางแผนกเด็กเองได้มีการสอนแพทย์เหล่านี้ โดยเน้นหลักทางภาคปฏิบัติเป็นแบบ Clinical Teaching ผู้ที่มารับการฝึกอบรมและดูงาน ได้ปฏิบัติงานในแผนกเด็ก ทั้งคนไข้นอกคนไข้ในรวมทั้งเด็กเกิดใหม่ ในขณะนั้นยังไม่มีหลักสูตรแน่นอน ระยะเวลาที่มาดูงาน แล้วแต่ความต้องการ มีตั้งแต่ระยะ ๑ เดือน ถึง ๑ ปี พอครบกำหนดแล้วก็ออกไปปฏิบัติงานตามโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค
 
พ.ศ. ๒๔๙๕ กรมการแพทย์ได้จัดให้มีแพทย์ฝึกหัดหมุนเวียน (Rotating Intern) โดยคัดเลือกแพทย์ที่ต้องออกไปปฏิบัติงานตามภูมิภาค ๕ – ๖ คน มารับการอบรมสาขาหลักที่โรงพยาบาลต่าง ๆ ของกรมการแพทย์ ได้แก่ รพ.หญิง, รพ.เลิดสิน, รพ.กลาง บางครั้งมี รพ.วชิระ ด้วย แพทย์เหล่านี้จะหมุนเวียนไปตามโรงพยาบาลต่าง ๆ แห่งละประมาณ ๒ เดือน แพทย์ที่มาแผนกเด็กจะได้มีโอกาสปฏิบัติงานทางโรคเด็ก ซึ่งแบ่งแยกตามอายุต่าง ๆ ปัญหาต่าง ๆ ที่พบ และมีการอยู่เวรปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ รวมทั้งการทำ procedure ต่าง ๆ พอจบปีก็ต้องออกไปปฏิบัติงานตามต่างจังหวัด เท่าที่ได้ติดตามผล จากการสอบถามอย่างไม่เป็นทางการ แพทย์เหล่านี้ก็ไปปฏิบัติงานทางเด็กได้ดีพอใช้ การจัดแบบนี้ทำอยู่หลายปีจึงเลิกไป
 
พ.ศ. ๒๕๐๑ Dr,Harold Brown จาก USOM (United Stated Overseas Mission) ศ.นพ.สวัสดิ์ สกุลไทย์ ซึ่งเป็นหัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และอาจารย์ นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ได้มีการประชุมและเห็นพ้องต้องกันว่า น่าจะมีการจัดระบบการศึกษาหลังปริญญาขึ้นที่โรงพยาบาลเด็ก โดยให้มี Program training ร่วมกับมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนกุมารแพทย์ โดยให้มีการศึกษาแบบ Residency Training Program การดำเนินการโดยมีแพทย์จากมหาวิทยาลัยหลายฝ่ายร่วมเป็นกรรมการ ทั้งจากคณะแพทย์จากศิริราชพยาบาล โครงการนี้แบ่งออกเป็น ๒ ระยะ โครงการระยะแรกเริ่มในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๐๒ โครงการระยะที่ ๒ เป็นโครงการให้การศึกษาแก่นักเรียนแพทย์ ซึ่งไม่ได้ดำเนินการ
 
ส่วนโครงการแรกได้จัดอบรมที่โรงพยาบาลเด็ก โดยมี Prof. Paul Rasmussen จากมหาวิทยาลัยยูทา (Urah) มาเป็นที่ปรึกษา โดยได้รับทุนสนับสนุนจากยูซอม โครงการนี้ได้จัดทำอยู่ ๒ ปี ยูซอมก็งดทุนแต่โรงพยาบาลเด็กได้ทำการอบรมต่อ โดยใช้หลักสูตรเช่นนี้และเพิ่มเวลาฝึกอบรมเป็น ๓ ปี โดยอาศัยหลักสูตร Residency Training ของสหรัฐอเมริกา แต่ในระหว่างนั้นมีแพทย์เดินทางไปศึกษาและทำงานที่ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้มีการขาดแพทย์ ผู้ที่เข้าฝึกอบรมในโครงการนี้จึงมีน้อย แต่อย่างไรก็ตามทางโรงพยาบาล ยังจัดให้มีการอบรมอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลักการที่สร้างกุมารแพทย์ที่ออกไปปฏิบัติงาน ในชุมชน เพื่อดูแลรักษาแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับเด็กรวมทั้งส่งเสริมสุขภาพของเด็ก การเรียนการสอนจึงเน้นด้าน Clinical Teaching มากกว่า ทางทฤษฏี ซึ่งทางโรงพยาบาลเด็ก มีผู้ป่วย ที่ถือเป็นครูแพทย์ที่สำคัญและดีที่สุดอย่างเพียงพอ เนื่องจากโรงพยาบาลเด็กเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกและแห่งเดียว ที่รักษาและดูแลสุขภาพของเด็กโดยเฉพาะจึงมีผู้ป่วยเด็กมารับการรักษาเป็นจำนวนมาก และมีความหลากหลายของโรคต่าง ๆ ทั้งชนิดของโรคและความรุนแรง แพทย์ที่ขยันในการปฏิบัติงานมีความเอาใจใส่ดูแลผู้ป่วยและขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมด้วยการศึกษาด้วยตนเอง ประกอบการบรรยายของอาจารย์ และการอ่านตำราเพิ่มเติม จะได้ความรู้และมีประสบการณ์อย่างเพียงพอที่จะออกไปปฏิบัติงานหลังการฝึกอบรม ๓ ปี
 
ต่อมากลางปี พ.ศ. ๒๕๐๕ กรมการแพทย์ได้รับการจัดสรรแพทย์ฝึกหัดส่วนกลางจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เพื่อมาฝึกงานในโรงพยาบาลของกรมการแพทย์ ๑ ปี แพทย์เหล่านี้จะต้องหมุนเวียนไปตามโรงพยาบาลของกรมการแพทย์ตามที่กล่าวมา และมีเวลาที่โรงพยาบาลเด็ก ประมาณ ๒ เดือน ทางโรงพยาบาลคิดว่าเพื่อให้การอบรมได้ผลดีขึ้น จึงจัดหลักสูตรสั้น ๆ ๑ – ๒ สัปดาห์ เป็น Orientation เกี่ยวแก่โรงพยาบาลเด็ก โรคเด็กและปัญหาที่พบบ่อย เช่น Diarrhea, การให้ fluid electrolyte, ยาที่ใช้, โรคชักในเด็ก, ปอดบวม, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, โรคไข้เลือดออกโดยย่อ ๆ เป็นต้นว่าสาเหตุการพิเคราะห์โรค การรักษาจะรวมถึงการใช้ยาในเด็กและขนาดของยาด้วย การสอนเช่นนี้ได้ทำมาตลอดเวลาที่มีแพทย์ฝึกหัด
 
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้มีการริเริ่มจัดตั้งหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านระยะ ๓ ปีตามหลักสูตรแพทยสภา เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขากุมารเวชศาสตร์ ซึ่งเมื่อผ่านการฝึกอบรมแล้วจะต้องสอบเพื่อวุฒิบัตร โดยในระยะแรกสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยซึ่งประกอบด้วยกุมารแพทย์จากสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งโรงพยาบาลเด็ก ได้จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม ๓ ปี รวมทั้งจัดการสอบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จนถึงปัจจุบันนี้
 
สำหรับหลักการและเนื้อหาของการเรียนการสอนยังคงยึดหลักเน้นหลักทางด้านภาคปฏิบัติ (Clinical teaching) มากกว่าทฤษฏี ด้วยเหตุผลว่าโรงพยาบาลเด็กมีผู้ป่วยหลากหลาย ซึ่งมีคุณค่าสำหรับผู้ที่ขวนขวายหาความรู้และความสามารถศึกษาด้วยตนเอง โดยมีแพทย์ประจำ (Staff) เป็นอาจารย์ที่คอยให้คำแนะนำดูแล และควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด โรงพยาบาลเด็กจึงนับได้ว่า เป็นผู้ริเริ่มการจัดให้แพทย์ประจำบ้านทำการศึกษาโรคต่าง ๆ โดยแพทย์ประจำบ้านปีที่ ๓ จะต้องทำการศึกษาคนละ ๑ เรื่อง โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาหรือร่วมวิจัย อาจเป็นการศึกษาระบาดวิทยา (descriptive epidemiology) หรือ การรายงานผู้ป่วย ซึ่งการวิจัยนี้ได้ทำมาก่อนแพทยสภาจะจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของ การศึกษาและอบรมเพื่อวุฒิบัตร
 
สำหรับชั่วโมงการบรรยายทางด้านทฤษฏีนั้น ได้จัดตามหลักสูตรของแพทยสภา วิชาที่ทางโรงพยาบาลเด็กขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะเชิญอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมาบรรยายเพิ่มเติม ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอมาจากโรงเรียนแพทย์ทุกแห่ง
 
เนื่องจากโรงพยาบาลเด็กเป็นโรงพยาบาลเฉพาะเด็ก จึงมีหน่วยงานต่าง ๆ รวมอยู่ในสถาบันเดียวกันที่ภาควิชากุมารเวชศาสตร์อื่น ๆ ไม่มี เช่น ฝ่ายศัลยกรรม, ฝ่ายศัลยกรรมกระดูก, ฝ่ายจักษุ และฝ่ายโสต ศอ นาสิก, ฝ่ายรังสีวิทยา, ฝ่ายทันตกรรม, ฝ่ายพยาธิวิทยา ห้องปฏิบัติการเพาะเชื้อ แบคทีเรีย และการตรวจ น้ำเหลืองวินิจฉัยโรค ซึ่งฝ่ายต่าง ๆ เหล่านี้จำทำให้แพทย์ประจำบ้านได้เรียนรู้โรคและความเปลี่ยนแปลงของโรคสาขาเหล่านั้นได้สะดวก
 
เมือปีพ.ศ.๒๕๒๒ หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขากุมารศัลยกรรม ได้รับการรับรองตามหลักสูตรแพทยสภา เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขากุมารศัลยศาสตร์ เป็นสถาบันแรกของประเทศไทย
 
บันทึกปัจจุบัน...
 
ปัจจุบันสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีจานวนเตียงผู้ป่วย ๔๓๕ เตียง สามารถรับผู้ป่วยในปีละ ๑๕,๐๐๐ ราย ผู้ป่วยนอกปีละ ๓๕๐,๐๐๐ ราย งานผ่าตัด ๕,๐๐๐ ราย โดยให้บริการส่งเสริมสุขภาพการเจริญเติบโตและพัฒนาการ การป้องกันโรคและให้การรักษาโรคโดยแพทย์เฉพาะทางโรคเด็กทุกสาขาและเป็นสถานที่ให้การรักษาในระดับตติยภูมิที่ส่งต่อมาจากทั่วประเทศ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีได้รับการรับรองกระบวนการคุณภาพจากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และผ่านการรับรองซ้ำอีก ๓ ครั้ง ครั้งล่าสุดเมือ ๒๒-๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๔
 
ในปีพศ.๒๕๔๗ ได้มีการปฏิรูประบบราชการและมีการปรับโครงสร้างหน่วยงานต่างๆ ในส่วนของกรมการแพทย์มีการกำหนดเป็นกรมวิชาการด้านการแพทย์ฝ่ายกายและการให้การสนับสนุนด้านวิชาการแก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้หน่วยงานภายใต้สังกัดเป็นสถาบันชั้นสูงและพัฒนาระบบบริการให้ถึงระดับตติยภูมหรือสูงกว่า และพัฒนาระบบศูนย์การแพทย์ต่างๆ ในระดับภูมิภาคของประเทศ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีมีการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคเด็กคือ
 
  1. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคหัวใจเด็ก ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจแบบครบวงจร โดยการตรวจวินิจฉัย ด้วยเครื่องเสียงสะท้อนหัวใจ การสวนหัวใจเพื่อการวินิจฉัยและรักษาในผู้ป่วยเด็กทุกอายุตั้งแต่ทารกแรกเกิด ให้การรักษาโดยการผ่าตัดหัวใจชนิดเปิดทุกประเภท ความเป็นเลิศเฉพาะทางรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจมากที่สุดในประเทศและรับส่ง – ต่อ มากกว่า ๑,๕๐๐ ราย/ปี หรือ ร้อยละ ๙๐ ของผู้ป่วยทั้งหมด
  2. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไข้เลือดออก เป็นผู้นำในการทำแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกและองค์การอนามัยโลก(โครงการ WHO Collaborative ด้านไข้เลือดออก) ได้นาไปเผยแพร่ทั่วโลก ประเทศที่ไปให้ความช่วยเหลือและสามารถลดอัตราป่วยตาย ของผู้ป่วยไข้เลือดออกลงได้อย่างมาก เช่น บังคลาเทศ ภูฏาน บราซิล กัมพูชา เคปเวอร์ด อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย มัลดีฟ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ซูดาน ติมอร์เลสเต เวเนซูเอลา เวียดนาม
  3. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านทารกแรกเกิด รักษาผู้ป่วยทารกแรกเกิดระดับตติยภูมิและสูงกว่าที่ส่งต่อจากโรงพยาบาลทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคเฉลี่ยกว่า ๑,๒๐๐ รายต่อปี และทารกแรกเกิดที่มีความพิการกำเนิดน้ำหนักน้อย <๑,๕๐๐ กรัม มากที่สุดในประเทศ สามารถช่วยเหลือให้พ้นวิกฤติและมีชีวิตรอด ๙๔ % โดยผลลัพธ์มีความพิการน้อยที่สุด
  4. ศูนย์ความเป็นเสิศด้านศัลยกรรมทารกแรกเกิด ได้มีการจัดตั้งในปี พศ ๒๕๔๓ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งศูนย์เป็นศูนย์กลางรับ-ส่งต่อและให้บริการด้านศัลยกรรมแก่ทารกแรกเกิดแห่งแรกของประเทศโดยผ่าตัดปีละ๔๐๐-๕๐๐ ราย

     
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
 
 
 
มีวิสัยทัศน์ก้าวสู่การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กในระดับมาตรฐานสากล และให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศของความเป็นมิตร (Clinical Excellence and Children Friendly Hospital) มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการทางการแพทย์ด้านโรคเด็ก โดยการศึกษา วิจัย ถ่ายทอดความรู้พัฒนาบุคลากรเฉพาะทางและบำบัดรักษาผู้ป่วยด้านโรคเด็กเพื่อให้มีการบริการทางการแพทย์ด้านโรคเด็กที่มีมาตรฐาน โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
 
  • ศึกษา วิเคราะห์วิจัย และพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ด้านโรคเด็ก
  • ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านโรคเด็กแก่สถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชน
  • จัดให้มีบริการเพื่อรองรับการส่งต่อผู้ป่วยเฉพาะทางด้านโรคเด็ก
  • ให้การเพิ่มพูนความรู้และทักษะการปฏิบัติงานด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการ แพทย์ด้านโรคเด็กแก่แพทย์และบุคลากรทางด้านสุขภาพในสถานบริการทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
  • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

งานด้านการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาองค์ความรู้ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ด้านโรคเด็ก
 
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และวิจัยทางวิชาการเฉพาะทางด้านโรคเด็ก ซึ่งถือเป็นภารกิจหลักอันสำคัญ ของสถาบันในการสร้างองค์ความรู้ และวิทยาการด้านโรคเด็กใหม่ๆ ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถทำการดูแลและรักษาผู้ป่วยเด็กในระดับตติยภูมิได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี สามารถผลิตผลงานทางวิชาการลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทั้งของในประเทศและต่างประเทศ รวมกว่า80เรื่องต่อปี สร้างงานวิทยานิพนธ์ของแพทย์ประจำบ้านกว่า 464 เรื่อง นอกจากนี้ยังผลิตบทความทางวิชาการเกี่ยวกับเด็ก และโรคของเด็กรวมทั้งผลิตตำราวิชาการ เพื่อนักศึกษาแพทย์ แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และบุคลากรทางสาธารณสุขอีกมากมาย สำนักวิจัยและพัฒนาเป็นผู้รับผิดชอบงานด้านต่าง ๆโดยแบ่งเป็น
 
  • งานประเมินเทคโนโลยี (Technology Assessment)
  • งานพัฒนามาตรฐาน แนวทางการรักษา (Clinical Practice Guideline)
  • งานวิจัยทางการแพทย์อื่นๆ เกี่ยวกับโรคเด็ก
  • งานถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านโรคเด็ก
 
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้การศึกษา และฝึกอบรมแก่แพทย์ เพื่อให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขาที่รับผิดชอบ ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการแพทย์ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้ผลิตกุมารแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เพื่อไปปฏิบัติหน้าที่ทั่วประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 531 คน นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ดูงานของบุคลากรทางการแพทย์จากสถานพยาบาล ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก
 
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ยังทำหน้าที่ช่วยสนับสนุนและประสานงาน ทางด้านวิชาการให้แก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน โดยสนับสนุนวิทยากร เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเด็กและโรคที่เกิดขึ้นกับเด็ก รวมทั้งจัดทีมงานร่วมออกตรวจราชการพร้อมหน่วยงานอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุขในฐานะนักวิชาการตลอดจนการจัดทำสื่อคู่มือเผยแพร่ทางด้านโรคเด็กต่างๆ ผ่านหนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์
 
สานฝันสู่อนาคต....
 
ปีพ.ศ. ๒๕๕๓ โรงพยาบาลได้รับอนุมัติงบประมาณไทยเข้มแข็งในการก่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางโรคเด็ก ๒๗ ชั้น เพื่อขยายงานการดูแลผู้ป่วยเฉพาะทางโรคเด็ก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานชื่อว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษามหาราชินี (ศุนย์การแพทย์เฉพาะทางโรคเด็ก)” ในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยอาคารนี้จะเป็นศูนย์ความเป็นเลิศและศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะทางโรคเด็กจำนวน ๖ ศูนย์คือ ศูนย์ความเป็นเลิศโรคไข้เลือดออก ศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษจักษุวิทยา ศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษ กุมาร โสต ศอ นาสิก ศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษโรคอุบัติใหม่ ศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษโรคมะเร็งเด็ก ศูนย์เชี่ยวชาญพิเศษเด็กพิการ และมีคลินิกเฉพาะทางโรคเด็ก ๑๐ คลินิกได้แก่ โรคต่อมไร้ท่อ ทารกแรกเกิดกลุ่มเสียง โรคไต โภชนาการ โรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ โรคผิวหนัง โรคภูมิแพ้และโรคข้อ จิตเวชเด็กและวัยรุ่น พัฒนาการช้า โรคพันธุกรรม นอกจากนั้นยังมีศูนย์วิจัย และแลกเปลี่ยนกับสถาบันนานาชาติ ห้องประชุม และสำนักงาน
 
โครงการเด่นและสืบสานสู่อนาคตของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
 
  • โครงการร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศร่วมกับKure Medical Center ประเทศญี่ปุ่น
  • โครงการความร่วมมือกับประเทศสหรัฐอเมริกาในการทำศัลยกรรมตกแต่งให้เด็กปากแหว่งเพดานโหว่
  • โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กประเทศเยอรมันนี(โครงการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศด้านการดูแลรักษาเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวด้วยการผ่าตัดและฟื้นฟูสมรรถภาพ)
  • โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับ National Hospital of Pediatrics (HNP)ประเทศเวียตนาม
  • โครงการปฏิบัติการระดับชาติเพื่อวางแผนป้องกันและดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย (Thailand National Plan for Prevention & Care of Birth Defects)
  • โครงการ Building Healthy Kids (ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ปลอดสารพิษ สร้างคุณภาพชีวิตและอนาคตเด็กไทย)
  • โครงการจิตอาสาเพื่อเด็กป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย:สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต ๑๓
  • โครงการโรงพยาบาลที่เป็นมิตรกับเด็ก


ความภาคภูมิใจในบุคลากร คือรางวัลที่ได้รับและจารึกไว้
 
  1. รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชานุสรณ์แด่ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โดยระยะเวลา 18 ปีที่ผ่านมามีแพทย์สตรีคนไทยเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลคือ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงสุจิตรา นิมมานนิตย์ ในสาขาการแพทย์ ประจำปี พ.ศ.2539
  2. รางวัล Charles C. Shepard Science Award ด้านผลงานทางวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี ค.ศ.2000 จากศูนย์ควบคุมป้องกันโรคแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา รองศาสตรจารย์(พิเศษ)นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์
  3. รางวัลประกาศนียบัตรรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล Re-Accreditation ครั้งที่3 จากสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
  4. รางวัลประกาศเกียรติคุณที่มีความมุ่งมั่นและความพยายามพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง จากกรมการแพทย์
  5. รางวัลที่มุ่งมั่นพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่องสามารถบรรลุองค์ประกอบศูนย์ความเป็นเลิศทุกด้านของกรมการแพทย์ในระดับดีเลิศ
     
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีให้การดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กมานานมากกว่า ๕๘ ปี มีบุคคลากรทั้งหมด ๑,๖๐๐ คน พร้อมที่จะผลักดันพัฒนางานอย่างไม่หยุดนิ่ง เพื่อนำพาคุณภาพชีวิตของเด็กไทยให้เป็นอนาคตของประเทศไทยที่เข้มแข็งต่อไป