ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร

Institute of Geriatric Medicine, DMS, MOPH, Thailand

Logo

วันเวลาทำการ : วันจันทร์ - วันศุกร์ 08.30 - 16.30 น. ดูแลผู้สูงวัย รักษาคุณค่าอันยิ่งใหญ่ เป็นหลักชัยของครอบครัวและสังคม

ที่อยู่/ติดต่อ
88/23 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรสาร : 02-591-8277

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร
 วิสัยทัศน์
องค์กรหลักของประเทศ ในการเสริมสร้างงานวิชาการด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ และวิทยาการผู้สูงวัย รองรับสังคมสูงวัยที่มีคุณภาพ อย่างเสมอภาค
 
พันธกิจ
สร้างและถ่ายทอดผลงานวิชาการด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุและวิทยาการผู้สูงวัยให้ทุกภาคส่วนนำไปใช้ป้องกันดูแลรักษาฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ  และผลักดันสู่การกำหนดนโยบายระดับชาติ
 
ยุทธศาสตร์
1. การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการสุขภาพผู้สูงวัย
2. การนำส่งองค์ความรู้ด้านสุขภาพผู้สูงวัยสู่นโยบายและการปฏิบัติ
3. การพัฒนาการบริหารจัดการสถาบันฯ สู่ความเป็นเลิศ


สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
 
ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุแก่สถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
 
จัดให้มีบริการทางการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาวิชาการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ
 
ให้การเพิ่มพูนความรู้และทักษะการปฏิบัติงานด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุแก่แพทย์และบุคลากรทางด้านสุขภาพในสถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
 
กำกับและดูแลการดำเนินงานของโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี
 
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
 
ประวัติความเป็นมา

      โครงการสุขภาพผู้สูงอายุในประเทศไทยได้เริ่มขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2505 ขณะนั้นศาสตราจารย์นายแพทย์ประสพ รัตนากร ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลประสาท ต่อมา เดือนมีนาคม พ.ศ. 2506 ได้มีการจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุขึ้นเป็นครั้งแรกที่โรงพยาบาลประสาทเช่นกัน
 
      จากนโยบายรัฐบาลในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ กำหนดนโยบายด้านสาธารณสุข ทั้งหมด 66 ข้อ ส่วนข้อที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ คือ ข้อ ๑ ความว่า “จะเร่งรัดการดำเนินงาน โครงการสาธารณสุขมูลฐานด้วยการจัดบริการให้ประชาชนในระดับหมู่บ้าน และระดับตำบลที่ยังไม่ได้รับบริการดังกล่าวให้มีโอกาสใช้บริการ ป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาลเบื้องต้น ทั้งนี้จะให้การสงเคราะห์ผู้มีรายได้น้อยและผู้สูงอายุด้านการรักษาพยาบาลเป็นพิเศษ โดยจะประสานความร่วมมือภาคเอกชนด้วย” ปี พ.ศ. 2523 – 2524 กระทรวงสาธารณสุขจึงได้แต่งตั้งคณะทำงาน และคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุซึ่งได้ดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ไว้หลายด้าน คือ การอบรมแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ การประชุมวิชาการ สนับสนุนการจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุและชมรมผู้สูงอายุขึ้นตามโรงพยาบาลต่าง ๆ การบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ให้ความรู้แก่ประชาชน และริเริ่มการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
 
      กรมการแพทย์ เป็นกรมวิชาการที่มีบทบาทด้านผู้สูงอายุมาตลอด ในระหว่างวันที่ 5 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 ได้ร่วมกับองค์การอนามัยโลกจัดให้มีการสัมมนาระดับชาติครั้งที่ 6 เรื่อง บริการสุขภาพผู้สูงอายุ ณ โรงแรมอินทรารีเยนต์ กรุงเทพมหานคร ผลจากการสัมมนาทำให้ทราบถึงข้อมูล และปัญหาของผู้สูงอายุในประเทศไทย การให้บริการสุขภาพผู้สูงอายุทั้งในและต่างประเทศ
 
      วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ส่วนคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิ และองค์กรเอกชน จำนวน 25 ท่าน ในคณะกรรมการชุดนี้ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานอนุกรรมการ 2 คณะ คือ คณะที่ 1 คณะอนุกรรมการ ศึกษาวิจัย และวางแผนระยะยาวที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ และคณะที่ 2 คณะอนุกรรมการประสานงานบริการสุขภาพผู้สูงอายุ
 
      วันที่ 26 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2525 องค์การสหประชาชาติจัดให้มีการประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ (World Assembly on Aging) ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เรื่องวิชาการและการยกร่าง แผนปฏิบัติการนานาชาติเกี่ยวกับผู้สูงอายุ (International Plan of Action on Aging) ผู้เข้าประชุมทั้งสิ้น 119 ประเทศทั่วโลก สำหรับประเทศไทยนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าคณะ และรองอธิบดีกรมการแพทย์ เป็นผู้แทนจากประเทศไทยเข้าร่วมประชุม ผลจากการประชุมครั้งนี้ได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกกำหนดนโยบาย และจัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับผู้สูงอายุ
 
       เดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 มีการจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่องบทบาทองค์กรต่าง ๆ ในการวางแผนระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุแห่งชาติ ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลสงฆ์ มติจากการสัมมนาครั้งนี้ได้ใช้เป็นแนวทางในการ จัดทำแผนระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2525 – 2545 ซึ่งเป็นแผนแม่บทสำหรับใช้เป็นแนวทางใน การจัดทำแผนปฏิบัติการ 5 ด้าน คือ
 
ด้านคุณภาพอนามัย
ด้านการศึกษา
ด้านความมั่นคงของรายได้
ด้านสังคมวัฒนธรรม
ด้านสวัสดิการสังคม
      เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2529 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายด้าน สาธารณสุข ทั้งหมด 32 ข้อ ส่วนข้อที่เกี่ยวข้องกับบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุคือ ข้อ 2 ความว่า “สนับสนุน กิจกรรมการให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนทั้งที่ดำเนินการโดยรัฐและองค์กรเอกชนอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง ในสภาพที่ดำเนินการโดยรัฐจะจัดบริการให้เปล่าสำหรับผู้สูงอายุ เด็กและผู้มีรายได้ต่ำ” และ แผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2530 – 2534) มีนโยบายให้กรมการแพทย์ ขยายงานด้าน สาธารณสุขมูลฐานไปยังประชาชนทุกพื้นที่ให้เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อ โดยบรรจุไว้ในแผนฯ 6 เพื่อสนองนโยบายให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด และได้กำหนดเป็นโครงการต่าง ๆ ทั้งหมด 15 โครงการ งานผู้สูงอายุเป็นหนึ่งในนั้น
 
      จากนโยบายนี้ และการสัมมนาระดับชาติครั้งที่ 2 เรื่องบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพมหานคร วันที่ 25 – 26 เมษายน พ.ศ. 2533 ผลจากการสัมมนาได้กำหนดกลวิธีการบริการสุขภาพ ผู้สูงอายุต่าง ๆ เช่น การรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า การจัดทำบัตรประจำตัวผู้สูงอายุ การลดภาษีรายได้ผู้ดูแล ผู้สูงอายุ การจัดหน่วยงานรับผิดชอบงานผู้สูงอายุ ผู้บริหารกรมการการแพทย์โดย นายแพทย์วิฑูร แสงสิงแก้ว รองอธิบดีกรมการแพทย์ และนายแพทย์สุจินต์ ผลากรกุล อธิบดีกรมการแพทย์ในสมัยนั้น จึงได้เสนอ และสนับสนุนให้มีการจัดตั้งคณะทำงานโครงการจัดตั้งสถาบันผู้สูงอายุขึ้น ตามคําสั่งที่ 89/2533 ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2533 โดยมีนายแพทย์ใหญ่กรมการแพทย์ (นายแพทย์อานันท์ สุคนธานารมย์ ณ พัทลุง) เป็นประธานคณะทำงาน คณะทำงานได้สรุปมติสำคัญคือให้ชื่อว่า “สถาบันพัฒนาสุขภาพและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุแห่งชาติ” เป็นหน่วยงานระดับกองสังกัดกรมการแพทย์
 
      วัตถุประสงค์ทั่วไป เป็นสถาบันระดับชาติสำหรับเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาวิชาการด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ และเป็นแกนนำในการประสานงานการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุของประเทศเพื่อให้ผู้สูงอายุไทยมีสุขภาพอนามัยและอายุยืน
 
      วัตถุประสงค์เฉพาะ เป็นแกนกลางในการศึกษาวิจัยด้านเวชศาสตร์ และระบาดวิทยาผู้สูงอายุ เพื่อหารูปแบบการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข การฝึกอบรมแก่บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารและถ่ายทอดเทคโนโลยี การเชื่อมโยงระบบส่งต่อผู้ป่วยกับโรงพยาบาลของรัฐ โดยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำในการบริการรักษาพยาบาลระดับต่าง ๆ แก่ผู้สูงอายุ
 
       ปี พ.ศ. 2534 เริ่มมีการจัดสรรงบประมาณสำหรับบริการทางการแพทย์ และสาธารณสุขแก่ผู้สูงอายุ และเริ่มมีการจัดทำบัตรประจำตัวผู้สูงอายุ ตลอดจนการจัดตั้งคลินิกผู้สูงอายุ และชมรมผู้สูงอายุทั่วประเทศ
 
       ช่วงแผนพัฒนาการสาธารณสุข ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535 – 2539) กรมการแพทย์ได้แบ่งส่วนราชการขึ้นใหม่ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2535 โดยจัดตั้งสถาบันพัฒนาสุขภาพ และเวชศาสตร์ผู้สูงอายุเป็นหน่วยงานระดับทองขึ้นเป็นการภายใน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาวิชาการด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ และเป็นแกนนำในการประสานงานการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุ พร้อมทั้งรัฐบาลได้ประกาศนโยบายอย่างชัดเจนให้มีการสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล แก่ผู้สูงอายุโดยให้รับบัตรสงเคราะห์ในการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง ต่อมาได้มีการจัดสัมมนาระดับชาติครั้งที่ 1 เรื่องการประสานแผนบริการสุขภาพผู้สูงอายุ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 26 – 27 เมษายน พ.ศ. 2536 ผลจากการสัมมนาได้มีมติ และข้อเสนอแนะให้มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ให้มีการใช้บัตรผู้สูงอายุทั่วประเทศ และมีหน่วยงานสำหรับดำเนินการด้านผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เพื่อศึกษาด้านวิชาการและข้อมูลข่าวสาร ให้มีการประชาสัมพันธ์ และพัฒนาบุคลากรด้านผู้สูงอายุ
 
      ปี พ.ศ. 2534 โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ณ วัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี โดยสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในโอกาสจะมีพระชนม์ครบรอบ 50 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษาโรคเบื้องต้น และฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้สูงอายุและการพัฒนาทางวิชาการทางการแพทย์ด้านผู้สูงอายุ
 
      ปี พ.ศ. 2537 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขขึ้นใหม่ และได้จัดตั้ง “สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ” เป็นหน่วยงานระดับกอง ซึ่งรับผิดชอบงานด้านผู้สูงอายุโดยมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุยืนยาว และมีความสุข ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 21 ก หน้า 7 – 16 ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ต่อมาได้รับมอบให้เป็นแกนกลางในการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มี พระราชบัญญัติ ผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2546 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 120 ตอนที่ 130 ก ลงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 กฎหมายใช้บังคับ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 และได้ร่วมดำเนินการจัดทำแผน ผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 – 2564)
 
      ปี พ.ศ. 2552 เป็นวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษาประกอบกับองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้เป็นปีสากลว่าด้วยผู้สูงอายุ รัฐบาล องค์กรเอกชน และสถาบันสังคมต่าง ๆ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ได้รับมอบให้เป็นแกน กลางในการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีปฏิญญาผู้สูงอายุ เป็นพันธกรณีเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2546 นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) พร้อมผู้แทนพรรคการเมือง 9 พรรคได้ลงนาม ประกาศปฏิญญาผู้สูงอายุไทย และในปีนั้นกรมการแพทย์ได้ประสานกับหน่วยงานในสังกัดกรมการแพทย์จัดทำโครงการสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุ เนื่องในปีผู้สูงอายุสากล ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ตามคำประกาศเชิญชวนขององค์การสหประชาชาติในปีผู้สูงอายุสากล และในวโรกาสอันเป็นมหามงคลสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 เจริญพระชนมายุครบ 6 รอบ 72 พรรษา และได้ดำเนินการโครงการเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า 100 ปี เป็นโครงการต่อเนื่อง โดยให้การอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ให้บริการเชิงรุกหน่วยแพทย์บริการตรวจตา หู ฟัน ตรวจฟื้นฟูความพิการ
 
      ในปี พ.ศ. 2555 นั้น อธิบดีกรมการแพทย์ แพทย์หญิงวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ มีนโยบายให้ใช้ตึกกรมการแพทย์ 6 เป็นที่ตั้งใหม่ของสถาบันฯ และให้ดำเนินโครงการพัฒนาสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จ พระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ ในอาคารกรมการแพทย์ 6 โดยการจัดตั้งศูนย์ให้บริการคลินิกเวชศาสตร์ ผู้สูงอายุและเป็นสถานบริบาลต้นแบบ (Day Health Center) เพื่อให้บริการดูแลกลางวันผู้สูงอายุที่เป็นบิดา มารดา ของบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุข ผู้สูงอายุ โดยจะมีบริการตรวจโรคเรื้อรัง คลินิกเฉพาะทาง บริการทันตกรรม บริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก บริการฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งสามารถใช้เป็นศูนย์วิจัย และพัฒนาความรู้เรื่องผู้สูงอายุ (Research and Development Center) ศูนย์การฝึกอบรมและถ่ายทอด เทคโนโลยีด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (Training Center) ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข ทั้งภาครัฐ และเอกชน ศูนย์อ้างอิงด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (Reference Center) ตลอดจนเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านวิชาการของหน่วยงาน และบุคลากรทางการแพทย์ และการฝึกอบรมให้แพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (Geriatric Medicines) แพทย์ทั่วไป พยาบาล และบุคลากรของสาธารณสุขด้วยความร่วมมือกับศูนย์สิรินธรฯ สถาบันทันตกรรม และกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก
 
    ปัจจุบันมีหน่วยงานภายใต้โครงสร้างของสถาบันฯ ซึ่งกระจายตัวอยู่ในหลายสถานที่ได้แก่ สำนักงานผู้อำนวยการ และสำนักงานด้านวิชาการ (Research and Development Center, Training Center และ Reference Center) ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 อาคาร 4 ตึกกรมการแพทย์ ส่วนบริการที่อยู่ที่อาคารกรมการแพทย์ 6 ได้ปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์นวัตกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ และในส่วนภูมิภาคคือโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ ชลบุรี
 
     ในปี พ.ศ. 2563 สถาบันฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อสร้างอาคารสถาบันฯ แห่งใหม่ขึ้นบริเวณใกล้กับอาคารกรมการแพทย์ 6 เป็นอาคาร 4 ชั้น ขนาด 6,765 ตารางเมตรซึ่งประกอบด้วยส่วนบริการ สำนักงานสถาบันฯ ห้องจัดแสดงนวัตกรรมด้านผู้สูงอายุ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพและสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ ศูนย์ประชุมและฝึกอบรม และสำนักงาน ASEAN Center for Active Ageing and Innovation โดยอาคารดังกล่าวได้รับการออกแบบโดยกรมศิลปากร ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยใช้มาตรฐาน Universal Design เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ เพื่อเป็นอาคารต้นแบบในการรองรับสังคมสูงวัยทั้งด้านอาคารสถานที่และบริการ