ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลกลาง

extended content image
extended content image
 
โรงพยาบาลกลาง สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
514 ถนนหลวง ป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 0-2220-8000

Facebook โรงพยาบาลกลาง

 

ประวัติโรงพยาบาลกลาง

ในปี พ.ศ. 2432 ได้มีโรงพยาบาลเกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งรักษาโรคทางกายทั่วไป และโรงพยาบาลเสียจริต หรือโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาในปัจจุบัน รักษาผู้ป่วยโรคทางจิต เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นประชาชนอยู่กันอย่างแออัด ไม่มีการจัดระเบียบที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่ายHighet.gif
 
ดังนั้นในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2440 สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ผู้สำเร็จราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศพระราชกำหนดสุขาภิบาลขึ้นเพื่อป้องกันโรคภัยและความสะอาดของบ้านเมือง โดยได้แต่งตั้ง นายแพทย์ พี.เอ. ไนติงเกล เป็นพนักงานแพทย์ใหญ่สุขาภิบาล ดูแลความสะอาดและป้องกันโรคภัยให้กับประชาชน และแต่งตั้งกัปตัน เยคาตอง เป็นนายช่างใหญ่สุขาภิบาล ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2440
 
หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อนุญาตให้สร้างโรงพยาบาลสำหรับรักษาหญิงโสเภณีในวันที่ 24 พฤษภาคม 2441 เพื่อป้องกันโรคติดต่อที่เกิด
 
 
โรงพยาบาลพลตระเวน
 
กับประชาชนขึ้นที่หลังวัดพลับพลาไชย โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2441
 
เมื่อสร้างเรือนโรงพยาบาลเสร็จ กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลไม่มีงบประมาณ ในการดำเนินการต่อ โรงพยาบาลกรมพลตระเวนหรือโรงพยาบาลตำรวจในขณะนั้น ซึ่งมีเตียงรับผู้ป่วยเพียง12 เตียงเท่านั้น ได้มาขอเช่าเรือนโรงพยาบาลที่จะใช้รักษาหญิงโสเภณีของกรมสุขาภิบาล ซึ่งยังตอนนั้นยังไม่ได้เปิดให้บริการ   ดังนั้นเรือนโรงพยาบาลแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า โรงพยาบาลกรมพลตระเวน เปิดให้บริการแก่พลตระเวนและผู้ป่วยจากคดีต่างๆ ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2443 โดยมีการเพิ่มเตียงรับผู้ป่วยเป็น 36 เตียง หลังจากเปิดให้บริการ ปรากฏว่าไม่เพียงแค่พลตระเวนและผู้ป่วยจากคดีต่างๆที่มารับการรักษาเท่านั้น แต่ยังมีพลเรือนมารับการรักษาอีกด้วยจึงทำให้งบประมาณที่ได้จากกระทรวงนครบาล ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ
 
 
โรงพยาบาลกลางวันนี้
 
ปัจจุบัน โรงพยาบาลกลางมีอายุครบ 121 ปี เป็นสถานที่ให้บริการบำบัดรักษาผู้ป่วย สร้างเสริมสุขภาพอนามัย และป้องกันโรค ตลอดจนส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ และปฏิบติงานร่วมกับส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับมอบหมาย โดยได้มีการปรับปรุงพัฒนาการบริการให้ทันสมัย โดยเน้นบริการที่ดีเลิศ (Bast Service) ตลอดจนปรับปรุงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและบรรยากาศทั้งภายในอาคารและรอบโรงพยาบาลให้ดีขึ้นเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้รับบริการ ตลอดจนตอบสนองนโยบายของรัฐ ในการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมี ประสิทธิภาพ โดยการสร้างอาคารอเนกประสงค์ 20 ชั้น เพื่อทดแทนอาคารเก่า ด้วยเงินงบประมาณ 780  ล้านบาท โดยได้รับพระราชชื่ออาคารแห่งนี้ว่า...
 
"อาคารอนุสรณ์ 100 ปี"
 
 
นโยบาย
 
ด้านบริหาร
พัฒนาให้เป็นระบบบริหารเชิงคุณภาพรวมทั้งองค์กร
 
ด้านบริการ
ใช้นโยบายการสนองตอบความต้องการของประชาชนผู้มารับบริการ
 
ด้านวิชาการ
พัฒนาบุคคลให้มีศักยภาพสูงขึ้น เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม จนเป็นองค์กรเรียนรู้
 
 
ขอบเขตบริการ (Scope of service)
 
 
โรงพยาบาลกลางเป็นสถานพยาบาล ตติยภูมิ ให้บริการทางการแพทย์โดยมีขอบเขตดังนี้
 
1. ให้บริการรักษาพยาบาล
2. ให้บริการส่งเสริมสุขภาพ
3. ให้บริการฟื้นฟูสมรถภาพ
4. ให้บริการป้องกันโรค
5. ให้บริการทางวิชาการ โดยเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานของแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว นิสิตแพทย์ และนักศึกษาพยาบาล
 
 
โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย
 
  • ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
  • ประชาชนในเขต Catchments area ตามระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค
  • ผู้ประกันสังคมที่ลงทะเบียนไว้กับโรงพยาบาล
  • ผู้ป่วยส่งต่อ ทั้งในระบบและนอกระบบการส่งต่อ ที่มีเครือข่ายบริการในสังกัดกรุงเทพมหานคร
 
 
การบริการในโรงพยาบาล
 
  • การบริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอก คลินิกต่าง ๆ
  • การบริการผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
  • การบริการผู้ป่วยที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล
  • บริการให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย
  • การบริการของศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี การให้คำปรึกษาครอบครัว
  • การบริการของหน่วยสนับสนุนการรักษา ( เช่น เอกซเรย์ lab หน่วยไตเทียม หน่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟู ฯลฯ )
  • การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารการบริการต่าง ๆ
  • การจัดสวัสดิการและการอำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ ( เช่น ที่จอดรถ การจัด รปภ. ดูแลความปลอดภัย การบริการน้ำดื่ม ห้องสุขา ป้ายบอกทาง ฯลฯ )