ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Chulalongkorn University Dental Hospital

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
34 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

content image1
คลินิกพิเศษ
เป็นคลินิกที่ให้บริการทางทันตกรรมแบบครบวงจร ทั้งทันตกรรมทั่วไป(อุดฟัน ขูดหินน้ำลาย ถอนฟัน) และทันตกรรมเฉพาะทาง ในระดับสากล กับประชาชนทั่วไป โดยคณาจารย์ของคณะทันตแพทย์ศาสตร์ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และทันตแพทย์ทั่วไป ภายใต้การทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัย การบริการที่รวดเร็วและมีคุณภาพ ทั้งยังได้ขยายขอบข่ายของการบริการทันตกรรมเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ประชาชนให้สามารถเลือกใช้บริการตามสะดวก ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีทางทันตสารสนเทศมาใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพการบริการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ
 
 
การให้บริการ
 
ให้บริการผู้ป่วยทางทันตกรรมทั่วไป และทันตกรรมเฉพาะทางในทุกสาขา ได้แก่ ผ่าฟันคุด ทำฟันปลอม รักษารากฟัน จัดฟัน ทันตกรรมสำหรับเด็ก ทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ โดยเปิดให้บริการดังนี้
 
วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-12.00 น., 13.00-16.00 น., 17.00-20.00 น.
วันเสาร์ เวลา 09.00-12.00 น., 13.00-16.00 น., 16.30-19.30 น.
วันอาทิตย์ เวลา 09.00-12.00 น., 13.00-16.00 น.
ปิดให้บริการ วันพุธบ่าย 13.00-16.00 และวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดชดเชย


หออภิบาลผู้ป่วย

ให้การดูแล รักษา ส่งเสริม ฟื้นฟู ผู้ป่วยศัลยกรรมในช่องปากและใบหน้า ตั้งแต่อายุ 3 เดือนจนถึงวัยผู้สูงอายุ ที่จำเป็นต้องนอนพักรักษาในโรงพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมงตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย ตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ และปลอดภัย เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานของทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาศัลยศาสตร์และแม็กซิโลเฟเชียล
 
การบริการ ดังนี้
 
ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ที่เป็นโรคทางศัลยกรรมในช่องปากและใบหน้า
ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินทางทันตกรรม / ผู้ป่วยนัดตรวจติดตามผลโรคทางศัลยกรรมในช่องปากและใบหน้านอกเวลาราชการ
ให้บริการผู้ป่วยห้องพิเศษ 8 ห้อง และสามัญ 12 เตียง
สถานที่ตั้ง อาคารสมเด็จย่า 93 ชั้น 3

 

ศูนย์ความเป็นเลิศและคลินิกเฉพาะทาง

1. คลินิกทันตกรรมบริการ
บริการทางทันตกรรม ดูแล รักษา ผู้ป่วยที่เป็นนิสิตจุฬา บุคลากรจุฬาฯ และครอบครัวบุคลากรจุฬาฯ
 
การให้บริการ
เปิดบริการในเวลาราชการ ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 8.45 - 12.00 น. และ 13.00-16.00 น. โดยให้บริการดังนี้
 
ให้บริการทางทันตกรรมทั่วไป และทันตกรรมเฉพาะทางสาขาทันตกรรมสำหรับเด็ก ทันตกรรมจัดฟัน วิทยาเอ็นโดดอนท์ ให้แก่ นิสิต บุคลากรปัจจุบัน บุคลากรที่เกษียณอายุ และครอบครัวของบุคลากรจุฬาฯ (โดยนิสิตจุฬาได้รับส่วนลด 30% และบุคคลากรจุฬาฯได้รับส่วนลด 10% และนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์จุฬาฯ ได้รับบริการฟรี)
สถานที่ตั้ง อาคารสมเด็จย่า 93 ชั้น 1


 
2. คลินิกทันตกรรมเฉพาะทาง  3
ให้บริการตรวจ วินิจฉัย รักษา ฟื้นฟูสภาพ และส่งเสริมป้องกันการเกิดโรคทางทันตกรรมโดยทันตแพทย์ทั่วไป นิสิตหลังปริญญา และคณาจารย์ ให้แก่ผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุที่ได้รับการวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ว่าเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถแพร่เข้าสู่ผู้อื่นได้ ได้แก่ HIV, โรคไวรัสตับอักเสบ, วัณโรค เป็นต้น
 
การให้บริการ
ให้บริการทางทันตกรรมทั่วไปทุกงานยกเว้นศัลยปริทันต์ และจัดฟันแก่ผู้ป่วยติดเชื้อ โดยเปิดให้บริการในวันและเวลาราชการ จันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 9.00-16.00 น.
 
สถานที่ตั้ง อาคารสมเด็จย่า 93 ชั้น 3


 
3. คลินิกทันตกรรมผู้สูงอายุ
ให้บริการดูแล รักษา ส่งเสริม ฟื้นฟู ผู้ป่วยทางทันตกรรม เฉพาะทางสาขาทันตกรรมผู้สูงอายุ อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย ภายใต้มาตรฐานวิชาชีพ และเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานของนิสิต ทันตแพทย์ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาทันตกรรมผู้สูงอายุและการดูแลผู้ป่วยพิเศษ
 
การให้บริการ
บริการรักษาทางทันตกรรมในเวลาราชการ จันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น. - 12.00 น. และ 13.00 น. - 16.00 น. โดยให้บริการดังนี้
1. ให้บริการรักษาทางด้านทันตกรรมทั่วไป และทันตกรรมเฉพาะทางแก่ผู้ป่วยสูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ที่มีความพิการ ทุพพลภาพ หรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ แบบองค์รวม
2. ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินและติดตามผลการรักษาทางทันตกรรมผู้สูงอายุ
 
สถานที่ตั้ง อาคารสมเด็จย่า 93 ชั้น 8


 
4. คลินิกความผิดปกติของใบหน้าตั้งแต่กำเนิด
ให้บริการดูแล รักษา ส่งเสริม ฟื้นฟูทางด้านทันตกรรมจัดฟันในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของใบหน้าแต่กำเนิด เช่น ผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ ผู้ป่วยกลุ่มอาการ Syndorme คือผู้ป่วยซึ่งมีความผิดปกติแต่กำเนิดของอวัยวะ ตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไปซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยได้จากลักษณะทางคลินิกเช่น ใบหน้าเบี้ยว คางยื่น มีการสบฟันผิดปกติ
 
การให้บริการ
เปิดให้บริการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในเวลาราชการ ตั้งแต่ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 น.-12.00 น. และ 13.00 น.-16.00 น. ยกเว้น พุธบ่าย โดยให้บริการดังนี้
1. ให้บริการรักษาทางด้านทันตกรรมจัดฟันแก่ผู้ป่วย ซึ่งมีความผิดปกติของใบหน้าแต่กำเนิดตั้งแต่แรกเกิด และ กลุ่มผุ้ป่วยที่มีการสบฟันผิดปกติ
2. ให้บริการรักษาทางด้านทันตกรรมแก่ผู้ป่วยเฉพาะทางสาขาจัดฟันในผู้ป่วยที่มีปากแหว่งเพดานโหว่
3. ให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉิน ในกรณีที่มีอุปกรณ์ในการจัดฟันหลุด
4. ติดตามและประเมินผลการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในผู้ป่วยที่มีปากแหว่งเพดานโหว่และผู้ป่วยที่มีการสบฟันผิดปกติ
 
สถานที่ตั้ง อาคารสมเด็จย่า 93 ชั้น 3


 
5. คลินิกทันตกรรมบูรณะช่องปากและใบหน้า
ให้บริการดูแล รักษา ส่งเสริม ฟื้นฟู ผู้ป่วยที่มีความพิการในช่องปากและบริเวณใบหน้า ด้วยฟันปลอม เครื่องมือปิดรูโหว่ในช่องปาก และอวัยวะเทียมชนิดที่ยืดด้วยด้วยกาวหรือหมุดฝั่งกับผู้ป่วย
 
การให้บริการ
บริการรักษาทางทันตกรรมในเวลาราชการ จันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น. - 12.00 น. และ 13.00 น. - 16.00 น. โดยให้บริการดังนี้
 
ให้บริการใส่อวัยวะเทียมแก่ผู้ป่วยที่สูญเสียบริการช่องปากและใบหน้า อันเนื่องมากจากความพิการแต่กำเนิด ความเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ และบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการใส่อวัยวะเทียม
ให้บริการผู้ป่วยที่มีความเร่งด่วนในงานบูรณะช่องปากและใบหน้า
ติดตามผลการรักษาผู้ป่วยงานบูรณะช่องปากและใบหน้า
สถานที่ตั้ง อาคารสมเด็จย่า 93 ชั้น 3


 
6. คลินิกทันตกรรมรากเทียม
ให้บริการดูแล รักษา 
สถานที่ตั้ง อาคารสมเด็จย่า 93 ชั้น 8
 

Facebook โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 สิทธิต่างๆ
สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า
สิทธิการรักษาสำหรับผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถขอรับบริการด้านทันตกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรม ดังต่อไปนี้ การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูน การทำฟันเทียมฐานพลาสติก การรักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม และการใส่เพดานเทียมในเด็กปากแหว่งเพดานโหว่ โดยรักษาต้องรักษาที่โรงพยาบาลตามสิทธิที่ท่านอยู่ ถ้ารักษาต่างโรงพยาบาลต้องมีหนังสือส่งตัวระบุโรงพยาบาลที่ส่งต่อชัดเจน เว้นแต่ผู้รับการรักษาใช้สิทธิผู้พิการไม่ต้องขอหนังสือส่งตัว
 
สิทธิสำหรับข้าราชการ (ระบบเบิกจ่ายตรง)
สำหรับข้าราชการมีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการสำหรับตนเอง บิดาและมารดา คู่สมรส และบุตร กรณีบุตรนั้นให้ไม่เกิน 3 คน เรียงลำดับก่อนหลัง โดยต้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือบรรลุนิติภาวะแต่เป็นผู้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถที่อยู่ในอุปการะเลี้ยงดูของข้าราชการ (ไม่รวมบุตรบุญธรรมและบุตรที่ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมผู้อื่น) หากบุตรคนใดตายลงก่อนบรรลุนิติภาวะให้สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับบุตรคนถัดไปแทนได้ (กรณีบุตรมากกว่า 3 คน) การเบิกค่าบริการทันตกรรม สามารถเบิกได้ตามอัตราไม่เกินกว่าที่กรมบัญชีกลาง กำหนดไว้ ดังนี้
- การอุดฟัน
- การถอนฟัน
- การผ่าฟันคุด, การผ่าตัดอื่นๆ เกี่ยวกับช่องปากและขากรรไกร
- การรักษาโรคปริทันต์
- การรักษารากฟัน
- การแก้ไขการสบฟันที่ผิดปกติ
- การเคลือบฟลูโอไรด์ทั้งปาก
- การใส่เฝือกฟัน
- การฟอกสีฟันที่ตายแล้ว
การใส่เครื่องมือปิดช่องเพดานโหว่ (สอบถามราคาได้ที่หน่วยบริการทันตกรรมของรัฐทุกแห่ง)
โดยนำใบเสร็จจากสถานพยาบาลของรัฐ ไปเบิกจากหน่วยงานต้นสังกัดของท่าน หรือ ท่านทำบัตรระบบจ่ายตรง (on line) ณ สถานพยาบาลของรัฐที่ท่านทำการรักษาอยู่ ภายใน 1 ปีนับจากวันที่ระบุในใบเสร็จ แต่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ในกรณี เคลือบหลุมร่องฟัน, ฟอกสีฟันมีชีวิต, ใส่เครื่องมือจัดฟันทุกกรณี ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป ข้าราชการสามารถเบิกค่าใช้จ่ายการใส่ฟันเทียมพลาสติกถอดได้ และครอบฟัน (ดูกำหนดราคาได้ที่สถานพยาบาลของรัฐ) แต่ไม่สามารถเบิกจ่ายตรง ต้องสำรองจ่ายเงินแล้วนำใบเสร็จไปเบิกคืนภายหลัง
 
สิทธิบุคลากรและนิสิตคณะอื่นๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ค่ารักษาพยาบาล จะเสียในราคาในราคาระดับ3 โดยมีส่วนลดให้ 10 เปอร์เซนต์ สำหรับบุคลากร และส่วนลด30 เปอเซนต์สำหรับนิสิต จุฬาฯ ส่วนบุคลากรที่เป็นข้าราชการสามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงได้
 
สิทธิบุคลากรและนิสิตในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีสวัสดิการการรักษาสำหรับนิสิตและบุคลากรของคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มาวิทยาลัย สามารถสอบถามได้ที่คลินิกทันตกรรมบริการ การเงิน หรือประชาสัมพันธ์ (ชั้น1 อาคารสมเด็จย่า 93)
 
สิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมของสิทธิต่างๆ
 ประวัติความเป็นมา
โรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2499 (ซึ่งในขณะนั้นคือ โรงพยาบาลโรคฟัน คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์) และได้รับเงินจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเพื่อซื้อรถยนต์ขนาดใหญ่สำหรับเป็นหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ของโรงพยาบาลทันตกรรม ต่อมาในวาระที่คณะทันตแพทยศาสตร์ ได้ก่อตั้งมาครบ 50 ปี ในปี พ.ศ. 2533 และเป็นปีมหามงคลที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  ทรงมีพระชนมายุ 90 พรรษา  คณะฯ ได้จัดสร้างอาคารเพื่อเป็นโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์หลังใหม่ขึ้น  เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี “พระมารดาแห่งการทันตแพทย์ไทย” ซึ่งอาคารหลังนี้จัดเป็นโรงพยาบาลทางทันตกรรมแห่งแรกของประเทศไทย  ที่ให้การรักษาผู้ป่วยด้านทันตกรรม และศัลยกรรมช่องปาก กระดูกขากรรไกรและใบหน้า รวามทั้งโรคอื่นๆ ภายในช่องปากอย่างครบวงจร และนอกจากนี้ยังได้จัดสร้างพระรูปหล่อสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประดิษฐานไว้ ณ โถงชั้น 2 ของอาคารด้วย (ปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่ที่ลานด้านข้างอาคาร) ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ในโวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระชนมายุครบ 93 พรรษา คณะทันตแพทยศาสตร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ท่าน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม อาคารโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์นี้ว่า “อาคารสมเด็จย่า 93” โดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีเปิด “อาคารสมเด็จย่า 93” เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2539” 
 
อาคารสมเด็จย่า 93 ซึ่งเป็นโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ เป็นโรงพยาบาลขนาด 40 เตียงบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะทางด้านศัลยกรรมช่องปากและแม็กซิโลเฟเชียลแบบครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย ประกอบด้วยหน่วยบูรณะช่องปากและใบหน้า หน่วยความผิดปกติของใบหน้าแต่กำเนิด (ปากแหว่ง-เพดานโหว่) หน่วยทันตกรรมผู้สูงอายุ หน่วยทันตกรรมรากเทียม หน่วยผู้ป่วยติดเชื้อ รวมทั้งเป็นสถานที่เรียนและปฏิบัติงานคลินิกของนิสิตทุกสาขาวิชา เป็นที่ตั้งของภาควิชาทันตกรรมหัตถการ ปริทันตวิทยา พยาธิวิทยา รังสีวิทยา คลินิกทันตกรรมบริการ คลินิกรังสี คลินิกตรวจเวชศาสตร์ช่องปาก เวชระเบียน ศูนย์วิจัยชีววิทยาช่องปาก และห้องประชุมสี สิริสิงห ซึ่งเป็นห้องประชุมขนาด 450 ที่นั่ง และห้องประชุมท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ซึ่งมีขนาด 65 ที่นั่ง