ประวัติโรงพยาบาลคลองหอยโข่ง
โรงพยาบาลคลองหอยโข่ง (ยุวสมาคมแห่งประเทศไทย) ตั้งอยู่เลขที่ 21 หมู่ที่ 1 ตำบล คลองหอยโข่ง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ในปี งบประมาณ 2533 ได้มีคณะราษฎร์ ในอำเภอคลองหอยโข่งโดยการนำทีมขอนายเชวงศักดิ์ บำรุงศักดิ์ กำนันอำเภอคลองหอยโข่งและนายเรียง รองสวสดิ์ ผู้ใหญ่บ้านที่ 1 ตำบลคลองหอยโข่งตลอดจนคณะกรรมการสภาตำบล ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในด้านการรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย จึงได้คิดจัดการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลขึ้นในที่ดินสาธารณสุขประโยชน์ (ป่าช้า) บ้านจอมหลำ บนเนื้อที่ 23 ไร่ 3 งาน 36 ตารางวา เมือได้เตรียมพื้นที่ก่อสร้างแล้ว ทางกรรมการสภาตำบล และผู้นำท้องถิ่นดังกล่าว ได้ประสานไปยังสมาคมเจ.ชีย์(JAYCEES THAILAND) หรือยุวสมาคมแห่งประเทศไทยเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง โดยให้บริษัทอิตาเลี่ยนไทย ดีเวลลอปเมนท์ คอปเรชั่น จำกัดทำหน้าที่รับเหมาก่อสร้าง โดยแล้วเสร็จเมือ ปี 2533
ในปี 2535 ทางยุวสมาคมแห่งประเทศไทย ได้ส่งมอบอาคารโรงพยาบาลให้กับจังหวัดสงขลา เมื่อจังหวัดสงขลาได้รับแจ้งการส่งมอบอาคารดังกล่าวจึงได้ประสานไปที่กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต่อมาได้รับการบรรจุอยู่ในแผนจะก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียง
ในปี 2536 จึงเห็นควรรับมอบอาคารดังกล่าวเพื่อจัดตั้งเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียง แล้วค่อยพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง โดยให้ทางจังหวัดดำเนินการในเรื่องสิทธิ์ที่ดินให้ถูกต้องตามระเบียบราชการ และได้รับชื่ออย่างเป็นทางการว่าโรงพยาบาลคลองหอยโข่ง (ยุวสมาคมแห่งประเทศไทย)
ปี 2537 ได้มีการปรับปรุงสิ่งก่อสร้างงานปลัดสาธารณสุขได้แจ้งให้กองแบบแผนดำเนินการสำรวจเพื่อสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงโรงพยาบาล
ปี 2539 นายแพทย์เสรี สมเศรษฐ (นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลาในสมัยนั้นได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้พิจารณาจัดสรรเจ้าหน้าที่มาอยู่ประจำเพื่อเปิดบริการรักษาพยาบาลในรูปแบบสถานีอนามัยจำนวน 6 คนดังนี้
- นางเครือวัลย์ รัตนาวิน พยาบาลวิชาชีพ 6
- นางวรรัตน์ พลูจันทร์ พยาบาลวิชาชีพ 5
- นางนภาพร ประยูรสัมพันธ์ พยาบาลวิชาชีพ5
- นายไชยา นิภานันท์ นักวิชาการสุขาภิบาล 5
- นายวีระพงค์ ประกอบการ ลูกจ้างประจำตำแหน่งยาม
- นาย อาทร อุบลวรรณ ลูกจ้างประจำตำแหน่งคนสวน
โดยมอบหมายให้นางเครือวัลย์ รัตนาวิน รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลคลองหอยโข่ง (ยุวสมาคมแห่งประเทศไทย) คนแรก
ปี 2540 ทางจังหวัดสงขลาได้จัดสรรพิจารณาอัตรากำลังเรื่อยๆตามลำดับ ได้มอบหมายให้ นายณภัทร พชรพฤทธิภากร มาทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลคลองหอยโข่ง
ปี2541 ทางจังหวัดสงขลาได้มีการรับย้ายแพทย์หญิงสุภาณี โลหะปราน มาปฏิบัติหน้าที่ประจำพร้อมทั้งมอบหมายให้รักษาการโรงพยาบาลคลองหอยโข่งจนกระทั่งปลายปีงบประมาณ 2541 จึงได้ลาออกจากราชการไปศึกษาต่อ ขณะเดียวกัน ทางจังหวัดสงขลาพิจารณาจัดสรรแพทย์มาช่วยปฏิบัติงานเพิ่มเติมอีก 1 คน คือ นายแพทย์สมศักดิ์ ปริชาตินนท์จากโรงพยาบาลจะนะมาอยู่ประจำพร้อมทั้งแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลคลองหอยโข่ง
กลางปี 2542 โรงพยาบาลได้มีการขยายบริการเพิ่มเติม เป็นอุบัติเหตุฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมทั้งให้บริการผู้ป่วยในครั้งแรกตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ต่อมาในปีงบประมาณ 2544 กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดสรรงบประมาณให้ทำการก่อสร้างรั้วรอบอาคารรั้วเดิมป้อมยามจึงถึกรื้ออกไป โดยทางกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดตั้งเป็น โรงพยาบาลชุมชน โดยมีเงื่อนไข 2 ประการดังนี้
ขอให้ทางจังหวัดสงขลา ดำเนินการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาติต่อองค์พระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เพื่อเป็นศิริมงคลต่อทางจังหวัดสงขลาและยุวสมาคมแห่งประเทศไทย
ทางยุวสมาคมแห่งประเทศไทย ขอใช้ชื่อและสถานที่อาคารบางส่วนเพื่อใช้ในการหารายได้ในการชำระค้าและพื้นที่อาคารบางส่วน สลักชื่อของทางยุวสมาคมแห่งประเทศไทยและผู้บริจาคเงิน
สถานที่ตั้ง
โรงพยาบาลคลองหอยโข่ง ตั้งอยู่เลขที่ 21 ม.1 ต.คลองหอยโข่ง อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา 90230