ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

Fort Somdej Phranaresuan Maharaj Hospital

Logo

ทะเบียนการแพทย์: 055-245-070 ถึง 9 ต่อ 73027 บริการตรวจโรคทั่วไป: 055-282-823

ที่อยู่/ติดต่อ
9 หมู่ 1 ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000

✅ รับบัตรทอง
✅ รับประกันสังคม [คลินิกเครือข่าย]

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

  • อายุรกรรม
  • ศัลยกรรมทั่วไป
  • ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
  • หู คอ จมูก ภูมิแพ้
  • กุมารเวช
  • ศัลยกรรมกระดูกและข้อ
  • จักษุ
  • จิตเวช
  • สูติ-นรีเวช
  • แพทย์แผนจีน (ฝังเข็ม)
  • ทันตกรรม
  • ศูนย์โรคหัวใจ
  • คลินิกโรคไต
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • นวดแผนไทย
  • รังสีกรรม
  • ร้านยาสวัสดิการ
  • พยาธิวิทยา
  • ผิวหนัง
บริการออนไลน์

 ประวัติโรงพยาบาล

 
ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๔ ซึ่งเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ จทบ.พ.ล. หรือค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปัจจุบันคงมีแต่หน่วยทหารอยู่ ๑ กองพัน คือ ร.๔ พัน.๒ ส่วนหน่วยสายแพทย์ก็มีเพียง มว.พยาบาล จทบ.พ.ล. (ร.อ.ประจวบ วัชรปาน เป็น ผบ.มว.) และหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีหน่วย มว.สร.ร.๔ พัน.๒ เป็นหน่วยแพทย์ที่ได้รับการปรับย้ายเพิ่มเติม โดยมี ร.ต.ประวัติ สาชลวิจารณ์ และ ร.ต.จิต ภักดีอาษา เป็น ผบ.มว.และ รอง ผบ.มว.ตามลำดับ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๑ มว.พยาบาล จทบ.พ.ล.ได้รับการปรับขยายเป็นกองพยาบาล ชั้น ๓ (ผบ.กอง เป็นอัตรา พ.ต.)
 
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยการนำของ พ.อ.เยื้อง คชภักดี นายแพทย์ใหญ่ กองทัพภาคที่ ๓ ได้ดำริจะสร้างตึกกองพยาบาล เนื่องจากได้พิจารณาเห็นว่าในค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีกำลังพลและครอบครัวจำนวนมาก มีผู้บังคับบัญชาระดับแม่ทัพภาค (พล.ท.ประพันธ์ กุลพิจิตร) และกองพลประจำอยู่ในพื้นที่ ประกอบกับสภาพอาคารสถานที่ของหมวดพยาบาล จทบ.พ.ล.ชำรุดทรุดโทรมมาก เพราะสร้างมาตั้งแต่ ปี ๒๔๖๕ และหน่วยสายแพทย์ในพื้นที่ขณะนั้น มี ๕ หน่วย คือ พัน.สร.ที่ ๔, มว.สร.ร้อย.บก.ทภ.๓, มว.สร.ร้อย.บก.พล.๔, มว.สร. (มว.๓) ร้อย.สร.ผส.๔ และ มว.พยาบาล จทบ.พ.ล. ซึ่ง ทภ.๓ ได้แต่งตั้งให้ พ.อ.เยื้อง คชภักดี พญ.ทภ.๓ เป็นผู้บังคับหน่วยเสนารักษ์รวมอีกตำแหน่งหนึ่ง
 
 
เมื่อวันที่ ๑๖ ธ.ค.๒๕๐๕ พล.ต.ขุนปทุม โรคประหาร ผู้ชำนาญกองทัพบกในขณะนั้น ได้รับการเชิญจาก ทภ.๓ ให้เดินทางมาเยี่ยมค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (จากการรายงานเสนอแนะของ พ.อ.เยื้อง คชภักดี ต่อ มทภ.๓) หลังจากการเยี่ยมแล้ว พล.ต.ขุนปทุม โรคประหาร ได้เสนอ มทภ.๓ ว่า การทำงานของหน่วยแพทย์ที่มีลักษณะคล้ายโรงพยาบาล น่าจะจัดตั้งเป็นโรงพยาบาลเสียเลย โดยในขั้นแรกจะจัดหาเครื่องเอ๊กซเรย์มาให้ก่อน ขอให้กองทัพสร้างอาคารเอ๊กซเรย์ให้ด้วย พล.ต.ขุนปทุม โรคประหาร ได้รับพระรูปจำลองสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จาก มทภ.๓ กับได้ไปถวายสักการะที่ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ศาลวังจันทน์(บริเวณโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม)อันเป็นสถานที่ทรงพระราชสมภพ ด้วยพระอภินิหารแห่งดวงพระวิญญาณขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ดลใจให้ พล.ต.ขุนปทุม โรคประหาร ได้ความคิดในการก่อสร้างโรงพยาบาล โดยหาเงินจากการจำหน่ายแผ่นภาพติดตามรอยพระยุคลบาทขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (โดย พล.ต.ขุนปทุมฯ จะเป็นผู้เขียนเอง)
 
การจัดตั้งหน่วย เนื่องจาก รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ถือกำเนิดมาจาก มว.พยาบาล จทบ.พ.ล. ตั้งแต่ปี ๒๔๘๘ ซึ่งเป็นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ และได้รับการปรับขยายอัตราและพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนมีชื่อได้รับพระราชทานเป็น “โรงพยาบาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ตั้งแต่ ๒๕ ม.ค.๒๕๐๗ ซึ่งน่าจะถือได้ว่า “๒๕ ม.ค. ๒๕๐๗” เป็นการจัดตั้งหน่วยเนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวขั้นต้นไม่สามารถจัดหาหลักฐานอ้างอิงได้ และถือเอา วันที่ ๒๕ ม.ค. ของทุกปี เป็นวันสถาปนาของหน่วยตลอดมา
 
คำสั่งการจัดตั้งหน่วย วันที่ ๑๔ ต.ค. ๒๕๐๗ ทบ.ได้อนุมัติให้เปลี่ยนอัตรา มว.พยาบาล จทบ.พ.ล. เป็น รพ.จทบ.พ.ล. อัตราเฉพาะกิจหมายเลข ๕๔๒๐ ตามคำสั่ง ทบ. (เฉพาะ) ที่ ๖๓ / ๒๕๐๗ ลง ๑๔ ต.ค. ๐๗ ซึ่งอัตราออกมาภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้เสร็จทรงวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลแล้ว เมื่อวันที่ ๒๕ ม.ค.๐๗ กับได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ชื่อว่า “โรงพยาบาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ตามหนังสือราชเลขาธิการ สำนักนายกรัฐมนตรี ด่วนมาก ที่ สร ๐๕๐๑/๑๖๒๑ ลง ๒๗ พ.ย. นับว่าเป็นโรงพยาบาลทหารบกในส่วนภูมิภาคแห่งแรกที่ได้รับโปรดเกล้าพระราชทานชื่อ
 
 
เมื่อวันที่ ๒๙ พ.ย.๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานชื่อโรงพยาบาลจากเดิม “โรงพยาบาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” เป็น “โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” เพื่อให้ตรงกับชื่อค่ายทหาร ตามแจ้งความกองทัพ เรื่อง พระราชทานชื่อโรงพยาบาลในค่ายทหาร ลงวันที่ ๑๔ ม.ค.๒๕๑๗
 
เมื่อวันที่ ๒๕ ก.ย.๒๕๑๗ กองทัพบก ได้แก้ไขอัตราโดยให้ รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งเป็น รพ.จทบ.พ.ล. ตำแหน่ง ผอ.รพ. อัตรา พ.ท. เป็น รพ.ขึ้นการบังคับบัญชาตรงต่อ ทภ.๓ อัตราเฉพาะกิจหมายเลข ๖๑๓๐ ตามคำสั่ง ทบ. (เฉพาะ) ที่ ๑๐๖/๑๗ ลง ๒๕ ก.ย.๒๕๑๗ เรื่อง แก้อัตรากองทัพบก (ครั้งที่ ๑๔) ตำแหน่ง ผอ.รพ. อัตรา พ.อ.พิเศษ และแก้ไขเพิ่มเติมครั้งสุดท้ายตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ลับ ที่ ๑๐๔/๓๕ ลง ๑๔ ส.ค.๓๕
 
ตามหนังสือ กบ.ทบ.ที่ ต่อ กห ๐๔๐๔/๑๓๖๒๖/๕๐ ลง ๕ ก.พ.๕๑ ผบ.ทบ. ได้อนุมัติแผนการจัดหางานก่อสร้างอาคาร รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ พื้นที่แห่งใหม่ใช้เงินรายรับสถานพยาบาล ทบ.ประจำปี ๒๕๕๑ และ ปี ๒๕๕๒ ในวงเงิน ๑๖๕,๐๕๗,๗๐๐.-บาท ซึ่งเป็นอาคารขนาด ๕ ชั้น เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโดยใช้ชื่อว่า “ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ” และ ผบ.ทบ.ได้อนุมัติให้ใช้เงินรายรับสถานพยาบาล รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ท้ายหนังสือ สปช.ทบ.ที่ ต่อ กห ๐๔๐๖/๒๓๐๐๔ ลง ๒๗ ก.ค.๕๒ เพื่อใช้ในการก่อสร้าง อาคารรักษาพยาบาล ขนาด ๓ ชั้น ในวงเงิน ๕๙,๓๔๓,๙๗๘.-บาท โดยใช้ชื่อ “ อาคารอำนวยการ ” และ รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้เคลื่อนย้ายกำลังพลพร้อมด้วยสิ่งอุปกรณ์สายแพทย์ทุกชนิดมาเปิดรักษาพยาบาลพื้นที่แห่งใหม่ เมื่อ ๑๐ ม.ค.๕๔
 
 
การปรับปรุงหน่วย แก้อัตรากองทัพบก ๒๕๑๓ (ครั้งที่ ๘) ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ ๕๐/๕๖ ลง ๑๑ ก.ย.๕๖ อฉก.หมายเลข ๖๑๓๐ จาก ผอ.รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (อัตรา พ.อ.(พ.)) เป็น (อัตรา พล.ต.), รอง ผอ.รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวร มหาราช (อัตรา พ.อ.) เป็น (อัตรา พ.อ.(พ.)) และเพิ่ม ผช.ผอ.รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (อัตรา พ.อ.)
 
เกียรติประวัติหน่วย การรับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล ไม่มี การรับพระราชทานบรมราชานุญาตเป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ ไม่มี วีรกรรมหรือการปฏิบัติงานที่สำคัญของหน่วยและกำลังพล การปฏิบัติการรบ ปี ๒๕๒๒ ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๒๒ – ๓๐ ก.ย.๒๓ รพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ส่งกำลังพลขึ้นปฏิบัติหน้าที่ โดยจัดชุดศัลยกรรมสนามสนับสนุน ในการปราบปราม ผกค. ในยุทธการเขาค้อ จำนวน ๑๕ คน
 
การปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม ชุดแพทย์เคลื่อนที่ ให้การบริการประชาชนผู้หลบหนีจากการสู้รบชาวพม่า พื้นที่สำนักสงฆ์ธรรมจาริก บ้านหนองบัว อ.ท่าสองยาง จว.ตาก วันที่ ๑๘ มิ.ย.๕๒ ชุดแพทย์เคลื่อนที่ “ หมออ่วมมาแล้ว ” ๑๖ มี.ค.๕๒ การฝึกสาธิต SAREX ๒๐๐๖ - การฝึกซ้อมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย - การสาธิตการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย - การอบรมทางวิชาการ ชุดแพทย์เคลื่อนที่ โครงการ “กองทัพบกเพื่อประชาชน ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ” การปฏิบัติงานพิเศษอื่นๆ การฝึกร่วมไทย – สหรัฐอเมริกา ทุกรอบ ๒ ปี
 
 
ประเพณีหรือกิจกรรมพิเศษของหน่วย - ทำบุญสรงน้ำพระในวันขึ้นปีใหม่ไทย (วันสงกรานต์) - บวงสรวงพระบรมอนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และบำเพ็ญกุศล ในวันสถาปนาหน่วย ๒๕ มกราคม ของทุกปี - จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาภายในหน่วยเพื่อความสามัคคี

คลินิกเครือข่ายประกันสังคม โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่มีสถานพยาบาล/คลินิกเครือข่ายประกันสังคม