ประวัติโรงพยาบาลด่านขุนทด
อำเภอด่านขุนทดมีสถานีอนามัยชั้น 1 (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปัจจุบัน) เพื่อบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในเขตอำเภอด่านขุนทดมานาน
ต่อ มาในปี พ.ศ.2518 นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์ ได้เสนอตัวเข้ามาทำงานในสถานีอนามัยแห่ง นี้ เมื่อมีแพทย์มาปฏิบัติงานสถานีอนามัยได้ยกระดับเป็นศูนย์การแพทย์และ อนามัย ต่อมาเจ้าหน้าที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทางศูนย์การแพทย์ได้ขยายสำนักงาน แบ่งออกเป็น ห้องคลอด , ห้องผ่าตัด , แผนกผู้ป่วยใน ในขณะเดียวกันทางกระทรวงสาธารณสุขได้เห็นความสำคัญของสถานบริการจึงได้อนุมัติงบประมาณในการสร้างโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง และได้ลงมือก่อสร้างในปี 2519
โรงพยาบาล ด่านขุนทดได้เปิดบริการตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2522 และได้ดำเนินการเรื่อยมาจน ถึงปัจจุบัน โดยยกระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง เนื่องจากอำเภอด่านขุนทด เป็นอำเภอใหญ่มีประชากรมาก ที่ทำการเกษตรกว้างไกลและห่างไกลจากตัวจังหวัดนครราชสีมา ทำให้มีประชาชนมารับบริการที่โรงพยาบาลด่านขุนทดเป็นจำนวนมาก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 โดยพระเทพปริยัติสุธี ( ท่านเจ้าคุณเสรี ) อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ
กรุงเทพฯ และหลวงพ่อคูณปริสุทฺโธ ( วัดบ้านไร่ ) เป็นผู้ริเริ่มที่ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในหลังใหม่ขึ้นเนื่องจากอาคารเดิม ที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการบริการ โดยได้รับความร่วมมือจากสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร นายประสาน ด่านกุล (สส.สมัยนั้น) ได้จัดสรรงบประมาณของจังหวัด นครราชสีมาให้โรงพยาบาลด่านขุนทด 1 ล้านบาท และนายสมบูรณ์ จิระมะกร (สส.สมัยนั้น) ได้จัดสรรงบประมาณมาอีก 4 แสนบาท รวม เป็นเงิน 1 ล้าน 4 แสนบาท ส่วนค่าก่อสร้างตึกผู้ป่วยในนั้นราคาประมาณ 7 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ จึงต้องหาเงินมาจากการบริจาคทั้งหมด ทั้งนี้เพราะกระทรวงฯไม่มีงบประมาณ จัดสรรให้ และด้วยความร่วมมือของข้าราชการ พ่อค้าประชาชนและห้างร้านบริษัท ต่างๆจึงทำให้การก่อสร้างสำเร็จลง
สถานที่ก่อตั้ง
โรงพยาบาลด่านขุนทด ตั้งอยู่ในบริเวณของสุขาภิบาลด่านขุนทด
อยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอด่านขุนทด มีเนื้อที่แบ่งเป็น 4 ส่วน
ส่วนแรกเนื้อที่ 12 ไร่ เป็นอาคารสำนักงานทั้งหมด
ส่วนที่ 2 เป็นบริเวณบ้านพัก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโรงพยาบาลมีเนื้อที่ 6 ไร่
ส่วนที่ 3 นั้นอยู่หลังที่ว่าการอำเภอด่านขุนทดมีเนื้อที่ 3 ไร่
ส่วนนี้เป็นสถานที่สร้างบ้านพักเจ้าหน้าที่ อาคารโรงซักฟอกและโรงรถ
ส่วนที่ 4 อยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำหนองกะจะมีเนื้อที่ 2 ไร่
เป็นบริเวณสร้างน้ำประปาสำหรับโรงพยาบาลโดยมีโรงสูบน้ำ กรองน้ำอยู่บริเวณนี้ทั้งหมด
สรุปแล้วเนื้อที่ของโรงพยาบาลรวมทั้งหมด 25 ไร่
รายนามผู้อำนวยการโรงพาบาลด่านขุนทด
พ.ศ.2518-2520 นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์
พ.ศ.2520-2522 นพ.บุญนำ ลิ้มมงคล
พ.ศ.2522-2531 นพ.สมบูรณ์ นันทานิช
พ.ศ.2531-2538 นพ.พิทยาคม พงศ์เวทย์พาณิชย์
พ.ศ.2538-2541 นพ.ดนัย อดุลยศักดิ์
พ.ศ.2541-2549 นพ.วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์
พ.ศ.2549-ปัจจุบัน พญ.ต้องตา ชนยุทธ
การดำเนินการเปิดอาคารต่างๆในโรงพยาบาลด่านขุนทด
อาคาร 60 พรรษาภูมิพลมหาราช เปิดบริการ ปี พ.ศ. 2533
อาคาร 36 พรรษาสมเด็จพระเทพฯ เปิดบริการ ปี พ.ศ. 2534
อาคาร 60 พรรษามหาราชินี เปิดบริการ ปี พ.ศ. 2537
กระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับโรงพยาบาลด่านขุนทด ดังนี้
ปี พ.ศ. 2522 โรงพยาบาลขนาด 30 เตียง ( อาคารเดิม )
ปี พ.ศ. 2533 โรงพยาบาลขนาด 60 เตียง ( เพิ่มอาคาร 60 ปี ภูมิพล )
ปี พ.ศ. 2537 โรงพยาบาลขนาด 90 เตียง ( เพิ่มอาคารสมเด็จพระเทพฯและอาคารสิริกิติ์ )
ปัจจุบัน โรงพยาบาลด่านขุนทด เป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง
แต่มีโครงสร้างสามารถยกระดับได้ถึง 120 เตียง
ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป
อำเภอด่านขุนทดมีสถานีอนามัยชั้น 1 (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอปัจจุบัน) เพื่อบริการด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในเขตอำเภอด่านขุนทดมานาน
ต่อมาในปี พ.ศ.2518 นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์ ได้เสนอตัวเข้ามาทำงานในสถานีอนามัยแห่งนี้ เมื่อมีแพทย์มาปฏิบัติงานสถานีอนามัยได้ยกระดับเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย ต่อมาเจ้าหน้าที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทางศูนย์การแพทย์ได้ขยายสำนักงานแบ่งออกเป็น ห้องคลอด , ห้องผ่าตัด , แผนกผู้ป่วยใน ในขณะเดียวกันทางกระทรวงสาธารณสุข ได้เห็นความสำคัญของสถานบริการจึงได้อนุมัติงบประมาณในการสร้างโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง และได้ลงมือก่อสร้างในปี 2519
โรงพยาบาลด่านขุนทดได้เปิดบริการตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2522 และได้ดำเนินการเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยยกระดับเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง เนื่องจากอำเภอด่านขุนทด เป็นอำเภอใหญ่มีประชากรมาก ที่ทำการเกษตรกว้างไกลและห่างไกลจากตัวจังหวัดนครราชสีมา ทำให้มีประชาชนมารับบริการที่โรงพยาบาลด่านขุนทดเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 โดยพระเทพปริยัติสุธี ( ท่านเจ้าคุณเสรี ) อดีตเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ กรุงเทพฯ และหลวงพ่อคูณปริสุทฺโธ ( วัดบ้านไร่ ) เป็นผู้ริเริ่มที่ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในหลังใหม่ขึ้นเนื่องจากอาคารเดิมที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการบริการ โดยได้รับความร่วมมือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายประสาน ด่านกุล (สส.สมัยนั้น) ได้จัดสรรงบประมาณของจังหวัดนครราชสีมาให้โรงพยาบาลด่านขุนทด 1 ล้านบาท และนายสมบูรณ์ จิระมะกร (สส.สมัยนั้น) ได้จัดสรรงบประมาณมาอีก 4 แสนบาท รวมเป็นเงิน 1 ล้าน 4 แสนบาท ส่วนค่าก่อสร้างตึกผู้ป่วยในนั้นราคาประมาณ 7 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจึงต้องหาเงินมาจากการบริจาคทั้งหมด ทั้งนี้เพราะกระทรวงฯไม่มีงบประมาณจัดสรรให้ และด้วยความร่วมมือของข้าราชการ พ่อค้าประชาชนและห้างร้านบริษัทต่างๆจึงทำให้การก่อสร้างสำเร็จลง
สถานที่ก่อตั้ง
โรงพยาบาลด่านขุนทด ตั้งอยู่ในบริเวณของสุขาภิบาลด่านขุนทด
อยู่ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอด่านขุนทด มีเนื้อที่แบ่งเป็น 4 ส่วน ส่วนแรกเนื้อที่ 12 ไร่ เป็นอาคารสำนักงานทั้งหมด ส่วนที่ 2 เป็นบริเวณบ้านพัก อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโรงพยาบาลมีเนื้อที่ 6 ไร่
ส่วนที่ 3 นั้นอยู่หลังที่ว่าการอำเภอด่านขุนทดมีเนื้อที่ 3 ไร่ ส่วนนี้เป็นสถานที่สร้างบ้านพักเจ้าหน้าที่ อาคารโรงซักฟอกและโรงรถ ส่วนที่ 4 อยู่ใกล้กับอ่างเก็บน้ำหนองกะจะมีเนื้อที่ 2 ไร่ เป็นบริเวณสร้างน้ำประปาสำหรับโรงพยาบาลโดยมีโรงสูบน้ำ กรองน้ำอยู่บริเวณนี้ทั้งหมด สรุปแล้วเนื้อที่ของโรงพยาบาลรวมทั้งหมด 25 ไร่
รายนามผู้อำนวยการโรงพาบาลด่านขุนทด
พ.ศ.2518-2520 นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์
พ.ศ.2520-2522 นพ.บุญนำ ลิ้มมงคล
พ.ศ.2522-2531 นพ.สมบูรณ์ นันทานิช
พ.ศ.2531-2538 นพ.พิทยาคม พงศ์เวทย์พาณิชย์
พ.ศ.2538-2541 นพ.ดนัย อดุลยศักดิ์
พ.ศ.2541-2549 นพ.วรัญญู สัตยวงศ์ทิพย์
พ.ศ.2549-ปัจจุบัน พญ.ต้องตา ชนยุทธ
การดำเนินการเปิดอาคารต่างๆในโรงพยาบาลด่านขุนทด
อาคาร 60 พรรษาภูมิพลมหาราช เปิดบริการ ปี พ.ศ. 2533
อาคาร 36 พรรษาสมเด็จพระเทพฯ เปิดบริการ ปี พ.ศ. 2534
อาคาร 60 พรรษามหาราชินี เปิดบริการ ปี พ.ศ. 2537
กระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับโรงพยาบาลด่านขุนทด ดังนี้
ปี พ.ศ. 2522 โรงพยาบาลขนาด 30 เตียง ( อาคารเดิม )
ปี พ.ศ. 2533 โรงพยาบาลขนาด 60 เตียง ( เพิ่มอาคาร 60 ปี ภูมิพล )
ปี พ.ศ. 2537 โรงพยาบาลขนาด 90 เตียง ( เพิ่มอาคารสมเด็จพระเทพฯและอาคารสิริกิติ์ )
ปัจจุบัน โรงพยาบาลด่านขุนทด เป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง
แต่มีโครงสร้างสามารถยกระดับได้ถึง 120 เตียง
การดำเนินการเปิดอาคารต่างๆในโรงพยาบาลด่านขุนทด
อาคาร 60 พรรษาภูมิพลมหาราช เปิดบริการ ปี พ.ศ. 2533
อาคาร 36 พรรษาสมเด็จพระเทพฯ เปิดบริการ ปี พ.ศ. 2534
อาคาร 60 พรรษามหาราชินี เปิดบริการ ปี พ.ศ. 2537
กระทรวงสาธารณสุขได้ยกระดับโรงพยาบาลด่านขุนทด ดังนี้
ปี พ.ศ. 2522 โรงพยาบาลขนาด 30 เตียง ( อาคารเดิม )
ปี พ.ศ. 2533 โรงพยาบาลขนาด 60 เตียง ( เพิ่มอาคาร 60 ปี ภูมิพล )
ปี พ.ศ. 2537 โรงพยาบาลขนาด 90 เตียง ( เพิ่มอาคารสมเด็จพระเทพฯและอาคารสิริกิติ์ )
ปัจจุบัน โรงพยาบาลด่านขุนทด เป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง
แต่มีโครงสร้างสามารถยกระดับได้ถึง 120 เตียง