ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลนคราภิบาล (โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)

โรงพยาบาลนคราภิบาล ชื่อใหม่ของโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร

extended content image
extended content image
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น โรงพยาบาลนคราภิบาล เป็นนามพระราชทานจากองค์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก อันมีความหมายว่า โรงพยาบาลเพื่อการอภิบาลรักษาประจำกรุงเทพมหานคร

ตารางการออกตรวจของแพทย์

extended content image
extended content image
หมายเหตุ
ตารางการออกตรวจของแพทย์ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ 
กรุณาโทรมานัดล่วงหน้าที่ 02-326-9995 ,02-326-7711,
โทร.BFC พบแพทย์ใน 60 นาที 02-327-3049

อาคารบริการ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร

extended content image
extended content image
โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร สำนักการแพทย์ ได้ย้ายฝั่งมาให้บริการทางฝั่งเดียวกันทั้งหมดแล้ว
content image1
 

Facebook โรงพยาบาลนคราภิบาล (โรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร)

 
 เดิมอำเภอลาดกระบัง มีสถานีอนามัย ชั้น 2 สังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ริมคลองประเวศบุรีรมย์ ตำบลลาดกระบัง อำกอลาดกระบัง จังหวัดพระนคร

ปี พ.ศ. 2502 นางทองคำ กิมสุนจันทร์ ได้บริจาคที่ดินเพื่อสร้างอำเภอลาดกระบัง สถานีตำรวจ และสถานีอนามัยชั้น 2 (ซึ่งเป็นที่ตั้ง โรงพยาบาลในปัจจุบัน) ตั้งอยู่ที่ 190 /15 หมู่ 1 แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงทพมหานคร สถานีอนามัยชั้น 2 จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็น สถานีอนามัยชั้น 1 ลาดกระบัง ซึ่งมีเตียงรับคนไข้ 10 เตียง โดยมีนายแพทย์ดุษฎี ไตรธรรม เป็นหัวหน้าสถานีอนามัย ต่อมา ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์การแพทย์และสถานีอนามัยลาดกระบัง
 
ปี พ.ศ. 2521 โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335/2515 ให้ศูนย์การแพทย์และสถานีอนามัยลาดกระบัง ซึ่งสังกัดกระทรวงสรารณสุข ไปขึ้นกับสำนักอนามัยกรุงทพมหานคร และเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์บริการสารารณสุข 45 ลาดกระบัง โดยมี นายแพทย์ประสงค์ เนียมประดิษฐ เป็นหัวหน้าศูนย์
 
ปี พ.ศ. 2529 กรุงเทพมหานคร ได้มีนโยบายที่จะขยายการให้บริการด้านการอนามัยและการรักษาพยาบาล แก่ประชาชนให้ครอบคลุมพื้นที่อย่างทั่วถึง เนื่องจากเขตลาดกระบังมีประชากรหนาแน่นขึ้น การคมนาคมไม่สะดวก เพราะเป็นเขตชานเมืองห่างไกลจากโรงพยาบาลในเขตชั้นใน คณะผู้บริหารกรุงทพมหานครได้ลงมติเห็นชอบให้ปรับปรุงศูนย์บริการสรรณสุข 45 ลดกระบัง เป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียงโดยใช้มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลชุมชนลาดกระบัง
 
ปี พ.ศ. 2530 การก่อสร้างปรับปรุงโรงพยาบาลชุมชนลาดกระบังแล้วเสร็จและดำเนินการรับผู้ป่วย ในวันที่ 1 มีนาคม 2531
 
ปี พ.ศ. 2532 คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร ได้มีมติเปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เนื่องจาก โรงพยาบาลลาดกระบัง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสำนักอนามัย กรุงทพมหานคร มีชื่อซ้ำซ้อนกับโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ทั้งที่ตั้งของโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่งอยู่ใกล้เคียงกัน อาจทำให้เกิดความสับสนความคลาดเคลื่อนในการติดต่อประสานงาน และอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร (โดยมีมติที่ประชุม ก.ก. ครั้งที่ / 2532) ให้เปลี่ยนชื่อโรงพยาบาลลาดกระบัง เป็น โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2532
 
ปี พ.ศ. 2538 ผู้บริหารกรุงทพมหานคร มีความเห็นว่าโรงพยาบาลลาดกระบัง-กรุงเทพมหานคร เป็นโรงพยาบาลรัฐแห่งเดียวในเขตชานเมือง ที่มีไว้ให้บริการประชาชน ประกอบกับมีจำนวนผู้มาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น เกินขีดความสามารถของโรงพยาบาลขนาด30 เตียง สมควรจะได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านกายภาพและศักยภาพ จึงมีมติให้โอนย้ายโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงทพมหานคร มาสังกัดสำนักการแพทย์เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2538 ตามมติคณะกรรมการกรุงเทพมหานคร(ก.ค.)
 
ปี พ.ศ. 2542 - ปัจจุบัน โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ได้ขยายขีดความสามารถเป็นโรงพยาบาลประเภททั่วไประดับทุติยภูมิ ขนาด 60 เตียง ประกอบด้วย หอผู้ป่วยหญิง 30 เตียง, หอผู้ป่วยชาย 20 เตียง, ห้องพิเศษ 6 ห้อง และหออภิบาลผู้ป่วยหนัก 4 เตียง โดยมีอาคารให้บริการตั้งอยู่บนเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน
ประกอบด้วยอาคารต่างๆ ดังนี้
  • อาคารพยาบาล (2 ชั้น) 1 หลัง
  • อาคารอำนวยการ (3 ชั้น) 1 หลัง
  • อาคารส่งเสริมสุขภาพ (2 ชั้น) 1 หลัง
  • อาคารอเนกประสงค์ (4 ชั้น) 1 หลัง
และอยู่ระหว่างขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 200 เตียงในอนาคต