ประวัติโรงพยาบาลบ้านบึง
พ.ศ. 2499
โรงพยาบาลบ้านบึง เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2499 ด้วยเงินการศึกษาสาธารณสุข (ก.ศ.ส.) ตำบลบ้านบึง โดยได้รับบริจาคที่ดินจาก นายหอย โอเจริญ เริ่มแรกเป็นสถานีอนามัยชั้น 1 มีอัตรา 4 คน โดยมี นายแพทย์ประสงค์ วีระไวทยะ เป็นแพทย์ประจำสถานีอนามัย
พ.ศ. 2501
ได้เปลี่ยนนายแพทย์ประจำสถานีอนามัยชั้น 1 เป็น นายแพทย์จำนงค์ ฉิมะพันธ์
พ.ศ. 2504
ได้เปลี่ยนนายแพทย์หัวหน้าสถานีอนามัยชั้น 1 เป็น นายแพทย์คม ป้องขันธ์
พ.ศ. 2510
ได้เปลี่ยนนายแพทย์หัวหน้าสถานีอนามัยชั้น 1 เป็น นายแพทย์บุญมาก มั่งมี
ระหว่างนี้ได้รับการบริจาคที่ดินเพิ่มเติมจาก นายอรุณ วัฒนานุกิจ กำนันตำบลคลองกิ่วและได้รับเงินงบประมาณก่อตั้งเป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย
พ.ศ. 2513
เปลี่ยนนายแพทย์ประจำศูนย์การแพทย์การอนามัย เป็น นายแพทย์ปวงพล ภัทรากร และเริ่มโครงการก่อสร้างตึกศูนย์การแพทย์และอนามัยแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2517
พ.ศ. 2520
ได้ขยายตึกคลอดโดยใช้เงินบำรุงก่อสร้างเพิ่มเติมเตียงคนไข้คลอดอีก 7 เตียง รวมทั้งหมดเป็น 17 เตียง โดยแยกเตียงคนไข้คลอดกับคนไข้ทั่วไน
พ.ศ. 2521
ได้เปลี่ยนนายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านบึง เป็น นายแพทย์สญชัย วัฒนา ได้ปรับปรุงตึกห้องคลอดเป็นห้องเอ็กซเรย์แล้วเสร็จเมื่อเดือน กันยายน 2523
ต่อมาโรงพยาบาลบ้านบึงได้ขยายเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง และได้ย้ายมาอยู่พื้นที่ใหม่ ซึ่งห่างจากโรงพยาบาลหลังเก่าประมาณ 1 กิโลเมตร เพื่อขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง และได้รับบริจาคที่ดินสมทบทุนจาก นางสาวองุ่น เฮ้งตระกูล 20 ไร่ คิดเป็นเงิน 6,000,000.- บาท และบริจาคเพิ่มอีก 10 ไร่เป็นเงิน 1,000,000.- บาท รวม 7,000,000.- บาท
ได้รับงบประมาณพัฒนาชนบท ของ ส.ส.ประโยชน์ เนื่องจำนงค์ 1.5 ไร่ คิดเป็นเงิน 300,000.- บาท
ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี (งบสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี)
5 ไร่ คิดเป็นเงิน 1,000,000.- บาท รวมทั้งสิ้น 9,000,000.- บาท
เริ่มก่อสร้างเมื่อ วันที่ 6 กันยายน 2525 เสร็จต้นเดือน มีนาคม 2526 และเข้ามาปฏิบัติราชการ ที่โรงพยาบาลบ้านบึงหลังใหม่ เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2526 พื้นที่ของโรงพยาบาลหลังใหม่ ประมาณ 30 ไร่ คิดเป็น 0.05 ตารางกิโลเมตร
เนื่องจากมีผู้ป่วยมารับบริการเป็นจำนวนมาก ประกอบการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ทางโรงพยาบาลบ้านบึงจำเป็นต้องขยายงานด้านบริการเพื่อรองรับ แต่กระทรวงสาธารณสุขไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะสนับสนุนดังนั้นคณะเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลบ้านบึงจึงได้ดำเนินการจัดหาเงินบริจาค มาดำเนินการขยายงานด้านบริการ ซึ่งมีผู้แสดงความจำนงบริจาคเงินเพื่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน ขนาด 30 เตียง
ในวงเงิน 4,000,000.- บาท คือ คุณพิพัฒน์ โรจนวณิชชากร
วันที่ 1 ธันวาคม 2531 เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในขนาด 30 เตียง ทำพิธียกเสาเอกในวันที่ 21 ธันวาคม 2531
โรงพยาบาลบ้านบึง ได้ดำเนินการขอรับบริจาคเงินสมทบทุนสร้างอาคารเพิ่มเติม ซึ่งมีผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาค จำนวน 1,000,000.- บาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน ให้แล้วเสร็จ โดยได้รับความอนุเคราะห์ จาก
– คุณทำรงค์ – คุณระรื่น เนื่องจำนงค์ 500,000.-
– ส.ส.ดรงค์ – คุณอารีย์ สิงห์โตทอง 300,000.-
– สมุห์ทิม – คุณบุญธรรม คงเมฆ 300,000.-
– คุณสมพงศ์ เกษตรภิบาล 300,000.-
ต่อมา คุณวนิดา โรจวณิชชากร แสดงความจำนงที่จะดำเนินการก่อสร้างต่อ โดยขอบริจาคในวงเงิน 3,000,000.- บาท และขอใช้ชื่ออาคารว่า “ดร.พิพัฒน์ โรจวณิชชากร” และเปิดให้บริการประชาชนในเดือน มิถุนายน 2533
ในเดือน กุมภาพันธ์ 2533 นายแพทย์นิมิตร ขัตติยะอุดมพร ย้ายมาดำรงตำแหน่ง เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านบึง
พ.ศ. 2538 – 2556
มี นายแพทย์จุมพล พบสุข เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านบึง
พ.ศ. 2556
นายแพทย์จุมพล เกษียณอายุราชการ นายแพทย์ฐิติกร ตรีเจริญ รักษาการแทนตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงพยาบาลบ้านบึง
1 พฤษภาคม 2556
แพทย์หญิงแววดาว พิมลธเรศ เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล
ที่มา : หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดโรงพยาบาลบ้านบึง และ ตึก ดร.พิพัฒน์ โรจวณิชชากร 17 สิงหาคม 2533