ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital

Logo

โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา เป็นโรงพยาบาลศูนย์เขตสุขภาพที่ 4 ขนาด 522 เตียง

ที่อยู่/ติดต่อ
46/1 หมู่ที่ 4 ถนน อู่ทอง อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
โทร 035-211888 และ 035-958666 โทรสาร 035-242182

✅ รับบัตรทอง
✅ รับประกันสังคม [คลินิกเครือข่าย]

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

 
 

ประวัติโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

หลังจากที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตไปแล้ว ในวันที่ 23 ตุลาคม 2453 ในปี พ.ศ. 2455 พระยาโบราณราชธานินทร์ ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลกรุงเก่าได้ร่วมกับข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ในมณฑลกรุงเก่ารวบรวมเงินเพื่อก่อสร้าง โรงพยาบาลปัญจมาธิราชอุทิศ ณ บ้านหอรัตนไชยริมน้ำขื่อหน้า เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
นับเป็นโรงพยาบาลแผนปัจจุบันแห่งแรกในมณฑลกรุงเก่าสังกัดเทศบาลพระนครศรีอยุธยาในกระทรวงมหาไทย โดยมี นายแพทย์จ๊วน รัตนิน ศัลยแพทย์ จากโรงพยาบาลศิริราช ชาวอำเภอผักไห่ มาเป็นผู้ปกครองโรงพยาบาล
 
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คุณหลวงพยุงเวชศาสตร์ อธิดีกรมสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับขุนเวชชรัตนรักษา(น.พ.จ๊วน รัตนิน)สาธารณสุขเทศบาลเมืองอยุธยาหาทำเลก่อสร้างโรงพยาบาลใหม่ ได้ลงมือก่อสร้างโรงพยาบาลใหม่ ได้ลงมือก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2483 เมื่อเริ่มแรกมีตึก OPD หลังแรกอยู่ตรงบริเวณตึกอุบัติเหตุเดิม ปัจจุบันเป็นบริเวณประมาณห้องยาใน มีหอผู้ป่วย 1 หลัง 2 ชั้นบนเป็นคนไข้หญิง ชั้นล่างเป็นคนไข้ชาย ต่อมาเป็นตึกกายภาพที่ชั้นล่าง และเวชกรรมสังคมที่ชั้นบนอยู่ตรง บริเวณประมาณห้องผ่าตัดเล็ก OPD ในปัจจุบัน มี อาคารไม้ 3 หลัง คือ โรงครัว ห้องเก็บศพ ห้องชันสูตร (ได้ถูกรื้อถอนไปหมดแล้ว)
 
 
พื้นที่โดยทั่วไป เป็นละเมาะต้นสาบเสือ ทางเดินในแต่ละตึกห่างไกลกัน และยังรกเวลาเดิน ไปตรวจคนไข้ยามค่ำคืน ต้องถือไม้เรียวคลำทางคอยไล่งู และสัตว์มีพิษในคืนเดือนหงายจะมีกระต่ายมาเต้นในสนามหญ้าหยองแหยงๆนอกจากนั้นยังมีสิงสาราสัตว์หลายชนิด เช่น เสือดาว เม่น หมูป่า ลิง ชะนี งูเหลือม งูหลามตัวโต ที่แอบเข้ามากินไก่ส่วนใหญ่คนไข้ที่มารับการตรวจรักษาจะเป็นคนในเกาะเมืองและชุมชนโดยรอบอยุธยา โดยจะมาทางเรือจอดที่ท่าน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วหามคนไข้จากริมแม่น้ำข้ามถนนอู่ทองเข้ามาที่ตึก OPD
 
 
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2486 กรมการแพทย์ โดยโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ได้ซื้อที่ดินจากชาวบ้าน จำนวน 3 งาน 70 ตารางวา แล้วขุดเป็นคลองจากแม่น้ำเข้ามาถึงริมถนนอู่ทอง เพื่อให้เรือของคนไข้เข้ามาใกล้ OPD มากขึ้น โดยไม่ต้องหามกันตั้งแต่ริมแม่น้ำเหมือนแต่ก่อน (ปัจจุบันที่ดินดังกล่าวยังเป็นของโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา และยังมีร่องรอยคลองขุดให้เรือนำคนไข้เข้ามาถึงถนนอู่ทองได้ยังปรากฏเป็นล่องน้ำกว้าง อยู่ใต้บ้านเรือนที่ปลูกสร้างคล่อมคลองนี้อยู่) โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ได้ค่อย ๆ พัฒนาตามลำดับมีอาคารหอผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นตามความจำเป็น แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอาคาร 2 ชั้น เช่น
 
ตึกพิเศษกิมลี้-กิจจาทร (2505) ตึกศัลยกรรม (พ.ศ.2510 ปัจจุบัน คือ หอผู้ป่วยเด็ก)
ตึกสงฆ์อาพาธ “เทพประชา” (2511)
ตึกโอสถ (อายุรกรรม พ.ศ.2514 ปัจจุบันคือ ตึกกายภาพและเวชกรรมสังคม)
ตึกเด็ก (พ.ศ.2514) ปัจจุบันคือ อาคารจันทร์เกษม (หอพักแพทย์)
ตึก ICU-2 ( พ.ศ. 2528)
ตึกแยกโรค ปัจจุบันคือ ห้องผู้ป่วย R.C.U. และ หอผู้ป่วย EENT
ตึกสูติ-นรีเวชกรรม (พ.ศ. 2535) ปัจจุบันคือตึกศรีสุริโยทัย
 
ในปี พ.ศ. 2533 สมัยรัฐมนตรีบุญพันธ์ แขวัฒนะ ส.ส. พระนครศรีอยุธยา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีดำริให้โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ปรับปรุงและรื้ออาคารอาคารเก่าๆปรับปรุงให้เป็นอาคารใหม่ทั้งหมดจึงได้ให้กองแบบแผนดำเนินการ ว่าจ้างบริษัทเอกชนเขียนแบบอาคารต่างๆใหม่ทั้งหมด เช่น อาคารเอนกประสงค์ (เฉลิมพระเกียรติฯ) อาคารหอผู้ป่วยศรีสุริโยทัย ,อาคารบริการ (ปัจจุบันคืออาคารศรีอโยธยา) , และปรับปรุงหอผู้ป่วยเก่าทั้งหมดไม่น้อยกว่า 10 หลัง , อาคารสูงทุกหลังมีทางเดินเชื่อมต่อกันหมด เช่น จากอาคารเฉลิมพระเกียรติเชื่อมไปอาคารบริการ “ศรีอโยธยา” ไปอาคารศรีสุริโยทัย เป็นต้น วงเงินทั้งสิ้น 550 ล้านบาท (ราคาใน พ.ศ. 2536) ผู้บริหารใน ขณะนั้นอัน นายแพทย์พจนาท สร้อยทอง ,นายแพทย์พิเชฐ จันทอิสสระ และ นายพิสิฏฐ์ วงศ์ทองเหลือได้ไปให้ข้อมูลแก่ สำนักงบประมาณหลายครั้ง แต่ปรากฏว่าก่อนที่ สำนักงบประมาณจะเสนอโครงการเข้า ค.ร.ม ประมาณ 2 สัปดาห์ พรรคการเมืองของ ร.ม.ว บุญพันธ์ แขวัฒนะ ได้ออกจากการร่วมรัฐบาล งบประมาณ 550 ล้านบาท จึงตกไปด้วย แต่ต่อมาทางโรงพยาบาลได้พยาบาลขอเงินงบประมาณมาก่อสร้างเป็นรายปี จนได้ก่อสร้างอาคาร หอผู้ป่วยศรีสรรเพ็ชญ์ , อาคารบริการ “ศรีอโยธยา”และอาคารเฉลิมพระเกียรติ เป็นหลังสุดท้าย
 
 
ในปีพ.ศ.2534 ขณะที่กำลังก่อสร้างอาคารสุริโยทัย (หอผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม) ได้เกิดอุบัติเหตุไฟฟ้าลัดวงจร เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ไม้ค้ำยันการก่อสร้างพื้นที่ชั้น 3 และ 4 แต่จากการสำรวจแล้วปรากฏว่า ตัวอาคารยังแข็งแรงดีอยู่
 
 
ในปี พ.ศ. 2538 เดือนตุลาคม ได้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมเกาะเมืองอยุธยารวมทั้งโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาด้วย น้ำได้ทะลักเข้ามาอย่างกะทันหันโดยไม่คาดคิดมาก่อน เนื่องจากกำแพงอิฐกั้นน้ำของโรงงานสุรานั้นได้พังทลายลงตั้งแต่เวลา 20.30 น. น้ำได้บ่าเข้ามาทางสวนสมเด็จเข้าถึงโรงพยาบาล ตั้งแต่เวลา 05.30 น. โดยสังเกตน้ำในคลองหลังโรงพยาบาลเริ่มไหลสวนทาง ครั้นเมื่อเวลา 07.00 น. ปรากฏได้ว่าน้ำเริ่มท่วมถนน ภายในแล้วครึ่งค่อนเข่านับว่าเร็วมากน้ำท่วมจากพื้นดินสูงถึง 1.50 – 1.80 เมตร ตั้งแต่วันที่ 3 – 18 ตุลาคม 2538 น้ำท่วมพื้นอาคารและหอผู้ป่วยชั้นล่างทุกหลังเป็นเหตุให้ตู้ โต๊ะ เตียง เครื่องปรับอากาศถูกแช่น้ำเสียหายทั้งหมด
 
 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมโอรสสาธิราช ได้ทรงส่งถุงยังชีพมาช่วยเจ้าหน้าที่ ของโรงพยาบาลถึง 2 รอบ และทรงสอบถามมาตลอดเวลาด้วยความห่วงใจในที่สุด พระองค์ท่านได้ทรงแนะนำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำคันดินกั้น โดยรอบโรงพยาบาล ตลอดแนวคลองท่อ และถนนระหว่างศาลากลางเก่ากับปางช้าง แล้วให้สูบน้ำออกโดยเร็ว เพื่อเอาโรงพยาบาลไว้ให้ได้ ให้เป็นที่พึ่งของประชาชนยามทุกข์ยาก ดังนั้น กรมพัฒนาพลังงาน จึงได้นำที่สูบน้ำหอยโข่งขนาดใหญ่ จากจังหวัดยะลาขึ้นมาติดตั้ง และสูบน้ำจากคลองข้างถนนอู่ทองหน้าตึกเทพประชา เป็นเวลา 3 วัน น้ำจึงลดลง
 
นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังได้ทรงส่งเครื่องสูบน้ำขนาดเล็กมาช่วยอีก 10 เครื่อง เพื่อให้สูบน้ำออกจากแหล่งย่อยภายในโรงพยาบาล สถานการณ์จึงได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติในที่ 18 ตุลาคม 2538 ด้วยพระบารมีปรกเกล้าปรกกระหม่อม โดยแท้ทีเดียว

คลินิกเครือข่ายประกันสังคม โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา

 โรงพยาบาลท่าเรือ 
ต.ท่าเรือ อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0 3534 1300
 
 โรงพยาบาลบางซ้าย 
ต.บางซ้าย อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0 3537 5908
 
 โรงพยาบาลบางไทร
 ต.บางไทร อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยธุ ยา โทร.0 3537 1029
 
โรงพยาบาลบางบาล
 ต.สะพานไทย อ.บางบาล จ.พระนครศรอียุธยา โทร.0 3530 2984
 
โรงพยาบาลบางปะหัน
 ต.บางนางร้า อ.บางปะหัน จ.พระนครศรอียุธยา โทร.0 3577 7300
 
โรงพยาบาลบางปะอิน 
ต.บ้านเลน อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0 3526 1173
 
โรงพยาบาลบ้านแพรก 
ต.บ้านใหม่อ.บ้านแพรก จ.พระนครศรอียุธยา โทร.0 3538 6121
 
โรงพยาบาลผักไห่
ต.ผักไห่อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0 3539 1306
 
โรงพยาบาลภาชี 
ต.ภาชีอ.ภาชีจ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0 3531 1112
 
โรงพยาบาลมหาราช 
ต.หัวไผ่อ.มหาราช จ.พระนครศรอียุธยา โทร.0 3538 9027
 
โรงพยาบาลลาดบัวหลวง 
ต.ลาดบัวหลวง อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0 3537 9094
 
โรงพยาบาลวังน้อย 
ต.ลำตาเสา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยธุ ยา โทร.0 3527 1033
 
โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชฯ 
ต.นครหลวง อ.นครหลวง จ.พระนครศรอียุธยา โทร.0 3574 3341
 
โรงพยาบาลเสนา
 อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0 3521 7118
 
โรงพยาบาลอุทัย 
ต.ธนูอ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0 3571 1469
 
ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลนครนครศรีอยุธยา
 ต.หอรัตนไชย อ.พระนครศรีอยุธยา  จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0 3525 2242
 
ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองนครศรีอยุธยา(ป้อมเพชร)
 ต.หอรัตนไชย อ.พระนครศรีอยุธยา
 จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0 3524 5001,08 9901 2864
 
ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองนครศรีอยุธยา (วัดตึก) 
ต.ท่าวาสุกรีอ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0 3524 4342,08 9901 2866
 
ศูนย์แพทย์ชุมชนเมืองนครศรีอยุธยา (วัดอินทราราม)
ต.หัวรอ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
 โทร.0 3525 1568,08 9901 2865
 
ศูนย์บริการสาธารณสุข 
วัดกล้วย ต.กะมัง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
โทร.0 3532 1890
 
ศูนย์เวชปฏิบัติครอบครัว 
ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
โทร.08 9901 2863
 
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 
ต.หอรัตนไชย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
โทร.08 9901 2868
 
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุกแห่งในจังหวัด
 
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุกแห่งในจังหวัด
 
คลินิกแพทย์ธวัชชัยเวชกรรมเฉพาะทาง 
125/82 ม.2 ต.สามเรือน อ.บางปะอิน
จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0 3520 1051
 
คลินิกลาดบัวหลวงการแพทย์ 
33/65 ม.3 ถ.กรุงเทพ-สุพรรณฯ ต.สามเมือง
อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
 
คลินิกเวชกรรมหมอธิติพงษ(์แก้ว) 
195-196 ม.7 ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
โทร.0 3527 1657
 
คลินิกเวชกรรมอุทัยการแพทย์ 
46/1 ม.13 ต.อุทัย อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา
โทร.0 3535 6738
 
 
คลินิกหมอเศกสรรค์เวชกรรม
 240 ม.5 ถ.หันตรา-บ้านเกาะ ต.ไผ่ลิง
อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
โทร.0 3524 3240
 
คลินิกหมออาทรเวชกรรม 
4 ถ.ท่าเรือ-ท่าลาน(ฝั่งใต)้ต.ท่าเรือ อ.ท่าเรือ
จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.0 3534 2374
 
แพทย์ณัฐพลคลินิกเวชกรรม 
114-114/1-9 ม.1 ต.มหาพราหมณ์อ.บางบาล
จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.08 1935 7456
 
สหคลินิกหมอธัชชัย-พัชรา 
210/1 ม.5 ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา
จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.08 1807 9075
 
สหคลินิก ฐาปกรณ์เวชกรรม ทันตกรรมหมอแป้ง 
34/24 ม.2 ถ.สุวรรณศร ต.ภาชีอ.ภาชี
จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.09 1704 0063
 
หมอนุชคลินิกเวชกรรม 
38 ม.1 ต.มหาพราหมณ์อ.บางบาล
จ.พระนครศรีอยุธยา โทร.08 1909 0446