ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

Phramongkutklao Hospital

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
315 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพ มหานคร 10400
โทร 0-2763-9300 หรือ Hotline 1411

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

คลินิกพิเศษนอกเวลา รพ.พระมงกุฏเกล้า

extended content image
extended content image
ข้อปฏิบัติ กรณีมีบัตรนัด
กรุณาขึ้นสิทธิ์ และออกสิทธิ์ ทุกสิทธิ์การรักษา ที่แผนกเวชระเบียน ชั้น 1 ก่อนทุกครั้ง
กรณีไม่ได้นัด
กรุณาติดต่อประชาสัมพันธ์คลินิกพิเศษนอกเวลา
กรณีตรวจสุขภาพและขอใบรับรองแพทย์
เพื่อนำไปใช้ในกรณีต่าง ๆ กรุณาใช้บริการโรงพยาบาลฯในเวลาราชการ เพื่อ
ความสะดวกขอท่านกรุณาติดต่อก่อนเวลาคลินิกปิดอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
สิทธิ 30 บาท และสิทธิประกันสังคม ไม่สามารถใช่สิทธิได้ต้องชำระค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด
 
ค่าบริการ
ค่าบริการพิเศษ 300 - 500 บาท ไม่รวมค่าหัตถการ / ค่ายาและเวชภัณฑ์
ค่ายาและเวชภวัณฑ์ใช้สิทธิจ่ายตรงกรมบัญชีกลางได้ ยกเว้น ค่าบริการพิเศษ-ค่าหุตถการพิเศษ
   

 อายุรกรรมทั่วไป
โรคเวชพันธุกรรม
โรคข้อ
โรคไต
ต่อมไร้ท่อและเบาหวาน
โรคปอด
โรคผิวหนัง
โรคภูมิแพ้
โรคโลหิตวิทยา
จิตเวชและประสาทวิทยา
ประสาทวิทยา
ทางเดินอาหาร
โรคติดเชื้อ
ตารางแพทย์ออกตรวจ
  • คลินิคอายุรกรรมนอกเวลา ชั้น 1
  • ห้องตรวจโรคจักษุ ชั้น(นอกเวลา ตึกเฉลิมพระเกียรติฯ)
  • ห้องORตานอกเวลา ชั้น9
  • คลินิคเด็กนอกเวลา ชั้น1 (พัชรฯ)
  • คลินิคนอกเวลา อายุรกรรม(ตึกเฉลิมฯชั้น1)
  • คลินิคนอกเวลา หู คอ จมูก (ตึกเฉลิมฯชั้น6)
  • คลินิคนอกเวลาORTHO(ตึกมหาวชิราลงกรณชั้น1)
  • คลินิคนอกเวลาโรคหัวใจเด็ก (ตึกพัชรฯชั้น 3 )
  • คลินิกนอกเวลาส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร ชั้น 4
  • คลินิคนอกเวลาสูติ-นรีเวช ชั้น 1 ตึกพัชรฯ
  • คลินิกนอกเวลาราชการ(หัวใจ) ชั้น 3 ตึกเฉลิมฯ
  • คลินิกนอกเวลาราชการ(ศัลยกรรม) ชั้น 7 ตึกเฉลิม
  • คลินิกนอกเวลาราชการ(ฝังเข็ม) ตึกพัชรกิติยาภา
  • คลินิกนอกเวลาราชการผิวหนัง ชั้น 3 ตึกเฉลิมฯ
บริการประชาชน

Facebook โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

 

ประวัติความเป็นมา

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 พ.ต.หลวงธุรไวทยวิเศษ นายแพทย์ประจำกองทหารวังปารุสกวันพิจารณาเห็นว่า ถ้าหากได้จัดให้มีสถานพยาบาลเป็นแหล่งกลางของกองทัพบกขึ้นสักแห่งทำนองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ซึ่งขอยืมนายทหารกองทัพบกไปใช้ปฏิบัติงาน) จึงได้นำความเรื่องนี้ปรึกษากับ พ.อ.พระยาทรงสุรเดช ท่านเห็นด้วยในหลักการ และยินดีที่จะสนับสนุนสถานที่ และมีที่อยู่ในข่ายพิจารณา 3 แห่ง คือ
 
  1. โฮเต็ลพญาไท
  2. วังบางขุนพรหม
  3. กรมแผนที่ทหารบก
เมื่อได้พิจารณากันแล้วในที่สุดเห็นว่าโฮเต็ลพญาไท เหมาะกว่าที่อื่น พ.ต.หลวงธุรไวทยวิเศษจึงได้เรียน พ.อ.พระยาทรงสุรเดช ให้ขอโฮเต็ลพญาไท เป็นที่ตั้งโรงพยาบาลต่อไป ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ก็ได้ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมพระราชทานวังพญาไทนี้เป็นสถานพยาบาลของทหาร และทรงสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ทำสัญญาโอนที่ดินซึ่งมีเนื้อที่ 63 ไร่ 3 งาน 54 ตารางวาให้แก่กระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2483 ฉะนั้นทางราชการจึงได้จัดรวมกองเสนารักษ์ ที่ 1 (ปากคลองหลอด) และกองเสนารักษ์ที่ 2 (บางซื่อ) มาตั้ง ณ พระราชวังแห่งนี้แล้วให้ชื่อใหม่ว่า กองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ มี พ.ท.หลวงวินิชเวช การเป็นผู้บังคับกอง และได้กระทำพิธีเปิดสถานพยาบาลแห่งนี้เมื่อ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2475 โดยมี พ.อ. พ.อ.พระยาพระหลพลพยุหเสนา พ.อ.พระยาทรงสุรเดช และนายทหารชั้นผู้ใหญ่อีกหลายท่านได้มาร่วมในพิธีนี้
 
การดำเนินการเพื่อที่จะให้การรักษาพยาบาลของสถานที่แห่งนี้ ได้เจริญก้าวหน้าไปตามลำดับทางกองทัพบกจึงได้โอนนายแพทย์ที่มีความรู้ ความสามารถอันดีเยี่ยม จากคณะแพทย์ศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งขณะนั้นขึ้นอยู่กับกระทรวงธรรมการจำนวน 3 นาย คือ
 
  1. รองอำมาตย์เอก หลวงวาทวิทยาวัฒน์ มาบรรจุในแผนกอายุกรรม
  2. รองอำมาตย์ตรี สงวน โรจนวงศ์ มาบรรจุแผนกศัลยกรรม
  3. รองอำมาตย์ตรี บุญเจือ ปุณโสนี มาบรรจุในแผนกสูตินารีเวชกรรม
 
ตั้งแต่นั้นมา กิจการก็ดำเนินมาด้วยดี ในตอนปลายปี พ.ศ. 2476 ทางราชการได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการจัดจำหน่ายทหารให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อสอดคล้องกับแผนการจัดจำหน่ายทหารใน ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ขณะนั้นกองเสนารักษจังหวัดทหารบกกรุงเทพฯ ได้เปลี่ยนนามว่า กองเสนารักษ์มณฑลทหารบกที่ 1ลำดับใช้ชื่อนี้มา
 
ตลอดเวลาสงครามเอเชียบรูพาและในระหว่างสงครามทางราชการทหารจำเป็นต้องระงับ การช่วยเหลือประชาชนเสียชั่วคราว ทั้งนี้เนื่องจากต้องจัดขยายสถานที่ไว้สำหรับรักษาพยาบาลโดยเฉพาะ ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงเมื่อ พ.ศ.2488 กองทัพบกได้พิจารณาเห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงสมรรถภาพของทหารให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งในด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเจ็บ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ คือ แพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ เทคนิคอื่น ๆ ตลอดการวิจัยในทางวิทยาวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้ก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ
 
ดังนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 กองเสนาเสนามลฑลทหารบกที่ 1 จึงแปรสภาพเป็นโรงพยาบาลทหารบกและโอนการบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อกรมการแพทย์สุขาภาบาล (กรม ทหารบกในปัจจุบัน) โดยได้เปิดทำการรักษาพยาบาลประชาชนทั่วไปเช่นเดิม และใช้โรงพยาบาลทหารบก ในเวลาเดี่ยวกันก็ใช้เป็นแหล่งศึกษาสำหรับแพทย์ตลอดจนเจ้าหน้าที่เทคนิค อื่น ๆ ด้วย
 
ในสมัย พล.ต.ถนอม อุปถัมภานนท์ เป็นนายแพทย์ใหญ่ทหารบกได้ดำริเห็นสมควรที่จะอันเชิญอันเชิญพระปรมาภิไธยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มาขนานนามโรงพยาบาลเพื่อเป็นเป็นการเฉลิมพระเกียรติและอนุสรณ์รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน