ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร สกลนคร

Arjaro Hospital

Logo

โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นผู้นำด้านการผ่าตัดต้อกระจก + การบริการแพทย์แผนไทยและผลิตสมุนไพร ในเขตสุขภาพที่ 8 มีมาตรฐานโรงพยาบาล/HA รพ.ได้จัดทำคู่มือการผลิตตำรับยาแผนไทยเข้ากัญชา 16 ตำรา และการวิจัยและพัฒนากระบวนการผลิตตำรับยาเข้ากัญชาหมวด ก 16 ตำรับ เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะ ติดต่อโรงพยาบาล โทรศัพท์ 042-779105 ฉุกเฉิน 1669 โทรสาร 042-779106

ที่อยู่/ติดต่อ
274 หมู่ที่ 10 ถนน ศรีสวัสดิ์วิไล ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม สกลนคร 47130
โทรศัพท์ 042-779105
ฉุกเฉิน 1669
โทรสาร 042-779106

✅ รับบัตรทอง

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร สกลนคร

งานวิจัยและตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชา

งานวิจัยและตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชา โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร สกลนคร
งานวิจัยและตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชา โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร สกลนคร
 

ข่าวสาร ข้อมูลบริการ บทความ สาระประโยชน์

[ทั้งหมด]

 ทำเนียบผู้บริหารโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
นายแพทย์ไพจิตร  วราชิต (พ.ศ.  2520 - 2523)
นายแพทย์นิทัศน์  รายยวา (พ.ศ.  2523 - 2529)
แพทย์หญิงศุภลักษณ์  รายยวา (พ.ศ.2529 - 2530)
นายแพทย์วิชัย  สติมัย (พ.ศ.2530 – 2535, 2537 - 2539)
นายแพทย์วิชัย  ศิริผลหลาย (พ.ศ.2535 - 2536)
นายแพทย์พัฒนพงษ์  วงศ์กาฬสินธุ์ (พ.ศ.  2539 - 2556)
นายแพทย์กิตตินาถ  ติยะพิบูลย์ไชยา (พ.ศ.  2556 - 2558)
นายแพทย์นเรศ  มณีเทศ (พ.ศ.  2558 - 2560)
นายแพทย์วรชัย  อาชวานันทกุล (พ.ศ.  2560- 2562)
นายแพทย์กัญญาภัค  ศิลารักษ์ (พ.ศ.2562-ปัจจุบัน)

ประวัติโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น

       โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลขนาด 90 เตียง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ตั้งอยู่เลขที่  274  หมู่  10  ตำบลพรรณา  อำเภอพรรณานิคม  จังหวัดสกลนคร  มีเนื้อที่  33  ไร่
       เริ่มก่อตั้งและวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2519 โดยพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพรและเหล่าศิษยานุศิษย์ได้จัดหาทุนทรัพย์ในการก่อสร้างและเปิดให้บริการเมื่อวันที่  20 สิงหาคม พ.ศ.2520 เดิมนั้นอำเภอพรรณานิคมไม่มีโรงพยาบาลมาก่อนเลย  มีเพียงแต่สถานีอนามัยซึ่งไม่มีแพทย์ประจำ ทำหน้าที่รักษาพยาบาลเบื้องต้นเท่านั้นจนกระทั่งปี  พ.ศ.2519  พระอาจารย์ฝั้น  อาจาโร ได้ดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลขึ้น จึงทำให้ได้รับทุนทรัพย์เพื่อดำเนินการก่อสร้าง  และสามารถเปิดเป็นโรงพยาบาล  30  เตียงได้ราวปาฏิหารย์  โดยไม่ผ่านการเป็นโรงพยาบาล  10  เตียง  และไม่พ่ึงบประมาณแต่อย่างใด
 
       โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เปิดดำเนินการให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วย มีเจ้าหน้าที่เริ่มต้น๘คน   มี นพ.ไพจิตรวราชิดเป็นผู้อำนวยการคนแรก  มีผู้ร่วมงาน ๗คน คือ  พญ.ผกา ภัทรวิมล  นางอุไรวรรณ ใจวรรณะ นายสมบูรณ์ สาขา   นายสมพร คำภูษา นางประกายวัลย์  สุคันธรัตน์  นายธนรัตน์และนางผดุงจิตร  บุญแพทย์ เมื่อวันที่  21  พฤศจิกายน  พ.ศ.2521  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ  และพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จมาทรงเปิดโรงพยาบาลอย่างเป็นทางการ  ซึ่งนับเป็นสิริมงคลแก่โรงพยาบาลและเป็นมิ่งขวัญชาวอำเภอพรรณานิคมเป็นอย่างยิ่ง 
 
 
เดือนเมษายน  ๒๕๒๑ มีนักเรียนทุนผู้ช่วยพยาบาลและผดุงครรภ์รุ่นแรกจบการวิทยาลัยพยาบาลสุรินทร์มาปฏิบัติงาน  ๒ คน คือ นางสาวนวลจันทร์ นันทราช  และนางสาวชลารัตน์  กัลปเสนา
เดือนตุลาคม  ๒๕๒๑ มีนักเรียนผู้ช่วยพยาบาลและผดุงครรภ์ของโรงพยาบาลรุ่นสองจบมาปฏิบัติงานจำนวน  ๕ คน  ได้แก่  นางสาวสุภาภรณ์ นำสุย นางสาวราตรี แก้วก่า นางสาววรรณเลิศ  นิลเขต  นางสาววาสนา ศรีบัวบาน  นางสาวจิรารัตน์  สุวรรณชัยรบ
 
๑๖ มีนาคม   ๒๕๒๒  นพ.ไพจิตรและพญ.ผกา  วราชิต  ลาศึกษาต่อหลังจากปฏิบัติงานครบ  ๒ ปี  ซึ่งงานของแพทย์ทั้งสองก็คือ  พัฒนาโรงพยาบาลให้เป็นที่เชื่อถือ และได้วางระบบงานแก่โรงพยาบาล ขณะนั้นโรงพยาบาลจึงขาดแพทย์ นางประกายวัลย์   สุคันธรัตน์  จึงทำหน้าที่แทนผู้อำนวยการในด้านบริการ ส่วนงานการเงินการบัญชีก็งดลงชั่วคราว
 
๑๕  เมษายน  ๒๕๒๒  นพ.นิทัศน์ รายยวา เดินทางมารับตำแหน่งผู้อำนวยการต่อจาก นพ.ไพจิตร  วราชิต  โดยมีแพทย์ผู้ร่วมงาน ๑ คน  คือ พญ.ศุภลักษณ์เตชะบุณยรัตน์
 
๘ พฤษภาคม  ๒๕๒๒  โรงพยาบาลเริ่มเปิดดำเนินการรับผู้ป่วยในอีกครั้งหนึ่งหลังจากขาดแพทย์ปฏิบัติงานมาเป็นเวลา ๕๐วัน  มีพยาบาลจากโรงพยาบาลรามาธิบดีสมัครมาปฏิบัติงานด้วย   ๒ คน คือนางสาวอัฐภรณ์   หิรัญพฤกษ์  และนางสาวโสมภัทร  ศรชัยซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพรุ่นแรกของโรงพยาบาล
 
มิถุนายน  ๒๕๒๒  โรงพยาบาลเปิดบริการผ่าตัดใหญ่เป็นครั้งแรกโดยมีเจ้าหน้าที่ประจำห้องผ่าตัดเพียงคนเดียวคือ นางยุพิน  อินทรวิศิษฐ์  ยาสลบส่วนใหญ่ใช้ยาชาเฉพาะที่  (Spinal block)  และKetamine  และได้ยืมเครื่องดมยาสลบแบบใช้อีเทอร์ชนิดเก่าของโรงพยาบาลวานรนิวาสมาใช้ร่วมด้วย  ผู้ป่วยผ่าตัดรายแรกของโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยท้องนอกมดลูกและตกเลือด  ผลการผ่าตัดผู้ป่วยปลอดภัยดี
 
๒๐  สิงหาคม  ๒๕๒๒  ทำบุญโรงพยาบาลรอบปีที่  ๒  โรงพยาบาลได้เรี่มมีคนไข้มากขึ้น  จากคนไข้นอกวันละ ๔๐-๕๐ คน เป็นวันละ  ๘๐-๑๐๐ คน  และคนไข้ในจากจำนวน ๑๕-๒๐  เตียงเป็น๓๐-๓๕  เตียง
ตุลาคม ๒๕๒๒  มีนักเรียนผู้ช่วยพยาบาลจบจากโรงพยาบาลโรคปอด๒คน  มาปฏิบัติงานร่วมด้วย  คือ  นางสาวทัศนีย์  ทองก้อนและนางสาวสุภาภรณ์  สติยศ
 
ธันวาคม  ๒๕๒๒  โรงพยาบาลได้จัดการรณรงค์ปลูกต้นไม้ภายในโรงพยาบาล   และเทพิ้นทางเชื่อมระหว่างตึกผู้ป่วยและอาคารโรงอาหารด้านหลัง  โดยใช้แรงงานเจ้าหน้าที่และวัสดุจากเงินบริจาค  ทางเชื่อมที่สร้างเป็นซีเมนต์  กว้าง ๑.๕ เมตร ยาง  ๗๐  เมตร
 
เมษายน  ๒๕๒๓  โรงพยาบาลได้รับพยาบาลวิชาชีพ๒ คน คือ นางสาวอนงค์นิตย์  ตรงวัฒนาวุฒิ และนางสาวทิวาพร ศิริขันธ์  ซึ่งเป็นพยาบาลรับทุนรุ่นแรกของโรงพยาบาล
 
พฤษภาคม   ๒๕๒๓  มีเภสัชกรมาปฏิบัติงานด้วย  ชื่อ เภสัชกรชาตรี เมธาชวลิต โรงพยาบาลเริ่มขยายงานเภสัชกรรมทั้งในโรงพยาบาลและนอกโรงพยาบาล และมีการบริหารงานเภสัชกรรมที่เป็นระเบียบขึ้น  ขณะเดียวกันคนไข้ที่มารับการรักษาเป็นคนไข้ในมีมากเกิดตึกผู้ป่วย  ทางโรงพยาบาลได้ขยายที่จอดรถจักรยานใต้ถุนตึกเป็นตึกผู้ป่วยอีก  ๑ ตึก   โดยใช้วัสดุจากเงินบริจาคและแรงงานจากคนงานของโรงพยาบาล ใช้เวลาก่อสร้างต่อเติมรวม  ๔  เดือน  เสร็จสมบูรณ์ใช้เป็นตึกผู้ป่วยอีก  ๒๕  เตียง รวมตึกผู้ป่วยเดิมเป็น ๕๕  เตียง
มิถุนายน   ๒๕๒๓  นพ.สมชาย เตชะบุณยรัตน์  เดินทางมาปฏิบัติงานเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาล  รวมเป็นแพทย์ประจำ  ๓ คน
 
สิงหาคม  ๒๕๒๓  โรงพยาบาลประสบวาตภัยครั้งใหญ่  ฝนตกหนัก  ลมพัดแรงทำให้ต้นไม้ใหญ่หน้าโรงพยาบาลหักทับรั้วพัง และกระเบื้องมุงหลังคาบ้านพักเจ้าหน้าที่ปลิวหลุดหายไป  แต่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บเป็นอันตราย
 
กันยายน  ๒๕๒๓  โรงพยาบาลได้ดำเนินการสร้างหลังคาคลุมทางเชื่อมระหว่างตึกผู้ป่วยและอาคารโรงอาหารยาว  ๗๐ เมตร  โดยใช้แรงงานเจ้าหน้าที่และวัสดุจากเงินบริจาค
 
ตุลาคม  ๒๕๒๓  เพื่อความเป็นระเบียบและบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่องที่พักอาศัยของญาติผู้ป่วย  โรงพยาบาลได้ดำเนินการสร้างเรือนพักญาติผู้ป่วยขนาดกว้าง  ๗  เมตร  ยาว ๒๐ เมตร  มีหลังคาและฝาสูง ๑ เมตร  มีหลังคาและฝาสูง ๑  เมตร เพื่อให้ญาติผู้ป่วยได้อาศัยหลับนอนและหุงหาอาหาร
มกราคม ๒๕๒๔  โรงพยาบาลได้ขยายขอบเขตงานเป็นโรงพยาบาลขนาด ๖๐ เตียง อย่างเต็มที่ (แต่ไม่เป็นทางการ)  โดยอาศัยวัสดุและเครื่องมือแพทย์จากการบริจาคมาดำเนินการ
 
เมษายน  ๒๕๒๔ มีทันตแพทย์สมัครมาปฏิบัติงานร่วมด้วย  ชื่อ  นางสาวลัดดา กันตนฤมิตรกุล ทำให้การขยายงานด้านทันตกรรมมากขึ้นทั้งทันตกรรมบำบัดและทันตกรรมป้องกันเป็นไปอย่างสมบูรณ์  มีพยาบาลจบจากวิทยาลัยพยาบาลอุบลราชธานีมาปฏิบัติงานร่วมด้วย  ๕คน  คือ  นางสาวรัตน์มณี  ไชยชมพู  นางสาววิภาพรรณ คำปัง  นางสาววรรณี อุปพงษ์   นางสาวเนตรนารี  สายกมล  นางสาวปฐมพร  จำลองกุล
 
กรกฎาคม  ๒๕๒๔  รศ.นพ.ชัยเยนทร์ รัตนวิจารณ์  แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  รับเงินบริจาคมาจัดสร้างห้องตรวจตา  โดยใช้แรงงานเจ้าหน้าที่และนำเครื่องตรวจตา  (Slit  lamp)  เครื่องมือผ่าตัดตาครบชุด ซึ่งให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โรงพยาบาลจึงได้เปิดบริการ  “คลินิกตา”  โดยอาจารย์เสียสละเวลาเดินทางมาตรวจรักษาและผ่าตัดเดือนละ  ๑  วัน
 
สิงหาคม  ๒๕๒๔  โรงพยาบาลได้ขยายการผลิตยาน้ำจากเดิม  ๒-๓ชนิดเป็น ๒๐  ชนิด  และตั้งชื่อต่างๆกัน เช่น  อาจาโรซิด  ยาน้ำแก้ไออาจาโร  และยาหม่องอาจาโรบาล์ม  ซึ่งมีชื่อเสียงอย่างมากในเวลาต่อมา
ตุลาคม  ๒๕๒๔ เมื่อทางโรงพยาบาลเริ่มมีเจ้าหน้าที่มากพอจึงจัดแบ่งบุคลากรจากเดิมที่อยู่คละกันมาเป็นแบบแยกฝ่ายอย่างชัดเจน  ฝ่ายรักษาพยาบาลได้ขยายงานด้านรักษาพยาบาลห้องคลอด  ห้องผ่าตัด โอพีดี  ฝ่ายส่งเสริมสุขภาพและฝ่ายสุขาภิบาลป้องกันโรค เรี่มขยายงานรณรงค์งานสาธารณสุขมูลฐานในชุมชน
มกราคม  ๒๕๒๕  โรงพยาบาลเริ่มมีปัญหาเรื่องจำนวนคนไข้ในเพิ่มมากขึ้น  ทำให้ตึกผู้ป่วยคับแคบและไม่เพียงพอแก่ปริมาณคนไข้  เตียงที่มีอยู่ประมาณ  ๖๐เตียง ก็เริ่มไม่พอ  ต้องใช้แคร่  หรือปูเสื่อนอน ถ้าเป็นเด็กก็นอน๒คนต่อเตียง
 
มกราคม  ๒๕๒๕  นพ.สมชาย  เตชะบุณยรัตน์  ลาศึกษาต่อวิชาศัลยศาสตร์ทั่วไป  ณ  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ทางโรงพยาบาลได้  นพ.วิโรจน์ จงกลวัฒนา และพญ.จีระสุข  แสงวิเชียร  มาร่วมปฏิบัติงานด้วย
กรกฎาคม  ๒๕๒๕  คณะมิตรประชานำโดย  พล.อ.ต.ศักดิ์  ธารีฉัตร  และพ.อ.อ.อาคม  ทันนิเทศ นำคณะผู้มีจิตศรัทธาถวายเทียนพรรษาที่ถ้ำขาม  และผู้อำนวยการโรงพยาบาลพร้อม นพ.วิโรจน์   จงกลวัฒนา  พญ.จีระสุข  แสงวิเชียร  นำคณะขึ้นไปสมทบที่ถ้ำขาม  ได้ปรึกษาปัญหาตึกผู้ป่วยที่คับแคบ  ทางคณะมิตรประชารับปากจะจัดสร้างตึกสงฆ์ขนาด  ๓๐  เตียงให้และรวบรวมเงินบริจาคได้ในวันนั้นทันที ๑๐๐,๐๐๐  บาท
 
สิงหาคม  ๒๕๒๕  โรงพยาบาลได้รับยกระดับเป็นโรงพยาบาล  ๖๐  เตียงอย่างเป็นทางการ  จากกระทรวงสาธารณสุข
 
ตุลาคม  ๒๕๒๕ คณะมิตรประชานำผู้มีจิตศรัทธาชาวกรุงเพทมหานครเยี่ยมโรงพยาบาลและมอบเงินก้อนแรกสำหรับสร้างตึกสงฆ์ในบัญชีของโรงพยาบาลเป็นเงิน ๗๐๐,๐๐๐ บาท  จึงเริ่มลงมือก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธในเดือนถัดมา
 
๑๑ ธันวาคม  ๒๕๒๕  พล.อ.ต.ศักดิ์ ธารีฉัตรและผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร แม่ทัพภาคที่ ๒  ร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ตึกสงฆ์อาพาธ โดยมีคณะผ้าป่าจากกรุงเทพมหานครร่วมงานด้วยประมาณ  ๖๐๐คน   เปิดรับบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยชายและพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธ  ไว้เป็นผู้ป่วยใน
 
 กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖  เนื่องจากตึกโอพีดีคับแคบ ไม่เพียงพอแก่การบริการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้ดำเนินการติดต่อกองสาธารณสุขภูมิภาคขอความสนับสนุนงบประมาณดัดแปลงตึกโอพีดีใหม่ และหัวหน้าฝ่ายโรงพยาบาลชุมชนได้เดินทางสำรวจปัญหา  และมีหนังสือบันทึกข้อความให้กองแบบแผนมาสำรวจเพื่อแก้ปัญหา
 
                พฤษภาคม ๒๕๒๖ มีนักวิทยาศาสตร์การแพทย์  (เทคนิคการแพทย์) สมัครมาปฏิบัติงานด้วย คือนางสาวพรรณีภรณ์  วศินระพี  ทำให้โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น  อาจาโร มีบุคลากรที่หายากในส่วนภูมิภาคครบครัน  คือ มีทั้งแพทย์ พยาบาลเภสัชกร  ทันตแพทย์  และเทคนิคการแพทย์
 
                กรกฏาคม ๒๕๒๖ ตึกสงฆ์อาพาธสร้างเสร็จ  ได้ย้ายผู้ป่วยจากตึกชั้นล่างไป  โดยแยกเอาคนไข้ชายไว้ตึกสงฆ์  คนไข้เด็กและสตรีไว้ตึกเก่า  ส่วนตึกเก่าชั้นล่างซึ่งเป็นตึกผู้ป่วยขนาด  ๓๐ เตียง  ได้ดัดแปลงเป็นห้องพิเศษ ๘  ห้อง  ห้องชันสูตรโรคและห้องพัสดุโดยใช้แรงงานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและเงินบริจาคที่เหลือ
 
                ๒๐  สิงหาคม  ๒๕๒๖พิธีเปิดตึกสงฆ์อาพาธ โดย พล.อ.ต.ศักดิ์  ธารีฉัตร และผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครเป็นผู้รับมอบ
 
                ตุลาคม  ๒๕๒๖  โรงพยาบาลขยายงานด้านคุณภาพของฝ่ายส่งเสริมสุขภาพและฝ่ายสุขาภิบาลได้ส่งเจ้าหน้าที่ คือ คุณทัศนีย์  ทองก้อน  ไปดูงานสหกรณ์ยาที่ศรีสะเกษ  คุณจันทนา ตาลาคุณและคุณประมวล  พรมโนนศรี  ไปดูงานสาธารณสุขที่อำเภอชุมพวง  จังหวัดนครราชสีมา  เพื่อนำงานกลับมาปรับปรุงงานที่โรงพยาบาล
 
                พฤศจิกายน ๒๕๒๖  เภสัชกรชาตรี  เมธาชวลิต  ขอลาออกเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัวที่ภูมิลำเนาเดิม แต่โรงพยาบาลก็ยังสามารถดำเนินงานด้านเภสัชกรรมต่อไปได้จากรากฐานที่คุณชาตรีได้วางไว้  โดยมีแพทย์เป็นที่ปรึกษา
 
                เมษายน ๒๕๒๗  นพ.วิโรจน์ จงกลวัฒนา  และ  พญ.จีระสุข  แสงวิเชียร  ลาศึกษาต่อ  โรงพยาบาลได้แพทย์ใหม่มาปฏิบัติงาน  คือนพ.วิโรจน์  วิจิตรศรีพรกุล  นพ.ทรงยุทธ  กฤตยพงษ์  และพญ.อุษา  เตียงพิทักษ์  รวมมีแพทย์ขณะนั้น  ๕คน  ขณะเดียวกันก็มีพยาบาลวิชาชีพจากวิทยาลัยพยาบาลโคราชรับทุนสาธารณสุขจังหวัดสกลนครมาปฏิบัติงานร่วมด้วยอีก  ๓  คน  คือ  นางสาวอัญเชิญ ศรีวิชัย  นางสาววราภรณ์  นารินรักษ์  นางสาววิไลพรรณ  นามโพธิ์ชัย
 
                พฤษภาคม  ๒๕๒๗  เมื่อมีบุคลากรเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลจึงปรับปรุงคุณภาพการบริการ  โดยผ่านแพทย์ก็แบ่งความรับผิดชอบตามตึกผู้ป่วย  คือแบ่งเป็นงานอายุรกรรมชาย  งานศัลยกรรมชาย  งานศัลยกรรมหญิง  งานอายุกรรมหญิงและเด็ก และงานผู้ป่วยนอก  หมุนเวียนไปทุกเดือน  คนละ  ๑ เดือน  ส่วนฝ่ายการพยาบาลก็ปรับปรุงให้มีระบบบริการแบบเวรละ ๘ ชั่วโมง  โดยเฉพาะแผนกฉุกเฉินและห้องคลอดซึ่งพยาบาลวิชาชีพที่รับผิดชอบจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจการพยาบาลในวันนั้นอีกส่วนหนึ่งด้วย
 
                กรกฏาคม ๒๕๒๗  โรงพยาบาลได้ขยายงาน “คลินิกตา”  ออกไปเป็นเดือนละ  ๒ ครั้ง โดยได้รับความช่วยเหลือจาก  พญ.ผกา วราชิต  และนพ.สมชาย  ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล จักษุแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี มาตรวจรักษาทุกวันพุธที่ ๒ ของเดือน  และรศ.นพ.ชัยเยนท์ รัตนวิจารณ์  มาตรวจรักษาทุกวันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือน
 
                สิงหาคม  ๒๕๒๗  ตึกโอพีดีคับแคบมากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยเพิ่มเป็นวันละ ๑๒๐-๑๕๐ คน และกระทรวงไม่มีงบประมาณขยายโอพีดีให้  ทางโรงพยาบาลได้ดัดแปลงตึกโอพีดีใหม่  โดยย้ายฝ่ายส่งเสริมสุขภาพลงไปอยู่เรือนพักญาติคนไข้ ฝ่ายสุขาภิบาลขึ้นไปอยู่ชั้นบน  แล้วจึงขยายห้องเอ็กซเรย์ให้ใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งมีห้องตรวจ  ๓  ห้อง  ห้องปฐมพยาบาลที่ใหญ่ขึ้น  แต่ห้องคลอดก็ยังคงเล็กและมีปัญหาในแง่การทำให้ปราศจากเชื้อ
 
มกราคม  ๒๕๒๘  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมีนโยบายให้ปีใหม่นี้เป็นปีปรับปรุงคุณภาพ โดยมีการปรับปรุงคุณภาพทั้งบุคลากร,อุปกรณ์เครื่องใช้และคุณภาพงานโดยส่วนรวม  รวมทั้งมีการมอบของขวัญและรางวัลปฏิบัติงานดีเด่นแก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลด้วย 
 
เมษายน  ๒๕๒๘  พญ.อุษา จันทร์จรัสสิน  ย้ายตามสามีไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลเชียงราย  โรงพยาบาลได้รับ นพ.วรรณกร  เล่าสุอังกูร ซึ่งเป็นแพทย์โครงการแพทย์ชนบทมาปฏิบัติหน้าที่แทน  โรงพยาบาลยังคงมีแพทย์เท่าเดิม  คือ ๕คน
 
มิถุนายน ๒๕๒๘  โรงพยาบาลได้เน้นระบบการบริหารโดยองค์กรมากขึ้น  โดยแต่ละฝ่ายมีกรรมการฝ่ายของตนเองบริหารกันเอง  และเริ่มการแบ่งงานรับผิดชอบในทุกระดับแม้แต่คนงาน โดยกำหนดเป้าหมายและให้ผู้รับผิดชอบกำหนดแนวทางการดำเนินงานเอง
 
กรกฏาคม  ๒๕๒๘  โรงพยาบาลได้ทดลองนำไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บข้อมูลและสต๊อกวัสดุของโรงพยาบาล
 
สิงหาคม  ๒๕๒๘  โรงพยาบาลได้ดำเนินการจัดซื้อเครื่องตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นความถี่สูง  (UI-trasound)  ด้วยเงินบริจาคมาใช้ในโรงพยาบาล
 
กันยายน ๒๕๒๘  โรงพยาบาลได้รับงบประมาณจากกระทรวง ๙๗๕,๐๐๐ บาทสำหรับสมทบเงินบำรุงโรงพยาบาลอีก  ๑,๐๐๐,๐๐๐  บาท  เพื่อสร้างตึกต่อเติมโอพีดี  โดยจะมี  ๔ หน่วยงาน  คือ ห้องคลอด  ห้องฟัน  ห้องฉุกเฉิน  และห้องไอซียู  กำหนดสร้างเดือนตุลาคม  ๒๕๒๘
 
ปี  พ.ศ.2535  ได้ก่อสร้างตึกอนุสรณ์อาจาโร  โดย แรงศรัทธาของคณะทอ.01  มิตรประชา  และคณะศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่ฝั้น  อาจาโร  เปิดให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเด็ก  และผู้ป่วยตา 
 
โรงพยาบาลได้ขยายการบริการออกหลายแผนกทำให้โรงพยาบาลได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นโรงพยาบาลขนาด  60  เตียงและ  90  เตียง  เมื่อ  พ.ศ.2526  และ  พ.ศ.2539  ตามลำดับ  แต่การให้บริการผู้ป่วยด้านอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน  ยังมีปัญหาอยู่เนื่องจากพื้นที่ห้องบริการเดิมคับแคบ
 
               ปี พ.ศ.2536และ  พ.ศ.2539  นายอำนวย  สินธพพันธุ์  รองอธิบดีกรมราชภัณฑ์  (ในขณะนั้น)  ได้รับทราบถึงปัญหาจึงมีความประสงค์ที่จะสร้างตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินขึ้น  จึงได้จัดทำผ้าป่าเพื่อสมทบทุนดำเนินการก่อสร้างตึก  และนอกจากนี้ท่านและคณะข้าราชการจากกรมราชทัณฑ์ยังได้บริจาคเครื่องมือแพทย์อุปกรณ์ต่างๆที่จำเป็นและขาดแคลนแก่โรงพยาบาล  ต่อมาได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์และก่อสร้างตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน เมื่อวันที่  25  สิงหาคม พ.ศ. 2539  เริ่มทำการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2540 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541  เปิดให้บริการ  เมื่อ 1  มกราคม  พ.ศ. 2542  เป็นต้นมาและทำพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อวันอาทิตย์ที่  20  สิงหาคม  พ.ศ.2543  โดยรองอธิบดีกรมราชทัณฑ์และคณะ   นอกจากนี้ท่านยังได้จัดหาทุนในการก่อสร้าง  และจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์  สำหรับตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน  เพิ่มเติม
               
 และเมื่อปี  พ.ศ.  2542  คณะศิษย์หลวงปู่ฝั้นมีความเห็นว่ารูปปั้นหลวงปู่ตั้งอยู่กลางแจ้งมานานหลายปีน่าจะมีหลังคาสำหรับกันแดดกันฝนให้ท่าน จึงได้รวบรวมทุนทรัพย์และทำการก่อสร้างหลังคาแล้วเสร็จในปีนั้นเองด้วยทุนทรัพย์เกือบ 200,000 บาท
 
       ปี  พ.ศ.2542  ได้มีเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลได้ทุนไปศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ  สาขาการแพทย์แผนไทย  เมื่อสำเร็จออกมา  รพ.ได้ขยายงานด้านอายุรเวท  และแพทย์แผนไทย  จึงได้ก่อสร้างปรับปรุงอาคารแพทย์แผนไทย  (จากห้องสหกรณ์และพัสดุเดิม)  และต่อมาปี  พ.ศ.2545  ท่านนายแพทย์นิทัศน์  รายยวา  ได้ดำริปรับปรุงห้องเก็บศพเดิมซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์ เป็นอาคารผลิตสมุนไพร  เพื่อให้การบริการแพทย์แผนไทยดำเนินการได้ครบวงจร
 
ปี  พ.ศ.2543-44  ได้มีการปรับปรุงซ่อมแซม ตึกผู้ป่วยหญิงเนื่องจากมีความชำรุดทรุดโทรม หลังคารั่ว และเก่าแก่มาก (ตึกผู้ป่วยในตึกแรกของ รพ.)ได้ทำการซ่อมแซมตึกผู้ป่วยหญิงใหม่ทั้งตัวอาคาร  ห้องน้ำผู้ป่วย ห้องปฏิบัติงานและห้องน้ำเจ้าหน้าที่   เพิ่มเติมห้องแยกผู้ป่วย  ในช่วงการปรับปรุงได้ย้ายผู้ป่วยไปรวมกับผู้ป่วยชายที่ตึกสงฆ์อาพาธ  และเปิดใช้บริการได้ตามปกติ  เมื่อวันที่  1  มีนาคม พ.ศ. 2545
 
ปี  พ.ศ.2544-45  โรงพยาบาลได้ปรับปรุงและก่อสร้างโรคจอดรถของโรงพยาบาล ติดกับห้อง พขร. เป็นแห่งแรก  และปีต่อมาได้ก่อสร้างโรงรถแห่งที่  2  ทางด้านหน้าตึกสงฆ์อาพาธ
 
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ปี  พ.ศ.2548  โรงพยาบาลได้ทำการปรับปรุง ซ่อมแซมอาคารตึกสงฆ์อาพาธ  เนื่องจากชำรุดทรุดโทรมมาก    ในส่วนของตัวอาคาร  ระบบไฟฟ้า  ประปา  และขยายห้องพิเศษ  ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ยังไม่แล้วเสร็จ   โดยในช่วงที่ปรับปรุงได้ย้าย  ผู้ป่วยไปไว้  ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของโรงพยาบาล    ต้นปี 2550  การปรับปรุงตึกสงฆ์อาพาธเสร็จเรียบร้อย  และสามารถเปิดให้บริการผู้ป่วยได้จึงได้ย้ายผู้ป่วยกลับและทำพิธีเปิดป้ายตึกสงฆ์อีกครั้งเมื่อวันที่ 20  สิหาคม 2550
 
    ปี  2552     ได้งบประมาณไทยเข้มแข็ง  จากกระทรวงสาธารณสุขในการก่อสร้างอาคารแพทย์แผนไทย ใหม่  อาคารตึกผ่าตัด คลอด  ก่อสร้างเสร็จ ในปี 2554  ส่วนแฟลตพยาบาล  ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการ
ปี  2552    ได้งบประมาณในการก่อสร้าง  อาคารซัพพลาย(UC) ในราคา 1.4  ล้านบาท  ทั้ง 2  แห่ง