ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลพร้าว

Phrao Hospital

Logo Thumb preview

ที่อยู่/ติดต่อ
181 หมู่ 4 ต.เวียง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
โทรสาร 053475293 #103

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลพร้าว

รพ.พร้าว อาลัยต่อการจากไปของบุคลากรสำคัญ 2 ท่าน

extended content image
extended content image
คณะแพทย์ พยาบาล บุคลากรและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพร้าว เชียงใหม่ ขอแสดงความเสียใจและร่วมไว้อาลัย ต่อการจากไปของ คุณอำพร จองคำแหลง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และคุณพิษณุ ใจลึก พนักงานขับรถยนต์ ณ วันที่ 17 มกราคม 2567 (เพื่อเป็นการให้เกียรติผู้เสียชีวิต ขอความกรุณา งดส่งต่อภาพเหตุการณ์)
 

Facebook โรงพยาบาลพร้าว

 

ประวัติโรงพยาบาลพร้าว

ปี 2503 : เริ่มจากเป็นสถานีอนามัยชั้น 1 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2503 โดยมี นายแพทย์จินดา  คล้ายเชื้อวงศ์  เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล
 
ปี 2517 : นายแพทย์อภิเชษฐ์  นาคเลขา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลและกรรมการโรงพยาบาลอีก 25 ท่าน มีนายอำเภอเป็นประธานสร้างเหรียญหลวงปู่แหวน(เหรียญทองแดงรมดำ)  จำนวน 75,000 เหรียญ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2517 ได้เงิน 1.2 ล้านบาท  สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทานเงินส่วนพระองค์สมบทอีก 50,000 บาท เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง  โดยที่ดินเป็นที่ดินราชพัสดุ 5 ไร่ และได้รับ บริจาคที่ดินอีก 11 ไร่  จากนางบัวจีน  สัตยพานิช  การสร้างโรงพยาบาล 10 เตียง ใช้เงินงบประมาณและเงินรายได้จากการสร้างเหรียญ  โดยการเปิดประมูลถมดิน ในการก่อสร้าง  สร้างอาคารซีเมนต์ชั้นเดียว
 
1. ห้องตรวจ 2  ห้อง
2. ห้องฉุกเฉิน 1  ห้อง
3. ห้องผ่าตัด 1  ห้อง
4. ห้องคลอด 1  ห้อง
5. ห้องยา 1  ห้อง               
 
มีเตียงนอนในโรงพยาบาล 4 เตียง ครุภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น เครื่องเอกซเรย์ เป็นต้น
 
ปี 2525 : เริ่มก่อสร้างตึกผู้ป่วยใน ยกระดับเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง จากเงินงบประมาณ เป็น               อาคารชั้นครึ่งซีเมนต์  พร้อมอุปกรณ์การแพทย์ตามกรอบกระทรวงพร้อมบ้านพัก  สร้างเสร็จเดือน ตุลาคม 2526  โดยมี นายแพทย์ธานี  กลิ่นขจร  เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล
 
ปี 2528 : ก่อสร้างตึกผู้ป่วยนอก สร้างเสร็จปี 2528
 
ปี 2529 : เริ่มเปิดใช้บริการเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง อย่างเป็นทางการในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2529  โดยมี นายแพทย์จิราวุธ  พันธชาติ  เป็นผู้อำนวยการ  และมี  นายชัยยา  พูนศิริวงศ์  ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงาน
 
ปี 2543 :  เปิดอาคารหลวงพ่อดาบส  สุมโน  อาคารผู้ป่วยใน 60 เตียง แบบ 7919 (หลวงพ่อดาบส  สุมโน  ได้บริจาคเงินสร้างอาคาร พร้อมครุภัณฑ์ เป็นเงิน  11  ล้านบาท)  และวันที่ 23 พฤษภาคม  2543  นายแพทย์พหล   วงค์สาโรจน์  เป็นประธานพิธี นายแพทย์วุฒิไกร  มุ่งหมาย  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่  กล่าวรายงานนับได้ว่าโรงพยาบาลพร้าวเปิดบริการให้กับประชาชนในอำเภอพร้าว จนถึงปัจจุบันนี้ 
 
ปี 2561 :   เปิดอาคารอิสระไพโรจน์ โดยมีคุณประกฤต อิสระไพโรจน์ พร้อมครอบครัว 
 
 
วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรที่ให้บริการระบบสุขภาพแบบบูรณาการที่มีคุณภาพคู่คุณธรรม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ สร้างนวัตกรรม/งานวิจัยด้านสุขภาพ เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
 
 
 
พันธกิจ
- จัดระบบบริการการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังแบบบูรณาการ
- จัดระบบบริการให้มีคุณภาพแบบบูรณาการให้มีคุณภาพและมาตรฐานทุกกลุ่มวัย
- จัดระบบบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล
- สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน และสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
- สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ นวัตกรรม/วิจัยด้านสุขภาพ
 
 
ค่านิยม
- สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ทุกคนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning)
- สนับสนุนให้มีการนำสิ่งที่เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง (Action Learning)
- มีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement : CQI)
- เน้นการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ทุกระดับ (Participation)
- ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient Center Approach)
- ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามอัตลักษณ์ของโรงพยาบาล “ ซื่อสัตย์ สามัคคี มีน้ำใจ ” 
 
( Honesty,Unity,Generosity )
 
 
 
ปรัญชาการให้บริการ
1. ดูแลผู้ป่วยโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patients Center)
2. รักองค์กรและมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous quality improvement)
3. สนับสนุนให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning)
4. สนับสนุนการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง (Action learning)
5. เน้นการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ (Participation)
 
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้กำหนดคุณค่าหลัก (Core Value) ของบุคลากรในวงการ สธ. 4 ประการ ซึ่งประกอบด้วย
 
M : Mastery หรือเป็นนายตนเอง คือเป็นบุคคลที่หมั่นฝึกฝนตนเองให้มีศักยภาพ ยึดมั่นในความถูกต้อง มีวินัย ปฏิบัติตามกฎระเบียบ บนพื้นฐานของการมีสำนึก รับผิดชอบ คุณธรรม และจริยธรรม
O : Originality หรือเร่งสร้างสิ่งใหม่ คือสร้างสรรค์นวัตกรรม สิ่งใหม่ ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบสุขภาพ
P : People centered หรือใส่ใจประชาชน คือต้องยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการทำงานเพื่อประโยชน์อันดีแก่ประชาชน โดยใช้หลักเข้าใจ เข้าถึง พึ่งได้
H : Humility หรือถ่อมตนอ่อนน้อม คือมีสัมมาคารวะ มีน้ำใจ ให้อภัย รับฟังความเห็น เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม