เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่สําคัญ : เครื่องมือตรวจวินิจฉัย รักษาและจัดการระบบงาน
หน่วย X-RAY - CT scan 120 สไลด์ (2560)/ Digital fluoroscopy (2558)/ ระบบ PAC (2559)
สูตินรีเวชกรรม - Mammogram (25๖๐)/ Ultrasound4 มิติ(2554)
ศัลยกรรม - Gastroscope (2554)/ arthroscope (2548)/ เครื่องวัดความดันตาวัดลานสายตา ถ่ายภาพจอประสาทตา(2553)/
ENT(2557)/ URO (2557)/ เครื่องเลเซอร์รักษาโรคผิวหนัง(2548)/ ตู้เตรียมยาเคมีบําบัด(2549)
อายุรกรรม - Echocardiography (2557)/ EST (2558)
กุมารเวชกรรม -NICU (๒๕๔๗)/ PICU (2560)
พยาธิวิทยาคลินิก -เคร่อืงมือ อุปกรณ์การตรวจ วินิจฉัยชิ้นเนื้อ (๒๕๕๘)
ทันตกรรม -x-rayช่องปาก OPG (2554)
โครงสร้างเครือข่ายบริการ
เครือข่ายภายใน
รพ.สต. 12 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 3 แห่ง คปสอ. เมอืงพังงา
เครือข่ายภายนอก
รพศ. วชิระภูเก็ต
รพศ. สุราษฎร์ธานี
โรงพยาบาลเชี่ยวชาญ (มะเร็ง สวนสราญรมย์ สถาบันผิวหนัง)
โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต (เครือข่าย STEMI สปสช.)
โรงพยาบาล อบจ. ภูเก็ต (ส่งต่อผู้ป่วยกลับมารักษาที่ รพ พังงา)
การขยายบริการเพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและเป็นศูนย์ส่งต่อ ในระดับ
ตติยภูมิ ตามนโยบาย Andaman Hub Medical network ของจังหวัดพังงา (ปี 2560) ที่มีการบูรณาการกับ 21
หน่วยงาน มุ่งเน้นการพัฒนางานระบบการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อรองรับอุบัติเหตุ อุบัติภัย และสาธารณภัย เช่น อุบัติเหตุทางการคมนาคม อุบัติภัยจากสึนามิ เป็นต้น
จังหวัดพังงา ไม่มีโรงพยาบาลเอกชน ดังนั้นจึงมีการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการทางการแพทย์ (แพทย์ ทีม ระบบบริการ และเครื่องมือ) เพื่อเพิ่มความศรัทธาของประชาชนมีการพัฒนาบุคลากร และแผนในการเพิ่มแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขาให้มีความ เช่น วิสัญญีแพทย์ (ปี 2563 จํานวน 1 คน) แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน (ปี 2563 จํานวน 1 คน) ศัลยศาสตร์ (ปี 2560 จํานวน 1 คน และปี 2564 จํานวน 1 คน) แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู (ปี 2563 จํานวน 1 คน) เป็นต้น
การผสมผสานแนวคิดจิตตปัญญา เพื่อให้เกิดระบบบริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ และผู้ให้บริการมีความสุขจากการปฏิบัติงาน
ด้านอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์มีความทันสมัย เมื่อเทียบกับโรงพยาบาลในระดับเดียวกัน สามารถเพิ่มศักยภาพในการวินิจฉัย และสร้างความเชื่อมั่นต่อการตรวจรักษา
ด้านอาคารสถานที่ จัดสถานที่รองรับการให้บริการท่ีเพียงพอและมีประสิทธิภาพ มีการนําแนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา (healing-environment) มาใช้ในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมคู่กับนโยบาย Green and Clean Hospital
ด้านกระบวนการพัฒนา มีการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพงานควบคู่กับการส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยอย่าง
ต่อเนื่อง บุคลากรมีความมุ่งมั่นในการผลักดันงานคณุ ภาพ และร่วมมือในกระบวนการคุณภาพ
ลักษณะสําคัญทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและประชากร :
จังหวัดพังงาตั้งอยู่ทางภาคใต้ตอนบนทิศเหนือ ติดจังหวัดระนองและจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทิศใต้ ติดจังหวัดภูเก็ตและทะเลอันดามัน ทิศตะวันออก ติดจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดกระบี่ ทิศตะวันตก ติดทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดียห่างจากสถานบริการระดับตติยภูมิคือ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต 89 กิโลเมตร โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 160 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 4,170.885 ตารางกิโลเมตร ซึ่งแบ่งเป็นพื้นที่ต่างๆ ดังนี้พื้นที่ทําการเกษตร ร้อยละ 43.3 พื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 41.29 ประชากรของจังหวัดพังงา ณ เดือนตุลาคม 2560 มีจํานวน 233,654 คน (อันดับที่ 70 ของประเทศ และอันดับที่ 13 ของภาคใต้) เป็นเพศชาย 117,519 คน เพศหญิง 116,135 คน ความหนาแน่นของประชากรประมาณ 56.02 คนต่อตารางกิโลเมตร
ลักษณะทางสังคมส่วนใหญ่เป็นสังคมที่เรียบง่าย มีการใช้ชีวิตแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างมีสาระ (slow life) ผลการสํารวจพบว่า พังงา เป็นจังหวัดที่อยู่แล้วเป็นสุข อันดับที่ 2 ของประเทศ และติดอันดับ 1 ใน 5 อย่างต่อเนื่อง ประชาชนนับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 71.01 นับถือศาสนาอิสลามประมาณ ร้อยละ 28.66 ส่วนใหญ่มีเชื้อชาติไทย รองลงมาเชื้อชาติจีน มีประเพณีที่สําคัญคอื วันสารทเดือนสิบ เทศกาลกินเจ และช่วงถือศีลอด (มุสลิม) มคีนต่างด้าวสัญชาติพม่าและมอญที่เดินทางมาทํางานเป็นผู้ใช้แรงงาน (25,165 คน - ปี 2558) สําหรับชนกลุ่มน้อยมีกลุ่มเดียว คือชาวไทยใหม่ (ชาวเลหรือชาวน้ํา)ซึ่งอาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลและเกาะในอ่าวพังงา มีความเป็นอยู่อย่างสันโดษและประกอบอาชีพประมงส่วนมากพูดภาษาไทยได้