ข่าวสุขภาพ
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าว/กิจกรรม/สาระ รพ.ต่างๆ ข้อมูลบริการ รพ.ต่างๆ สาระความรู้สุขภาพ กิจกรรม ESG CSR Health Economy บริจาครพ.ต่างๆ
น่าสนใจไทยแลนด์
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลพิชัย

Phichai Hospital

ที่อยู่/ติดต่อ
139 หมู่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ 53120
Tel : 055-832100
Fax : 055-456299-301 ต่อ 118

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

ข้อมูล/ประกาศ/บริการ โรงพยาบาลพิชัย

content image1
 กลุ่มการพยาบาลผู้ป่วยนอก
กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยใน
กลุ่มงานผ่าตัด และ วิสัญญีพยาบาล
กลุ่มงานควบคุมการติดเชื้อ และจ่ายกลาง
กลุ่มงานการพยาบาลผู้คลอด
 

 ประวัติโรงพยาบาลพิชัย

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้จัดงบประมาณ สร้างสถานีอนามัยชั้นหนึ่งและอาคารต่างๆโดยไดัรับบริจาค ที่ดินจากประชาชนบริเวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอพิชัย หมู่ที่ 3 ตำบลในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งได้เปิดบริการเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2509 โดยมีนายแพทย์ประยูร บุญเพียร เป็นหัวหน้าสถานีอนามัยชั้นหนึ่งแห่งนี้เป็นคนแรก การใช้บริการในระยะแรกประชาชนมารับบริการไม่มากหนักเพราะขาดแพทย์อยู่ประจำในปี พ.ศ.2516 จึงได้มีการจัดสรรให้มีแพทย์ประจำหมุนเวียนท่านละ 6 เดือน ทำให้ประชาชน มารับบริการเพิ่มขึ้น
 
ต่อมาทางราชการ ได้เปลี่ยนชื่อจากสถานีอนามัยชั้นหนึ่ง เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพิชัย ในปี พ.ศ.2522 ขณะนั้นสถานที่ตั้งโรงพยาบาลเดิมมีเนื้อที่คับแคบไม่สามารถขยายอาคารสำหรับให้บริการผู้ป่วยซึ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นได้เพียงพอ กระทรวงสาธารณสุขจึงอนุมัติให้ก่อสร้าง โรงพยาบาลขนาด 10 เตียงขึ้นที่บริเวณหมู่ที่ 1 ระหว่างทางถนนสาย พิชัย – บ้านแก่ง ตำบลในเมือง ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อเดือนเมษายน 2527 และในเดือนพฤศจิกายน 2527 ได้รับบริจาคจาก ท่านพระครูธรรมมานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอพิชัยและพ่อค้าประชาชนในอำเภอพิชัย สร้างตึกสงฆ์อาพาธ ให้แก่โรงพยาบาลและในเวลาต่อมานายแพทย์สุเพียว อึ๊งวิจารณ์ปัญญาผู้อำนวยการโรงพยาบาลพิชัยและนายพิชัย วรรณพัฒน์นายอำเภอพิชัย สภาตำบลในเมือง และกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้ใช้ที่ดินสาธารณะจำนวน 65 ไร่ ขยายเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง ซึ่งรวมมีเนื้อที่ทั้งหมดเปิดให้บริการแก่ประชาชน เมื่อ 16 กรกฎาคม2530 จนถึงปี 2544 ได้ขยายเป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง และได้ผ่านการรับรองมาตรฐานโรงพยาบาลฉบับปีกาญจนาภิเษกซึ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย โดยสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2546 และได้ดำเนินการปรับปรุงด้านอาคารสถานที่ และบริการด้านสุขภาพมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

เครือข่าย
สถานีอนามัยท่าสัก
สถานีอนามัยบ้านดารา
สถานีอนามัยไร่อ้อย
สถานีอนามัยบ้านเกาะ
สถานีอนามัยคลองละมุง
สถานีอนามัยบ้านโคน
สถานีอนามัยบ้านหม้อ
สถานีอนามัยนาอิน
สถานีอนามัยนาอิน
สถานีอนามัยท่ามะเฟือง
สถานีอนามัยคอรุม
สถานีอนามัยบึงท่ายวน