ข่าวสุขภาพ
ค้นหา รพ.-คลินิก-ร้านยาทั่วไทย ร้านยาคุณภาพของฉัน บริการสุขภาพ คลินิกเอกชน งาน รพ.
บริการวัคซีนโควิด บริการตรวจโควิด
ตำแหน่งงาน
ข่าวสุขภาพทั่วไป ข่าวธุรกิจสุขภาพไทย ข่าวธุรกิจสุขภาพรอบโลก กิจกรรม-บริการ รพ.ต่างๆ สิทธิสุขภาพชาวไทย สาระความรู้สุขภาพ Health Economy ท่องเที่ยวสุขภาพ กิจกรรม ESG CSR กิจกรรม Event บริจาค
น่าสนใจไทยแลนด์
English
About us เผยแพร่เนื้อหา สถิติเว็บไซต์ สำรวจความเห็นสุขภาพ โฆษณา
healthserv.net@gmail.com

โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี

Cancer Hospital in Surat Thani

Logo

สอบถามบริการรายการตรวจสุขภาพประจำปี โทร.077-277555

ที่อยู่/ติดต่อ
431 หมู่ที่ 5 ถนนสุราษฎร์ธานี-นาสาร ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84100

*ข้อมูลรวบรวมโดย Healthserv.net เพื่ออำนวยความสะดวกเบื้องต้นให้กับผู้ชมที่ต้องการข้อมูลสถานพยาบาล ไม่ใช่เว็บทางการของรพ./สถานพยาบาลแต่อย่างใด แนะนำให้ไปยังเว็บไซต์/เฟซบุ๊ค หรือช่องทางติดต่อของรพ./สถานพยาบาลนั้นๆ โดยตรง

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

HealthServ ชวนร่วมตอบแบบสอบถาม สำรวจความต้องการบริการสุขภาพของคนไทย

ผลสำรวจ

ข่าวสาร-สาระ-ข้อมูลบริการ โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี

โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี
ตารางการให้บริการตรวจรักษางานผู้ป่วยนอกเฉพาะทางโรคมะเร็งโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี ประจำสัปดาห์
 
 
จันทร์
เช้า (08.30 น. - 12.00 น.)
1. ตรวจสุขภาพเพื่อค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก และรับผู้ป่วยส่งต่อ 
2. คลินิกอายุรกรรมและส่องกล้องทางเดินอาหาร
4. คลินิกศัลยกรรม 
 
บ่าย (13.00 น. - 16.00 น.)
1. ตรวจโรคทั่วไปและรับผู้ป่วยส่งต่อ (นพ.กฤตยภาส)


 
อังคาร
เช้า (08.30 น. - 12.00 น.)
1. ตรวจสุขภาพเพื่อค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก และรับผู้ป่วยส่งต่อ (พญ.จุฑามาส)
2. คลินิกนรีเวช (นพ.กฤตยภาส)
3. คลินิกศัลยกรรมและเต้านม (นพ.สมชาย)

บ่าย (13.00 น. - 16.00 น.)
1.  ตรวจสุขภาพเพื่อค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก และรับผู้ป่วยส่งต่อ (พญ.จุฑามาส)
2. คลินิกนรีเวช (นพ.กฤตยภาส)
3. คลินิกศัลยกรรมและเต้านม (นพ.กิตติ)


 
พุธ
เช้า (08.30 น. - 12.00 น.)
1. คลินิกนรีเวช (นพ.กฤตยภาส)
2. คลินิก ศัลยกรรมและเต้านม (นพ.ทรงเกียรติ)
3. คลินิกอายุรกรรมและส่องกล้องทางเดินอาหาร (พญ.กาญจนี)
4. ตรวจสุขภาพเพื่อค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก และรับผู้ป่วยส่งต่อ (นพ.สิริศักดิ์)
5. คลินิกหู คอ จมูก (นพ.ธีรพล ก่อธรรมนิเวศน์)

บ่าย (13.00 น. - 16.00 น.)
1. คลิกนิกส่องกล้องที่ปากมดลูก (นพ.กฤตยภาส)
2. คลินิกอายุรกรรมและส่องกล้องทางเดินอาหาร (พญ.กาญจนี)
3. ตรวจสุขภาพเพื่อค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก และรับผู้ป่วยส่งต่อ (พ.สิริศักดิ์)
4. คลินิกหู คอ จมูก (พญ.ผกายวรรณ)*ออกตรวจสัปดาห์ที่ 1,3,5 ของทุกเดือน


 
พฤหัสบดี
เช้า (08.30 น. - 12.00 น.)
1. ตรวจสุขภาพเพื่อค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก และรับผู้ป่วยส่งต่อ (พญ.จุฑามาส)
2. คลินิกอายุรกรรม (นพ.ทรงศักดิ์)
3. คลินิกศัลยกรรมและเต้านม (พญ.จรัสศรี)
4.  คลินิกหู คอ จมูก (นพ.ธีรพล ก่อธรรมนิเวศน์)

บ่าย (13.00 น. - 16.00 น.)
1. คลินิกอายุรกรรม (นพ.ทรงศักดิ์)
2. คลินิกหู คอ จมูก (นพ.ธีรพล ก่อธรรมนิเวศน์)


 
ศุกร์
เช้า (08.30 น. - 12.00 น.)
1. ตรวจสุขภาพเพื่อค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก (นพ.กฤตยภาส) และรับผู้ป่วยส่งต่อ
2. คลินิกศัลยกรรมและเต้านม (นพ.สุวิช)
3. คลินิกนรีเวช (นพ.ชูชัย)
4. คลินิกหู คอ จมูก (พญ.บุษยมาศ)***ออกตรวจสัปดาห์ที่ 1,3,5, ของทุกเดือน
5. คลินิกอายุรกรรมและส่องกล้องทางเดินอาหาร (พ.เสรีภาพ) 09.00-12.00 น.

บ่าย (13.00 น. - 16.00 น.)
1. คลินิกศัลยกรรมและเต้านม (นพ.สุวิช)
 
 
 
 

  
ประวัติโรงพยาบาล
ในอดีตปัญหาโรคมะเร็งในประเทศไทยยังไม่เด่นชัดว่าจะเป็นโรคซึ่งส่งผลกระทบต่อประเทศได้มาน้อยพียงใด แต่ก็มีแพทย์หลายทำนขณะนั้น เล็งห็นการณ์ไกล นายแพทย์สมชาย สมบูรณ์เจริญ อดิต
ผู้อำนวยการสถาบัน มะเร็งแห่งชาติ เป็นหนึ่งในจำนวนบุคคลดังกล่าวที่พยายามผลักดันให้มีการ จัดตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับปัญหาโรคมะเร็ง ปี พ.ศ. 2505 นายแพทย์สมชาย สมบูรณ์เจริญ ได้เสนอโครงการจัด ตั้งสถานตรวจมะเร็งเริ่มแรกขึ้นที่โรงพยาบาสหญิง (รพ.ราชวิถีในปัจจุบัน) เป็นโครงการนำร่องในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคมะร็ง โครงการดังกล่าวได้รับความห็นชอบจาก ฯพณฯ คุณบำราศนราดูร รัฐมนตรีว่การกระทรวงสาธรารณสุข ขณะนั้นนำเสนอคณะรัฐมนตรีและได้รับอนุมัติ ให้จัดตั้งได้ ซึ่งต่อมาสถานตรวจมะเร็งระยะเริ่มแรกดังกล่าว ถูกยุบไปในปีนั้นเอง  มีอาจารย์อาวุโสและนายแพทย์หลายท่าน เสนอโครงการ รายงาน การคึกษาพร้อมข้อเสนอแนะ ต่อรัฐบาลให้จัดตั้งโครงการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ของกระทรวงสาธารณสุข
 
ฯพณฯ คุณบำราศนราดูร มีความใจและตระหนักถึงปัญหาโรคมะเร็งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงได้เชิญผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขมาปรึกษาหารือและเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง 
คณะกรรมการดำเนินการ จัดตั้งสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข  เพื่อลดปัญหาการเป็นโรคและการตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทย ซึ่งกระทรวงสารารมสุข จะเป็นผู้รับผิดชอบและหน่วยงาน
ในสั่งกัดของมหาวิทยาลัยจะเป็นหน่วยสนับสนุนวิชาการ ปี พ.ศ. 2507 โครการจัดตั้งสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ได้รับการเสนอความห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี แต่ด้วยเหตุผลบางประการ 
กรรมาธการงบประมาณไม่ห็นด้วยและไม่อนุมัติโครงการฯ  โครงการจัดตั้งสถาบันมะร็งแห่งชาติ จึงต้องล้มเลิกไป
 
พ.ศ. 2508 โดยความพยายามและตั้งใจจริงของ ฯพณฯ คุณบำราศนราดูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวง นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ปลัดระทรวงสาธารณสุข และนายแพทย์สมชาย สมบูรณ์เจริญ ผู้ริเริ่มโครงการฯ จึงได้รื้อฟื้นโครงการจัดตั้งสถาบันมะเร็งแห่งชาติขึ้นเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง  และในที่สุดคณะรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติให้  จัดตั้งสถาบันมะเร็งแห่งชาติขึ้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2508 โดยอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดอัตราการเป็นและอัตราการตายจาคโรคมะเร็งของประชากร
ไทย ปี พ.ศ. 2514 (14 พ.ย. 2514) ฯพณๆ จอมพล ถนอม กิติขจร ได้ปฏิวัติ และมีการปฏิรูปการแบ่งส่วนราชการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โกมล เพ็งศรีทอง  รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอคณะปฏิรูปเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการ ให้สถาบันมะเร็งแห่งชาติ มาสังกัด กรมการแพทย์ ต่อมาปี พ.ศ. 2523  สถานบันมะเร็งแห่งชาติ ได้เสนอโครงการจัดตั้งศูนย์ มะเร็งในส่วนภูมิภาคขึ้น 8 แห่ง เพื่อดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งให้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทุกภูมิภาค และกระทรวงสารารมสุข จึงอนุมติให้ดำเนินการในปี พ.ศ. 2529 โดยในครั้งนั้น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เห็นสมควรเริ่มงานเพียง 6 ศูนย์ก่อน คือ
1. ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง จังหวัดลพบุรี
2. ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง จังหวัดชลบุรี
3. ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง จังหวัดอุบลราชรานี
4. ศูนป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง จังหวัดลำปาง
5. ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง จังหวัดอุตรธานี
6. ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
ภายใด้การนำของนายแพทย์พิสิษฐ พันธุมจินดา และนายแพทย์สิริศักดิ์ ภูริพัฒน์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ  จึงได้ดำเนินการผลักดัน เพื่อขอแปรญัตติ โดยได้รับการสนับสนุนจาก นายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงสาธารณสุข จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ คณะรัฐมนตรีอนุมัติเงินงบประมาณจากการแปรญัตติ ในปีงบประมาม 2536 เป็นงวดแรก 5 ล้านบาท ให้ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีหน้าที่รับผิดชอบงานป้องก้นและควบคุมโรคมะเร็งในเขตพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี  จังหวัดชุมพร อังหวิดสงขลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตุูล จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดปัตตานี จังหวักระบี่ จังหวัดภูก็ต จังหวัดระนอง จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดพัทลุง จังหวัดยะลา โดยศูนย์ได้รับการจัดสรรที่ดินจากนิคมสร้างตนเองขุนทะเล กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย  โดยใช้ที่ดินบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 20 ริมถนนสายสุราษฎร์-นาสาร  หมู่ที่ 5 ตำบลขุนทะเล อ.มือง จ.สุราษฎร์ธานี รวมทั้งสิ้น 50 ไร่เศษ เป็นสถานที่ก่อสร้าง ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 
 
จากผลการดำเนินงานที่ศูนย์มะเร็งต่างๆ ได้ดำเนินไป โดยเฉพาะศูนย์มะเร็งฯ จังหวัดสุราษฏร์ธานี  ซึ่งได้รับผิดชอบพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ สามารถทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวในการดูแลและสนใจสุขภาพของตนเองมากขึ้น โดยมาขอรับการตรวจหามะเร็งระยะเริ่มแรก ขอรับการรักษาตั้งแต่ในระยะต้น ๆ