ประวัติโรงพยาบาลลับแล
ตามแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแผนงานกลุ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุข โดยเน้นจัดสร้างโรงพยาบาลชุมชนในเขตพื้นที่ชนบท และห่างไกล ปรากฏว่า ไม่สามารถจะจัดสร้างโรงพยาบาลชุมชนได้ครบทุกอำเภอ ทั้งนี้เนื่องจากบางอำเภอยังไม่เข้าใจหลักเกณฑ์การจัดสร้างโรงพยาบาลชุมชน
ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาให้ทุกอำเภอ ได้รับบริการทางการแพทย์ และการรักษาพยาบาลอย่างทั่วถึง จึงให้โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลชุมชน ขยายการบริการทางการแพทย์ และการรักษาพยาบาลไปยังสถานีอนามัยประจำอำเภอ เป็นฐานในการให้บริการในลักษณะ Extended OPD
สำหรับอำเภอลับแล ได้ดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวโดย ปี 2528 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์ได้มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุดรดิตถ์ ซึ่งในขณะนั้น นายแพทอาวุธ ภมะราภา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ ทำการเปิดดำเนินการที่ สถานีอนามัยตำบลศรีพนมมาศ เป็น Extended OPD เป็นการชั่วคราว โดยให้การรักษาพยาบาล และส่งเสริมสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนในเขตอำเภอลับแล ปี 2530 ได้ดำเนินการก่อสร้างเป็นโรงพยาบาลลับแล สาขาโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ โดยเงินงบประมาณที่ได้จากประชาชนทางภาษีอากรที่หมู่ที่ 2 ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งก็คือบริเวณที่เป็นโรงพยาบาดลับแลในปัจจุบัน
ปี 2535 วันที่ 1 ตุลาดม 2535 จึงได้แยกเป็นโรงพยาบาลชุมชน อำเภอลับแล ขนาด 10 เตียงอย่างสมบูรณ์ โดยมีนายแพทย์กิตดิพงศ์ อุบลสะอาด ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ 6 รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล
ปี 2540 ขยายเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง ทำพิธีเปิดอาคารทำการหลังใหม่
วันที่ 24 อันวาคม 2540 ปัจจุบันโรงพยาบาลลับแลตั้งอยู่ที่ เลขที่ 163 หมู่ที่ 11 ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ โทรศัพท์หมายเลข 055-431345, 055-431976, 055-432104 โทรสาร 055-431345 ต่อ 105 อุบัติเหตุฉุกเฉิน สายตรง 055-432177
ระยะทางจากอำเภอลับแลถึงอำเภอเมือง เส้นถนนอินใจมี มีระยะทาง 8 โลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที สำหรับถนนสายรองคือถนนศรีพนมมาศ (เป็นเส้นทางที่แยกจากถนนบรมอาสน์) จากวัดพระแท่นศิลาอาสน์ถึงอำเภอลับแล เป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร