ประวัติความเป็นมาของโรงพยาบาลลานสัก
ตั้งอยู่ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 หมู่ที่ 2 ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี อยู่ระหว่างชุมชนเทศบาลลานสัก ( ระยะห่างประมาณ 2 กิโลเมตร ) กับที่ว่าการอำเภอลานสัก (ระยะห่างกันประมาณ 4 กิโลเมตร) ดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยได้รับบริจาคที่ดินจากคุณทวีศักดิ์ – คุณอุไร จิวานุพันธุ์ จำนวน 25 ไร่ และได้รับงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขก่อสร้างโรงพยาบาล จนเริ่มเปิดโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง บริการให้การรักษาพยาบาลแก่ประชาชนทั่วไปได้เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2526 และต่อมาได้รับที่ดินเพิ่มอีก 10 ไร่ จากส่วนของราชพัสดุ ซึ่งอยู่ติดกับพื้นที่ 25 ไร่เดิมในปี 2534 ได้รับงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขให้ดำเนินการก่อสร้างเป็นโรงพยาบาล 30 เตียง แล้วเสร็จในปี 2535 และเปิดให้บริการให้แก่ประชาชนในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2536 และในปัจจุบันโรงพยาบาลลานสัก ได้รับการยกระดับเป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง ซึ่งเปิดให้บริการแบบเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2544 โรงพยาบาลลานสัก ตั้งอยู่ระยะห่างจากตัวจังหวัดอุทัยธานีประมาณ 58 กิโลเมตร
ข้อมูลบุคลากร
จำนวนบุคลากรในโรงพยาบาลลานสัก จำนวน 176 คน ประกอบด้วย
แพทย์ 6 คน
พยาบาล 50 คน (ข้าราชการ 41 คน พกส. 9 คน)
เภสัชกร 4 คน
ทันตแพทย์ 4 คน
นักวิชาการสาธารณสุข 3 คน
พนักงานกระทรวงฯ 62 คน
พนักงานราชการ 1 คน
ลูกจ้างประจำ 14 คน
ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน 17 คน
เจ้าหน้าที่อื่นๆ 15 คน
ที่มา: ข้อมูลบุคลากรโรงพยาบาลลานสัก ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2557
บุคลากรสาธารณสุข ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอลานสัก + 10 รพ.สต.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 7 คน
รพ.สต. 10 แห่ง
พยาบาลวิชาชีพ (ปฏิบัติงานที่ สอ.) 10 คน
นวก.สาธารณสุข 20 คน
จพ.สาธารณสุขชุมชน 18 คน
แพทย์แผนไทย 1 คน
จพ.ทันตสาธารณสุข 2 คน
ลูกจ้างชั่วคราว 10 คน
หมายเหตุ เฉลี่ยสถานบริการละ 5 คน
ที่มา: ข้อมูลบุคลากรโรงพยาบาลลานสัก ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2557
ขอบเขตความรับผิดชอบ
โรงพยาบาลลานสักและเครือข่ายบริการสาธารณสุข รับผิดชอบประชาชนในเขตอำเภอลานสัก และใกล้เคียง รวม 6 ตำบล 77 หมู่บ้าน เทศบาล 1 แห่ง ชุมชนในเขตเทศบาล 6 ชุมชน ประชากรรวม 57,937 คนคน มีเครือข่ายบริการปฐมภูมิที่เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 10 แห่ง พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลลานสัก (ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลลานสำ :PCU 1) จำนวน 8 หมู่บ้าน และ 6 ชุมชนเทศบาล ประชากรรวม 10,061 คน วัด 7 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอ 1 แห่ง (ข้อมูลปี 2557)
หน่วยบริการด้านสาธารณสุขในพื้นที่อำเภอลานสัก
จำแนกสถานบริการด้านสาธารณสุข อำเภอลานสัก
โรงพยาบาลชุมชนขนาด 60 เตียง 1 แห่ง
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 1 แห่ง
รพ.สต. 10 แห่ง
คลินิกแพทย์ / คลินิกทันตกรรม 1 แห่ง / 1 แห่ง
คลินิกพยาบาลและผดุงครรภ์ 13 แห่ง
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 1 แห่ง
ร้านขายยาบรรจุเสร็จ 6 แห่ง
ข้อมูลทั่วไป
อำเภอลานสัก เดิมเป็นตำบลลานสัก ขึ้นกับ อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากมีพื้นที่กว้างขวางมาก ทางราชการจึงเสนอขอตั้งเป็น “กิ่งอำเภอลานสัก” เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2520 ณ บริเวณ บ้านปากเหมือง หมู่ที่ 1 ตำบลลานสัก ต่อมากรมการปกครอง ได้จัดสรรงบประมาณให้สร้างที่ว่าการกิ่งอำเภอลานสัก ขึ้นที่ บ้านนาไร่เดียว หมู่ที่ 2 ตำบลลานสัก ห่างจากที่ว่าการกิ่งอำเภอเดิม ประมาณ 5 กิโลเมตร จนกระทั่งได้เป็น “อำเภอลานสัก” ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2524
มีประชากรจำนวน 57,937 คน
ข้อมูล มิถุนายน 2557
สภาพสิ่งแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจ
พื้นที่ในเขตอำเภอลานสัก ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สูง สลับกับที่ราบและป่าเขามีแหล่งน้ำค่อนข้างน้อยไม่เพียงพอแก่การเกษตรต้องอาศัยน้ำฝน ประชากรส่วนใหญ่ มากกว่า 80 % มีอาชีพทำการเกษตร และรับจ้าง ฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ ประชากรส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพมาจากถิ่นอื่น ได้แก่ จังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมักมีพื้นฐานการศึกษาค่อนข้างน้อย มีวัฒนธรรม ความเชื่อ และพฤติกรรมสุขภาพหลาย ๆ อย่างที่ส่งผลต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมและความเชื่อนั้น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่ามีประชากรส่วนใหญ่จะกลับมาอยู่ในพื้นที่เฉพาะบางช่วงที่มีงานด้านการเกษตร เมื่อหมดฤดูก็จะอพยพไปอยู่ที่อื่น เช่น กรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ เพื่อรับจ้าง มีเพียงประชากรกลุ่มเด็ก และผู้สูงอายุอยู่ในพื้นที่ ซึ่งต้องพึ่งพาอาศัยดูแลกันเอง ตามอัตภาพ โดยได้รับค่าใช้จ่ายดูแลจากผู้ที่ไปทำงานที่อื่น เป็นระยะ ๆ
จุดแข็งของชุมชน คือการนับถือและยอมรับผู้มีพระคุณ บุคคลที่น่าเชื่อถือการยึดถือขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี ความสามัคคี ความตื่นตัวต่อการพัฒนา และการมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกๆตำบล
สถานที่สำคัญของอำเภอลานสัก
เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ภาพเขียนประวัติศาสตร์เขาปลาร้า
ถ้ำหุบป่าตาด
ถ้ำเขาฆ้องชัย
ถ้ำเขาพระยาพายเรือ
ป่าสักธรรมชาติ
อ่างเก็บน้ำทับเสลา
องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมี 7 แห่ง ได้แก่
เทศบาลตำบลลานสัก 6 ชุมชน
องค์การบริหารส่วนตำบลลานสัก 11 หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลประดู่ยืน 12 หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลป่าอ้อ 11 หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลระบำ 19 หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำรอบ 19 หมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งนางาม 12 หมู่บ้าน