ข้อมูลโรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย
โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย (Srisangworn Sukhothai Hospital) เป็นโรงพยาบาลทั่วไป
ต้นสังกัดในส่วนกลาง สานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
ต้นสังกัดในพื้นที่ สานักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย
ที่อยู่ เลขที่ 1 หมู่ที่ 8 ถนนจรดวิถีถ่อง ตำบลคลองตาล อำเภอศรีสาโรง จังหวัดสุโขทัย รหัสไปรษณีย์ 64120
หมายเลขโทรศัพท์ 0 5568 2030-42 โทรสาร 0 5568 1483
E-mail address : sswadmin@hotmail.com
เว็บไซท์ www.srisangworn.go.th
ลักษณะบริการ
จำนวนเตียงผู้ป่วยใน (ไม่รวมเตียงทารกคลอดปกติ) จำนวนเตียงตามกรอบ/จำนวนที่ขออนุญาต 307 เตียง
จำนวนเตียงที่เปิดให้บริการจริง (ไม่รวมเตียงเสริม) 282 เตียง
สาขาที่มีการให้บริการ
เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 307 เตียง ที่มีขีดความสามารถในการให้บริการ ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ระดับสูง
สำหรับประชาชนในเขตอำเภอศรีสำโรง และรับการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนในเครือข่ายโซนเหนือของจังหวัดสุโขทัย ได้แก่ รพ.ศรีสัชนาลัย รพ.สวรรคโลก รพ.ศรีนคร และ รพ.ทุ่งเสลี่ยม
การให้บริการช่วยเหลือแก้ไขภาวะวิกฤติเพี่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย ประกอบด้วย
หอผู้ป่วยหนัก (15 เตียง)
หออภิบาลทารกแรกเกิด (21 เตียง)
การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
มีแพทย์ประจำทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
พร้อมระบบการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางตามสาขา และการส่งต่อผู้ปุวยกรณีเกินขีดความสามารถ
และระบบ EMS กับเครือข่าย (First Responder) ในชุมชน 4 แห่ง
การให้บริการปฐมภูมิ
มี PCU 19 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 13 ตำบลของอำเภอ
โดยการบริหารจัดการของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.ศรีสำโรง)
ทั้งนี้ ยังเพิ่มศักยภาพ PCU 7 แห่งให้บริการ DM/HT Clinic โดยมีพยาบาลเวชปฏิบัติให้การดูแลรักษา
และดำเนินการยกระดับ PCU 3 แห่ง เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในปี 2553
บริการด้านการแพทย์ในสาขาต่าง ๆ
มีแพทย์เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ได้แก่
1. สาขาอายุรกรรม
การดูแลผู้ป่วยด้านอายุรกรรม ได้แก่
- ตรวจพิเศษทางกล้องเพื่อการวินิจฉัยและรักษา
- การดูแลผู้ป่วยไตเทียม
2. สาขากุมารเวชกรรม
การดูแลผู้ป่วยด้านกุมารเวชกรรม ได้แก่
- การดูแลผู้ป่วยธาลัสซีเมียแบบครบวงจร ตั้งแต่การคัดกรอง ค้นหา ตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษาตามมาตรฐาน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดเตรียมโลหิตและบริหารจัดการให้ผู้ป่วยได้รับเลือดที่ใหม่ตามกาหนดเวลา
พร้อมแนวทางการให้ยาขับเหล็กทั้งชนิดฉีดและรับประทาน
รวมถึงการจัดประชุมเครือข่ายครอบครัวผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย
3. สาขาศัลยกรรมทั่วไป
การดูแลผู้ป่วยด้านศัลยกรรม ได้แก่
- การผ่าตัดนิ่วในถุงน้าดีผ่านทางกล้องวิดิทัศน์
- การผ่าตัดทำหมันผ่านทางกล้องวิดิทัศน์
- การผ่าตัดนิ่วในไตผ่านทางกล้องวิดิทัศน์
- การผ่าตัดต่อมลูกหมากผ่านทางกล้องวิดิทัศน์
- การนำนิ่วในท่อไตออกผ่านทางกล้องวิดิทัศน์
4. สาขาศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์
การดูแลผู้ป่วยด้านศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ ได้แก่
- การตรวจพิเศษเพื่อการวินิจฉัยที่ข้อเข่า
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
5. ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
การดูแลผู้ป่วยด้านลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่
- การตรวจพิเศษเพื่อการวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ
6. สาขาสูตินรีเวชกรรม
การดูแลผู้ป่วยด้านสูตินรีเวชกรรม ได้แก่
- การตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
- การตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
- การตรวจวินิจฉัย/คัดกรองเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่เกี่ยวกับสูติฯ
7. สาขาจักษุวิทยา
การดูแลผู้ป่วยด้านจักษุวิทยา ได้แก่
- บริการตรวจวัดความยาวลูกตาและคำนวณเลนส์แก้วตาเทียมโดยใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์และเครื่องเลเซอร์
- การตรวจจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
8. สาขาโสต ศอ นาสิก
การดูแลผู้ป่วยด้านโสต ศอ นาสิก ได้แก่
- การตรวจพิเศษเพื่อการวินิจฉัยผ่านทางกล้องวิดิทัศน์
- การผ่าตัดผ่านทางกล้องวิดิทัศน์
9. สาขารังสีวิทยา
การดูแลผู้ป่วยด้าน ได้แก่
- การตรวจพิเศษด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์
- ตรวจพิเศษ Echocardiogram (ECHO)
10. สาขาทันตกรรม
การดูแลผู้ป่วยด้านทันตกรม ได้แก่
- ทันตกรรมจัดฟัน
- ทันตกรรมสาหรับเด็ก
11. สาขาเวชกรรมฟื้นฟู
การดูแลผู้ป่วยด้านเวชกรรมฟื้นฟู ได้แก่
- การผลิตกายอุปกรณ์เสริมเทียม
- การแพทย์ทางเลือก (แผนไทย)
- เปิดให้บริการตรวจรักษาโดยแพทย์แผนไทยที่แผนก OPD ทุกวันในเวลาราชการ
12. สาขาอื่น ๆ
การดูแลผู้ป่วยด้านอื่น ๆ ได้แก่
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง โดยการดูแลแบบ One day care ในแผนกศัลยกรรม และสูตินรีเวชกรรม