แง่มุมเกี่ยวกับโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
โรงพยาบาลเปิดให้บริการรักษาทุกโรคหรือไม่
ทางโรงพยาบาลพร้อมให้บริการ ศูนย์รักษาโรคเฉพาะทาง ทั้งหมด 19 ศูนย์ และ 5 คลินิก พร้อมด้วยทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางและทีมพยาบาลที่ได้รับการอบรมตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยเฉพาะโรคซับซ้อนที่รักษายาก
แพทย์ของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นบุคลากรของศิริราชหรือไม่?
แพทย์ประจำและแพทย์ที่ปรึกษาเป็นแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชทั้งสิ้น และ เป็นอาจารย์แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและมากด้วยคุณวุฒิ
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ตั้งอยู่บริเวณใด
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ตั้งอยู่บนพื้นที่เดิมของสถานีรถไฟธนบุรีถัดจากโรงพยาบาลศิริราช โดยตึกตั้งอยู่หน้าสถานีท่าเรือรถไฟ ถือเป็นอีกหนึ่งโรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พร้อมให้บริการดูแล รักษาและให้คำปรึกษาอย่างครบวงจร ด้วยมาตรฐานระดับสากล JCI (Joint Commission International) และเป็นต้นแบบสำหรับโรงพยาบาลรัฐในการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ ด้วยรูปแบบวิธีการบริหารพิเศษเพื่อให้มีรายได้ที่เลี้ยงตัวเองอย่างยั่งยืน โดยเป้าหมายทางการสร้างรายได้นั้นมีขึ้นเพื่อเพิ่มผลประโยชน์ของสังคม นั่นคือการมอบรายได้คืนกลับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อนำไปใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข แก่ประชาชนทั่วไปของโรงพยาบาลศิริราช
ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิประกันสังคมและสิทธิข้าราชการได้หรือไม่
ทางโรงพยาบาลไม่ได้เปิดรับใช้สิทธิประกันสังคม และสิทธิข้าราชการ
**หากท่านใช้สิทธิเบิกข้าราชการ
การใช้สิทธิขึ้นตรงกับสังกัดของผู้เข้ารับบริการ โปรดสอบถามสิทธิและหลักฐานที่ต้องใช้ในการเบิกกับทางต้นสังกัดของผู้เข้ารับบริการโดยตรง
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ ภายใต้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยเน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัว การบริการที่สะดวกรวดเร็วเช่นเดียวกับโรงพยาบาลเอกชน ในอัตราค่าบริการที่สมเหตุสมผล ซึ่งเป็นอีกทางเลือกของผู้ป่วยที่ต้องการความสะดวก และพร้อมที่จะรับภาระค่าบริการด้วยตนเองโดยไม่พึ่งพาสวัสดิการของภาครัฐ
ค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลถูกกว่าเอกชนจริงหรือไม่
เนื่องจากโรงพยาบาลเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (NON PROFIT ORGANIZATION) เราไม่มีผู้ถือหุ้นและไม่ได้ต้องการกำไรสูงสุด เพียงแค่สามารถเลี้ยงตนเองได้ และพอที่จะนำประโยชน์ส่วนเกิน กลับไปช่วยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้อย่างต่อเนื่อง ค่าบริการอาจจะสูงหรือต่ำกว่าโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งอัตราค่าบริการขึ้นอยู่กับการรักษาเพราะเรามุ่งเน้นการรักษาในโรคซับซ้อนที่รักษายาก
สามารถติดต่อโรงพยาบาลได้ในช่องทางใดบ้าง
ท่านสามารถติดต่อเราได้ที่
สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช คืออะไร
โครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ ประกอบด้วย 5 โครงการหลักดังนี้
- โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ หรือ SiPH โรงพยาบาลที่เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ที่เป็นเลิศ เพื่อนำประโยชน์สู่ศิริราชและสังคม
- ศูนย์วิจัยการแพทย์ศิริราช เป็นศูนย์วิจัยที่เน้นการวิจัยทั้งเชิงลึกและโครงการพัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย เพื่อช่วยให้การรักษาโรคต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและผู้บริโภคมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- การแพทย์แผนไทยประยุกต์ศิริราช ที่ให้บริการรักษาและส่งเสริมสุขภาพตามแบบแพทย์แผนไทยด้วยหลักการวินิจฉัยแบบแพทย์แผนปัจจุบัน สวนเฉลิมพระเกียรติ ที่รวบรวมสมุนไพรกว่า 200 ชนิดเพื่อการศึกษา
- พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน เป็นสถานที่จัดแสดงประวัติของสถานที่ตั้งสถาบันฯ ซึ่งมีประวัติอันยาวนาน รวมทั้งการพัฒนาด้านการแพทย์ของไทยโดยมีการจัดแสดงในรูปแบบทันสมัย
- สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
โรงพยาบาลเปิดให้บริการเวลาใด
ในส่วนของแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07:00 - 21:00 น.
แผนกฉุกเฉิน (ER) เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง (ยกเว้นศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ) และให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้ป่วยที่ต้องการรักษาหลังเวลาทำการ 21.00 น.
บริการห้องพักผู้ป่วยมีกี่แบบ
ห้องพักสำหรับผู้ป่วยมี 6 แบบ พร้อมทิวทัศน์ริมน้ำให้เลือกใช้บริการได้ตามความเหมาะสม ครบครันด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก
Deluxe Room 33 ตร.ม. / VIP Suite 80 ตร.ม. / Executive Suite 120 ตร.ม. / Premier Suite 138.38 ตร.ม. / Royal Suite 255 ตร.ม. / Children Room 33 ตร.ม.
อาคารขนาดใหญ่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยและการประหยัดพลังงานอย่างไรบ้าง
ด้านการประหยัดพลังงานและสิ่งแวดล้อม มีการติดตั้งกระจกสองชั้นที่มีช่องว่างอากาศคั่นกลาง เพื่อช่วยป้องกันความร้อนจากภายนอกเข้าสู่ตัวอาคาร และใช้ต้นไม้บรรเทาเสียงสะท้อนระหว่างอาคาร มีการปรับค่าความสว่างของแสงไฟตามความเหมาะสม พร้อมด้วยระบบควบคุมการเปิด–ปิดไฟโดยอัตโนมัติจากคอมพิวเตอร์ เพื่อการประหยัดพลังงานสูงสุด ระบบความปลอดภัยของอาคาร มีระบบตรวจสอบ แจ้งเหตุเพลิงไหม้ และดับเพลิงอัตโนมัติ พร้อมระบบควบคุมการแพระกระจายควันไฟ โครงสร้างหลักของอาคารสามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 3 ชม. ได้ออกแบบโครงสร้างที่คำนึงถึงภัยพิบัติทั้งทางอุทกภัยและแผ่นดินไหว
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
ในปี 2546 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เริ่มโครงการสถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช ตั้งเป็นโครงการพัฒนาศิริราชสู่การเป็นสถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในระดับเอเชียอาคเนย์ โดยมีมติให้จัดตั้งโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนกและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการแพทย์ ที่ให้บริการดูแล รักษาและให้คำปรึกษาอย่างครบวงจร ด้วยมาตรฐานระดับสากล JCI (Joint Commission International) และเป็นต้นแบบสำหรับโรงพยาบาลรัฐในการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ ด้วยรูปแบบวิธีการบริหารพิเศษเพื่อให้มีรายได้ที่เลี้ยงตัวเองอย่างยั่งยืน โดยเป้าหมายทางการสร้างรายได้นั้นมีขึ้นเพื่อเพิ่มผลประโยชน์ของสังคม นั่นคือการมอบรายได้คืนกลับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อนำไปใช้ในการยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข แก่ประชาชนทั่วไปของโรงพยาบาลศิริราช
สนับสนุนการดำเนินงานของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ยกระดับการแพทย์ไทยให้เป็นเลิศในระดับเอเชียอาคเนย์
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง
- เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้พระราชทานกำเนิดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ต่อคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
- เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ ในการให้บริการดูแล รักษา และให้คำปรึกษาผู้ป่วยอย่างครบวงจร มุ่งเน้นการบริการที่เป็นเลิศ และมีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
- สามารถดำเนินการเลี้ยงตัวเองได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
- นำรายได้จากการดำเนินงานกลับคืนคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยและช่วยเหลือกิจการของคณะ
- เพื่อเป็นต้นแบบสำหรับโรงพยาบาลรัฐ ในการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ โดยใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้ของศิริราชเป็นพื้นฐานสำคัญ และในการดำเนินการเชื่อมโยงบูรณาการกับโรงพยาบาลศิริราช รวมทั้งสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ
- เพื่อเพิ่มแรงจูงใจ และธำรงรักษาไว้ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ แนวคิด "ผู้รับ" และ"ผู้ให้"
ที่นี่คุณจะเป็นทั้ง "ผู้รับ" และ "ผู้ให้" ในเวลาเดียวกัน
ผู้รับ บริการทางการแพทย์ที่เป็นเลิศ ด้วยคุณภาพศิริราช มาตรฐานระดับสากล โดยทีมแพทย์ศิริราช พยาบาล และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมเทคโนโลยีทันสมัย ปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง
ผู้ให้ รายได้ส่วนหนึ่งจากการรักษาจะคืนกลับสู่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ป่วยด้อยโอกาสโรงพยาบาลศิริราช และกิจการต่างๆของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อยกระดับมาตรฐานการแพทย์ไทยสู่ระดับเอเซียอาคเนย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคาร "โครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์" ณ บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี เขตบางกอกน้อย ในวันจันทร์ที่ 17 มีนาคม 2551 และพระราชทานนามอาคารโรงพยาบาลว่า อาคารปิยมหาราชการุณย์ (Piyamaharajkarun Building) ต่อมาได้มีมติจากกรรมการคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ให้จัดตั้งเป็น “โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์” (Siriraj Piyamaharajkarun Hospital หรือ SiPH) เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ยึดมั่นในมาตรฐานการรักษาที่เน้นคุณธรรม จริยธรรมและความถูกต้องในการรักษาผู้ป่วยเป็นสำคัญ พร้อมทั้งคำนึงถึงความคุ้มค่าของผู้รับบริการ ขณะเดียวกันยังดำรงไว้ซึ่งแนวคิดในการเป็น “ผู้รับ” บริการทางการแพทย์ที่เป็นเลิศ และ “ผู้ให้” นำประโยชน์คืนกลับสู่ศิริราชและสังคมส่วนรวมอย่างแท้จริง